ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บุคคลสำคัญในสมัยอยุธยา
จัดทำโดย เด็กหญิงศุทธินี อินทร์ทะผา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่2/1 เลขที่30 เสนอ อาจารย์ จริญญา ม่วงจีน อาจารย์ ภาวนา พลอินทร์
2
คำนำ สื่อ power point เรื่อง บุคคลสำคัญในสมัยอยุธยา จัดทำขึ้นเกี่ยวกับ พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ รวมถึงวีรกรรม ของบุคคลสำคัญในสมัยอยุธยา ซึ่งพระราชประวัติจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับประวัติของบุคลสำคัญ ส่วนพระราชกรณียกิจและวีรกรรม ที่เป็นผลงานเด่นๆ แล้วยังมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องของบุคคลสำคัญบางเหตุการณ์ด้วย เพื่อให้ผู้อ่าน และผู้ศึกษาได้มีความรู้เกี่ยวกับ “บุคคลสำคัญในสมัยอยุธยา” มากขึ้น ผู้จัดทำ ศุทธินี อินทร์ทะผา
3
บุคคลสำคัญในสมัยอยุธยา
สมเด็จพระรามาธิบดีที่1 สมเด็จพระสุริโยทัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่1 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ออกญาเสนาภิมุข ชาวบ้านบางระจัน
4
สมเด็จพระรามาธิบดีที่1
พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๑๘๗๕ ได้รับถวายพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรบรมบพิตร พระเจ้าอยู่หัว กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยา ฯ ทรงครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ.๑๘๙๓ - ๑๙๑๒ พระราชกรณียกิจ ก่อตั้งอาณาจักรและขยายพระราชอาณาเขตอยุธยา ทรงสถาปนาอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อปี พ.ศ.๑๘๙๓ ปีขาล โทศก ณ วันศุกร์ เดือนห้า เวลาสามนาฬิกา ห้าบาท นำรูปแบบการปกครองแบบจตุสดมภ์มาใช้ในการบริหารบ้านเมืองแบ่งการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ เป็นเมืองลูกหลวง หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก และหัวเมืองประเทศราช ทำให้การปกครองกรุงศรีอยุธยามีระบบและความเข้มแข็งยิ่งขึ้น มีการติดต่อค้าขายกับจีน
5
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
พระราชประวัติ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสด็จพระราชยสภพ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๗๔ พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๕ พรรษา ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เสด็จไปครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ พระองค์จึงได้เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๙๑ พระชนมายุได้ ๑๗ พรรษา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๐๓๑ พระราชกรณียกิจ ทรงปฏิรูปการปกครอง มี สมุหพระกลาโหม สมุหนายก ระบบการปกครอง หัวเมือง เมืองจัตวา เมือง เอก โท ตรี เมืองประเทศราช ทรงประกาศใช้กฎหมายลักษณะสำคัญหลายอย่าง เช่น ทำเนียบศักดินาซึ่งกำหนดสิทธิหน้าที่ของมูลนายและไพร่ ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและอักษรศาสตร์ มีวรรณคดีที่สำคัญ ทรงทำสงครามกับอาณาจักรล้านนาหลายครั้ง
6
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่1
พระราชประวัติ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ มีพระนามเดิมว่า ขุนหลวงพะงั่ว ทรงเป็นพระเชษฐาของพระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง เดิมครองเมืองสุพรรณบุรี พระองค์ทรงเป็นนักรบที่สามารถ ตั้งแต่ในรัชสมัยพระเจ้าอู่ทอง ขุนหลวงพะงั่วเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๑๙๓๑ ครองราชย์ได้ ๑๘ ปี พระราชกรณียกิจ ได้ยกกำลังไปตีหัวเมืองเหนือหลายครั้ง โดยได้ไปตีเมืองชากังราวสามครั้ง ได้ส่งราชทูตไปเจริญพระราชไมตรีกับจักรพรรดิจีนหลายครั้ง มีการแลกเปลี่ยน เครื่องราชบรรณาการซึ่งกันและกัน ในด้านพระพุทธศาสนา ได้สร้างถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนาขนาดใหญ่
7
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
