งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเตรียมความพร้อม ของการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเตรียมความพร้อม ของการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเตรียมความพร้อม ของการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น
เรืองชัย จรุงศิรวัฒน์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญประจำสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เอกสารประกอบการอบรม ข้าราชการและพนักงาน สายสนับสนุนในมหาวิทยาลัย เพื่อทำแผลงานทางวิชาการในการกำหนดตำแหน่งให้สูงขึ้นเป็นระดับ ชำนาญงาน ชำนาญงานพิเศษ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ และ เชี่ยวชาญ

2 การกำหนดตำแหน่งให้สูงขึ้น ตำแหน่งนั้นจะต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบ คุณภาพและความยุ่งยากของงานในตำแหน่งเพิ่มขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญถึงขนาดที่จะต้องกำหนดตำแหน่งเป็นระดับสูงขึ้น การกำหนดระดับตำแหน่ง ต้องยึดหลักการวิเคราะห์ภารกิจของหน่วยงานและประเมินค่างานเพื่อวัดคุณภาพของตำแหน่งตามลักษณะงาน หน้าที่และความรับผิดชอบ คุณภาพ และความยุ่งยากของงาน

3 ที่มา: พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547
มาตรา 20 ให้สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดกรอบของตำแหน่ง อันดับเงินเดือนของตำแหน่งและจำนวนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่พึงมีในสถาบันอุดมศึกษานั้น รวมทั้งภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่ง และคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง การกำหนดตามวรรคหนึ่งให้กำหนดคราวละสี่ปี โดยต้องคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพความไม่ซ้ำซ้อน ความประหยัด และต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด ที่มา: พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ

4

5 ระดับชำนาญงาน ชำนาญงานพิเศษ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ
ระดับชำนาญงาน ชำนาญงานพิเศษ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ กำหนดให้มีได้ทั้งหน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษาซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่สอน วิจัย ให้บริการวิชาการ และ หน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจสนับสนุนภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา * ข้อ 3 (1) ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานการกำหนด ระดับตำแหน่งและการแต่งตั้ง ขรก.พลเรือนในสถาบัน อุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งให้สูงขึ้น ลวท.22 ธค.53

6 ระดับ เชี่ยวชาญ และ เชี่ยวชาญพิเศษ
ระดับ เชี่ยวชาญ และ เชี่ยวชาญพิเศษ กำหนดให้มีได้เฉพาะหน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษาซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่สอน วิจัย ให้บริการวิชาการ และ สำนักงานอธิการบดี(ไม่รวมกอง) * ข้อ 3 (2) ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานการกำหนด ระดับตำแหน่งและการแต่งตั้ง ขรก.พลเรือนในสถาบัน อุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งให้สูงขึ้น ลวท.22 ธค.53

7 ผลงานที่ต้องใช้ ยื่นประกอบการขอ กำหนดตำแหน่ง

8

9 ระดับชำนาญงาน ชำนาญงานพิเศษ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ
- ผลงานที่แสดงความเป็นผู้ ชนง. ชนพ. ชนก. ชนพ. - จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ระดับเชี่ยวชาญ - ผลงานที่แสดงความเป็นผู้ ชช. - จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ - การใช้ความรู้ความสามารถในงานสนับสนุนงานบริการวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ - ผลงานที่แสดงความเป็นผู้ ชชพ. - จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ - การใช้ความรู้ความสามารถในงานสนับสนุนงานบริการวิชาการ - ความเป็นที่ยอมรับในงานด้านนั้นๆ หรือในวงวิชาการ/วิชาชีพ

10 หลักเกณฑ์และการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น ต้องเป็นตำแหน่งที่สถาบันอุดมศึกษาได้ประเมินค่างานแล้ว ผลงานที่นำเสนอเพื่อประกอบการพิจารณา อย่างน้อยต้องมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ - มิใช่ผลงานที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาและการฝึกอบรม - มิใช่ผลงานเดิมที่เคยใช้ประเมินแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นมาแล้ว - กรณีที่เป็นผลงานร่วมต้องระบุการมีส่วนร่วมและมีคำรับรองจากผู้มีส่วนร่วม

11 การประเมินเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพของผู้ยื่นขอ เกณฑ์การตัดสินผลสัมฤทธิ์ของงาน ความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งที่จะประเมิน หรือสมรรถนะทางการบริหาร ให้เป็นไปตามที่สภาสภาบันอุดมศึกษากำหนด ให้สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดระดับคุณภาพของงาน (ปรับปรุง พอใช้ ดี ดีมาก ดีเด่น ฯลฯ)ในการประเมิน

