ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยSomwang Kaewburesai ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
ปรับค่าแรง300 บาทมีผลกระทบ เศรษฐกิจประเทศไทยจริง?
การประชุมใหญ่สามัญประจำปี สหพันธ์แรงงานยานยนตร์แห่งประเทศไทย ปรับค่าแรง300 บาทมีผลกระทบ เศรษฐกิจประเทศไทยจริง?
2
อัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ
ตามนิยามขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization หรือ ILO) อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นระดับค่าจ้างที่ช่วยปกป้องแรงงาน ระดับล่างจากความยากจน (Poverty Safety Net) และ สร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจให้แก่แรงงาน กล่าวคือช่วยให้แรงงานได้รับประโยชน์ของการพัฒนา และการเติบโตทางเศรษฐกิจไปพร้อมกับกลุ่มเศรษฐกิจ อื่น (Fair Wage)
3
สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย
ประเทศไทยมีคนจนและคนเกือบจนประมาณ 10 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 15.4 ของประชากรทั้งหมด สังคมไทยมีปัญหาความเหลื่อมล้ำรุนแรงมากขึ้น ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ ตกอยู่กับคนกลุ่มเล็กๆ โดยเฉพาะกลุ่มคนรวยที่สุด 10% เป็นเจ้าของรายได้ถึงร้อยละ กลุ่มที่จนที่สุดร้อยละ 10 เป็นเจ้าของรายได้เพียงร้อยละ 1.69 ( รายได้ของของกลุ่มคนที่รวยที่สุด 10 % แรกกับกลุ่มคนจนที่สุด 10% ล่างสุด แตกต่างกันถึง เท่า
4
ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำสะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างที่สำคัญหลายด้าน ดังนี้
โครงสร้างเศรษฐกิจเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มเจ้าของทุนมากกว่าเจ้าของแรงงาน และธุรกิจขนาดกลางมีการพัฒนาช้า การกระจายการบริการพื้นฐานของรัฐมีความเหลื่อมล้ำทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โครงสร้างภาษียังไม่เป็นธรรมจึงไม่ช่วยสนับสนุนการกระจายผลประโยชน์การพัฒนา ปัญหาระบบกรรมสิทธิ์ที่ดิน การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม การบริหารราชการแผ่นดิน
5
การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ
คณะกรรมการจาก 3 ฝ่าย (Tripartite institutions) กำหนดผ่าน Collective agreement ระหว่างกลุ่มนายจ้างกับกลุ่มลูกจ้าง กำหนดโดยรัฐบาล กำหนดโดยกลไกตลาด
6
ความเหมาะสมของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
(1) ความเหมาะสมต่อการใช้จ่ายตามอัตภาพ ประกอบด้วยรายจ่ายที่จำเป็นต่างๆได้แก่ ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่าเช่าที่อยู่อาศัย ค่าสาธารณูปโภค ค่ารักษาพยาบาลและยาที่นอกเหนือจากประกันสังคม ค่าใช้จ่ายส่วนตัว และค่ายานพาหนะ (2) ความเหมาะสมต่อการใช้จ่ายตามคุณภาพ คือขนาดของค่าใช้จ่ายตามอัตภาพรวมกับค่าใช้จ่ายในการผ่อนชำระที่อยู่อาศัย เงินทำบุญ ทอดกฐินและผ้าป่าและค่าใช้จ่ายเพื่อการบันเทิงและพักผ่อน (3) ความเหมาะสมตามผลิตภาพของแรงงาน (Marginal Productivity of Labour) ซึ่งวัดจาก Real GDP ต่อจำนวนการจ้างงาน
8
ตลอด 5 ปีที่ผ่านมาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยทั้งประเทศ
อยู่ต่ำกว่าระดับที่สอดคล้องกับการใช้จ่ายตามคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี ช่วง 3 ปีที่ผ่านมานี้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำยังน้อยกว่าความ ต้องการใช้จ่ายตามอัตภาพ
10
แม้เมื่อคิดรวมถึงสวัสดิการต่างๆ เงินโบนัส
และค่าล่วงเวลา ทั้งที่เป็นตัวเงินและที่ไม่ใช่ตัวเงิน ก็ยัง พบว่าค่าต่างตอบแทนจากการทำงาน (Compensation of employees) ของแรงงานระดับล่างยังต่ำกว่าอัตรา ค่าจ้างตามคุณภาพในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาที่เป็น เช่นนี้ก็เพราะจำนวนวันหรือชั่วโมงการทำงาน ค่าจ้าง ล่วงเวลา และเงินโบนัส ล้วนมีความสัมพันธ์และ อ่อนไหวตามภาวะเศรษฐกิจจะเห็นว่าในช่วงเศรษฐกิจ ไม่ดีตลาดแรงงานจะปรับตัวโดยการลดจำนวนชั่วโมง การทำงานและการเลิกจ้าง ซึ่งจะกระทบโดยตรงต่อค่า ต่างตอบแทนของแรงงาน
13
หากพิจารณาในด้านความเป็นธรรมทาง
เศรษฐกิจโดยเปรียบเทียบอัตราการเติบโตของค่าจ้างขั้น ต่ำกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ พบว่าอัตรา ค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยในปี ขยายตัวเพียง ร้อยละ 1.8 ต่อปี ขณะที่ Nominal GDP เติบโตโดย เฉลี่ยถึงร้อยละ 6.8 ต่อปี และอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ ร้อยละ 2.3 นอกจากนี้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำยัง ต่ำกว่าผลิตภาพของแรงงานมาโดยตลอด
14
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยจากการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท/วัน
การเลิกจ้างของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยลดลง เกิดการย้ายฐานการลงทุน อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น
15
ทางออก ตั้งกองทุนให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก
ให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีในการผลิต พัฒนาฝีมือแรงงานอย่างต่อเนื่อง ลดต้นทุนแฝงในการประกอบธุรกิจด้านอื่นๆ การปรับตัวของอัตราเงินเฟ้อในประเทศไทยไม่ได้มีสาเหตุมาจากอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ แต่การปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นการเกื้อกูลให้แรงงานสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในภาวะเงินเฟ้อสูง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.