งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การประกันคุณภาพ QUALITY ASSURANCE

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การประกันคุณภาพ QUALITY ASSURANCE"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การประกันคุณภาพ QUALITY ASSURANCE
สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2 ความเป็นมา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่้ได้ออกนโยบายแนะแนวปฏิบัติในการประกันคุณภาพการศึกษา เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2541 โดยกำหนดไว้ชัดเจนให้คณะ สถาบัน สำนัก มีการพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในหน่วยงาน เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และนโยบายประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ ของทบวงมหาวิทยาลัย สถานศึกษาทุกแห่งต้องมีระบบประกันคุณภาพภายใน และถือว่าการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพตามมาตรฐานสากล สถาบันอุดมศึกษาต้องจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อทบวงมหาวิทยาลัย ภายใน 120 วัน นับจากวันสิ้นปีการศึกษาของแต่ละสถาบัน และเปิดเผยต่อสาธารณชนโดยให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์และแนวทางของพรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

3 นโยบายการประกันคุณภาพสถาบันวิจัย และพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1. ให้มีหน่วยประกันคุณภาพของสถาบันฯ 2. แต่งตั้งผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพของสถาบันฯ 3. แต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพภายในสถาบันฯ เพื่อเป็นผู้ดูแลให้คำปรึกษา และประสานงานการดำเนินกิจกรรมการประกันคุณภาพให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 4. แต่งตั้งคณะทำงานการประกันคุณภาพของสถาบันฯ 5. มีการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำและขั้นสูงของสถาบันฯ โดยกำหนดเงื่อนไขเวลาที่ชัดเจน 6. มีการประเมินตีค่า (Assessment) คุณภาพการศึกษาอย่างรอบด้าน โดยมีการระบุดัชนี (Index) และตัวบ่งชี้ (Indicators) ของคุณภาพงานของแต่ละหน่วย

4 นโยบายการประกันคุณภาพสถาบันวิจัย และพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ต่อ)
7. ส่งเสริมและสนับสนุนงานแต่ละฝ่าย ดำเนินงานด้านการประกัน คุณภาพโดยใช้งบประมาณที่มีอยู่ตามความจำเป็นและประหยัด 8. ให้มีการเผยแพร่กิจกรรมการประกันคุณภาพที่ได้ดำเนินการไปแล้วอย่างต่อเนื่อง 9. กำหนดแนวทางการปฏิบัติในการประกันคุณภาพขึ้น เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติภายใน และอาจมีการปรับปรุงหรือแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน ทั้งนี้ โดยให้สอดคล้องกับปณิธานของสถาบันฯ และมหาวิทยาลัยฯ ที่ได้กำหนดไว้ 10. จัดบุคลากรรองรับงานประกันคุณภาพ โดยใช้บุคลากรที่มีอยู่เดิม

5 การควบคุมคุณภาพ (Quality Control)
ความหมาย การมีระบบและกลไกในแต่ละองค์ประกอบคุณภาพ เพื่อกำกับการดำเนินงานของสถานศึกษาให้ได้ผลตามรายการตรวจสอบและตัวบ่งชี้คุณภาพที่กำหนด

6 การตรวจสอบคุณภาพ (Quality Audit)
ความหมาย กระบวนการในการศึกษาวิเคราะห์ว่าสถาบันมีระบบและกลไกกำกับและควบคุมคุณภาพ และมีการปฏิบัติตามระบบและกลไกดังกล่าว

7 การประเมินคุณภาพ (Quality Assessment)
ความหมาย กระบวนการวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของสถานศึกษาตามรายการตรวจสอบและตัวบ่งชี้คุณภาพที่กำหนดว่าอยู่ในระดับใด

8 การประกันคุณภาพการศึกษา
(Quality Assurance) ความหมาย การมีระบบและกลไกในการควบคุมตรวจสอบและประเมินการดำเนินงานในแต่ละองค์ประกอบคุณภาพตามรายการตรวจสอบ (audit checklist) และตัวบ่งชี้คุณภาพ (quality indicators) ที่กำหนด เพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณชนได้มั่นใจว่าสถานศึกษาแห่งนั้นสามารถให้ผลผลิตทางการศึกษาที่มีคุณภาพ

