งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การประชุมชี้แจง ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารโครงการและการใช้จ่ายเงินกู้ เพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การประชุมชี้แจง ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารโครงการและการใช้จ่ายเงินกู้ เพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การประชุมชี้แจง ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารโครงการและการใช้จ่ายเงินกู้ เพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555

2 1. ยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ
1. ยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ 1.1 วัตถุประสงค์ เพื่อวางแนวทางการพัฒนาประเทศในระยะยาวที่คำนึงถึงการบริหารความเสี่ยงอันอาจเกิดขึ้นจากภัยพิบัติทาง ธรรมชาติด้านต่างๆ และการยกระดับคุณภาพโครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้ทัดเทียมมาตรฐานสากล เพื่อเสริมสร้าง ศักยภาพการแข่งขันและลดต้นทุนการบริหารความเสี่ยงของภัยพิบัติและวิกฤติการณ์ต่างๆ ของภาคการผลิตและ บริการของประเทศ 1.2 เป้าหมายในการดำเนินงานของ กยอ. เป้าหมายระยะสั้น การสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและนักลงทุนว่าก่อนฤดูฝนปี 2555 จะมีการบริหาร จัดการน้ำเพื่อมิให้เกิดวิกฤตอุทกภัย และมีการลงทุนที่จำเป็นในการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงและมีผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมสูง เป้าหมายระยะยาว การพัฒนาประเทศเพื่อลดความเสี่ยงของอุทกภัยหรือหลีกเลี่ยงความเสียหายที่อาจ เกิดขึ้นจากอุทกภัยอย่างถาวร โดยพิจารณาการลงทุนในระบบการบริหารจัดการน้ำ โครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาเมืองและพื้นที่อุตสาหกรรม การปรับระบบการผลิตภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตร การปรับปรุง กฎระเบียบภาครัฐที่เกี่ยวข้อง การจัดหาแหล่งเงินทุน 1.3 ยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ การกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ อยู่บนพื้นฐานแนวคิดการบริหารจัดการความ เสี่ยงและภาวะวิกฤต และการบริหารจัดการเพื่อความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ (BCM) ซึ่งครอบคลุมประเด็นการ พัฒนาทั้งการจัดการปัญหาน้ำและอุทกภัย การจัดการภัยพิบัติจากธรรมชาติ และสถานการณ์วิกฤตอื่นๆ ที่ไม่ได้เกิด จากธรรมชาติ ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

3 1. ยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (ต่อ)
1. ยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (ต่อ) 1.1 ยุทธศาสตร์ปรับโครงสร้างภาคการผลิตและบริการ (อยู่ภายใต้วงเงิน 10,000 ล้านบาท) โดย การปรับโครงสร้างเพื่อการป้องกันภาคการผลิตและบริการจากความเสี่ยงจากภัยพิบัติและสถานการณ์วิกฤติ สนับสนุนภาคธุรกิจเพื่อการเตรียมระบบการป้องกัน ปรับตัว และรับมือต่อสถานการณ์ภัยพิบัติและสถานการณ์วิกฤตได้ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสนับสนุนให้อุตสาหกรรมต่างๆ ที่สำคัญใช้แนวทาง Business Continuity Management เพื่อลด ความเสี่ยงและปกป้องห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมให้ดำเนินการต่อเนื่องได้ในสถานการณ์วิกฤต แนวทาง Otagai Business Continuity (หมายถึง การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เมื่อเกิดภัย) ที่ผู้เชี่ยวชาญจาก JICA เสนอ กล่าวคือ ส่งเสริมให้ ธุรกิจสร้างเครือข่ายการผลิตสำรองในช่วงเกิดภัยพิบัติ หรือที่เรียกว่า Sister Clusters: ที่บริษัทขนาดใหญ่และกลุ่มบริษัท ที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตเดียวกัน ตั้งฐานการผลิตตลอดห่วงโซ่การผลิตในหลายพื้นที่เพื่อกระจายความเสี่ยง และมีข้อตกลง ความร่วมมือช่วยเหลือกันระหว่างบริษัทที่ผลิตสินค้าประเภทเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เพื่อให้การสนับสนุนชิ้นส่วนสำหรับ การผลิตให้กันและกัน ในกรณีที่เกิดสถานการณ์วิกฤต แผนภาพที่ 1 แนวคิดการพัฒนาเครือข่ายการผลิตสำรองในช่วงภัยพิบัติหรือสถานการณ์วิกฤติ

