ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ
2
พัฒนาการที่สำคัญของตลาดทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ
11 พ.ย. 2541 21 มิ.ย. 2544 17 ก.ย. 2544 2 ก.ย. 2545 25 พฤษภาคม 2548 ปัจจุบัน จัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ใหม่ วันฐานในการคำนวณดัชนี เปลี่ยนชื่อเป็น ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ(mai) เปิดอย่างเป็นทางการ เปิดการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นครั้งแรก
3
1 2 3 4 วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ
เพื่อเป็นช่องทางการระดมทุนให้แก่บริษัท SMEs 2 เพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างหนี้ 3 เพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจร่วมลงทุน(venture capital) 4 เพื่อเพิ่มสินค้าใหม่ให้เป็นทางเลือกแก่ผู้ลงทุน
4
โครงสร้างองค์กร Back Office Front Office ๏ ระบบการซื้อขาย
๏ กระบวนการส่งมอบ ๏ การชำระราคา ๏ การตรวจสอบ ๏ การกำกับการซื้อขาย Front Office ๏ การจดทะเบียน ๏ การประชาสัมพันธ์
5
1 2 3 การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ
ใช้ระบบการเปิดเผยข้อมูล(disclosure-based) 2 ระบบการซื้อขายใช้ระบบ Automatic Matching 3 ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษี
6
ประโยชน์ของการเป็นบริษัทจดทะเบียน : ต่อบริษัท
ประการที่ 1 แหล่งเงินทุนระยะยาว ประการที่ 2 เพิ่มช่องทางระดมทุน เพื่อช่วยในการบริหารเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ประการที่ 3 เสริมสร้างชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่บริษัท ประการที่ 4 สร้างความภักดี และผลตอบแทนที่ดีให้แก่พนักงาน ประการที่ 5 สร้างความรับผิดชอบและการบริหารงานแบบมืออาชีพ ประการที่ 6 การดำรงอยู่ของธุรกิจในระยะยาว ที่มา
7
ประโยชน์ของการเป็นบริษัทจดทะเบียน : ต่อผู้ถือหุ้น
ประการที่ 1 เพิ่มสภาพคล่องและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ถือหุ้น ประการที่ 2 เพิ่มอำนาจการต่อรองในการลดภาระค้ำประกัน ประการที่ 3 ใช้เป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงิน ประการที่ 4 บุคคลธรรมดาได้รับยกเว้นภาษีกำไรจากการขายหุ้น ที่มา
8
ทีที่มา http://www. set. or
ทีที่มา
9
ที่มา http://www. set. or
ที่มา
10
หลักเกณฑ์การนำหุ้นสามัญเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
เรื่อง คุณสมบัติ สถานะ บริษัทมหาชนจำกัด หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ ทุนชำระแล้วเฉพาะหุ้นสามัญ* (หลังการเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน) > =20 ล้านบาท การกระจายการถือหุ้นรายย่อย * (หลังเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน) จำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อย >= 300 ราย อัตราส่วนการถือหุ้น ของผู้หุ้นรายย่อย * (หลังเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน) -ถือหุ้นรวมกัน > 20% ของทุนชำระแล้ว โดยแต่ละรายต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่า 1 หน่วย ^^การซื้อขายที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด ^^ ผู้ถือหุ้นรายย่อย คือ ผู้ที่ไม่ได้เป็น Strategic Shareholders ***กรรมการ ผู้จัดการ และผู้บริหาร รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องที่ถือหุ้น > 5%
12
หลักเกณฑ์การนำหุ้นสามัญเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
การเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน การได้รับอนุญาต ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ( ยกเว้นนิติบุคคลที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ) จำนวนหุ้นที่เสนอขาย > 15% ของทุนชำระแล้ว วิธีการเสนอขาย ผ่านผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ ผลการดำเนินงาน -มีผลการดำเนินงานต่อเนื่อง > 2 ปี โดยอยู่ภายใต้การจัดการของผู้บริหารชุดเดียวกัน > 1 ปี ก่อนการยื่นคำขอ -กำไรสุทธิในปีล่าสุดก่อนยื่นคำขอและมีกำไรสุทธิในงวดสะสมของปีที่ยื่นคำขอ -ในกรณีที่มีผลการดำเนินการเพียง 1 ปี สามารถเข้าจดทะเบียนได้ หากมีมูลค่าราคาตลาดของหลักทรัพย์ 1,000 ล้านบาท ขึ้นไป
14
หลักเกณฑ์การนำหุ้นสามัญเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
การบริหารงาน มีผู้บริหารและผู้มีอำนาจควบคุมที่มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ -ไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ** -ไม่เป็นบุคคลที่ฝ่าผืนข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่อาจมีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ หรือการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุน -มีการกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมการบริษัทตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด การกำกับดูแลกิจการและการควบคุมภายใน -มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี -มีกรรมการอิสระซึ่งมีองค์ประกอบและคุณสมบัติตามที่กำหนด -มีคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) ซึ่งมีคุณสมบัติตามและขอบเขตการดำเนินงานตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด -จัดให้มีระบบการควบคุมภายในตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
15
หลักเกณฑ์การนำหุ้นสามัญเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ** งบการเงินและผู้สอบบัญชี มีงบการเงินที่มีลักษณะและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ** ผู้สอบบัญชีของผู้ยื่นคำขอต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
16
ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ
ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ เป็นดัชนีราคาหลักทรัพย์ที่สะท้อนภาวะการซื้อขาย โดยรวมของตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ ทั้งหมด
17
สูตรการคำนวณดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai Index)
18
ประเภทดัชนี Composite Index เกณฑ์การคำนวณ หลักการคำนวณเช่นเดียวกันกับการคำนวณดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย คำนวณแบบถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization Weight) คำนวณโดยใช้หุ้นสามัญจดทะเบียนทุกตัวทุกตัวในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ ไม่นำหลักทรัพย์ที่ถูกขึ้นเครื่องหมาย SP เกิน 1 ปีมารวมในการคำนวณ การปรับฐานการคำนวณ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนหุ้นจดทะเบียนในตลาด และเมื่อมีหลักทรัพย์ย้ายไปซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ SET ค่าดัชนีเริ่มต้น 100 จุด วันฐาน 2 กันยายน 2545
19
ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ
ดัชนีราคาตราสารแห่งทุนของตลาดหลักทรัพย์ฯ สามารถใช้เป็นสินค้าอ้างอิงในการออกผลิตภัณฑ์ตราสารทางการเงินต่างๆ เช่น Tracker Funds และ กองทุน ETF เป็นต้น สำหรับการออกผลิตภัณฑ์ดังกล่าว จะต้องดำเนินการขออนุญาตรวมถึงจ่ายค่าธรรมเนียมสำหรับการใช้สิทธิในดัชนีราคาตราสารแห่งทุนดังกล่าวกับตลาดหลักทรัพย์ฯ
20
Tracker Fund กองทุนจะใช้กลยุทธ์การบริหารกองทุนเชิงรับ (Passive management strategy) โดยมีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Tracker Fund of Hong Kong (กองทุนรวมหลัก) เพียงกองทุนเดียว มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนี Hang Seng Index เลือกลงทุนเฉพาะในหุ้นสามัญของบริษัทต่างๆ ในสัดส่วนที่เท่ากับหรือใกล้เคียงกับน้ำหนักที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี Hang Seng Index ที่มา
