ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
แผ่นดินไหว Earthquakes
โครงการสร้างเสริมความรู้เพื่อบรรเทาภัยแผ่นดินไหว ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2
แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินอย่างใหญ่หลวงได้
3
แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินอย่างใหญ่หลวงได้
4
แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินอย่างใหญ่หลวงได้
5
แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินอย่างใหญ่หลวงได้
6
แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินอย่างใหญ่หลวงได้
7
แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินอย่างใหญ่หลวงได้
8
แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินอย่างใหญ่หลวงได้
9
แผ่นดินไหวเกิดจากการเคลื่อนตัวทันทีทันไดของรอยเลื่อน (fault) พร้อมๆ กับการปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปของคลื่นแผ่นดินไหว (seismic wave)
10
แผ่นดินไหวไม่ได้เกิดขึ้นทั่วๆ ไปบนโลก แต่จะมีแนวของการเกิดที่ค่อนข้างเป็นรูปแบบที่แน่นอน
11
แนวที่มีการเกิดแผ่นดินไหวอย่างต่อเนื่อง คือแนวขอบ หรือบริเวณรอยต่อของเพลต (plate) ต่างๆ ตามทฤษฏีการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก (Plate Tectonic Theory)
12
เปลือกโลกแตกออกเป็นเพลตต่างๆ ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง
เปลือกโลกแตกออกเป็นเพลตต่างๆ ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง ทางด้านตะวันตกของประเทศไทย เป็นบริเวณที่เพลต 2 เพลต คือ อินเดีย-ออสเตรเลียเพลต (India-Australian Plate) มุดตัวลงไปใต้ยูเรเซียเพลต (Eurasia Plate) ทำให้เปลือกโลกบริเวณนี้มีพลัง มีการเคลื่อนตัว มีการเกิดแผ่นดินไหวมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน
13
ภาพจำลองการเกิดแผ่นดินไหว ขนาด 9 ริคเตอร์ และสึนามิ เมื่อ 26 ธันวาคม 2547 มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 280,000 คน
14
การที่เปลือกโลกแตกออกเป็นเพลตต่างๆ และเคลื่อนที่ผ่านซึ่งกันและกันตลอดเวลา ทำให้หินบริเวณเปลือกโลกอยู่ในภาวะกดดัน ถูกกระทำโดยแรงเค้น (Stress) อย่างต่อเนื่อง เมื่อถึงจุดวิกฤต มวลหินจะแตกและเคลื่อนที่แยกออกจากกันอย่างฉับพลัน พร้อมกับปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นแผ่นดินไหว
15
Foreshocks ● Mainshocks ● Aftershocks
การสั่นสะเทือนเป็นระลอกดังกล่าว อาจเกิดขึ้นในเวลาเพียงไม่กี่วินาที จนถึงหลายวันได้
16
คลื่นแผ่นดินไหว (Seismic wave)
แบ่งเป็น 3 ประเภท (1.) P-waves หรือ Primary waves (คลื่นปฐมภูมิ) (2.) S-waves หรือ Secondary waves (คลื่นทุติยภูมิ) (3.) Surface waves (คลื่นพื้นผิว)
17
มีความเร็วสูง ส่งผลให้เกิดแรงบีบอัด และแรงกระแทก
P-waves มีความเร็วสูง ส่งผลให้เกิดแรงบีบอัด และแรงกระแทก
18
มีความเร็วรองจาก P-waves ส่งผลให้เกิดแรงยกขึ้น-ลง
S-waves มีความเร็วรองจาก P-waves ส่งผลให้เกิดแรงยกขึ้น-ลง
