งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

มาตรฐานการวัด การประเมินและ การประกันคุณภาพภายใน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "มาตรฐานการวัด การประเมินและ การประกันคุณภาพภายใน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 มาตรฐานการวัด การประเมินและ การประกันคุณภาพภายใน
ระดับสถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.สุพักตร์ พิบูลย์...มสธ. ประธานกรรมการเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3

2 ท่านเห็นว่า เรื่องใดสำคัญที่สุด เรียงตามลำดับ(ใส่เลข 1 2 3)
ท่านเห็นว่า เรื่องใดสำคัญที่สุด เรียงตามลำดับ(ใส่เลข ) การวางแผน/จัดทำแผนจัดการเรียนรู้/แผนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ/ใช้วิธีสอนที่หลากหลาย การศึกษา ค้นคว้า พัฒนาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ ในการยกระดับคุณภาพการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การประกันคุณภาพการศึกษา

3 ขอบเขตการเสวนา มาตรฐานการปฏิบัติงาน คืออะไร สำคัญอย่างไร
มาตรฐานการวัดและประเมินระดับสถานศึกษา มาตรฐานคุณภาพงานวัดและประเมินระดับรายวิชา/กลุ่มสาระ มาตรฐานคุณภาพงานวัดและประเมินระดับโรงเรียน มาตรฐานการวัด การประเมินและการประกันคุณภาพภายในระดับเขตพื้นที่การศึกษา มาตรฐานระบบควบคุมคุณภาพงานการวัดและประเมินผลของสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่ มาตรฐานระบบประกันคุณภาพภายในของเขตพื้นที่ มาตรฐานการวัด การประเมินและการประกันคุณภาพจากภายนอก(สทศ. และ สมศ.)

4 มาตรฐาน.. คืออะไร เป็นเงื่อนไขหรือแนวปฏิบัติสำหรับผู้รับผิดชอบงาน เพื่อให้งานมีคุณภาพ บรรลุตามจุดมุ่งหมายหรือพันธกิจขององค์กร มาตรฐานมักจะระบุครอบคลุม ในเรื่องต่อไปนี้ องค์ประกอบ ตัวชี้วัด และ เกณฑ์คุณภาพ

5 ยุคสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้
ยุคบริหารแบบอิงมาตรฐาน/ ยุคประกันคุณภาพ Standard-based Administration...บริหารงาน/ปฏิบัติงาน แบบอิงมาตรฐาน ใช้องค์ความรู้/หลักวิชาในการขับเคลื่อนองค์กร(Theory-Driven Approach)

6 การกำหนดมาตรฐาน เป็นเรื่องของการควบคุมคุณภาพงาน
(Quality Control)

7 มาตรฐานเพื่อคุณภาพ (ใคร ๆ ก็พูดถึงมาตรฐาน)
มาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มาตรฐานงานส่งเสริมวิทยฐานะครู มาตรฐานครอบครัวอบอุ่น ฯลฯ มาตรฐานงานวัดและประเมินผล มาตรฐานงานประกันคุณภาพภายใน

8 มาตรฐานงานการวัดและประเมิน ระดับสถานศึกษา
1 มาตรฐานงานการวัดและประเมิน ระดับสถานศึกษา มาตรฐานคุณภาพงานวัดและประเมินระดับรายวิชา/กลุ่มสาระ มาตรฐานคุณภาพงานวัดและประเมินระดับโรงเรียน

9 มาตรฐานคุณภาพงานวัดและประเมิน ระดับรายวิชา/กลุ่มสาระ
ความรู้ด้านการวัดและประเมินของครู การออกแบบการวัดและประเมินระดับรายวิชา(สัดส่วนคะแนน ผังการทดสอบกลางภาค ปลายภาค ปฏิทินการวัดและประเมิน) วิธีการวัด เครื่องมือวัด การให้ข้อมูลป้อนกลับ การเสริมสมรรถนะผู้เรียน การตัดสินผลการเรียน การวิจัยและพัฒนาระบบงานการวัดและประเมินผลรายวิชา(เช่น พัฒนาเครื่องมือวัดคู่ขนาน O-NET PISA เป็นต้น)