4 1. ยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (ต่อ)
1. ยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (ต่อ) 2) การปรับโครงสร้างภาคการผลิตและบริการ เพื่อยกระดับศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม หลักอย่างยั่งยืน (อยู่ภายใต้วงเงิน 10,000 ล้านบาท) โดยมีกิจกรรมที่ต้องให้ความสำคัญ ได้แก่ 2.1) ภาคเกษตร ให้ความสำคัญกับการดูแลและใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นฐานการผลิตภาค เกษตรเพื่อความยั่งยืน • การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นฐานการผลิตภาคเกษตรให้เข้มแข็งและยั่งยืน โดย รักษา ป้องกัน และคุ้มครองพื้นที่ที่มีศักยภาพทางการเกษตรและสนับสนุนให้เกษตรกรรายย่อยมี ที่ดินเป็นของตนเองหรือมีสิทธิทำกินในที่ดิน พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นฐานการผลิตภาค การเกษตร การบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำภาคเกษตร • การเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพการผลิตภาคเกษตร ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา ให้มีประสิทธิภาพรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ส่งเสริมบทบาทของสถาบัน เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน องค์กรชุมชน และเกษตรกร ในการพัฒนาการผลิต พัฒนาระบบ เกษตรกรรมยั่งยืน รวมทั้งสนับสนุนการบริหารจัดการและการสร้างนวัตกรรมตลอดห่วงโซ่การผลิต สินค้าเกษตร เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองด้านอาหารและพลังงาน และคงความเป็น ผู้นำด้านการเกษตรของโลกในอนาคตได้อย่างยั่งยืน • การสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรตลอดห่วงโซ่การผลิต โดยสนับสนุนการผลิตและ บริการของชุมชนในการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร อาหาร และพลังงาน โดยพัฒนาเศรษฐกิจจาก ฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น บนฐานความรู้ที่สร้างสรรค์เพื่อ สร้างเอกลักษณ์ของสินค้า ยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้า และมาตรฐานระบบการผลิตสินค้า เกษตรให้เทียบเท่าระดับสากล 2.2) ภาคอุตสาหกรรม เสริมสร้างจุดแข็งของอุตสาหกรรมที่ไทยให้สามารถยกระดับความสามารถในการ แข่งขันได้อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพทางการแข่งขันสูง เช่น อุตสาหกรรม ยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป โดย • มุ่งเน้นการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อุตสาหกรรม หลัก และส่งเสริมการสร้างเครือข่ายวิสาหกิจของอุตสาหกรรมหลัก

5 1. ยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (ต่อ)
• ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมสมัยใหม่พัฒนาบนฐานการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญา ท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับคุณภาพมาตรฐาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม • เพิ่มผลิตภาพและประสิทธิภาพภาคอุตสาหกรรม และยกระดับมาตรฐานการผลิต สนับสนุนการ ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในการสร้างคุณค่าสินค้าอุตสาหกรรม • ส่งเสริมการเชื่อมโยงการผลิตภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่กับอุตสาหกรรมท้องถิ่น และ กระจายการพัฒนาอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาค 2.3) ภาคบริการ โดยส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มของสาขาบริการที่มีศักยภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมบน ฐานความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม โดย • เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจบริการที่มีศักยภาพสู่ธุรกิจเชิง สร้างสรรค์ โดยอาศัยความได้เปรียบของทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศ ความหลากหลาย ทางชีวภาพและวัฒนธรรม และเอกลักษณ์ความเป็นไทย • ขยายฐานการผลิตและการตลาดของภาคธุรกิจบริการที่มีศักยภาพออกสู่ตลาด ต่างประเทศ สนับสนุนมาตรการด้านการเงินและภาษีให้ทัดเทียมกับประเทศคู่แข่ง ส่งเสริมการ ค้นหาและบุกเบิกตลาดใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง กับการลงทุนในตลาดต่างประเทศ • พัฒนาปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการลงทุนในภาคบริการทั้งในประเทศและดึงดูดการลงทุน จากต่างประเทศในภาคบริการ ปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการของโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนา ระบบฐานข้อมูลภาคบริการโดยรวมของประเทศและข้อมูลเชิงลึกในสาขาบริการที่มีศักยภาพ • ฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด พัฒนา แหล่งท่องเที่ยวหลักที่เสื่อมโทรม พัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจของธุรกิจท่องเที่ยวในกลุ่มพื้นที่ที่มี ศักยภาพสูง • บริหารจัดการการท่องเที่ยวให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการ พัฒนา และบูรณาการการท่องเที่ยว ให้เชื่อมโยงกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งสาขาการผลิตและบริการอื่นๆ