19
Surface waves เดินทางช้าที่สุด แต่จะมีแรงสั่นสะเทือนสูง และเป็นคลื่นที่ก่อให้เกิดความเสียหายมากที่สุด
20
ภาพรวมของแผ่นดินไหว
21
ขนาดและความรุนแรงของแผ่นดินไหว (Magnitude and Intensity of Earthquake)
22
ขนาด (Magnitude) เป็นค่าของพลังงานที่แผ่นดินไหวปลดปล่อยออกมาในแต่ละครั้งคำนวณได้จากการตรวจวัดค่าความสูง (amplitude) ของคลื่นแผ่นดินไหว หน่วยวัดเป็น ริคเตอร์ (Richter Scale)
23
มาตราริคเตอร์ ขนาด ความสั่นสะเทือน 1 - 2.9 สั่นไหวเล็กน้อย
ขนาด ความสั่นสะเทือน สั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนในอาคารรู้สึกเหมือนรถไฟวิ่งผ่าน สั่นไหวปานกลาง ผู้คนทั้งในและนอก อาคารรู้สึก วัตถุห้อยแขวนแกว่งไกว สั่นไหวรุนแรง เครื่องเรือน วัตถุมีการเคลื่อนที่ สั่นไหวรุนแรงมาก อาคารเริ่มพังเสียหาย 7.0 ขึ้นไป สั่นไหวร้ายแรง อาคารพังเสียหายมาก แผ่นดินแยก วัตถุถูกเหวี่ยงกระเด็น
24
ขนาดตามมาตราริคเตอร์ ถ้าค่าต่างกัน 1 ระดับจะมีพลังงานต่างกัน 31 เท่า กล่าวคือ ระดับ 4 จะมีระดับความสั่นสะเทือนเสียหายมากกว่าระดับ 3 ถึง 31 เท่า แผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่เคยวัดได้ คือ ขนาด 9 ริคเตอร์
25
ตารางเปรียบเทียบความรุนแรงของระเบิดที เอ็น ที กับ มาตราริคเตอร์
26
ความรุนแรง (Intensity)
แสดงความรุนแรงของเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น โดยวัดจากความรู้สึกของผู้คน ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับอาคารสิ่งก่อสร้าง สภาพภูมิประเทศที่เปลี่ยนไป เป็นต้น ประเทศไทยใช้มาตราเมอร์แคลลี่ (Mercalli Scale) เพื่อแสดงความรุนแรง มีทั้งหมด 12 อันดับ
27
มาตราเมอร์แคลลี่ อันดับที่ ลักษณะความรุนแรง
อันดับที่ ลักษณะความรุนแรง I คนไม่รู้สึก ตรวจวัดได้โดยเครื่องมือ III พอรู้สึกได้ แต่คนส่วนใหญ่ไม่รู้สึก V รู้สึกทุกคน ของในบ้านเริ่มแกว่งไกว VII ทุกคนตกใจ สิ่งก่อสร้างเริ่มเสียหาย IX สิ่งก่อสร้างเสียหายมาก ถึงแม้ได้รับการออกแบบมาดี XI อาคารสิ่งก่อสร้างพังเกือบหมด ผิวโลกปูดนูน เลื่อนตัว XII ทำลายหมดทุกอย่าง แผ่นดินมองเห็นเป็นคลื่น
28
แผนที่แสดงความรุนแรงของแผ่นดินไหว Isoseismical Map
ความรุนแรงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ที่สำคัญ คือ ระยะห่างจากผู้สังเกต และตำแหน่ง Epicenter ยิ่งอยู่ห่างออกไป ความรุนแรงจะน้อยลง หลังเกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้ง เจ้าหน้าที่จะสำรวจความเสียหายและความรู้สึกของผู้คน และ ทำเป็นแผนที่แสดงความรุนแรงที่ตำแหน่งต่างๆ แผนที่แสดงความรุนแรงของแผ่นดินไหว Isoseismical Map
29
สถานีวัดแผ่นดินไหวในประเทศไทย
คลื่นแผ่นดินไหวสามารถเดินทางผ่านเปลือกโลกไปได้ไกลเป็นพันกิโลเมตร ขึ้นอยู่กับขนาดของแผ่นดินไหว การตรวจวัดแผ่นดินไหวจึงทำเป็นเครือข่าย ทั้งในระดับประเทศ และระดับโลก
30
เครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหว หรือเครื่องบันทึกการไหวสะเทือน (Seismograph) จะตรวจวัดและบันทึกคลื่นไหวสะเทือนออกมาเป็นกราฟการไหวสะเทือน (Seismogram)