10 มาตรฐานคุณภาพงานวัดและประเมินผล ระดับโรงเรียน --------------
มาตรฐานที่ 1 : ความพร้อมด้านปัจจัยสนับสนุนงานวัดและประเมินผล สมรรถนะของครูในเรื่องการวัดและประเมินผล ระบบฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนงานวัดและประเมินผลของครู ปฏิทินงานการวัดและประเมินผลในรอบปี มาตรฐานที่ 2 : การบริหารจัดการงานการวัดและประเมินผลในภาพรวม อย่างเป็นระบบ จัดทำปฏิทินงานการวัดและประเมินผลในรอบปี การเตรียมการก่อนเปิดภาคเรียน(กำหนดว่าใคร ทำอะไร เมื่อไร) การกำกับติดตาม นิเทศ งานการวัดและประเมินผล ประเมินผล และรับรองมาตรฐานคุณภาพรายวิชาและกลุ่มสาระการเรียนรู้

11 มาตรฐานคุณภาพงานวัดและประเมินผล ระดับโรงเรียน(ต่อ) --------------
มาตรฐานที่ 3 : ปฏิบัติการวัดผลระหว่างภาคและปลายภาค การให้ข้อมูลป้อนกลับแก่นักเรียนและซ่อมเสริม ในระดับรายวิชา/กลุ่มสาระอย่างเป็นระบบ ร้อยละของครูจำแนกตามกลุ่มสาระ ที่จัดทำแผนการวัดและประเมินในรายวิชา จัดทำผังข้อสอบกลางภาคและปลายภาคแบบอิงมาตรฐาน ร้อยละของรายวิชาที่มีการพัฒนาเครื่องมือวัด โดยมีการวิเคราะห์ดัชนีคุณภาพเครื่องมืออย่างเป็นรูปธรรม ร้อยละของครูที่ให้ข้อมูลป้อนกลับแก่นักเรียนเป็นระยะ ๆ และแจ้งคะแนนระหว่างภาคแก่นักเรียนเป็นรายบุคคล ซ่อมเสริมนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ระหว่างภาค(ก่อนการสอบปลายภาค)

12 มาตรฐานคุณภาพงานวัดและประเมินผล ระดับโรงเรียน(ต่อ) --------------
มาตรฐานที่ 4 : การวัดและประเมินคุณลักษณะ และทักษะตามที่หลักสูตรกำหนด มีการนิยามคุณลักษณะ หรือทักษะ อย่างเป็นรูปธรรม มีการพัฒนาเครื่องมือวัดคุณลักษณะหรือทักษะ โดยมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือตามเกณฑ์ที่กำหนด มีฐานข้อมูลผลการวัดและประเมินคุณลักษณะ หรือทักษะของนักเรียนเป็นรายบุคคล มาตรฐานที่ 5 : ประสิทธิผลจากการวัดและประเมิน ความน่าเชื่อถือของเกรดผลการเรียน หรือผลการวัดและประเมินคุณลักษณะหรือทักษะของผู้เรียน สหสัมพันธ์ระหว่างเกรดเฉลี่ยกับคะแนน O-NET จำแนกตามกลุ่มสาระ มีรายงานการวิเคราะห์ผลการเรียนรายกลุ่มสาระ ที่ระบุข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงพัฒนาอย่างชัดเจน

13 มาตรฐานคุณภาพงานวัดและประเมินผล ระดับโรงเรียน(ต่อ) --------------
มาตรฐานที่ 6 : การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาระบบงานการวัดและประเมินผลของสถานศึกษา รายงานการวิเคราะห์ วิจัยผลการวัดและประเมิน รายการนวัตกรรม/เครื่องมือวัด ทั้งประเภทแบบทดสอบ แบบวัดคุณลักษณะหรือทักษะ ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพตามเกณฑ์ ฐานข้อมูลเครื่องมือวัด หรือแนวคิดใหม่ ๆ ในการวัดและประเมิน

