ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การวิจัย และองค์ความรู้จากโครงการหลวง
ทัศนีย์ ศรีมงคล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนา สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์การมหาชน) ผู้ประสานงานงานพัฒนาการศึกษาและสังคม มูลนิธิโครงการหลวง สศช-1246
2
โครงการหลวง เริ่ม เมื่อปี ๒๕๑๒
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯหมู่บ้านชาวเขาใน จ.เชียงใหม่ ทรงพบว่า # ชาวเขาดำรงชีวิตแบบดั้งเดิม ย้ายถิ่นฐานไปแบบเร่ร่อน # ยากจน ขาดความรู้ สุขภาพอนามัยไม่ดี # ปลูกฝิ่น ทำไร่โดยวิธีโค่นต้นไม้ ถากถาง เผาป่า # ขาดความรู้ในการรักษาความอุดมสมบูรณ์ ของ ดิน ป่า และน้ำ
3
เป้าหมายของโครงการหลวง
1.ช่วยชาวเขาเพื่อมนุษยธรรม 2.ลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติต้นน้ำลำธาร 3.กำจัดการปลูกฝิ่นและวิจัยหาพืชเศรษฐกิจมาปลูกทดแทนฝิ่น 4.รักษาดินไม่ให้เสื่อมโทรม 5.แบ่งการใช้พื้นที่ให้ถูกต้องระหว่างพื้นที่ทำกินกับพื้นที่ป่า 6.ส่งเสริมการผลิตพืชเพื่อเพิ่มรายได้ให้ชาวเขามีเศรษฐกิจดีขึ้น
4
ลักษณะงานโครงการหลวง
งานวิจัย มี ๔ สถานีคือ # สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง # สถานีเกษตรหลวงปางดะ # สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ # ศูนย์วิจัยและส่งเสริมกาแฟ อราบิกา แม่หลอด งานพัฒนา ประกอบด้วย # ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ๓๖ แห่ง ใน ๕ จังหวัด # งานอารักขาพืช # งานพัฒนาและส่งเสริมการผลิต # งานพัฒนาการศึกษา สังคม และ สาธารณสุข งานการตลาด
5
พื้นที่ปฏิบัติงานของโครงการหลวง
312 หมู่บ้าน ใน 5 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ 1.เชียงใหม่ 2.เชียงราย 3.ลำพูน 4.พะเยา 5.แม่ฮ่องสอน มี สถานีวิจัย 6 แห่ง ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 36 แห่ง
6
ช่วยเขาให้ช่วยตัวเองได้
วิธีการดำเนินงานของโครงการหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯพระราชทานวิธีการดำเนินงานของโครงการหลวงไว้ดังนี้ ลดขั้นตอน ปิดทองหลังพระ เร็วๆเข้า ช่วยเขาให้ช่วยตัวเองได้
7
องค์ความรู้ของโครงการหลวง
ผลการวิจัยเกี่ยวกับ ผลไม้เมืองหนาว ผักเมืองหนาว ดอกไม้เมืองหนาว พืชไร่ และอื่นๆ รวม ๓๐๐ กว่าชนิด รวมทั้งการวิจัยหลังการเก็บเกี่ยว การวิจัยด้านสังคม แนวทางการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์และการประมงบนพื้นที่สูง วิธีการควบคุมการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและระมัดระวัง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วิธีการขนส่ง คัดบรรจุ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ การควบคุมคุณภาพ และการตลาด
8
ประเภทของการวิจัยในโครงการหลวง
9
แนวทางการถ่ายทอดองความรู้จากโครงการหลวงสู่ชุมชน
การจัดทำสถานีวิจัย ๔ แห่ง และ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ๓๖แห่งให้เป็นศูนย์เรียนรู้ การขยายผลงานโครงการหลวงไปสู่พื้นที่ข้างเคียงและพื้นที่ห่างไกล ๒๐ จังหวัด การจัดการความรู้โดยผ่านศูนย์การเรียนชุมชน ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ๒๐ จังหวัด โดยศูนย์แม่ข่าย ๔๐ แห่งและศูนย์ลูกข่าย ๑๘๐ แห่ง
10
ช่วยชาวเขา ช่วยชาวเรา ช่วยชาวเขา ช่วยชาวเรา ช่วยชาวโลก
ช่วยชาวเขา ช่วยชาวเรา ช่วยชาวเขา ช่วยชาวเรา ช่วยชาวโลก
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.