6 1. ยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (ต่อ)
1. ยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (ต่อ) 1.2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ (อยู่ภายใต้วงเงิน 10,000 ล้านบาท) โดย การพัฒนาพื้นที่ระดับประเทศ ส่งเสริมให้เกิดการกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับประเทศและภาค การกำหนดบทบาทและทิศทางการพัฒนาของประเทศที่กระตุ้นให้เกิดการเติบโตและเชื่อมโยงของสาขา ต่างๆ ทางเศรษฐกิจ การพัฒนาพื้นที่ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศให้เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ การพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนและเมืองชายแดนเป็นประตูเชื่อมโยงเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน การบูรณาการแผนพัฒนาพื้นที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน 1.3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (อยู่ภายใต้วงเงิน 10,000 ล้านบาท) ประกอบด้วย 1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบคมนาคมขนส่ง ควรมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ โครงสร้างพื้นฐานให้สามารถรองรับความต้องการในการขนส่งได้อย่างเพียงพอ และปรับรูปแบบการขนส่ง ไปสู่ระบบรางและการขนส่งทางน้ำที่ประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการปรับปรุง โครงข่ายการขนส่งเพื่อลดผลกระทบและสามารถแก้ไขปัญหาอุทกภัยได้ในระยะยาว โดยสรุปได้ดังนี้ 1.1) การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญและเมืองหลักในภูมิภาค • เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งระบบรางตามแผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของ รฟท. ระยะเร่งด่วน พ.ศ – 2558 (วงเงินลงทุนรวม 176,808 ล้านบาท) เพื่อให้ระบบรถไฟเป็น ระบบหลักในการขนส่งสินค้าจากพื้นที่การผลิตหลัก ภายในประเทศเชื่อมโยงกับท่าเรือแหลม ฉบัง รวมทั้งการพัฒนาศูนย์การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่าง ระบบถนน การขนส่งทางน้ำ และทางอากาศ และพัฒนาระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้า และการ พัฒนาระบบ National Single Window e-Logistics เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนด้าน โลจิสติกส์ • พัฒนาระบบโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและทางหลวงสายหลักเชื่อมโยงเมืองหลัก ในภูมิภาค

7 1. ยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (ต่อ)
1. ยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (ต่อ) 1.3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (ต่อ) 1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบคมนาคมขนส่ง 1.2) การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งในพื้นที่เมือง • เร่งรัดการพัฒนาโครงข่ายขนส่งมวลชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลให้ครอบคลุมพื้นที่ บริการเพิ่มขึ้นและสอดคล้องกับการขยายตัวของเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดิน • พิจารณาความเหมาะสมในการปรับรูปแบบโครงการทางหลวงสายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 (แนวเส้นทางด้านตะวันออก) ให้สามารถรองรับการระบายน้ำเพื่อป้องกันปัญหาอุทกภัยใน พื้นที่กทม. รวมทั้งรองรับการขยายตัวของเมือง และบรรเทาปัญหาการจราจรในพื้นที่เมืองชั้นใน 1.3) การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เตรียมการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง และพัฒนาโครงข่ายทางหลวง และทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะพื้นที่เศรษฐกิจชายแดนที่สำคัญตามแนวระเบียงเศรษฐกิจฝั่ง ตะวันออก – ตะวันตก แนวเหนือ – ใต้ และการเชื่อมโยงกับพื้นที่เศรษฐกิจในประเทศเพื่อนบ้านในฝั่ง ตะวันตก (ทวาย) รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเข้าสู่ AEC ปี2558 1.4) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางอากาศและทางน้ำเชื่อมโยงระหว่างประเทศ • ขยายขีดความสามารถและคุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิให้มีความทันสมัย และสามารถรองรับ ปริมาณการจราจรทางอากาศได้เป็นปีละ 65 ล้านคน ตามโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 รวมทั้ง พัฒนาระบบ IT ให้ทัดเทียมกับท่าอากาศยานสากลหลักในต่างประเทศ เพื่อยกระดับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิให้เป็น ท่าอากาศยานสากลหลักในอนุภูมิภาค • พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการท่าเรือแหลมฉบังให้มีความทันสมัย และพัฒนา IT ของท่าเรือแหลมฉบังให้ก้าวไปสู่ การเป็นท่าเรืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Port) ที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายการขนส่งทางทะเลกับท่าเรือหลักทวีปต่าง ๆ ของ โลก และการเตรียมการพัฒนาขยายขีดความสามารถให้เป็นประตูการขนส่งระหว่างประเทศในอนุภูมิภาค