พระราชประวัติ ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 และทรงเป็นพระอนุชาของสมเด็จพระไชยราชาธิราช ได้ขึ้นครองราชย์เพราะขุนนางประหารชีวิตขุนวรวงศาธิราชแล้วอัญเชิญขึ้นครองราชย์เมื่อพระองค์ทรงผนวชอยู่ โดยครองราชย์ระหว่างปี พระราชกรณียกิจ ปรับปรุงกิจการทหาร และเสริมสร้างบ้านเมืองให้มั่นคงแข็งแรงกว่าเดิม ทรงสถาปนาขุนพิเรนทรเทพ เป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าและให้ไปปกครองเมืองพิษณุโลก โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รื้อป้อมปราการตามหัวเมือง ไม่ให้ข้าศึกอาศัยเป็นที่ตั้งมั่น โปรดให้จับม้าและช้างเข้ามาใช้ในราชการ จนสามารถจับช้างเผือกได้ ๗ เชือก จึงได้รับขนานพระนามว่า “ พระเจ้าช้างเผือก ”
8
สมเด็จพระสุริโยทัย พระราชประวัติ เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง
สันนิษฐานว่าสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์สุโขทัย ดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง ในขณะที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ขึ้นครองราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาได้เพียง ๗ เดือน เมื่อ พ.ศ.๒๐๙๑ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้และพระมหาอุปราชาบุเรงนองยกกองทัพพม่า-รามัญเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก โดยผ่านมาทางด้านด่านพระเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรีและตั้งค่ายล้อมพระนคร การศึกครั้งนั้นเป็นที่เลื่องลือถึงวีรกรรมของ สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ซึ่งไสช้างพระที่นั่งเข้าขวางพระเจ้าแปรด้วยเกรงว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระราชสวามี จะเป็นอันตราย จนถูกพระแสงของ้าวฟันพระอังสาขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง เพื่อปกป้องพระราชสวามีไว้ เมื่อสงครามยุติลง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ทรงปลงพระศพของพระนางและสถาปนาสถานที่ปลงพระศพขึ้นเป็นวัด ขนาน นามว่า "วัดสบสวรรค์" (หรือวัดสวนหลวงสบสวรรค์)
9
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
พระราชประวัติ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชากับพระวิสุทธิกษัตรี เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๘ ที่เมืองพิษณุโลก พระนามเดิม พระองค์ดำ หรือพระนเรศวร มีพระเชษฐภคินี คือพระสุพรรณเทวี และพระอนุชา คือ สมเด็จพระเอกาทศรถ ขึ้นครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ รวมเวลาในการครองราชย์เป็นเวลา 15 ปี เมื่อพระองค์มีพระชันษาได้ 9 ปี พระเจ้าหงสาวดีได้ขอไปเป็นพระราชบุตรบุญธรรม พระองค์ได้ประทับอยู่ที่หงสาวดีถึง 6 ปี ก็ได้ทรงศึกษาวิชาศิลปและได้ทราบยุทธวิธีของชาติต่าง ๆ ที่มารวมกันอยู่ในกรุงหงสาวดีเป็นอย่างดี ทรงนำหลักวิชามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับเหตุการณ์ ได้เป็นเลิศ ดังเห็นได้จากการสงครามทุกครั้งของพระองค์ เช่น การใช้คนจำนวนน้อยเอาชนะคนจำนวนมากเมื่อพระชันษาได้ 15 ปี จึงได้เสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรเสด็จสวรรคต ขณะที่พระองค์ทรงยกกองทัพไปตีเมืองอังวะ เมื่อเสด็จถึงเมืองหาง พระองค์ทรงประชวรเป็นฝีละลอกขึ้นที่พระพักตร์กลายเป็นพิษ เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๑๔๘ พระชนมายุได้ ๕๐ พรรษา ครองราชย์ได้ ๑๕
10
พระราชกรณียกิจ ได้ทำสงครามกับอริราชศัตรูทั้งพม่าและเขมร จนราชอาณาจักรไทยเป็นปึกแผ่นมั่นคง ขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างใหญ่ ทรงกอบกู้อิสรภาพให้กับกรุงศรีอยุธยาและทรงทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาของพม่าในปี พ.ศ.2135 ทรงส่งทูตไปจีนและติดต่อค้าขายกับสเปน ซึ่งปกครองฟิลิปปินส์อยู่ในขณะนั้น สมเด็จพระนเรศวรโปรดให้ปรับปรุงการปกครองหัวเมืองใหม่เป็นการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ยกเลิกระบบเมืองพระยามหานคร จัดแบ่งหัวเมืองเป็นหัวเมืองชั้นเอก ชั้นโท และชั้นตรี ยกเลิกการให้เจ้านายไปปกครองเมืองเหล่านี้ แล้วให้ขุนนางไปปกครองแทน
11
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
