งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ประกันภัยร้านค้าอุ่นใจ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ประกันภัยร้านค้าอุ่นใจ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ประกันภัยร้านค้าอุ่นใจ

2 ขยายโอกาสด้านประกันภัย ร้านค้าอุ่นใจ
เหตุผลที่น่าขาย 1. ภาวะเศรษฐกิจถดถอย คนตกงานมากขึ้น โจรกรรมมากขึ้น เจ้าของร้านค้า มีความกังวลการถูกโจรกรรมทั้งสินค้าและเงินสด 2. อากาศประเทศไทย มีการแปรปรวนสูง น้ำท่วม ลมพายุ 3. มีร้านค้าจำนวนมากยังไม่มีประกันภัย 4. ทำประกันภัยง่าย แค่กรอกใบสมัคร Page 2

3 ความคุ้มครองของการประภัย
ประกันภัยร้านค้าอุ่นใจ ดีอย่างไร D1. All-In-One 1 กรมธรรม์ ครอบคลุมทุกภัย เหมาะสำหรับการประกอบธุรกิจร้านค้า D2. ให้ความคุ้มครองคลอบคลุม มากกว่าประกันอัคคีภัย ความคุ้มครองของการประภัย อัคคีภัย ร้านค้าอุ่นใจ 1. ภัยพื้นฐานของอัคคีภัย ได้แก่ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ระเบิดจากแก๊สหุงต้ม 2. น้ำท่วม ลมพายุ ลูกเห็บ แผ่นดินไหว สินามิ ระเบิด การถูกชนโดยยานพาหนะ อากาศยาน ภัยเนื่องจากน้ำ การจลาจลและนัดหยุดงาน การกระทำป่าเถื่อนและเจตนาร้าย 3. เงินทดแทนการสูญเสียรายได้ 4. โจรกรรม 5. ประกันภัยเงินสด 6. ความรับผิดตามกฏหมายต่อบุคคลภายนอก Page 3

4 ประกันภัยร้านค้าอุ่นใจ ดีอย่างไร
D3. ผลิตภัณฑ์เดียวสามารถขายได้หลายประเภทร้านค้า เพราะมีการกำหนดเบี้ยประกันภัยตาม ความเสี่ยง (ต่ำ-กลาง-สูง) กลุ่มร้านค้า ประเภทร้านค้า กลุ่มร้านค้าที่ 1 (ความเสี่ยงต่ำ) ได้แก่ คลินิกและสถานพยาบาล สำนักงาน สถาบันการศึกษา สถานรับเลี้ยงเด็ก (เนอร์สซารี่) หอพักและอพาร์ทเม้นท์ขนาดเล็ก เกสต์เฮาส์ ฟิตเนสเซ็นเตอร์ สมาคม สโมสร กลุ่มร้านค้าที่ 2 (ความเสี่ยงปานกลาง) ได้แก่ ร้านขายสินค้าทั่วไป/เบ็ดเตล็ด / (โชห่วย) ร้านมินิมาร์ท ร้านวัสดุก่อสร้าง ร้านขายเฟอร์นิเจอร์ ร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้า ร้านขายยา ร้านขายหนังสือ ร้านซักรีด ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า ร้านถ่ายรูป ร้านบริการด้านอินเตอร์เน็ตหรือเกมส์คอมพิวเตอร์ ร้านเบเกอรี่ ร้านอาหาร ภัตตาคาร ร้านเช่าวิดีโอและวีซีดิ โชว์รูมหรือร้านขายมอเตอร์ไซด์ ร้านประดับยนต์ ร้านขายอะไหล่รถจักรยานยนต์และรถยนต์ ร้านขายยางรถจักรยานยนต์ และรถยนต์ ร้านทำป้ายโฆษณา กลุ่มร้านค้าที่ 3 (ความเสี่ยงสูง) ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์และรถยนต์ (ไม่มีการพ่นสี) โกดังสินค้าขนาดเล็ก(ไม่มีการเก็บสินค้า เกษตร สินค้าอันตราย วัตถุไวไฟ D4. เป็น Package ขายง่าย แค่กรอกใบสมัคร D5. จ่ายค่าสินไหมตามราคาทดแทน ไม่มีการหักค่าเสื่อมราคา Page 4