14 มาตรฐานการควบคุมคุณภาพ งานการวัดและประเมินผล ของสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่ -------------------
มาตรฐานที่ 1 : ความพร้อมด้านปัจจัยสนับสนุนงานการวัดและประเมินผลแก่สถานศึกษา สมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลของศึกษานิเทศก์ ปฏิทินการนิเทศ ติดตามงานการวัดและประเมินผล ระบบฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนงานวัดและประเมินผลแก่สถานศึกษา

15 มาตรฐานการควบคุมคุณภาพงานการวัดและประเมินผลของสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่(ต่อ) -------------------
มาตรฐานที่ 2 : การบริหารจัดการเพื่อสนับสนุน พัฒนางานการวัดและประเมินผลแก่สถานศึกษา การสำรวจ วิเคราะห์ ปัญหาด้านการวัดและประเมินผลในรอบปี การจัดทำแผนงานโครงการเพื่อพัฒนางานการวัดและประเมินผลในรอบปี การจัดกิจกรรมและการนิเทศ เพื่อพัฒนางานด้านการวัดและประเมินผล การประเมินรับรองมาตรฐานด้านการวัดและประเมินผลของสถานศึกษา การนิเทศและเสริมสมรรถนะสำหรับสถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานด้านการวัดและประเมิน

16 มาตรฐานที่ 3 : ประสิทธิผลจากการพัฒนางานการวัดและประเมินผล
มาตรฐานการควบคุมคุณภาพงานการวัดและประเมินผลของสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่(ต่อ) มาตรฐานที่ 3 : ประสิทธิผลจากการพัฒนางานการวัดและประเมินผล ร้อยละของสถานศึกษาที่ทำการวิเคราะห์ผลการประเมินระดับชาติหรือระดับเขตพื้นที่แล้วจัดทำโครงการพัฒนารองรับอย่างเป็นรูปธรรม ร้อยละของสถานศึกษาที่เกรดผลการเรียนมีความน่าเชื่อถือหรือเชื่อถือได้ รายการนวัตกรรม หรือผลงานศึกษา วิจัย และพัฒนาด้านการวัดและประเมินผลที่มีการนำไปใช้ประโยชน์ ร้อยละของโรงเรียนที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจาก สมศ.ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

17 ระบบประกันคุณภาพภายใน ของเขตพื้นที่ ---------------
2 มาตรฐาน ระบบประกันคุณภาพภายใน ของเขตพื้นที่ เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา เพื่อการประกันคุณภาพ สำนักงานเขตพื้นที่

18 มาตรฐานระบบประกันคุณภาพภายในของเขตพื้นที่ ---------------
มาตรฐานที่ 1 : ความพร้อมด้านปัจจัยสนับสนุนงานประกันคุณภาพภายใน สมรรถนะของทีมงานและเครือข่ายผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพ มาตรฐานการประกันคุณภาพภายใน คู่มือการดำเนินงานสำหรับผู้ดูแลระบบ และสำหรับสถานศึกษา ระบบฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนงานประกันคุณภาพ แผนปฏิบัติการประเมินผลภายในระยะ 1 ปี และระยะ 5 ปี มาตรฐานที่ 2 : ความเป็นระบบ มีประสิทธิภาพของกระบวนการบริหารจัดการเพื่อการประกันคุณภาพภายใน การสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องงานประกันคุณภาพและจุดเน้นในรอบปีแก่ผู้เกี่ยวข้องและสถานศึกษา การวางแผนและกำหนดปฏิทินการประเมินภายในในรอบปี และ5 ปี การตรวจสอบ ประเมินมาตรฐานภายใน การให้ข้อมูลป้อนกลับ การนิเทศ การผลักดันให้สถานศึกษาเกิดการพัฒนาต่อเนื่อง