8 1. ยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (ต่อ)
1. ยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (ต่อ) 2) การสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน แสวงหาและพัฒนาแหล่งพลังงานใหม่ทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะการสร้างความร่วมมือด้านการ พัฒนาแหล่งพลังงานกับประเทศเพื่อบ้านในฝั่งตะวันตก (ทวาย) พัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทน ภายในประเทศ 3) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม พัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคมเพื่อให้บริการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงหรือบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการและพัฒนาระบบการให้บริการภาครัฐผ่าน โครงข่ายสื่อสารความเร็วสูง และสนับสนุนผู้ประกอบการ SME ให้สามารถใช้ประโยชน์จากบริการสื่อสาร ความเร็วสูงและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน และสร้างรายได้ 1.4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการประกันภัย (วงเงิน 50,000 ล้านบาท) การพัฒนาระบบประกันภัยเพื่อให้เป็นกลไกสำคัญในการสร้างหลักประกันความมั่นคงเศรษฐกิจและสังคม ทุกระดับ ในการรองรับความเสี่ยงจากภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น 1) การเสริมสร้างความเชื่อมั่นและสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการประกันภัยให้สังคมและ ประชาชน โดยสร้างความรู้ความเข้าใจด้านประกันภัยให้กับสังคมและประชาชน และต้องมีการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้สอดคล้องกับความเสี่ยงของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อม รวมทั้งกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกภาคส่วน 2) การสร้างมาตรฐานและการให้บริการคุ้มครองสิทธิแก่ผู้เอาประกันทุกภาคส่วนร่วม 3) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาระบบประกันภัยให้เข้มแข็ง โดยการปรับปรุงกฎหมายและ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยให้ให้มีประสิทธิภาพ ทันสมัย สอดคล้องกับสภาพการณ์ เป็นไปตามมาตรฐานสากล 4) การศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้งกองทุนมหันตภัย เพื่อเป็นกลไกหลักในการสร้างความมั่นคงและ ช่วยเหลือทุกภาคส่วนที่ได้รับรับความเดือดร้อนจากภัยพิบัติ

9 1.5 การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (วงเงิน 340,000 ล้านบาท)
1. ยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (ต่อ) 1.5 การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (วงเงิน 340,000 ล้านบาท) การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อป้องกัน บรรเทา และลดความเสียหายที่เกิดขึ้น จากอุทกภัยขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ รวมทั้งการสร้างความมั่นใจ ความมั่นคง เพิ่ม รายได้ ในการดำรงชีวิตของเกษตรกร สังคมเมือง และเศรษฐกิจของประเทศ บริหาร จัดการทรัพยากรน้ำ ดิน และป่าไม้ให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน ระยะสั้น: สำรองไว้กรณีฉุกเฉินเมื่อเกิดอุทกภัย ระยะยาว: แผนงาน/โครงการรองรับเพื่อป้องกันและบรรเทาด้านภัยพิบัติแห่งชาติ เป็นต้น

10 10


ดาวน์โหลด ppt การประชุมชี้แจง ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารโครงการและการใช้จ่ายเงินกู้ เพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google