21
ที่มา : http://www.parisint.com/ETFsolution.html
22
ความแตกต่างของสินค้าในตลาด SET และ mai
23
TSF - บริษัท ทรีซิกตี้ไฟว์ จำกัด (มหาชน)
-ดำเนินธุรกิจในการบริการสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ในทุกรูป แบบ รวมถึงการรับจัดงานโครงการต่างๆ ทั้งทางหน่วยงานราชการรัฐวิสาหกิจ และบริษัทเอกชน โดยเป็น ตัวแทนในการหาช่องทางเผยแผ่สื่อโฆษณาเพื่อประชาสัมพันธ์ใบริษัทลูกค้า เช่น การลงโฆษณาบนป้ายbillboard โขนาดใหญ่ สื่อโฆษณาในด้านต่างๆ เช่น สถานีโทรทัศน์และวิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ และการจัดการเพื่อดำเนินงานในโครงการต่างๆ ที่จัดขึ้น
26
ที่มา :http://inv4.asiaplus.co.th/cms/DW/relatedinfoDW.php
27
หน่วยลงทุน (Unit Trust)
หลักทรัพย์ที่ออกขายโดยบริษัทจัดการลงทุนเพื่อระดมเงินเข้ากองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้น แล้วจัดสรรเงินในกองทุนนั้นลงทุนในตลาดการเงินตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน ผู้ถือหน่วยลงทุนมีฐานะร่วมเป็นเจ้าของกองทุนนั้น ๆ และมีสิทธิได้รับเงินปันผลตอบแทนจากผลกำไรที่เกิดขึ้น
29
NVDR เอ็นวีดีอาร์หรือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย เป็นตราสารที่ออกโดยบริษัทที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้น ซึ่งคือ "บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด" (Thai NVDR Company Limited) เอ็นวีดีอาร์เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนโดยอัตโนมัติ (Automatic List)
30
NVDR วัตถุประสงค์หลัก คือเพื่อกระตุ้นการลงทุนและเพิ่มสภาพคล่องให้ตลาดหลักทรัพย์ และเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับนักลงทุนชาวต่างประเทศ โดยผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางการเงิน เช่น เงินปันผล และสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนเช่นเดียวกับการลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียน แต่ผู้ถือเอ็นวีดีอาร์จะไม่มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุมของบริษัทจดทะเบียน (Non-Voting Rights)
31
NVDR หลักทรัพย์อ้างอิง หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ์ ใบสำคัญแสดงสิทธิ
ใบแสดงสิทธิ์ในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้
32
ตัวอย่างธุรกิจเป้าหมายในตลาดหลักทรัพย์ mai
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับอาหาร(Food) กลุ่มแฟชั่นและออกแบบ (Fashion and Design) กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ (Automative and Part)
33
กลุ่มเทคโนโลยีชั้นสูงและซอฟแวร์ (High tecnology&software) ธุรกิจอื่นๆที่ตรงลักษณะกลุ่มเป้าหมาย -ธุรกิจแนวใหม่ของคนรุ่นใหม่
34
-ธุรกิจมีศักยภาพเติบโตสูง -ธุรกิจใช้องค์ความรู้เป็นหลักในการประกอบธุรกิจ -ธุรกิจสร้างนวัตกรรมใหม่ที่แตกต่าง
35
ตัวอย่าง warrant ใน mai
38
สรุปการซื้อขาย NVDR วันที่ 4/12/2555
44
กองทุนรวมที่ลงทุนใน mai
กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาว เอ็ม เอ ไอ (SCBLT3) เน้นการลงทุนในหุ้นที่มีพื้นฐานดี มั่นคงหรือมีแนวโน้มในการเจริญเติบโตสูง ส่วนที่เหลือจะลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัททั้งที่จดทะเบียนและไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนตราสารการเงิน โดยจะลงทุนในตราสารทุนประเภทหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และลงทุนในหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ทั้งนี้ อาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุน และจะไม่ลงทุนในตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Note)
45
กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวสมาร์ท (SCBPMO)
เน้นลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มี ปัจจัยพื้นฐานดี และมีแนวโน้มเจริญเติบโตในอนาคตไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม ส่วนที่เหลือจะลงทุนในหลักทรัพย์ของ บริษัททั้งที่จดทะเบียนและไม่ได้จดทะเบียน กองทุนเปิดไทยพาณิชย์มั่นคง (SCBMF) เน้นลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีปัจจัยพื้นฐานดีและมีแนวโน้มที่จะเจริญเติบโตในอนาคต ในสัดส่วนร้อยละ 70 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และส่วนที่เหลือจะลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัททั้งที่จดทะเบียนและไม่ได้จดทะเบียน
46
กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวสมาร์ท (SCBTS)
ลงทุนในตราสารทุนประเภทหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ซึ่งจะลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีพื้นฐานดี มั่นคง และมีแนวโน้มในการเจริญเติบโตสูง ส่วนที่เหลือจะลงทุนในหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นที่กองทุนสามารถลงทุนได้ เช่น หลักทรัพย์ของบริษัททั้งที่จดทะเบียน และไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงตราสารหนี้ หรือเงินฝากและตราสารการเงินอื่นๆ ในสัดส่วนที่เหมาะสมของแต่ละช่วงเวลา กองทุนเปิดบัวหลวงสิริผลบรรษัทภิบาล (BSIRICG) ลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียนไทย เน้นลงทุนในหุ้นที่มีมูลค่าตามราคาตลาดสูง (Market Capitalization) หรือมีสภาพคล่องสูงอย่างสม่ำเสมอ หรือมีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงและต่อเนื่อง ส่วนที่เหลือจะลงทุนในตราสารหนี้ ตราสารการเงินและเงินฝาก
47
กองทุนเปิดบัวหลวง Small-Mid Cap เพื่อการเลี้ยงชีพ (B-SM-RMF)
เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือตลาดเอ็ม เอ ไอ ที่มีแนวโน้มการเติบโตทางธุรกิจทางธุรกิจและมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี กองทุนเปิดแอสเซทพลัสหุ้นระยะยาวทวีกำไร (ASP-GLTF) ลงทุนในหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือตลาดหลักทรัพย์ mai โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม โดยกองทุนอาจจะลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivative) และตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (structured note)
48
วิธีการซื้อขายหลักทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์ mai
ตลาดหลักทรัพย์ mai กำหนดช่วงเวลาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ประจำวันเช่นเดียวกับตลาดหลักทรัพย์ SET
49
วิธีการซื้อขายหลักทรัพย์
ผู้ลงทุนสามารถทำการซื้อขายหลักทรัพย์โดยผ่านระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ mai เช่นเดียวกับตลาดหลักทรัพย์ SET คือได้ 2 วิธี ได้แก่ Automatic Order Matching (AOM) Trade Report
50
กระทำการเหมือนตลาดหลักทรัพย์ SET ทุกประการ
การคำนวณหาราคาเปิด (Opening Price) และราคาปิด (Close Price) หน่วยการซื้อขาย ช่วงราคา ราคาสูงสุด-ต่ำสุด ประเภทคำสั่งซื้อขาย การซื้อขายหลักทรัพย์นอกเวลาทำการ การหยุดการซื้อขายเป็นการชั่วคราวกรณี Circuit Breaker โปรแกรมเทรดดิ้ง Program Trading การซื้อขายผ่านระบบ “DMA” (Direct Market Access) กระทำการเหมือนตลาดหลักทรัพย์ SET ทุกประการ
51
ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ mai
ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ ค่าธรรมเนียมยื่นคำขอ ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ค่าธรรมเนียมรายปี 25,000 บาท 0.025% ของทุนชำระแล้ว ขั้นต่ำ 50,000 บาท ขั้นสูง 1,500,000 บาท 0.02% ของทุนชำระแล้ว ขั้นต่ำ 25,000 บาท ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ค่าธรรมเนียมยื่นคำขอ ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ค่าธรรมเนียมรายปี 30,000 บาท 0.025% ของมูลค่าหลักทรัพย์ ขั้นต่ำ 30,000 บาท ขั้นสูง 100,000 บาท ขั้นสูง 100,000 บาท
