งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ผู้อำนวยการสำนักกำกับและอนุรักษ์พลังงาน นายสงวนศักดิ์ เกยุราพันธุ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ผู้อำนวยการสำนักกำกับและอนุรักษ์พลังงาน นายสงวนศักดิ์ เกยุราพันธุ์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ผู้อำนวยการสำนักกำกับและอนุรักษ์พลังงาน นายสงวนศักดิ์ เกยุราพันธุ์
โดย นายดนัย เอกกมล ผู้อำนวยการสำนักกำกับและอนุรักษ์พลังงาน นายสงวนศักดิ์ เกยุราพันธุ์ ที่ปรึกษาโครงการฯ

2 หัวข้อการบรรยาย ลดภาษี ความเป็นมาโครงการฯ
สิทธิประโยชน์จากโครงการมีอะไรบ้าง ใครสามารถขอรับสิทธิ์ได้บ้าง วัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่สามารถรับสิทธิ์ได้มีอะไรบ้าง ต้องการขอรับสิทธิ์จะต้องทำอย่างไร

3 ความเป็นมา ของโครงการฯ
ลดภาษี ความเป็นมา ของโครงการฯ

4 โครงการขอรับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้
ลดภาษี โครงการขอรับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้ จากกรมสรรพากร เป็นโครงการที่ให้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษี เงินได้ให้กับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน 25% ของค่าใช้จ่ายนั้น ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วเมื่อวันที่ พฤษภาคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2553 ที่ผ่านมา

5 ลดภาษี โครงการประสบผลสำเร็จอย่างยิ่ง พพ. ร่วมกับ กรมสรรพากร
ขอขยายระยะเวลาออกไปอีก 2-5 ปี ครม. มีมติให้ขยายระยะเวลาออกไป อีก 2 ปี เริ่ม วันที่ 1 มกราคม 2554 สิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2555 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำพระราชกฤษฎีกา ลดภาษี

6 สิทธิประโยชน์จากโครงการฯ
ลดภาษี สิทธิประโยชน์จากโครงการฯ มีอะไรบ้าง

7 ผู้ขอรับสิทธิ์ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจำนวนร้อยละ 25 ของค่าใช้จ่ายเพื่อได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร วัสดุ หรืออุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานซึ่งได้รับการรับรองจาก พพ. สิทธิประโยชน์ = x ค่าใช้จ่ายวัสดุ อุปกรณ์ หรือ เครื่องจักร ที่มีผลต่อการ ประหยัดพลังงาน

8 กราฟแสดงตัวอย่างสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ
ลดภาษี กราฟแสดงตัวอย่างสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ

9 สามารถขอรับสิทธิ์ได้บ้าง
ลดภาษี ใคร ??? สามารถขอรับสิทธิ์ได้บ้าง

10 ลดภาษี (ประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (6)*)
ผู้ขอรับสิทธิ์ต้องเป็นบุคคลดังต่อไปนี้ บุคคลธรรมดา ผู้มีเงินได้จาก - การให้เช่าทรัพย์สิน (ประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (5)*) - วิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม (ประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (6)*) - การรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วน สำคัญนอกจากเครื่องมือ (ประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (7)*) - การธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การ ขนส่ง หรือการอื่น (มาตรา 40 (8)* นอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 40(1) ถึง (7)) *ตาม ภ.ง.ด. 90 เฉพาะผู้มีเงินได้ ที่มีการหักค่าใช้จ่ายจริง ตามความจำเป็นและสมควร

11 ลดภาษี 2) นิติบุคคล เฉพาะนิติบุคคลที่เป็น - บริษัทจำกัด
- บริษัทมหาชนจำกัด - ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

12 วัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่สามารถรับสิทธิ์ได้
ลดภาษี วัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่สามารถรับสิทธิ์ได้ มีอะไรบ้าง

13 ลดภาษี คุณสมบัติของวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่ผู้มีสิทธิ์สามารถนำค่าใช้จ่ายไปขอรับสิทธิประโยชน์เป็นรายจ่ายทางภาษีเงินได้จากกรมสรรพากรได้ ต้อง จัดซื้อและเป็นของใหม่ (ต้องบันทึกเป็นทรัพย์สิน) ตั้งแต่ 1 มกราคม 2554 ถึง 31 ธันวาคม 2555 เป็นวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน ที่ตรงตามรายการอุปกรณ์ที่ พพ. ให้การรับรอง (มีรายชื่อในเว็บ ไม่เป็น วัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่ได้รับ หรือ อยู่ระหว่าง การขอรับสิทธิ ประโยชน์ จากส่วนราชการ เพื่อการส่งเสริมการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงาน ไม่เป็น วัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่นำไปใช้ในกิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก BOI (ทั้งหมดหรือบางส่วน) สรุปง่ายๆ . . . วัสดุฯ ที่จะขอรับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้ ชิ้นเดียวกัน ห้าม นำมาขอรับสิทธิประโยชน์ซ้ำซ้อน นั่นคือ 1 ชิ้น รับได้เพียง 1 สิทธิ์ เท่านั้น !!!!

