งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โครงการประตูระบายน้ำห้วยลังกา บ้านท่าลาด ตำบลนาเข อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม สำนักงานก่อสร้าง 7 สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โครงการประตูระบายน้ำห้วยลังกา บ้านท่าลาด ตำบลนาเข อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม สำนักงานก่อสร้าง 7 สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โครงการประตูระบายน้ำห้วยลังกา บ้านท่าลาด ตำบลนาเข อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม
สำนักงานก่อสร้าง 7 สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง

2 ความเป็นมาของโครงการ
จังหวัดนครพนมเป็นจังหวัดที่มีฝนตกชุกทั้งนี้เพราะได้รับอิทธิพลจากพายุโซนร้อนในทะเลจีนใต้และได้รับอิทธิพลจากป่าไม้และเทือกเขาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีประมาณ 2,000 มิลลิเมตร จากการที่มีฝนตกชุกนี้ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมในเขตจังหวัดอยู่เป็นประจำทุกปีในฤดูฝนเนื่องจากปริมาณน้ำหลากมาก และอิทธิพลของแม่น้ำโขงเอ่อหนุน สำหรับในฤดูแล้งจะประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำทำการเกษตร อุปโภค – บริโภค พื้นที่ในเขตอำเภอบ้านแพงมักประสบปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝนและปัญหาขาดแคลนน้ำสำหรับทำการเกษตรในฤดูแล้งของทุกปี สำหรับปัญหาน้ำท่วมนั้นสาเหตุหลัก เนื่องมาจากไม่สามารถระบายน้ำฝนที่ตกลงในพื้นที่ลงสู่แม่น้ำโขงได้ในช่วงที่ระดับน้ำในแม่น้ำโขงหนุนสูง ปริมาณที่ไหลเข้าสู่พื้นที่ในเขตอำเภอบ้านแพง นั้น ส่วนหนึ่งเป็นน้ำฝนที่ตกลงมาในพื้นที่รับน้ำฝนของภูลังกา ซึ่งเป็นเทือกเขาที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของ อำเภอบ้านแพง การระบายน้ำออกจากพื้นที่

3 อำเภอบ้านแพงนั้น มีเส้นทางระบายน้ำอยู่ 2 เส้นทาง คือ เส้นทางแรกระบายน้ำลงสู่ห้วยลังกา ซึ่งเป็นลำห้วยที่มีต้นกำเนิดจากภูลังกา มีความยาวประมาณ 13 กิโลเมตร แล้วระบายลงสู่แม่น้ำโขง เส้นทางที่สองจะทำการระบายลงสู่หนองเครือเขา ซึ่งเป็นหนองน้ำขนาด ใหญ่มีประตูระบายน้ำเพื่อระบายน้ำลงสู่แม่น้ำโขงได้ในช่วงปกติที่ระดับน้ำในแม่น้ำโขงไม่หนุนขึ้นสูง ก็จะสามารถระบายน้ำฝนที่ตกลงมาในพื้นที่ลงสู่แม่น้ำโขงผ่านเส้นทางระบายน้ำทั้งสองได้แต่ในช่วงที่น้ำในแม่น้ำโขงหนุนขึ้นสูงจะไม่สามารถระบายน้ำในพื้นที่ลงสู่แม่น้ำโขงได้ ทำให้เกิดภาระน้ำท่วมขึ้นในเขตอำเภอ

4 ดังนั้นแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตอำเภอบ้านแพง จึงอยู่ที่การหาวิธีระบายน้ำฝนที่ตกลงมาในพื้นที่ช่วงระดับน้ำในแม่น้ำโขงหนุนสูงออกจากพื้นที่ลงสู่แม่น้ำโขงให้ได้ซึ่งสามารถทำได้โดยการขุดลอกหนองเครือเขาเพื่อเพิ่มความจุให้สามารถรองรับปริมาณน้ำได้มากขึ้นและทำการขุดทางระบายน้ำจากลำห้วยลังกา ลงสู่หนองเครือเขาพร้อมทั้งทำการปรับปรุงท่อลอดถนนที่ตัดผ่านทางระบายน้ำให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และทำการขุดลอกทางระบายที่จะระบายน้ำจากหนองเครือเขาลงสู่แม่น้ำโขง เพื่อให้สามารถระบายน้ำจากห้วยลังกาลงสู่แม่น้ำโขงได้อย่างสะดวก นอกจากนั้นจะต้องทำการก่อสร้างประตูระบายน้ำบริเวณปากห้วยลังกาเพื่อป้องกันน้ำในแม่น้ำโขงไหลเอ่อเข้ามาในลำห้วย แล้วทำการติดตั้งเครื่องสูบน้ำบริเวณประตูระบายน้ำปากห้วยลังกา และบริเวณประตูระบายน้ำหนองเครือเขาเพื่อทำการสูบน้ำฝนที่ตกลงในพื้นที่ลงสู่แม่น้ำโขงในช่วงที่น้ำในแม่น้ำโขงหนุนสูง

5 2. วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เพาะปลูก บริเวณสองฝั่งลำห้วยลังกา 2. เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำในบริเวณโครงการ สำหรับช่วยเหลือราษฎรให้มีน้ำทำการเกษตรและการอุปโภค – บริโภค ในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งราษฎรประสบปัญหาขาดแคลนน้ำประจำทุกปี 3. พัฒนาด้านการเกษตรกรรม การจัดการเกษตรแบบผสมผสาน ระดมการสนับสนุนการพัฒนาจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งให้ราษฎรในโครงการได้มีบทบาทหรือมีส่วนร่วมด้วย 4. เพื่อสนับสนุนนโยบายการกระจายความเจริญไปสู่ชนบทให้เป็นไปอย่างทั่วถึง