52
ค่าธรรมเนียมยื่นคำขอ
ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนหน่วยลงทุน ค่าธรรมเนียมยื่นคำขอ ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ค่าธรรมเนียมรายปี 30,000 บาท 0.025 % ของมูลค่าหน่วยลงทุน ขั้นต่ำ 50,000 บาท ขั้นสูง 100,000 บาท 0.025 % ของมูลค่าหน่วย ลงทุน ขั้นต่ำ 50,000 บาท ขั้นสูง 100,000 บา
53
การกำหนดราคาเสนอซื้อขายสูงสุดและต่ำสุดของหลักทรัพย์ (Ceiling & Floor limits)
ช่วงราคา (Spread) ช่วงราคา หมายถึง การเคลื่อนไหวขั้นต่ำของราคาหลักทรัพย์ สำหรับการเสนอซื้อเสนอขายหลักทรัพย์ ด้วยวิธี AOM ซึ่งช่วงราคาขึ้นอยู่กับระดับราคาของแต่ละหลักทรัพย์ดังนี้ ระดับราคา ช่วงราคา (เริ่มใช้ตั้งแต่ 30 มีนาคม 2552 เป็นต้นไป) ต่ำกว่า 2 บาท 0.01 บาท ตั้งแต่ 2 บาท แต่ต่ำกว่า 5 บาท 0.02 บาท ตั้งแต่ 5 บาท แต่ต่ำกว่า 10 บาท 0.05 บาท ตั้งแต่ 10 บาท แต่ต่ำกว่า 25 บาท 0.10 บาท ตั้งแต่ 25 บาท แต่ต่ำกว่า 100 บาท 0.25 บาท ตั้งแต่ 100 บาท แต่ต่ำกว่า 200 บาท 0.50 บาท ตั้งแต่ 200 บาท แต่ต่ำกว่า 400 บาท 1.00 บาท ตั้งแต่ 400 บาทขึ้นไป 2.00 บาท หมายเหตุ; ยกเว้น Unit Trust จะมีช่วงราคาเป็น 0.01 บาทเสมอ โดยไม่ขึ้นอยู่กับราคาตลาด
54
การกำหนดราคาเสนอซื้อขายสูงสุดและต่ำสุดของหลักทรัพย์ (Ceiling & Floor limits)
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงราคาเสนอซื้อขายสูงสุดและต่ำสุดจากราคาหลักทรัพย์ให้สามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้จากเดิมไม่เกินร้อยละ 10 มาเป็นไม่เกินร้อยละ 30 ของราคาซื้อขายสุดท้ายในวันทำการก่อนหน้า ตัวอย่างการคำนวณหา Ceiling & Floor หุ้นทั่วไป หลักทรัพย์ A มีราคาปิดครั้งก่อน 150 บาท Ceiling & Floor 30%ของราคาปิด = 150 × 0.3 = 45 บาท ราคาสูงสุด (Ceiling) = = 195 บาท ราคาต่ำสุด (Floor) = = 105 บาท
55
ตัวอย่างการคำนวณหา Ceiling & Floor ของหุ้นกรณี XD (Excluding Dividend)
: ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิรับเงินปันผล หลักทรัพย์ A มีราคาปิดครั้งก่อน 150 บาท ประกาศจ่ายปันผลในอัตราหุ้นละ 2 บาท ดังนั้นราคาไม่รวมสิทธิ = ราคาปิดครั้งก่อน-เงินปันผล = = 148บาท Ceiling & Floor 30%ของราคาปิด = 148×0.3 = 44.40บาท ราคาสูงสุด (Ceiling) = = บาท ราคาต่ำสุด (Floor) = = บาท
56
ตัวอย่างการคำนวณหา Ceiling & Floor
ของหุ้นกรณี XR (Excluding Right): ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิจองซื้อหุ้นออกใหม่ หรือ XS (Excluding Short-term Warrant): ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิใน การจองซื้อหลักทรัพย์ระยะสั้น หลักทรัพย์ A มีราคาปิดครั้งก่อน 150 บาทมีการเพิ่มทุนในอัตรา 2 หุ้นเดิม: 3 หุ้นใหม่ ในราคา10บาท ดังนั้นราคาหลักทรัพย์ A ที่หักสิทธิประโยชน์จากการถือหลักทรัพย์ = (ราคาปิดครั้งก่อน ×จำนวนหุ้นเดิม) + (ราคาใช้สิทธิ×จำนวนหุ้นใหม่) / (จำนวนหุ้นเดิม+จำนวนหุ้นใหม่) = (150×2) + (10×3)/ (2+3) = 66 ดังนั้น Ceiling & Floor 30% จะคำนวณโดยใช้ฐานราคา 66 บาท Ceiling & Floor 30%=66×0.3 =19.80 บาท ราคาสูงสุด (Ceiling) = =85.80 บาท ราคาต่ำสุด (Floor) = =46.20 บาท
57
ตัวอย่างการคำนวณหา Ceiling & Floor ของหุ้นกรณี XA (Excluding All)
: ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิทุกประเภทที่บริษัทประกาศให้ในคราวนั้น หลักทรัพย์ A มีราคาปิดครั้งก่อน 150 บาทประกาศจ่ายเงินปันผลในอัตราหุ้นละ 1 บาทมีการเพิ่มทุนในอัตรา 2 หุ้นเดิม: 3 หุ้นใหม่ ในราคา 10บาทดังนั้นราคาหลักทรัพย์ A ที่หักสิทธิประโยชน์จากการถือหลักทรัพย์ = [(ราคาปิดครั้งก่อน-เงินปันผล) ×จำนวนหุ้นเดิม + (ราคาใช้สิทธิ×จำนวนหุ้นใหม่)] / (จำนวนหุ้นเดิม+จำนวนหุ้นใหม่) = [(150-1) ×2 + (10×3)] / (2+3) = 65.60 ดังนั้น Ceiling & Floor 30% จะคำนวณโดยใช้ฐานราคา บาท Ceiling & Floor 30%=65.60×0.3 =19.68 บาท ราคาสูงสุด (Ceiling) = =85.28 บาท ราคาต่ำสุด (Floor) = =45.92 บาท
58
ข้อยกเว้น หลักทรัพย์ที่เริ่มการซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์ จะไม่มีการกำหนด Ceiling & Floor ของราคาหลักทรัพย์ เป็นการซื้อขายวันแรกของหลักทรัพย์ที่มีการขึ้นเครื่องหมายให้สิทธิประโยชน์ เช่น XD,XR,XS,XA การซื้อขาย Derivative Warrant (DW) ไม่มี Ceiling & Floor 4. ราคาซื้อขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหน่วยลงทุน (Warrant) สามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นสูงสุดหรือต่ำสุดไม่เกินร้อยละ 30 ของหุ้นสามัญคูณด้วยสิทธิในการซื้อหุ้นหรือหน่วยลงทุน ตัวอย่างการคำนวณหา Ceiling & Floor ของ Warrant หลักทรัพย์ A มีราคาปิดครั้งก่อน150บาท และหลักทรัพย์ A-W มีราคาปิดครั้งก่อน 120 บาท และสิทธิในการซื้อหุ้นเท่ากับ 1 Warrant: 2 หุ้น 30% ของราคาปิด = (150×0.3) ×2 = 90 ราคาสูงสุด (Ceiling) = = 210 บาท ราคาต่ำสุด (Floor) = = 30 บาท
59
5. หลักทรัพย์นั้นไม่มีการซื้อขายติดต่อกันเกินกว่า 15 วันทำการขึ้นไป บริษัทสามารถขอให้ตลาดหลักทรัพย์ปรับCeiling & Floor ของหลักทรัพย์ได้ 6. ในกรณีที่ราคาปิดของหลักทรัพย์ในวันก่อนหน้าต่ำกว่า 1 บาท ยกเว้นใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญหรือหน่วยลงทุน กำหนดให้ Floor ของหลักทรัพย์ = 0.01บาท Ceiling ของหลักทรัพย์ = 100%ของราคาซื้อขายครั้งสุดท้ายของหลักทรัพย์นั้น
60
เครื่องหมายต่างๆ ในระบบซื้อขายหุ้น
H (Halt Trade) หลักทรัพย์ถูกห้ามซื้อขายชั่วคราว เนื่องจากมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นกับบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ในระหว่างเวลาซื้อขายและอยู่ระหว่างรอการเปิดเผยข้อมูล ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดเผยได้ทันที โดยมีระยะเวลาไม่เกินกว่าหนึ่งรอบการซื้อขาย NP (Notice Pending) ตลาดหลักทรัพย์กำลังรอคำชี้แจงหรือรายงานข้อมูลเพิ่มเติมจากบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ NR (Notice Received) ตลาดหลักทรัพย์ได้รับแจ้งข้อมูลข่าวสารหรือคำชี้แจงจากบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์แล้ว SP (Suspension) หลักทรัพย์ถูกห้ามซื้อขายชั่วคราว โดยแต่ละครั้งมีระยะเวลาเกินกว่าหนึ่งรอบการซื้อขาย NC (Non Compliance) หลักทรัพย์เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน ST (Stabilization) หุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่มีการซื้อหุ้นเพื่อส่งมอบหุ้นที่จัดสรรเกิน
61
CM (Call Market) บริษัทจดทะเบียนที่มีการกระจายการถือหุ้นไม่ครบถ้วนตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้หุ้นสามัญของบริษัทดังกล่าวทำการซื้อขายด้วยวิธีการ Call Market เครื่องหมายแสดงการไม่ได้รับสิทธิต่าง ๆ XM (Exclude meetings): ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ไม่มีสิทธิเข้าประชุม ผู้ถือหุ้น XI (Excluding Interest): ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิรับดอกเบี้ย XD (Excluding Dividend): ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิรับเงินปันผล XR (Excluding Right): ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิจองซื้อหุ้นออกใหม่ XA (Excluding All): ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิทุกประเภทที่บริษัทประกาศให้ในคราวนั้น XW (Excluding Warrant): ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหลักทรัพย์
62
