ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ผลงานวิจัย โดย อ.เอกพงษ์ วรผล
2
ปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุข ของ นักเรียน – นักศึกษา โรงเรียนเทคนิคพณิชยการเจ้าพระยา
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุข ของ นักเรียน – นักศึกษา โรงเรียนเทคนิคพณิชยการเจ้าพระยา ใน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านครู-อาจารย์ (การมีครูดี), ด้านครอบครัว (การมีครอบครัวอบอุ่น), ด้านชุมชน (การมีชุมชนที่สงบสุขและสนับสนุนทางการศึกษา),ด้านโรงเรียน (การมีโรงเรียนน่าอยู่และน่าเรียน), ด้านนักเรียน (การเป็นนักเรียนดี) และด้านเพื่อน (การมีเพื่อนดี)
3
กรอบแนวคิดการวิจัย ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม
ปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุข ของ นักเรียน – นักศึกษา โรงเรียนเทคนิคพณิชยการเจ้าพระยา ใน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านครู-อาจารย์ ด้านครอบครัว ด้านชุมชน ด้านโรงเรียน ด้านนักเรียน ด้านเพื่อน สถานภาพทั่วไปของนักเรียน–นักศึกษา โรงเรียนเทคนิคพณิชยการเจ้าพระยา จำแนกตาม เพศ สาขาวิชา ระดับชั้น ชั้นปี รอบการศึกษา
4
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร : ประชากรในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียน – นักศึกษา โรงเรียนเทคนิคพณิชยการเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2553 จำนวน 1,284 คน จำแนกเป็น สาขาการบัญชี จำนวน 284 คน สาขาการตลาด จำนวน 471 คน และ สาขาคอมพิวเตอร์ จำนวน 529 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้มาจากการสุ่มตัวอย่าง จากกลุ่มประชากร ได้แก่ นักเรียน – นักศึกษา โรงเรียนเทคนิคพณิชยการเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2553 ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางการกำหนดขนาดตัวอย่างของ Yamane,Taro Statistics จากนั้นใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น โดยใช้สาขาวิชาเป็นชั้น (Stratum) จำแนกเป็น สาขาการบัญชี จำนวน 70 คน สาขาการตลาด จำนวน 116 คน และ สาขาคอมพิวเตอร์ จำนวน 130 คน จากนั้นทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling)ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 316 คน
5
ลักษณะของเครื่องมือที่ใช้
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาจัดทำการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามที่ผู้ทำวิจัยสร้างขึ้นเพื่อสอบถาม เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุข ใน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านครู-อาจารย์, ด้านครอบครัว, ด้านชุมชน,ด้านโรงเรียน, ด้านนักเรียน และด้านเพื่อน โดยแบบสอบถามฉบับนี้แบ่งเป็น 3 ตอน คือตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามที่เกี่ยวกับ สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบสอบถามประเภทเลือกตอบ จำแนกตาม เพศ สาขาวิชา ระดับชั้น ชั้นปี และ รอบการศึกษา ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของท่านต่อปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุข ของ นักเรียน – นักศึกษา โรงเรียนเทคนิคพณิชยการเจ้าพระยา ใน 6 ด้าน มีลักษณะเป็นข้อคำถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามปลายเปิด เพื่อสอบถามถึงข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุข
6
สรุปผลการวิจัย พบว่า ความคิดเห็นของ นักเรียน – นักศึกษา (กลุ่มตัวอย่าง) เกี่ยวกับเรื่อง “ปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุข ของ นักเรียน – นักศึกษา โรงเรียนเทคนิคพณิชยการเจ้าพระยา” โดยรวมทุกด้าน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย อันดับ 1 ได้แก่ ด้านครอบครัว อันดับ 2 ได้แก่ ด้านเพื่อน อันดับ 3 ได้แก่ ด้านนักเรียน อันดับ 4 ได้แก่ ด้านโรงเรียน อันดับ 5 ได้แก่ ด้านครู-อาจารย์ และ อันดับ 6 อันดับสุดท้าย ได้แก่ ด้านชุมชน
7
สรุปผล (ต่อ) 1. ครู-อาจารย์ เป็นบุคคลที่เปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงออก
2. ครู-อาจารย์ เป็นบุคคลที่เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม 3. พ่อ – แม่ สามารถให้ความรักและเอ็นดูลูก 4. พ่อ – แม่ สามารถเป็นที่ปรึกษาให้กับลูกได้ 5. ชุมชนมีความสงบสุข 6. ชุมชนมีการส่งเสริมให้เยาวชนเรียนในชั้นสูง ๆ 7. โรงเรียนมีมาตรการในการดูแลและควบคุมความประพฤติกับนักเรียนที่ไม่มีระเบียบวินัย 8. บรรยากาศในห้องเรียนมีความสะดวกสบาย 9. นักเรียนรู้หน้าที่ของตนเอง 10. นักเรียนมีความขยันหมั่นเพียร 11. มีเพื่อนที่นิสัยดี 12. มีเพื่อนที่สามารถเป็นที่ปรึกษาได้
8
ผลกระทบที่เกิดขึ้น จะเห็นได้ว่า ปัจจัยหรือตัวบ่งชี้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสุขทั้ง 6 ด้านนั้น ล้วนแต่เป็นผู้ใกล้ชิดกับตัวผู้เรียนด้วยทั้งสิ้นโดยเฉพาะในด้านครอบครัว (การมีครอบครัวอบอุ่น) นอกจากนี้จากผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นว่ามีความสอดคล้องและเป็นไปตามแนวคิดในเรื่อง การศึกษาเพื่อปวงชน หรือ การจัดการศึกษาเพื่อคนทั้งมวล (Education for All) และ สังคมทั้งมวลเข้ามามีส่วนร่วมจัดการศึกษา (All For Education) ซึ่งหมายถึง พ่อ แม่ ผู้ปกครอง คณะบุคคล องค์การภาครัฐ หน่วยงาน สถานศึกษา องค์การสาธารณ-กุศล วัด มูลนิธิ ห้องสมุด ศูนย์การเรียน ฯลฯ ที่มีอยู่ในสังคม มีส่วนในการกำหนดความต้องการ สนับสนุนปัจจัย ดำเนินการ ประสานงาน ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา ทั้งในส่วนของการศึกษาในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย และยังสอดคล้องกับ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ ในมาตรา 8 วงเล็บ 2 การจัดการศึกษา ให้ยึดหลักให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ซึ่งก็คือหลัก "All for Education" ซึ่งเป็นแนวทางปฏิรูปของพระราชบัญญัติฉบับนี้
9
ข้อเสนอแนะการวิจัย 1.ควรนำผลการวิจัยที่ได้ไปใช้วางแผนในการพัฒนาการจัดการศึกษา โดยควรจัดในรูปของกลุ่ม (Cluster) เพื่อพัฒนาการศึกษาโดยในกลุ่มควรประกอบไปด้วยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วม ได้แก่ ผู้เรียน พ่อ แม่ ผู้ปกครอง สถานศึกษา ครู – อาจารย์ คณะบุคคล องค์การภาครัฐ ภาคเอกชน หน่วยงาน องค์การสาธารณ-กุศล ชุมชน วัด มูลนิธิ ห้องสมุด ศูนย์การเรียน ฯลฯ 2. ครู – อาจารย์ ควรพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องทั้งรูปแบบและพฤติกรรมการสอนของครู โดยมุ่งที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ เพราะรูปแบบและพฤติกรรมการสอนของครู จะสะท้อนออกมาเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียน คือ นักเรียนเกิดความปิติจากการได้เรียน และเกิดแรงบันดาลใจในการเรียน
10
สวัสดีครับ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.