9 การประกันคุณภาพภายใน (Internal Quality Assurance)
ความหมาย หมายถึง การติดตามตรวจสอบและการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น

10 การประกันคุณภาพภายนอก (External Quality Assurance)
ความหมาย การติดตามตรวจสอบและการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) หรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่ สมศ. รับรองเพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

11 (Quality Management System)
ระบบบริหารคุณภาพ (Quality Management System) ความหมาย ระบบบริหารจัดการเพื่อมุ่งให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และมุ่งให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานตามภารกิจและวัตถุประสงค์ขององค์กร ระบบบริหารคุณภาพมีหลายระบบ ได้แก่ ระบบ Input-Process-Output-Outcome (IPOO) ระบบ Total Quality Management (TQM) ระบบ ISO และระบบ Malcolm Baldridge Quality Award (MBQA) ระบบของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นแบบผสมผสานระหว่างระบบ IPOO กับ TQM

12 สรุป ประกันคุณภาพระดับอุดมศึกษา หมายถึง
1. การระบุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษา อย่างชัดเจนและสื่อสารกันรู้เรื่อง 2. กระบวนการบริหารจัดการ กระบวนการประเมิน กระบวนการให้บริการ เป็นกระบวนการที่โปร่งใส และได้รับการยอมรับจากคนในหน่วยงาน 3. คนในหน่วยงานรู้ว่า บทบาทและหน้าที่ของตนคืออะไร และทุกคนรู้ว่า ใครทำอะไร 4. หน่วยงานให้ความหมายคำว่า “คุณภาพ” อย่างชัดเจน สามารถวัดได้และ มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ 5. ตัวชี้วัดทุกอย่างดำเนินงานไปตามแผน มีความชัดเจน 6. เมื่อมีสัญญาณว่า บางสิ่งบางอย่างกำลังจะผิดพลาด ได้มีการแก้ไขทัน และได้เตรียมหาทางออก/ทางแก้ไขความผิดพลาดไว้ล่วงหน้าด้วย

13 กลไกการประกันคุณภาพสถาบันฯ
ดัชนีและเกณฑ์การตรวจสอบคุณภาพ การปฏิบัติภารกิจหลักตามองค์ประกอบ 8 องค์ประกอบ ฐานข้อมูล การติดตามประเมินผล ข้อมูลป้อนกลับเพื่อการปรับปรุงคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพภายนอก การจัดทำรายงานการศึกษาตนเอง - SSR การตรวจสอบคุณภาพภายใน การจัดทำรายงานการศึกษาตนเอง -SAR นโยบายการประกันคุณภาพ

14 ผลดำเนินงานประกันคุณภาพสถาบันฯ
เมษายน 2544 SSR ผ่านการตรวจสอบจาก มช. ครั้งที่ 1 มีนาคม 2545 SSR ผ่านการตรวจสอบจาก มช. ครั้งที่ 2 มีนาคม 2546 SAR จะรับการตรวจสอบจาก มช. ครั้งที่ 3 สิงหาคม 2546 SAR มช. รับการตรวจสอบจากภายนอก (ทบวง + สมศ.)

15 การดำเนินงานประกันคุณภาพสถาบันฯ พ.ศ. 2545
รายการ ผ่านการตรวจสอบระบบประกันคุณภาพภายใน ครั้งที่ 2 โดย คณะกรรมการตรวจสอบของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดสัมมนาซักซ้อมความเข้าใจงานประกันคุณภาพของสถาบันฯ จัดประชุมคณะกรรมการประกันคุณภาพของสถาบันฯ จัดประชุมคณะทำงานประกันคุณภาพของสถาบันฯ ข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัยเข้าร่วมสัมมนาประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศึกษาระบบ หลักเกณฑ์ วิธีการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษาและรูปแบบรายงานประจำปีการประเมินคุณภาพการศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัย พัฒนา SSR เป็น SAR