5 แผนความคุ้มครองและเบี้ยประกันภัยร้านค้าอุ่นใจ
Page 5

6 เงื่อนไขการรับประกันภัย
การพิจารณารับประกันภัย 1. ทุนประกันภัยกำหนดไว้ตั้งแต่ 500,000 บาทและสูงสุดไม่เกิน 5,000,000 บาท ต่อหนึ่งสถานที่เอาประกันภัย (หากทุนประกันเกินกว่าที่กำหนด จะรับพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ) 2. กำหนดทุนประกันภัย พิจารณาจากมูลค่าทรัพย์สินที่แท้จริง เอกสารที่ใช้ในการทำประกันภัย 1. ใบคำขอเอาประกันภัย 2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของร้าน 3. สำเนา ภ.พ.20 หรือใบจดทะเบียนการค้า (ถ้ามี) 4. เอกสารสัญญาเช่า (ถ้ามี) ธุรกิจที่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการ 1. Night club (สโมสร และสถานบันเทิงในเวลาค่ำคืนทุกชนิด) 2. โรงพิมพ์ 3. อู่ซ่อมรถที่มีการพ่นสี 4. ร้านขาย พลุ ปุ๋ยยูเรียและ วัตถุไวไฟทุกชนิด 5. โรงรับจำนำ ร้านสินค้ามือสอง 6. ร้านหรือธุรกิจวัตถุโบราณ ภาพเขียนและของสะสม 7. ร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ และ โทรศัพท์มือถือ ซิมโทรศัพท์มือถือ บัตรเติมเงิน 8. ร้านทองและอัญมณี 9. ร้านสินค้าเกษตร และธัญพืชโดยเฉพาะ 10. ร้านค้าในห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้า Page 6

7 หมวดที่ 1 การประกันอัคคีภัยและภัยเพิ่ม
ความคุ้มครอง หมวดที่ 1 การประกันอัคคีภัยและภัยเพิ่ม 1. ไฟไหม้,ฟ้าผ่า,ระเบิดจากแก๊สหุงต้ม (อัคคีภัยพื่นฐาน) 2. ภัยเนื่องจากน้ำและ น้ำท่วม 3. ลมพายุ ลูกเห็บ 4. การถูกชนโดยยานพาหนะและอากาศยาน 5. แผ่นดินไหวและสึนามิ 6. ระเบิดและควัน 7. การจลาจลและนัดหนุดงาน 8. การกระทำอย่างป่าเถื่อนหรือการกระทำอันมี เจตนาร้าย 9. ความสูญเสียหรือเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า 10. ความสูญเสียหรือเสียหายต่อกระจกอาคาร ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย 1. สิ่งปลูกสร้าง(ไม่รวมรากฐาน) 2. เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่งติดตั้งตรึงตรา อุปกรณ์สำนักงาน เครื่องใช้สำนักงาน 3. เครื่องจักร 4. สต็อกสินค้า (สต็อกสินค้าอย่างเดียวไม่รับประกันภัย) Page 7

8 ความคุ้มครอง ภัยต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า
หมายถึง ความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า โดยมีสาเหตุมาจาก ไฟฟ้าลัดวงจร การใช้ความกดดันเกินกำหนด แต่ความเสียหายดังกล่าว ต้องมีร่องรอยการลุก ไหม้ หรือ เกิดประกายไฟเกิดขึ้น สูญเสียหรือเสียหายต่อกระจกอาคารอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ กระจกอาคาร หมายถึง กระจกที่ติดตั้งถาวรและเป็นส่วนหนึ่งของตัวอาคาร แต่ทั้งนี้ไม่ รวมถึง เครื่องแก้ว เครื่องกระเบื้อง เครื่องเคลือบดินเผา หินอ่อน หรือวัตถุอื่นที่เปราะ หรือแตกง่าย การจลาจลและนัดหยุดงาน หมายถึง การกระทำของบุคคลใดๆ ซึ่งร่วมกับกลุ่มบุคคลอื่น เพื่อก่อกวนความสงบสุขแห่ง สาธารณชน หรือการกระทำโดยเจตนาของผู้นัดหยุดงาน หรือคนงานที่ถูกห้ามเข้าทำงาน เพื่อส่งเสริมการนัดหยุดงาน หรือการต่อต้านการห้ามเข้าทำงาน ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะ เป็นการก่อกวนความสงบสุขแห่งสาธารณหรือไม่ก็ตาม Page 8

9 หมวดที่ 2 เงินทดแทนการสูญเสียรายได้รายวัน
ความคุ้มครอง หมวดที่ 2 เงินทดแทนการสูญเสียรายได้รายวัน หากธุรกิจของผู้เอาประกันภัยต้องหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว อันเนื่องจากทรัพย์สินที่ เอาประกันภัยได้รับความเสียหายและอยู่ภายใต้ความคุ้มครองหมวดที่ 1 บริษัทจะจ่ายเงินชดเชยการสูญเสียรายได้รายวันสูงสุดไม่เกินจำนวนเงินผลประโยชน์ ตามที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ (ตั้งแต่ 500 – 5,000 บาท/วัน) หมายเหตุ บริษัทจะเริ่มชดใช้ตั้งแต่วันที่ 2 ของการปิดร้านและสูงสุดไม่เกิน 30 วัน ต่อตลอดระยะเวลา เอาประกันภัย Page 9