14 ชิ้นเดียวกัน ห้าม นำมาขอรับสิทธิประโยชน์ซ้ำซ้อน
ลดภาษี เงื่อนไขการขอรับสิทธิประโยชน์ “บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล” คุณสมบัติของวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่ผู้มีสิทธิ์สามารถนำค่าใช้จ่ายไปขอรับสิทธิประโยชน์เป็นรายจ่ายทางภาษีเงินได้จากกรมสรรพากรได้ ต้อง ไม่เป็น วัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่เกิดจากรายจ่ายซึ่งได้จ่ายไปเป็นค่าจ้างเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีให้แก่หน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ไม่เป็น วัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ซึ่งได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากมาตรการโครงการลงทุนในทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินธุรกิจหลักของกิจการของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป) คุณสมบัติ 2 ข้อนี้ เป็นการได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้จากกรมสรรพากร อยู่แล้ว สรุปง่ายๆ วัสดุฯ ที่จะขอรับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้ ชิ้นเดียวกัน ห้าม นำมาขอรับสิทธิประโยชน์ซ้ำซ้อน นั่นคือ 1 ชิ้น รับได้เพียง 1 สิทธิ์ เท่านั้น !!!!

15 ลดภาษี โครงการฯ ในระยะที่ 2 พพ. ได้ประกาศรายชื่อวัสดุฯ แล้ว 19 ประเภท รวมทั้งสิ้น 230 ยี่ห้อ 3,892 รุ่น สังเกตได้จาก

16 ลดภาษี ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ได้แก่ อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ของ กฟผ. (จำนวน 9 ประเภท) เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า และกระติกน้ำร้อนไฟฟ้า เตาแก๊ส วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง ได้แก่ กระจก และฉนวนใยแก้ว วัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรประหยัดพลังงานในอาคาร/โรงงาน ได้แก่ อุปกรณ์ปรับความเร็วรอบมอเตอร์ และมอเตอร์เหนี่ยวนำสามเฟสที่มีประสิทธิภาพสูง วัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรประหยัดพลังงาน สำหรับระบบปรับอากาศ/ทำความร้อน/ทำความเย็น ได้แก่ เครื่องทำน้ำเย็นสำหรับระบบปรับอากาศ (Chiller) หม้อไอน้ำ (Boiler) และเครื่องทำน้ำร้อนชนิดฮีตปั๊มแบบใช้อากาศเป็นแหล่งพลังงาน (Heatpump)

17 ต้องการขอรับสิทธิ์ จะต้องทำอย่างไร
ลดภาษี ต้องการขอรับสิทธิ์ จะต้องทำอย่างไร

18 ลดภาษี ผู้ขอรับสิทธิ์จะต้อง
1.ซื้อ วัสดุฯ ที่ตรงตามรายการที่ พพ. ให้การรับรอง 2.เก็บ ใบเสร็จที่ระบุชื่อ ยี่ห้อ รุ่น พร้อมจัดทำรายงานแสดงรายละเอียดการซื้อวัสดุฯ 3. บันทึก เป็นรายจ่ายทางภาษี 25% ของมูลค่าทรัพย์สิน ในแบบ ภ.ง.ด. 90 (สำหรับบุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (5) (6) (7) และ (8)) หรือแบบ ภ.ง.ด. 50 (สำหรับนิติบุคคล)  ในคราวที่ยื่นชำระภาษีประจำปี

19 การกรอกแบบแสดงรายการภาษีเงินได้
ลดภาษี ตัวอย่าง การกรอกแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา (แบบ ภ.ง.ด.90)

20 ลดภาษี บันทึกข้อมูลในแบบ ภ.ง.ด.90 ตามประเภทของรายการเงินได้พึงประเมินของท่าน โดยเลือก หักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควร ทำเครื่องหมายในช่อง“  จริง” บันทึกข้อมูลสิทธิประโยชน์ 25% ของมูลค่าอุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน (รวมค่าติดตั้ง) ในรายการค่าใช้จ่ายจริงที่ขอหักตามความจำเป็นและสมควร สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(5) (6) (7) หรือ (8) ในหน้าที่ 3 ของแบบ ภ.ง.ด.90