31
เครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหว สามารถตรวจหา
เวลาที่แผ่นดินไหวเกิด ศูนย์กลางแผ่นดินไหว (Epicenter) ความลึกของจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว (Focal depth) ขนาดของพลังงานที่ปลดปล่อยออกมา (Magnitude)
32
2506 เริ่มสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวสถานีแรกที่เชียงใหม่ โดยกรมอุตุนิยมวิทยา
ปัจจุบัน ระบบอนาล็อก 13 แห่ง ที่ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน เขื่อนภูมิพล จ.ตาก เลย อุบลราชธานี นครราชสีมา นครสวรรค์ เขื่อนเขาแหลม และอำเภอเมือง จ. กาญจนบุรี จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สงขลา และภูเก็ต ระบบดิจิตอล 11 แห่ง ที่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน แพร่ เขื่อนภูมิพล จ. ตาก ขอนแก่น เลย ปากช่อง จ. นครราชสีมา สุราษฎร์ธานี และสงขลา
33
สถานีตรวจวัดตามวัตถุประสงค์เฉพาะ
กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ตรวจจับการทดลองระเบิด นิวเคลียร์ การไฟฟ้าฯ ตรวจแผ่นดินไหวขนาดเล็ก เครือข่ายบริเวณ เขื่อนทางภาคตะวันตก กรมชลประทาน บริเวณจังหวัดแพร่ เพื่อศึกษาลักษณะ การเกิดแผ่นดินไหวก่อนการสร้างเขื่อน กรมโยธาธิการ และจุฬาฯ วิจัยการตอบสนองของอาคาร จากแผ่นดินไหว
34
แผ่นดินไหว ในประเทศไทย
ประเทศไทยไม่มีแนวการไหวสะเทือนพาดผ่านเหมือนกับประเทศอินโดนีเซียและพม่า ซึ่งมีแนวเลื่อนขนาดใหญ่พาดผ่านตามแนวขอบเพลต อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ขึ้นได้ เนื่องจากมีรอยเลื่อนที่ยังมีพลัง (Active fault) ที่ยังมีการเคลื่อนตัวอยู่ตลอดเวลา
35
ภาพรวมของการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย
36
Active Fault รอยเลื่อนมีพลัง
37
รอยเลื่อนแม่จัน ยาวประมาณ 130 กม. ตั้งแต่ปี 2521
ขนาด >3 ริคเตอร์ เกิดตามแนวรอยเลื่อนนี้ 10 ครั้ง 3 ครั้งมีขนาด >4.5 ริคเตอร์ โดยเฉพาะวันที่ 1 กันยายน 2521 มีขนาด >4.9 ริคเตอร์
38
รอยเลื่อนแพร่ ยาวประมาณ 115 กม. รอบ 10 ปีที่ผ่านมา
ขนาด 3.4 ริคเตอร์ มากกว่า 20 ครั้ง ล่าสุด ขนาด 3 ริคเตอร์ เมื่อ 10 กันยายน 2533
39
รอยเลื่อนแม่ทา ยาวประมาณ 55 กม. การศึกษาอย่างละเอียดเฉพาะ ในปี 2521
การศึกษาอย่างละเอียดเฉพาะ ในปี 2521 มีแผ่นดินไหวขนาดเล็ก อยู่หลายครั้ง
40
รอยเลื่อนเถิน ยาวประมาณ 90 กม.
23 ธันวาคม 2521 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.7 ริคเตอร์
41
รอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี
ยาวประมาณ 250 กม. 23 กันยายน 2476 ไม่ทราบขนาด 23 กุมภาพันธ์ 2518 ขนาด 5.6 ริคเตอร์
42
รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์
ยาวประมาณ 250 กม. ● ตามลำน้ำแควน้อย และ ต่อเข้าไปเป็นรอยเลื่อนสะแกง ในประเทศพม่า เกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็ก หลายพันครั้ง
43
รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ ยาวประมาณ 500 กม.