พระราชประวัติ อีกพระนามหนึ่งว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓ หรือสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสรรเพชญ์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าปราสาททอง และ พระนางเจ้าสิริกัลป์ยานี อัครราชเทวี พระราชมารดาเป็น พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เสด็จพระราชสมภพ เมื่อ วันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พ.ศ. 2175 มีพระเชษฐาคือ สมเด็จเจ้าฟ้าไชย มีพระอนุชาคือ เจ้าฟ้าอภัยทศ พระไตรภูวนาทิตยวงศ์ พระองค์ทอง และพระอินทราชา พระองค์ได้ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๑๙๙ ระยะเวลาครองราชย์32 ปี พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 27 สมเด็จพระนารายณ์ ฯ เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๒๓๑ เมื่อพระชนมายุได้ ๕๐ พรรษา ครองราชย์ได้ ๓๒ ปี
12
พระราชกรณียกิจ พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ทรงพระปรีชาสามารถมาก ทำให้กรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยของพระองค์ มีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าในทุกด้าน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การต่างประเทศ การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม วรรณคดี ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ทรงปราบปรามเมืองน้อยใหญ่ ให้เป็นมาสวามิภักดิ์ ทั้งหัวเมืองทางเหนือ เช่น เชียงใหม่ ลำพูน ทรงชำนาญในการศึก คล้องช้าง และทรงซื้ออาวุธจากต่างชาติ สำหรับกิจการของกองทัพด้วย มีการติดต่อทั้งด้านการค้าและการทูตกับประเทศต่างๆ มีชาวต่างชาติเข้ามาในพระราชอาณาจักร เป็นจำนวนมาก และโปรดฯ ให้แต่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับราชสำนักฝรั่งเศส ในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ถึง 4 ครั้งด้วยกัน พระองค์ยังทรงรับเอาวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ เช่น กล้องดูดาว และยุทโธปกรณ์บางประการ รวมทั้งยังมีการรับเทคโนโลยีการสร้างน้ำพุ จากชาวยุโรป และวางระบบท่อประปาภายในพระราชวังอีกด้วย สมเด็จพระนารายณ์นับว่าเป็นทั้งนักรบและกวี ทรงพระ-ราชนิพนธ์วรรณคดีไว้หลายเรื่อง เช่น โคลงพุทธไสยาสน์ป่าโมก โคลงพาลีสอนน้อง โคลงทศรถสอนพระราม เป็นต้น ในระหว่างปีพุทธศักราช รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช คณะ-บาทหลวงเจชูอิตชาวฝรั่งเศส ได้มาเผยแพร่ดาราศาสตร์ ในประเทศไทย มีสิ่งก่อสร้าง เช่น หอดูดาววัดสันเปาโล เป็นหอดูดาวแห่งแรกในประเทศไทย
13
ออกญาเสนาภิมุข ประวัติ เป็นหัวหน้ากองทหารอาสาญี่ปุ่น
ดำรงตำแหน่งขุนนางระดับสูงในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม มีบทบาทในการเจริญพระราชไมตรีระหว่างราชสำนักอยุธยาและโชกุนของญี่ปุ่น ได้ร่วมมือกับออกญากลาโหมสุริยวงศ์สนับสนุนพระโอรสของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมให้ขึ้นครองราชย์สืบต่อ แต่ที่สุดถูกออกญากลาโหมหาวิธีกำจัดออกญาเสนาภิมุขโดยส่งไปปราบกบฏที่เมืองนครศรีธรรมราชจนที่สุดออกญาเสนาภิมุขและผู้ติดตามจำนวนมากต้องเสียชีวิตจากการต่อต้านของกลุ่มเมืองนครศรีธรรมราช
14
ชาวบ้านบางระจัน ประวัติ ชาวบ้านบางระจันรวบรวมชาวบ้านได้จำนวนมาก จึงตั้งค่ายสู้รบกับพม่า พม่าได้พยายามเข้าตีค่ายบางระจันถึง 7 ครั้ง แต่ก็ไม่สำเร็จใน ที่สุดสุกี้ซึ่งเป็นพระนายกองของพม่าได้อาสาปราบชาวบ้านบางระจัน โดยตั้งค่ายประชิดค่ายบางระจัน แล้วใช้ปืนใหญ่ยิงเข้าไปในค่ายแทนการสู้รบกันกลางแจ้ง ทำให้ชาวบ้านเสียชีวิตไปจำนวนมาก ชาวบ้านบางระจันไม่มีปืนใหญ่ยิงตอบโต้ฝ่ายพม่า จึงมีใบบอกไปทางกรุงศรีอยุธยาให้ส่งปืนใหญ่มาให้ แต่ทางกรุงศรีอยุธยาไม่กล้าส่งมาให้ เพราะเกรงว่าจะถูกฝ่ายพม่าดักปล้นระหว่างทาง ชาวบ้านจึงช่วยกันหล่อปืนใหญ่โดยบริจาคของใช้ทุกอย่างที่ทำด้วยทองเหลืองมาหล่อปืนได้สองกระบอก แต่พอทดลองนำไปยิง ปืนก็แตกร้าวจนใช้การไม่ได้ถึงแม้ว่าไม่มีปืนใหญ่ ชาวบ้านบางระจันก็ยังคงยืนหยัดต่อสู้กับพม่าต่อไปจนกระทั่งวันแรม 2 ค่ำ เดือน 8 พ.ศ ค่ายบางระจันก็ถูกพม่าตีแตกและสามารถยึดค่ายไว้ได้ หลังจากที่ยืนหยัดต่อสู้กับข้าศึกมานานถึง 5 เดือนจากวีรกรรมของชาวบ้านบางระจันทำให้ได้รับการยกย่องว่า เป็นวีรกรรมของคนไทยที่มีคุณค่าอย่างยิ่งในการเสียสละชีวิตให้แก่ชาติบ้านเมือง และแสดงให้เห็นถึงความสามัคคีและความกล้าหาญของคนไทยในการต่อสู้กับข้าศึก ทางราชการจึงได้สร้างอนุสาวรีย์วีรขนค่ายบางระจันเป็นรูปหล่อวีรชนที่เป็นหัวหน้าทั้ง 11 คน ขึ้นบริเวณหน้าค่ายบางระจัน อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี เพื่อเป็นอนุสรณ์สืบต่อไป
15
อ้างอิง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.