ภาพตัวอย่างการขึ้นเครื่องหมาย
XS (Excluding Short-term Warrant): ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหลักทรัพย์ระยะสั้น XE (Excluding Exercise): แสดงการปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น เพื่อให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นในการนำตราสารสิทธิไปแปลงสภาพเป็นหุ้นอ้างอิง
63
ภาพรวมตลาด mai ปี 2555 แม้ว่าหุ้นใน mai ส่วนใหญ่จะมีจำนวนหุ้นหมุนเวียนน้อย ราคาผันผวนสูง สร้างราคาง่าย มีความเสี่ยงมากกว่าหุ้นที่อยู่ใน SET ทำให้นักลงทุนมองข้ามหุ้น mai ไป เพราะส่วนใหญ่เป็นหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็ก จึงมีความเสี่ยงและความผันผวนในเรื่องของผลกำไรมากกว่าหุ้นขนาดใหญ่ แต่ภาพรวมตลาด mai ในปัจจุบันถือได้ว่ามีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน บริษัทจดทะเบียนใน mai ยังคงเติบโตทั้งยอดขายและกำไร โดยมีผลกำไร 61 บริษัท คิดเป็น 78% ของบริษัทใน mai ทั้งหมด และสามารถรักษาระดับอัตรากำไรขั้นต้น 20.28% ใกล้เคียงกับงวดเดียวกันของปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะเผชิญแรงกดดันจากต้นทุนขายที่เพิ่มขึ้นก็ตาม
64
ภาพรวมตลาด mai ปี 2555 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai จำนวน 78 บริษัท จาก 79 บริษัท ที่นำส่งงบการเงินงวดไตรมาส 3 ปี มียอดขายรวม 24,764 ล้านบาท และกำไรสุทธิรวม 1,504 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 9.03% และ 32.70% ตามลำดับ ในช่วง 9 เดือนแรก มียอดขายรวม 72,475 ล้านบาท และกำไรสุทธิรวม 4,205 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 15.36% และ % ตามลำดับ และยังมีอีก 19 บริษัทที่ยังคงมีกำไรต่อเนื่องอย่างน้อย 8 ไตรมาสนับแต่เข้าจดทะเบียนใน mai ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ mai ณ วันที่ 19 พ.ย ปิดที่ระดับ จุด มีมูลค่าตลาดรวม (Market capitalization) อยู่ที่ 115, ล้านบาท และมีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันถึง 1, ล้านบาท ซึ่งนับเป็นระดับการซื้อขายที่สูงแตะพันล้านบาทเป็นปีแรก
65
ความสำคัญของ Venture Capital กับ mai
ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SME) เป็นธุรกิจที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของไทยโดยในปี 2553 SME ของไทยมีการจ้างงานสูงถึงร้อยละ 77.9 และมีผลผลิตมวลรวมร้อยละ 37.1 ของการจ้างงานและผลผลิตมวลรวมทั้งประเทศ และยังมีความสำคัญในด้านการค้าระหว่างประเทศ โดยมีสัดส่วนการส่งออกและนำเข้าคิดเป็นร้อยละ 28.4 และ 30.4 ของมูลค่าการส่งออกและนำเข้า ปัญหาที่สำคัญของ SME ไทยที่มีศักยภาพในการเติบโต คือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน เนื่องจากเป็นธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง การที่จะขอสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ อาจทำได้ยากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ เพราะขาดประวัติทางการเงินที่น่าเชื่อถือ ถึงแม้จะขอสินเชื่อได้ ก็ยังมีภาระหนี้สินตามมา การลงทุนเพื่อสร้างนวัตกรรมและการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเป็นการลงทุนที่ใช้เวลาค่อนข้างนาน ต้องใช้เงินลงทุนสูง ผลตอบแทนที่ได้อาจไม่คุ้มค่าหากไม่ประสบความสำเร็จ
66
ความสำคัญของ Venture Capital กับ mai