รอบ 10 ปีที่ผ่านมา มีแผ่นดินไหวขนาดเล็กเกิดขึ้นหลายร้อยครั้ง ขนาดใหญ่ที่สุด 5.9 ริคเตอร์ เมื่อ 22 เมษายน 2526
44
รอยเลื่อนระนอง ยาวประมาณ 270 กม. 30 กันยายน 2521 มีขนาด 5.6 ริคเตอร์
45
รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ยาวประมาณ 150 กม. มีรายงานเกิดแผ่นดินไหว
16 พฤษภาคม 2476 7 เมษายน 17 สิงหาคม 29 สิงหาคม
46
ความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวในประเทศไทย
47
แผนที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว
48
การพยากรณ์การเกิดแผ่นดินไหว
49
การพยากรณ์การเกิดแผ่นดินไหว
ไม่ได้ การพยากรณ์การเกิดแผ่นดินไหว
50
ก่อนการเกิดแผ่นดินไหว
น้ำในบ่อน้ำ ขุ่นมากขึ้น ไหวหมุนเวียน ระดับน้ำเปลี่ยนแปลง มีฟองอากาศ และรสขม ปริมาณก๊าซเรดอนเพิ่มขึ้น แมลงสาบจำนวนมากวิ่งเพ่นพ่าน สุนัข เป็ด ไก่ หมู หมี ตื่นตกใจ หนู งู วิ่งออกมาจากรู ปลา กระโดดขึ้นจากฝั่งน้ำ อื่นๆ
51
ภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว
เกิดการเลื่อนเคลื่อนที่ของผิวโลก (Surface faulting) การสั่นสะเทือนของผิวดิน (ground shaking) การพังทลายของดิน (landslides) ภาวะดินเหลว (liquefaction) การทรุดตัวของพื้นดิน (subsidence) สึนามิ (Tsunami) ภูเขาไฟระเบิด (volcanoes)
52
สึนามิ (Tsunami)
53
สึนามิ (Tsunami) คลื่นยักษ์ผลจากแผ่นดินไหว
54
สึนามิ เมื่อ 26 ธันวาคม 2547
55
สึนามิ เมื่อ 26 ธันวาคม 2547
56
สึนามิ เมื่อ 26 ธันวาคม 2547
57
คลื่นยักษ์ไปไกลถึงแอฟริกา
58
การป้องกันและการปฏิบัติตน
ก่อนการเกิด ● ระหว่างการเกิด ● หลังการเกิด
60
ก่อนการเกิดแผ่นดินไหว
ควรมีไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้าน และให้ทุกคนทราบว่าอยู่ที่ไหน ศึกษาการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ควรมีเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน เช่น เครื่องดับเพลิง ถุงทราย เป็นต้น ควรทราบตำแหน่งของวาล์วปิดน้ำ วาล์วปิดก๊าซ สะพานไฟฟ้า สำหรับตัดกระแสไฟฟ้า อย่าวางสิ่งของหนักบนชั้น หรือหิ้งสูง ๆ เมื่อแผ่นดินไหวอาจตกลงมาเป็นอันตรายได้ ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน ควรมีการวางแผนเรื่องจุดนัดหมาย ในกรณีที่ต้องพลัดพรากจากกัน เพื่อมารวมกันอีกครั้ง ในภายหลัง สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว
62
มุดใต้โต๊ะ ยึดให้มั่น
หมอบ! หาที่กำบัง! ยึดให้มั่น! เมื่อแผ่นดินไหว มุดใต้โต๊ะ ยึดให้มั่น
64
ระหว่างเกิดแผ่นดินไหว
อย่าตื่นตกใจ พยายามควบคุมสติอยู่อย่างสงบ ถ้าท่านอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าท่านอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน เพราะส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้าออกจากบ้าน ถ้าอยู่ในบ้านให้ยืนหรือหมอบอยู่ในส่วนของบ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง ที่สามารถรับน้ำหนัก ได้มาก และให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง และหน้าต่าง หากอยู่ในอาคารสูง ควรตั้งสติให้มั่น และรีบออกจากอาคารโดยเร็ว หนีให้ห่างจากสิ่งที่จะล้มทับได้ ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า และสิ่งห้อยแขวนต่าง ๆ ที่ปลอดภัยภายนอกคือที่โล่งแจ้ง อย่าใช้ เทียน ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวหรือประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้น ถ้าท่านกำลังขับรถให้หยุดรถและอยู่ภายในรถ จนกระทั่งการสั่นสะเทือนจะหยุด ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง
68