21 ลดภาษี ตัวอย่างที่ 1 บุคคลธรรมดา
นาย A มีเงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ 4,000,000 บาท มีค่าใช้จ่ายจริงคือ 1. ค่าซื้อวัสดุก่อสร้าง 2,100,000 บาท 2. เงินเดือนค่าจ้างแรงงาน 1,043,000 บาท 3. ค่าเครื่องเขียนสำนักงาน 22,000 บาท 4. ค่าเสื่อมราคา 20,000 บาท 5. ค่าซื้ออุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน 25,000 บาท (25% ของมูลค่าอุปกรณ์รวมค่าติดตั้ง 100,000 บาท)

22 ลดภาษี 2. เลือก หักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควร ( )
1 . บันทึกข้อมูลในแบบ ภ.ง.ด.90 รายการเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (7) เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ 4,000,000 บาท 2. เลือก หักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควร ( ) 1 2 *ค่าใช้จ่ายจริง = 2,100, ,043, , , ,000 = 3,300,000

23 ลดภาษี 3. บันทึกข้อมูลในรายการค่าใช้จ่ายจริงที่ขอหักตามความจำเป็นและสมควร สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(5) (6) (7) หรือ (8) ในแบบ ภ.ง.ด.90 ในส่วน “สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40 (7)” ดังนี้ ค่าซื้อวัสดุก่อสร้าง 2,100,000 บาท เงินเดือนค่าจ้างแรงงาน 1,043,000 บาท ค่าเครื่องเขียนสำนักงาน 22,000 บาท ค่าเสื่อมราคา 20,000 บาท ค่าซื้ออุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน 25,000 บาท 3

24 ลดภาษี อย่าลืม !!! ยื่นชำระภาษีบุคคลธรรมดา
บันทึกค่าใช้จ่ายในแบบ ภ.ง.ด. 90 เสร็จเรียบร้อยแล้ว อย่าลืม !!! ยื่นชำระภาษีบุคคลธรรมดา ภายในระยะเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด เพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ นะครับ

25 ลดภาษี ตัวอย่าง การกรอกแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 68 และมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร (แบบ ภ.ง.ด.50)

26 ลดภาษี ทำการบันทึกข้อมูลในแบบ ภ.ง.ด.50 ในรายการที่ 10 รายได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้หรือรายจ่ายที่มีสิทธิหักได้เพิ่มขึ้น ข้อ 2.1 รายจ่ายค่าอุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน โดยบันทึกข้อมูลสิทธิประโยชน์ 25% ของมูลค่าอุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน (รวมค่าติดตั้ง) ในช่องที่ 3

27 ลดภาษี ตัวอย่างที่ 2 นิติบุคคล
บริษัท B ได้ซื้ออุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานที่ พพ. ประกาศรับรอง คือ เครื่องทำน้ำเย็นประสิทธิภาพสูง ยี่ห้อ B รุ่น B1 มูลค่า 500,000 บาท (รวมค่าติดตั้งแล้ว) บริษัท B จะได้รับสิทธิประโยชน์ในการหักค่าใช้จ่ายเพิ่มได้อีกเป็นจำนวน 125,000 บาท (25% ของมูลค่าวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรนั้น รวมค่าติดตั้ง 500,000 บาท)

28 ลดภาษี บันทึกข้อมูลเป็นรายจ่ายค่าอุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน 125,000 บาท ในรายการที่ 10 ข้อ 2.1 ในช่องที่ 3 ในแบบ ภ.ง.ด.50

29 ลดภาษี อย่าลืม !!! ยื่นชำระภาษีนิติบุคคล
บันทึกค่าใช้จ่ายในแบบ ภ.ง.ด. 50 เสร็จเรียบร้อยแล้ว อย่าลืม !!! ยื่นชำระภาษีนิติบุคคล ภายในระยะเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด เพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ นะครับ

30 ลดภาษี ดูรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่

31 ลดภาษี ศูนย์อำนวยการโครงการ ขอรับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้
จากกรมสรรพากร อาคาร 8 ชั้น 2 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เลขที่ 17 เชิงสะพานกษัตริย์ศึก ถ.พระราม 1 รองเมือง ปทุมวัน กทม โทร โทรสาร

32 ตอบข้อซักถาม


ดาวน์โหลด ppt ผู้อำนวยการสำนักกำกับและอนุรักษ์พลังงาน นายสงวนศักดิ์ เกยุราพันธุ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google