การที่บริษัทสามารถจดทะเบียนเข้าตลาด mai ได้ จะทำให้บริษัทเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น ทำให้สามารถระดมทุนในระยะยาวโดยปราศจากภาระดอกเบี้ยได้ ถ้าบริษัทไม่สามารถระดมทุนจากการก่อหนี้ได้ก็ย่อมต้องใช้เงินทุนในส่วนของเจ้าของ แต่ถ้าไม่อยากก่อหนี้และไม่อยากใช้เงินของเจ้าของก็ยังมีทางเลือกอีกหนึ่งทางคือการเข้าร่วมกับ Venture Capital หรือ Venture Capital Fund กองทุนธุรกิจร่วมลงทุน (Venture Capital Fund) สามารถร่วมลงทุนกับธุรกิจได้เกือบทุกประเภท เน้นลงทุนในธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตสูง มีระบบบัญชีและระบบภายในที่ดี ซึ่งรูปแบบการเข้าร่วมลงทุนของ VC-Fund มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ Strategic Partner และ Financial Partner ซึ่ง VC จะเข้ามาเป็นหุ้นส่วน โดยจะเข้าไปลงทุนถือหุ้นในสัดส่วนไม่เกิน 25% และสูงสุดไม่เกิน 49%
67
ความสำคัญของ Venture Capital กับ mai
VC ยังให้คำปรึกษาในการดำเนินธุรกิจ การจัดการการเงิน และการวางมาตรฐานของระบบบัญชี เพื่อให้กิจการนั้นสามารถพัฒนาให้มีความเป็นมาตรฐานพอที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ ส่วนใหญ่ VC จะร่วมลงทุนประมาณ 5-6 ปี เมื่อธุรกิจที่เข้าไปร่วมลงทุนสามารถจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ mai ได้แล้ว VC ก็จะถอนเงินลงทุนออกไป (Exit) VC Fund ยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างและพัฒนาธุรกิจใหม่ๆ (startup) ในระบบเศรษฐกิจ ทำให้มีศักยภาพที่จะแข่งขันกับต่างประเทศและช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เจริญเติบโตขึ้น อย่างไรก็ตามการระดมทุนโดยใช้ VC Fund ในประเทศไทยนั้นยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมหรือได้รับความสนใจมากนัก เพราะรูปแบบการทำธุรกิจของคนไทยส่วนใหญ่จะรู้สึกผูกพันในความเป็นเจ้าของสูงนอกจากนี้การจะเข้าร่วมกับ VC ยังมีความยุ่งยาก และมีอีกหลายปัจจัยที่ VC ต้องพิจารณา ทำให้ VC ในประเทศไทยยังไม่ค่อยมีการพัฒนามากนัก
68
ตัวอย่างกองทุนธุรกิจร่วมลงทุน (Venture Capital Fund) ของไทย
K-SME Venture Capital Fund (บริษัท หลักทรัพย์จัดการเงินร่วมลงทุนข้าวกล้า จำกัด) นโยบายการลงทุน - ร่วมลงทุน SME ที่มีมูลค่าสินทรัพย์ถาวร (ซึ่งไม่รวมที่ดิน) ไม่เกิน 200 ล้านบาท - เข้าไปถือหุ้นใน SME คิดเป็นสัดส่วนขั้นต่ำ 10% แต่ไม่เกิน 50 % ของทุนจดทะเบียน หลังร่วมลงทุนแล้ว - ลงทุนในฐานะนักลงทุนทางการเงิน (Financial Investor) โดยจะไม่เข้าไปก้าวก่ายการ บริหารจัดการประจำวันของธุรกิจ นอกเหนือจากการใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นรายหนึ่ง - ระยะเวลาการลงทุนตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 5 ปี
69
(บริษัท เอ็ม เอ ไอ แมทชิ่ง ฟันด์ จำกัด)
mai Matching Fund (บริษัท เอ็ม เอ ไอ แมทชิ่ง ฟันด์ จำกัด) - ร่วมลงทุนในธุรกิจที่มีศักยภาพและมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่มีคุณลักษณะตรงกับตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ - มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาบริษัทเพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ ในอนาคต - เงินลงทุนของกองทุนมาจากเอ็ม เอ ไอ แม็ทชิ่ง ฟันด์และการระดมทุนของนักลงทุนสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ - แต่ละกองทุนจะนำไปให้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการเงินร่วมลงทุน (บลท.) หรือบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน (บลจ.) ที่ถูกคัดเลือกจากตลาดหลักทรัพย์ mai ทำหน้าที่ในการบริหารกองทุน
70
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
- ไม่ได้เน้นกำไรเป็นหลัก - มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโอกาสให้กับธุรกิจที่มีนวัตกรรมของคนไทยและ เป็นการส่งเสริม SME ที่มีศักยภาพให้เติบโตต่อไปในอนาคต - ธุรกิจที่ สสว. เข้าร่วมลงทุนด้วยจะได้รับโอกาสในการเข้าถึงความช่วยเหลือ การส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานจากหน่วยงานภาครัฐ เช่น การบริหารจัดการ การตลาด การผลิต การบัญชีและการเงิน รวมถึงระบบพี่เลี้ยงและที่ปรึกษา
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.