6 3. ที่ตั้งโครงการ โครงการประตูระบายน้ำห้วยลังกา ตั้งอยู่ที่ พิกัด 48 QVE ระวาง 5844 II ลำดับชุด 7017 L 1:50,000 ตำบลบ้านแพง อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม การคมนาคมเข้าบริเวณสถานที่ก่อสร้างเริ่มจากจังหวัดนครพนมไปตามทางหลวงสายนครพนม-หนองคาย ถึงแยกไปบ้านนาเข ระยะทางประมาณ 74 กม. จากทางแยกบ้านนาเขไปบ้านท่าลาดระยะทาง 5 กม. จากบ้านนาเขถึงจุดก่อสร้างระยะทางประมาณ 1 กม. สรุประยะทางจากจังหวัดนครพนมถึงจุดก่อสร้างประตูระบายน้ำห้วยลังการะยะทางรวม 80 กม.

7 ลักษณะของโครงการและพื้นที่ชลประทาน
ประเภทโครงการ ประตูระบายน้ำ (รับน้ำ 2 ทาง) ส่วนลาดเทของลำน้ำ บริเวณหัวงาน 1:2,00 พื้นที่รับน้ำเหนือจุดที่ตั้งโครงการ ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี 2, มิลลิเมตร จำนวนวันที่ฝนตกเฉลี่ยทั้งปี วัน อัตราการระเหย เฉลี่ยทั้งปี 1, มิลลิเมตร ปริมาณน้ำไหลผ่านหัวงานเฉลี่ย 137,093,850 ลบ.ม./ปี ปริมาตรความจุที่ระดับเก็บกัก 6,000,000 ลบ.ม.

8 อาคารหัวงานและอาคารประกอบ
ประตูระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กแบบบานตรง รับน้ำ 2 ทาง มีสันฝายแข็งสูง เมตร บานระบายน้ำ กว้าง 7.00 เมตร สูง เมตร จำนวน 3 บาน

9 ผลประโยชน์ของโครงการ
เมื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการประตูระบายน้ำห้วยลังกาแล้วคาดว่าจะได้รับผลประโยชน์ ดังนี้ 5.1 เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรบริเวณสองฝั่งของลำน้ำ ได้อย่างเพียงพอตลอดปีฤดูฝนประมาณ 9,000 ไร่ ฤดูแล้ง ประมาณ 4,000 ไร่ 5.2 เป็นแหล่งน้ำดิบเพื่อการอุปโภค – บริโภค จำนวน 10 หมู่บ้าน ประมาณ 1,500 ครัวเรือน 5.3 เป็นแหล่งน้ำเพื่อการขยายพันธุ์ปลาน้ำจืด 5.4 บรรเทาปัญหาอุกทุกภัยที่เกิดจากน้ำในแม่น้ำโขงเอ่อหนุน

10 รายละเอียดแผนงานและงบประมาณ
ค่าก่อสร้าง รวมทั้งสิ้น ,000, บาท ระยะเวลาดำเนินการ วัน ปี งบประมาณ ,000, บาท ปี 2556 งบประมาณ , บาท ปี งบประมาณ ,000, บาท ปี ผูกพันงบประมาณ ,870, บาท

11 7. สถานภาพปัจจุบัน กรมชลประทานได้ทำสัญญาจ้างก่อสร้างประตูระบายน้ำห้วยลังกา บ้านท่าลาด ตำบลนาเข อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม กับห้างหุ้นส่วนจำกัด พินิจอุดรก่อสร้าง ตามสัญญาเลขที่กจ.1/2557 ลงวันที่ 8 มกราคม วงเงินค่าจ้าง 215,000, บาท (สองร้อยสิบห้าล้านบาทถ้วน) กำหนดส่งมอบ 900 วัน ปัจจุบันโครงการดังกล่าวได้ชะลอการสั่งเข้าทำงานเนื่องจากอยู่ระหว่างการตรวจสอบทรัพย์สินและเจรจาทำความตกลงซื้อขายกับราษฎรเจ้าของที่ดินที่ถูกเขตงานก่อสร้าง

12 8. ปัญหาอุปสรรค โครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำห้วยลังกา ยังไม่สามารถเข้าปฏิบัติงานได้ เนื่องจากราษฎรไม่รับราคาค่าทดแทนทรัพย์สินในที่ดินที่ถูกเขตงานก่อสร้าง เนื่องจากราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินในการจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ ต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด มีราษฎรผู้ได้รับผลกระทบจำนวน 21 ราย พื้นที่ประมาณ 20 ไร่ จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการเจรจา คาดว่าจะใช้เวลาในการเจรจาแล้วเสร็จประมาณเดือน พฤษภาคม จึงจะสั่งผู้รับจ้างเข้าปฏิบัติงานต่อไป  

13

14

15 จบการนำเสนอ


ดาวน์โหลด ppt โครงการประตูระบายน้ำห้วยลังกา บ้านท่าลาด ตำบลนาเข อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม สำนักงานก่อสร้าง 7 สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google