12 การตัดสินคุณภาพของผลงานให้ใช้คะแนนเสียงข้างมาก เว้นแต่โดยวิธีพิเศษต้องใช้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าเสียงของที่ประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินผลงานและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น ให้กระทำได้สองวิธีคือ วิธีปกติ และ วิธีพิเศษ วิธีปกติ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้ มีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง - ต้องได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับที่จะแต่งตั้ง โดยมีจำนวนกรรมการประเมินฯไม่น้อยกว่าสามคน

13 วิธีพิเศษ มีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ทั้งนี้ต้องได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับที่จะแต่งตั้ง โดยสภาสถาบันอุดมศึกษาจะต้องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้ง และผลงานที่มีระดับคุณภาพสูงกว่าวิธีปกติ โดยมีจำนวนกรรมการประเมินไม่น้อยกว่าห้าคน วิธีการประเมินค่างาน ให้สถาบันอุดมศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินค่างาน จำนวนไม่น้อยกว่าสามคนแต่ ไม่เกินห้าคน โดยมีผู้บังคับบัญชาผู้เสนอขอฯร่วมเป็นกรรมการ และ หัวหน้าหน่วยงานที่รับผิดชอบการบริหารงานบุคคลเป็นกรรมการเลขานุการ

14 การประเมินค่างานของระดับ ชช
การประเมินค่างานของระดับ ชช.พิเศษในตำแหน่งที่ปรึกษาให้สภาสถาบันอุดมศึกษาแต่งตั้งคณะ กก. ประเมินค่างานประกอบด้วยผู้บริหารตาม ม.18 (ข) (๑) และ(๒) ภายใน สถาบันอุดมศึกษาไม่น้อยกว่าสามคนแต่ไม่เกินห้าคน แล้วนำผลการประเมินเสนอสภาสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพิจารณาอนุมัติกรอบตำแหน่งที่ปรึกษา คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯเพื่อประเมินผลงานและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพจะต้องเป็นผู้ทรงฯที่มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญหรือความเชี่ยวชาญตรงสาขาวิชาชีพกับวิชาชีพของตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง และ จะต้องดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่จะแต่งตั้งหรือเทียบเท่า

15 ระดับชำนาญงาน ชำนาญการ
กก.ผู้ทรงฯประกอบด้วยกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากบุคคล ภายในสถาบันอุดมศึกษานั้น แต่ต้องต่างสังกัดหน่วยงานกับผู้เสนอขอแต่งตั้ง(หน่วยงานระดับคณะ/ศูนย์/สถาบัน/สำนัก) และกรรมการภายนอกสถาบันอุดมศึกษาอีกอย่างน้อยหนึ่งคน รวมจำนวน กก.ทั้งหมดไม่น้อยกว่าสามคน ระดับชำนาญงานพิเศษ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ เชี่ยวชาญพิเศษ กก.ผู้ทรงฯประกอบด้วย กก.ไม่น้อยกว่าสามคน โดยแต่ง ตั้งจากบุคคลภายนอกสถาบันอุดมศึกษาตามบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.พ.อ.กำหนด ในกรณีที่มีความจำเป็นที่ไม่อาจแต่งตั้งตามบัญชีได้ให้เสนอ ก.พ.อ.เห็นชอบเป็นกรณีไป

16

17

18

19 ระดับชำนาญงาน ชำนาญการ ชำนาญงานพิเศษ ชำนาญการพิเศษ
ระดับชำนาญงาน ชำนาญการ ชำนาญงานพิเศษ ชำนาญการพิเศษ กก.ผู้ทรงฯประเมินผลงานและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ แต่ละคนประเมินแล้วส่งผลการประเมินโดยจะไม่มีการประชุมก็ได้ ระดับเชี่ยวชาญ เชี่ยวชาญพิเศษ กก.ผู้ทรงฯประเมินผลงานและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ จะต้องจัดให้มีการประชุมพิจารณาผลงานร่วมกัน

20 การแต่งตั้งให้บุคคลดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น ให้อธิการบดี โดยความเห็นชอบของหรือคณะกก.ที่สภาสถาบันอุดมศึกษามอบหมายเป็นผู้มีอำนาจสั่งแต่งตั้ง เว้นแต่ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาเสนอ ก.พ.อ. ให้ความเห็นต่อ รมว.กระทรวงศึกษาฯ เพื่อนำเสนอ นรม.นำกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง เมื่อมีการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นแล้ว ให้มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการตามลักษณะงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ คุณภาพและความยุ่งยากของงานของตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งด้วย