หลังเกิดแผ่นดินไหว ควรตรวจตัวเองและคนข้างเคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ให้ทำการปฐมพยาบาลขั้นต้นก่อน ควรรีบออกจากอาคารที่เสียหายทันที เพราะหากเกิดแผ่นดินไหวตามมาอาคารอาจพังทลายได้ ใส่รองเท้าหุ้มส้นเสมอ เพราะอาจมีเศษแก้ว หรือวัสดุแหลมคมอื่น ๆ และสิ่งหักพังแทง ตรวจสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส ถ้าแก๊สรั่วให้ปิดวาล์วถังแก๊ส ยกสะพานไฟ อย่าจุดไม้ขีดไฟ หรือก่อไฟจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแก๊สรั่ว ตรวจสอบว่า แก๊สรั่ว ด้วยการดมกลิ่นเท่านั้น ถ้าได้กลิ่นให้เปิดประตูหน้าต่างทุกบาน ให้ออกจากบริเวณที่สายไฟขาด และวัสดุสายไฟพาดถึง เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์ นอกจากจำเป็นจริง ๆ สำรวจดูความเสียหายของท่อส้วม และท่อน้ำทิ้งก่อนใช้ อย่าเป็นไทยมุงหรือเข้าไปในเขตที่มีความเสียหายสูง หรืออาคารพัง อย่าแพร่ข่าวลือ
69
มาตรการป้องกันภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ
73
เมื่อรู้สึกว่ามีการสั่นไหวเกิดขึ้น ขณะที่อยู่ในทะเลหรือบริเวณชายฝั่ง ให้รีบออกจากบริเวณชายฝั่ง ไปยังบริเวณที่สูงหรือที่ดอนทันที โดยไม่ต้องรอประกาศจากทางการ เนื่องจากคลื่นสึนามิเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง เมื่อได้รับฟังประกาศจากทางการเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหวบริเวณทะเลอันดามัน ให้เตรียมรับสถานะการณ์ที่อาจจะเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้โดยด่วน สังเกตปรากฏการณ์ของชายฝั่งหากทะเลมีการลดระดับของน้ำลงมาก หลังการเกิดแผ่นดินไหว ให้สันนิษฐานว่าอาจเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ ให้อพยพคนในครอบครัว สัตว์เลี้ยงให้อยู่ห่างจากฝั่งมาก ๆ และอยู่ในที่ดอนหรือที่น้ำท่วมไม่ถึง ถ้าอยู่ในเรือซึ่งจอดอยู่ในท่าเรือหรืออ่าว ให้รีบนำเรือออกไปกลางทะเล เมื่อทราบว่าจะเกิดคลื่น สึนามิพัดเข้าหา เพราะคลื่นสึนามิที่อยู่ไกลชายฝั่งมาก ๆ จะมีขนาดเล็ก คลื่นสึนามิอาจเกิดขึ้นได้หลายระลอกจากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งเดียว เนื่องจากมีการแกว่งไปมาของน้ำทะเล ดังนั้นควรรอซักระยะเวลาหนึ่งจึงสามารถลงไปชายหาดได้ ติดตามการเสนอข่าวของทางราชการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
74
หากที่พักอาศัยอยู่ใกล้ชายหาด ควรจัดทำเขื่อน กำแพง ปลูกต้นไม้ วางวัสดุ ลดแรงปะทะของน้ำทะเล และก่อสร้างที่พักอาศัยให้มั่นคงแข็งแรงในบริเวณย่านที่มีความเสี่ยงภัยในเรื่องคลื่นสึนามิ หลีกเลี่ยงการก่อสร้างใกล้ชายฝั่งในย่านที่มีความเสี่ยงภัยสูง วางแผนในการฝึกซ้อมรับภัยจากคลื่นสึนามิ เช่นกำหนดสถานที่ในการอพยพ แหล่งสะสมน้ำสะอาด เป็นต้น จัดวางผังเมืองให้เหมาะสม บริเวณแหล่งที่อาศัยควรมีระยะห่างจากชายฝั่ง ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ประชาชนในเรื่องการป้องกันและบรรเทาภัยจากคลื่นสึนามิและแผ่นดินไหว วางแผนล่วงหน้าหากเกิดสถานการณ์ขึ้นจริง ในเรื่องการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดขั้นตอนในด้านการช่วยเหลือบรรเทาภัย ด้านสาธารณะสุข การรื้อถอนและฟื้นฟูสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น อย่าลงไปในชายหาดเพื่อดูคลื่นสึนามิ เพราะเมื่อเห็นคลื่นแล้วก็ใกล้เกินกว่าจะหลบหนีได้ทัน คลื่นสึนามิในบริเวณหนึ่ง อาจมีขนาดเล็ก แต่อีกบริเวณหนึ่งอาจมีขนาดใหญ่ ดังนั้นเมื่อได้ยินข่าวการเกิดคลื่นสึนามิขนาดเล็กในสถานที่หนึ่ง จงอย่าประมาทให้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์
75
แหล่งข้อมูล http://earthquake.usgs.gov
76
เครือข่ายวิทยากรบรรยาย
ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีเครือข่ายวิทยากรที่ยินดีออกไปบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับแผ่นดินไหว ตามโครงการเสริมสร้างความรู้เพื่อบรรเทาภัยแผ่นดินไหว หน่วยงานที่สนใจสามารถติดต่อขอรับบริการได้ที่ภาควิชา
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.