ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
สำนักงานเกษตรจังหวัด
ขั้นตอนการจัดสรรสารเคมี กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานเกษตรอำเภอ สารเคมี หลักฐาน เกษตรกร
2
กรมส่งเสริมการเกษตร 1. จัดซื้อสารเคมีด้วยวิธี E-auction 2. จัดสรรสารเคมีให้จังหวัด 3. บริษัทผู้ขายจัดส่งถึงจังหวัด
3
สำนักงานเกษตรจังหวัด
1. รับสารเคมีจากบริษัทผู้ขาย 2. จัดสรรสารเคมีให้อำเภอ
4
สำนักงานเกษตรจังหวัด
การรับสารเคมีจากบริษัทผู้ขาย 1.1 บริษัทนัดวันส่งมอบ 1.2 คณะกรรมการตรวจรับสารเคมี (คำสั่ง 361/2554) - สำรวจความเรียบร้อยของกล่องบรรจุสารเคมีทุกกล่อง และ หนังสือยืนยันคุณภาพ - นับจำนวนกล่อง - สุ่มนับจำนวนขวดสารเคมี - รับน้ำหนัก ไม่ครบ ยกเลิก ครบถ้วน ถูกต้อง ตรวจรับ
5
สำนักงานเกษตรจังหวัด
เมื่อตรวจรับแล้ว 1. สำเนาหนังสือนำส่งและใบตอบรับพัสดุพร้อมเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเก็บไว้เป็นหลักฐานที่จังหวัด 2. ส่งโทรสารหนังสือนำส่งและใบตอบรับพัสดุมาที่กรมทันที 3. ส่ง EMS ต้นฉบับหนังสือนำส่งและใบตอบรับพัสดุมาที่กรม 4. สำเนาใบตอบรับพัสดุและหนังสือยืนยันคุณภาพสารเคมี เตรียมส่งให้อำเภอพร้อมสารเคมี
6
สำนักงานเกษตรจังหวัด
2. การจัดสรรสารเคมีให้อำเภอ 2.1 แจ้งอำเภอให้สำรวจเกษตรพร้อมจัดทำบัญชีรายชื่อ และพื้นที่ปลูก ตามพื้นที่ปลูกจริง แต่ไม่เกินรายละ ไร่ (ใช้ฐานข้อมูล ทบก. และ ทพศ. อ้างอิง) 2.2 จัดสรรสารเคมีให้ตามบัญชีรายชื่อ (ไร่ละ 16 กรัม) 2.3 ติดตามการจัดสรรสารเคมีให้เกษตรกร 2.4 สรุปรายงานให้กรมภายใน 7 วัน
7
สำนักงานเกษตรอำเภอ 1. ตรวจสอบรายชื่อและพื้นที่ปลูก 2. รับและจ่ายสารเคมี
8
สำนักงานเกษตรอำเภอ 1. ตรวจสอบรายชื่อและพื้นที่ปลูก
1.1 สำรวจเกษตรกรและจำนวนพื้นที่ 2.2 รวบรวมรายชื่อและพื้นที่ส่งให้สำนักงานเกษตรจังหวัด ** เกษตรกรและจำนวนพื้นที่สามารถใช้ข้อมูลจาก ทบก และ ทพศ. ปี 52/53 เป็นข้อมูลอ้างอิงได้
9
สำนักงานเกษตรอำเภอ 2. การรับและจ่ายสารเคมี
แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับสารเคมี ระดับอำเภอ เพื่อรับผิดชอบการรับและจ่ายสารเคมีดำเนินการ ดังนี้ 1. สำรวจความเรียบร้อยของกล่องบรรจุสารเคมีทุกกล่อง และ หนังสือยืนยันคุณภาพ 2. สุ่มตรวจจำนวนสารเคมีในแต่ละกล่อง (สุ่มร้อยละ 5 ของจำนวนกล่องที่ได้รับ) 3. รับน้ำหนัก ไม่ครบ ยกเลิก ครบถ้วน ตรวจรับ
10
สำนักงานเกษตรอำเภอ เมื่อตรวจรับแล้ว
1. แจ้งแผนจัดสรรสารเคมีให้จังหวัดทราบก่อนดำเนินการ 2. นัดหมายให้เกษตรกรมารับสารเคมีที่สำนักงานเกษตรอำเภอ พร้อมแสดงบัตรประชาชน 3. จัดสรรสารเคมีให้เกษตรกรตามรายชื่อ และให้เกษตรกร ลงลายมือชื่อในใบรับสารเคมีพร้อม จนท.ผู้จ่าย โดย ต้นฉบับ ใบรับสารเคมีฉีกให้เกษตรกรเก็บเป็นหลักฐาน สำเนาใบรับสารเคมี สนง.กษอ.เก็บไว้เป็นหลักฐาน
11
สำนักงานเกษตรอำเภอ เมื่อจัดสรรสารเคมีให้กับเกษตรกรแล้ว
1. จนท.ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลสรุปผล รายงาน กษอ.ภายใน 3 วัน 2. สำนักงานเกษตรอำเภอรายงาน กษจ. ภายใน 5 วัน
12
เงื่อนไขของเกษตรกรที่มีสิทธิ์รับสารเคมี
ขึ้นทะเบียน ทบก. กรณีที่เกษตรกรยังไม่ขึ้น ทบก. ให้ดำเนินการขึ้นทะเบียนทันที และนำหลักฐานการขึ้นทะเบียนมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอรับการสนับสนุนสารเคมี สนับสนุนสารเคมีให้เฉพาะเกษตรกรที่ปลูกมันตั้งแต่วันรับสารเคมี ถึงวันที่ 30 กันยายน 2554 เท่านั้น โดยจะสนับสนุนตามพื้นที่ปลูกจริง แต่ไม่เกินรายละ 25 ไร่
13
คำแนะนำในการจัดสรรสารเคมี
นัดหมายเกษตรกรเป็นรายตำบล และให้คณะทำงาน ศจช.เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดสรร (ถ้าในตำบลนั้นไม่มี ศจช. ให้ใช้กรรมการบริหาร ศบกต.) ไม่ควรนัดหมายพร้อมกันหลายๆ ตำบลเพราะอาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย แนะนำให้เกษตรกรรงมกลุ่มกันมารับให้พอดีกับขนาดบรรจุภัณฑ์ของสารเคมี สารเคมี 1 กระป๋อง บรรจุ 100 กรัม สามารถแช่ท่อนพันธุ์ได้ 6 ไร่ 1 งาน (ไร่ละ 16 กรัม)
14
การติดตามการใช้สารเคมี
เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล ร่วมกับ สมาชิก ศจช. หรือกรรมการบริหาร ศบกต. ติดตามการใช้สารเคมีแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังของเกษตรกรรายงานเกษตรอำเภอทุก 15 วัน สนง.กษอ. รายงานผลการติดตามให้ กษจ. ทราบทุก 15 วัน สนง.กษจ. รายงานผลการติดตามให้ กรมทราบทุกวันที่ 15 ของเดือน รายงานต่อเนื่องจนกว่าจะสิ้นสุดโครงการ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.