21

22

23 ในกรณีที่ กก.ผู้ทรงฯ มีมติให้ปรับปรุงผลงาน ให้ผู้เสนอขอฯ ปรับปรุงผลงานได้ภายในระยะเวลา 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่รับทราบมติ ยกเว้นมีเหตุผลความจำเป็นอาจขยายระยะเวลาออกไปได้อีกไม่เกิน 3 เดือน ทั้งนี้...หากผลการพิจารณาผลงานที่ปรับปรุงแล้วมีคุณภาพ ตามเกณฑ์ที่สถาบันอุดมศึกษากำหนด วันที่แต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งต้องเป็นวันที่สภาสถาบันอุดมศึกษารับผลงานที่ปรับ ปรุงสมบูรณ์แล้ว กรณีที่ให้ปรับปรุง หมายถึง การปรับปรุงผลงานชิ้นเดิมที่ยังไม่เข้าเกณฑ์เฉพาะส่วนที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกต้องเท่านั้น มิใช่เป็นการทำผลงานชิ้นใหม่ หรือส่งผลงานชิ้นใหม่พิจารณาแทน

24 ในกรณีที่ไม่ได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่ง ผู้เสนอขอฯ มีสิทธิ ขอให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาทบทวนได้ไม่เกิน 2 ครั้ง โดยในคำขอทบทวนนั้นต้องแสดงข้อเท็จจริง ข้ออ้าง และเหตุผลที่สนับสนุน(ทบทวน) และต้องยื่นขอทบทวนภาย ใน 90 วัน นับจากวันที่รับทราบมติ เมื่อสภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องคำขอทบทวนแล้วให้ ส่งคำขอนั้นแก่คณะกก.ประเมินฯ หากคณะกก.ดังกล่าวมีความเห็นประการใด ให้เสนอต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาพิจาณา ผลการพิจารณาของสภาสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นที่สุด

25 เมื่อคณะกก.ประเมินฯ ได้รับเรื่องการขอทบทวน ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้....
การทบทวนครั้งที่ 1 ก.กรณีเห็นว่าคำขอทบทวนขาดข้อเท็จจริง ข้ออ้าง และเหตุผลที่สนับสนุนคำขอ ให้มีมติไม่รับพิจารณา ข.กรณีเห็นว่าคำขอทบทวนมีข้อเท็จจริง ข้ออ้าง และเหตุผลที่สนับสนุนคำขอ ให้มีมติรับพิจารณา แล้วให้กก.ประเมินฯ ชุดเดิมพิจารณา

26 การทบทวนครั้งที่ 2 ก.กรณีเห็นว่าคำขอทบทวนขาดข้อเท็จจริง ข้ออ้าง และเหตุผลที่สนับสนุนคำขอเพิ่มเติมจากครั้งที่ 1 ให้มีมติ ไม่รับพิจารณา ข.กรณีเห็นว่าคำขอทบทวนมีข้อเท็จจริง ข้ออ้าง และเหตุผลที่สนับสนุนคำขอเพิ่มเติมจากครั้งที่ 1 ให้มีมติรับพิจารณา แล้วแต่งตั้งกก.ประเมินฯชุดใหม่พิจารณา โดยมีจำนวนกก. เท่ากับชุดเดิมเพื่อพิจารณา ค.เมื่อกก.ประเมินฯชุดใหม่ได้พิจารณาคำขอทบทวนแล้ว ให้ สถาบันอุดมศึกษานำผลการพิจารณาชองชุดใหม่และชุดเดิม เสนอคณะกรรมการประเมินเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นพิจารณาต่อไป

27

28 คำนิยามผลงาน คู่มือปฏิบัติงานหลัก คือ เอกสารแสดงเส้นทางการทำงานในงานหลักของตำแหน่ง ตั้งแต่จุดเริ่ม ต้นจนสิ้นสุดกระบวนการ โดยระบุขั้นตอนและรายละเอียดของกระบวนการต่าง ๆ ในการปฏิบัติ งาน กฎ ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน ตลอดจนแนวทางแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานดังกล่าว ซึ่งต้องใช้ประกอบการปฏิบัติงานมาแล้ว และต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยน แปลงเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงาน

29 ผลงานเชิงวิเคราะห์ คือ ผลงานที่แสดง การแยกแยะองค์ประกอบต่าง ๆ ของเรื่องอย่าง มีระบบ มีการศึกษาในแต่ละองค์ประกอบและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องนั้น ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานหรือสถาบันอุดมศึกษา

30 ผลงานเชิงสังเคราะห์ คือ ผลงานที่แสดงการรวบรวมเนื้อหาสาระต่าง ๆ หรือองค์ประกอบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างรูปแบบหรือโครงสร้างเบื้องต้น เพื่อให้เกิดแนวทางหรือเทคนิควิธีการใหม่ในเรื่องนั้น ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่องานของหน่วยงานหรือสถาบันอุดมศึกษา

31 ผลงานวิจัย คือ ผลงานที่เป็นงานศึกษาหรืองานค้นคว้าอย่างมีระบบ ด้วยวิธีวิทยาการวิจัยที่เป็นที่ยอมรับ และมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลคำตอบหรือข้อสรุปรวมที่เป็นประโยชน์และนำไปสู่การปรับปรุงพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาในงานของหน่วยงานหรือสถาบันอุดมศึกษา

32 ผลงานในลักษณะอื่น คือ สิ่งประดิษฐ์หรืองานสร้างสรรค์ หรือผลงานด้านศิลปะ ตกแต่ง ซ่อมบำรุง ซึ่งมิใช่มีลักษณะเป็นเอกสาร หนังสือ คู่มือ หรืองานวิจัย โดยผลงานที่เสนอจะต้องประกอบด้วยบทวิเคราะห์ที่อธิบายและชี้ให้เห็นว่างานดังกล่าวเป็นประโยชน์และนำไปสู่การปรับปรุงพัฒนางานหรือแก้ไขปัญหาในงาน ทั้งนี้ ผลงานดังกล่าวต้องเป็นผลงานที่ผ่านการพิสูจน์หรือมีหลักฐานที่แสดงถึงคุณค่าของผลงานนั้น

33 สรุปความก้าวหน้าของสายสนับสนุน
ชำนาญงาน แท่งทั่วไป ชำนาญงานพิเศษ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ แท่งวิชาชีพเฉพาะหรือ เชี่ยวชาญเฉพาะ เชี่ยวชาญ เชี่ยวชาญพิเศษ

34 อัตราเงินเดือน และ เงินประจำตำแหน่ง

35 ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะ (ป.ตรี)
อัตราเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง ค่าตอบแทน ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะ (ป.ตรี) 67,560 43,810 62,760 31,400 53,080 22,140 39,630 15,050 24,450 8,340 เชี่ยวชาญพิเศษ(10) 13,000 บาท เชี่ยวชาญ(9) 9,900 บาท 5,600 บาท(วช.) 3,500 บาท(ค่าตอบแทน) ชำนาญการพิเศษ(8) ชำนาญการ(6-7) 3,500 บาท(วช.) ปฏิบัติการ(3-5)

36 ตำแหน่งประเภททั่วไป (ต่ำกว่าปริญญาตรี)
อัตราเงินเดือน ตำแหน่งประเภททั่วไป (ต่ำกว่าปริญญาตรี) 49,830 15,410 35,220 10,190 19,100 4,870 ชำนาญการพิเศษ(7-8) ชำนาญงาน(5-6) ปฏิบัติงาน(1-3)

37 เงือนไขการรับ เงินประจำตำแหน่ง

38

39

40

41

42

43

44 ที่มาของ เงินตอบแทน 3,500 บาท

45

46

47

48 ชำนาญงานพิเศษ ไม่ได้เงินตอบแทน 3,500 บาท

49

50

51 การสร้างแรงจูงใจ ให้มีการทำผลงาน วิชาการ ในบางมหา’ลัย

52

53

54

55

56

57

58 ก.พ.อ. ผ่อนผันให้ใช้ผลงานตามประกาศเดิมของ แต่ละแห่ง

59

60

61 ผลงานทางวิชาการ ที่จะส่งให้ตรวจ/ขอคำแนะนำ
ชื่อและสกลุ ตำแหน่งและระดับ หน่วยงานและมหา’ลัย ภาพถ่ายปัจจุบัน(เข้าทำเนียบ) ส่งครั้งละบท หน้าปกที่มีชื่อเรื่อง(อะไร) เบอร์โทรมือถือ

62 มีปัญหา ปรึกษา ติดต่อ.... หรือ


ดาวน์โหลด ppt การเตรียมความพร้อม ของการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google