19 มาตรฐานระบบประกันคุณภาพภายใน(ต่อ)
มาตรฐานที่ 3 : ประสิทธิผลของการประกันคุณภาพภายใน ร้อยละของสถานศึกษาที่ผ่านการรับรองมาตรฐานภายใน ข้อเสนอแนะจากการประเมินมีความเหมาะสม เป็นไปได้ มีผลต่อการยกระดับคุณภาพสถานศึกษา ร้อยละของสถานศึกษาที่มีการวางแผนพัฒนาต่อเนื่อง ภายใน 60 วัน หลังทราบผลการประเมิน การเรียนรู้และพัฒนา/รายการองค์ความรู้ในฐานข้อมูล Best Practices จากการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา

20 Goal เกิดวัฒนธรรมคุณภาพในสถานศึกษาและ สพท.
พัฒนาฐานข้อมูล องค์ความรู้ Best Practices เพื่อสนับสนุนและผลักดันให้สถานศึกษาเกิดการพัฒนาต่อเนื่อง ไม่หยุดยั้ง ประเมินคุณภาพสถานศึกษาตามมาตรฐานที่กำหนด กำกับ ติดตาม นิเทศ เพื่อให้สถานศึกษาพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด ส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดทำแผนงาน โครงการ ให้รองรับ-สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา เสริมสร้างสมรรถนะของผู้เกี่ยวข้องในเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา กำหนดมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาในเขตพื้นที่(รวมทั้งกำหนดมาตรฐานการบริหารจัดการ สพท.)

21 วัฒนธรรมคุณภาพ.....คืออะไร
“บรรยากาศการทำงาน/การดำเนินชีวิต ที่ 1) มีการวิเคราะห์สภาพของตนเอง ณ วันนี้ 2) มีการกำหนดมาตรฐานคุณภาพ(กำหนดเป้าหมายที่ควรจะเป็น/ที่ต้องการ) 3) แสวงหาวิธีการเพื่อไปสู่เป้าหมาย แล้วปฏิบัติการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และ 4) มีการตรวจสอบความสำเร็จเป็นระยะ ๆ หากบรรลุผลสำเร็จก็จะกำหนดเป้าหมายคุณภาพใหม่หรือขยายระดับคุณภาพ ต่อไป”

22 มาตรฐานของ การประเมินคุณภาพภายนอก (สมศ.) -----------------
3 มาตรฐานของ การประเมินคุณภาพภายนอก (สมศ.) มาตรฐานที่ 1 ความตรงของการประเมินคุณภาพภายนอกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ สมศ.กำหนด (ตรงตามกติกา) มาตรฐานที่ 2 ความถูกต้องสมบูรณ์ของกระบวนการประเมิน(กระบวนการประเมินเฉียบคม) มาตรฐานที่ 3 ประสิทธิผลของการประเมิน(สรุปผลได้ครบถ้วน ชัดเจน เป็นที่ยอมรับ) มาตรฐานที่ 4 ความเป็นไปได้และความเหมาะสมของข้อเสนอแนะ(แนะทางออกอย่างเฉียบคม)

23 มาตรฐาน การประเมินคุณภาพระดับชาติ(สทศ.) --------------
4 มาตรฐาน การประเมินคุณภาพระดับชาติ(สทศ.) มาตรฐานที่ 1 : ความตรงของการประเมิน(ตรงตามมาตรฐานการเรียนรู้-ตรงตามหลักสูตร) มาตรฐานที่ 2 : ความถูกต้องสมบูรณ์ของกระบวนการประเมิน กระบวนการพัฒนาแบบทดสอบ กระบวนการสอบ/บริหารการสอบ การแปลผลและนำเสนอผลการประเมิน มาตรฐานที่ 3 ประสิทธิผลของการประเมิน การยอมรับผลการประเมินจากผู้เกี่ยวข้อง การนำผลการประเมินไปใช้ พัฒนาการของผลสัมฤทธิ์

24 เชิญ...อภิปราย ครับ


ดาวน์โหลด ppt มาตรฐานการวัด การประเมินและ การประกันคุณภาพภายใน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google