16 การดำเนินงานประกันคุณภาพสถาบันฯ พ.ศ. 2545 (ต่อ)
รายการ เตรียมความพร้อมรับการตรวจสอบระบบประกันคุณภาพภายใน ตรวจสอบและประเมินระบบประกันคุณภาพภายใน โดยคณะกรรมการประกันคุณภาพ ของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโดยคณะกรรมการตรวจสอบของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รายงานผลการตรวจสอบและผลการประเมินระบบประกันคุณภาพภายในต่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

17 กำหนดการตรวจสอบภายในสถาบันฯ/สำนัก
ลำดับที่ คณะ กำหนดการตรวจสอบและประเมิน 1 สถาบันวิจัยสังคม 3-4 มีนาคม 2546 2 สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 6-7 มีนาคม 2546 3 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ 10-11 มีนาคม 2546 4 สำนักบริการวิชาการ 12-13 มีนาคม 2546 5 สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม 14 มีนาคม 2546 6 สำนักหอสมุด 17-18 มีนาคม 2546 7 สำนักบริการคอมพิวเตอร์ 20-21 มีนาคม 2546 8 สำนักทะเบียนและประมวลผล 24-25 มีนาคม 2546 9 สำนักงานอธิการบดี 26-28 มีนาคม 2546

18 ขั้นตอนการตรวจสอบและประเมินของ มช.
1. มหาวิทยาลัยแต่งตั้งกรรมการจากภายใน มช. และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 2. สถาบันฯ ส่ง SAR ให้ มช. สถาบันฯ จัดเอกสารประกอบการตรวจสอบ 3. คณะกรรมการตรวจสอบและประเมิน ไปตรวจเยี่ยมที่สถาบัน/สำนัก ตามวันและเวลานัดหมาย 4. คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินแจ้งผลการตรวจสอบและประเมินแก่ผู้บริหาร สถาบัน/สำนัก 5. คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินจัดทำรายงานส่งโครงการศูนย์ประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อเสนอมหาวิทยาลัยและคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยเพื่อทราบ 6. สถาบันฯ ปรับปรุง SAR ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการส่งมหาวิทยาลัยภายใน 3 เดือน หลังจากวันตรวจสอบ

19 รายชื่อคณะกรรมการประกันคุณภาพ
1. รศ.ดร. เจษฎา เกษมเศรษฐ์ ประธานกรรมการ 2. ผศ.ดร.สุชาติ จิรพรเจริญ กรรมการ 3. ผศ.ดร.ขจรศักดิ์ โสภาจารีย์ กรรมการ 4. นางปรานอม ก้านเหลือง กรรมการ 5. นางสุกัญญา วัฒกวิกรานต์ กรรมการและเลขานุการ

20 รายชื่อคณะทำงานประกันคุณภาพ
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ จิรพรเจริญ หัวหน้าคณะทำงาน 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขจรศักดิ์ โสภาจารีย์ รองหัวหน้าคณะทำงาน 3. นางปรานอม ก้านเหลือง คณะทำงาน 4. นางอรุณี ลิ่วเกียรติ คณะทำงาน 5. นางสาวสุชาดา กุลธง คณะทำงาน 6. นางสาวจารุณี แก้วทอง คณะทำงาน 7. นายสุริยันต์ อ้ายเสาร์ คณะทำงาน 8. นางสาวชไมพร ปัญญารังษี คณะทำงาน 9. นางสาวคุ้มเครือ สุวรรณศรี คณะทำงาน 10. นางสุกัญญา วัฒกวิกรานต์ คณะทำงานและเลขานุการ 11. นางวรารินทร์ คิดการงาน คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ 12. นางศิริพันธ์ นาคศรี คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ

21 ขอบคุณ


ดาวน์โหลด ppt การประกันคุณภาพ QUALITY ASSURANCE

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google