10 ความคุ้มครอง หมวดที่ 3 ความเสียหายหรือสูญหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัยจากการถูกโจรกรรม โดยมีสาเหตุดังต่อไปนี้ 1. การลักทรัพย์ที่ปรากฏร่องรอยความเสียหายต่อตัวอาคารในการเข้าหรือออก หมายถึง ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยซึ่งเก็บไว้ภายในอาคารได้รับความเสียหายหรือสูญหายจากการถูกลัก ทรัพย์ กรมธรรม์จะให้ความคุ้มครองก็ต่อเมื่อมีการปรากกฏร่องรอยความเสียหายที่เห็นได้ชัดเจนต่ออาคารใน การเข้าหรือออกที่เกิดจากการลักทรัพย์นี้ 2. ชิงทรัพย์ หมายถึง การลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญ เช่น ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือ ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น หรือ ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ หรือ ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือ ให้พ้นจากการจับกุม 3. ปล้นทรัพย์ หมายถึง การชิงทรัพย์ ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ขยายความคุ้มครองการซ่อมแซมตัวอาคาร จากการถูกโจรกรรม Page 10

11 หมวดที่ 4 ประกันภัยเงินสด
ความคุ้มครอง หมวดที่ 4 ประกันภัยเงินสด ความสูญเสียของเงินสด อันเนื่องจาก จากการถูกชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ซึ่งหน้า ภายในสถานที่เอาประกันภัย การถูกลักทรัพย์จากตู้นิรภัย ซึ่งต้องมีการปรากฏร่องรอยความเสียหายต่อตู้นิรภัย 3. การถูกลักทรัพย์จากลิ้นชักเก็บเงินในเวลาทำการ ซึ่งต้องมีการปรากฏร่องรอยความเสียหายต่อ ลิ้นชักเก็บเงิน ความเสียหายต่อลิ้นชักและตู้นิรภัยที่เก็บเงินสด บริษัทฯ ขยายความคุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหายต่อลิ้นชักและตู้นิรภัยที่เก็บเงินสด จาก การถูกโจรกรรม Page 11

12 หมวดที่ 5 การประกันภัยความรับผิดตามกฏหมายต่อบุคคลภายนอก
ความคุ้มครอง หมวดที่ 5 การประกันภัยความรับผิดตามกฏหมายต่อบุคคลภายนอก ความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอกจากอุบัติเหตุ โดยอุบัติเหตุอันเกี่ยวกับกิจการหรือ ธุรกิจของผู้เอาประกันภัยภายในสถานที่เอาประกันภัยหรือเกิดจากการใช้สถานที่เอา ประกันภัย หมายเหตุ : ผู้เอาประกันต้องรับผิดชอบ 2,000 บาทแรกสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อ ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก (หากเสียชีวิต/บาดเจ็บไม่มีความรับผิดส่วนแรก) ตัวอย่างเช่น ลูกค้าได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุกระจกอาคารแตก เป็นต้น Page 12

13 ประกันภัยร้านค้าในศูนย์การค้า

14 ขยายโอกาสด้านประกันภัย ร้านค้าในศูนย์การค้า
เหตุผลที่น่าขาย 1. ร้านค้าในศูนย์การค้า จำนวนมากยังไม่มีประกันภัยร้านค้า 2. ศูนย์การค้า 1 สถานที่ มีร้านค้าให้นำเสนอจำนวนมาก 3. เป็นแพคเก็จขายง่าย ไม่ต้องคำนวณเบี้ยตามแต่ละร้าน 4. ตัวแทนได้ค่าคอมต่อกรมธรรม์สูงกว่าขายประกันอัคคีภัยร้านค้า Page14

15 ประกันภัยร้านค้าในศูนย์การค้า ดีอย่างไร
D1. All-In-One 1 กรมธรรม์ ครอบคลุมทุกภัย เหมาะสำหรับการประกอบธุรกิจร้านค้า ในศูนย์การค้า D2. ถือผลิตภัณฑ์เดียวสามารถขายได้ทุกประเภทร้านค้าในศูนย์การค้า D3. จ่ายค่าสินไหมตามราคาทดแทน ไม่มีการหักค่าเสื่อมราคา D4. ชดเชยรายได้รายวัน กรณีต้องปิดร้าน สูงสุด 3,000 บาทต่อวันจาก ความเสียหายที่คุ้มครอง (ตามหมวดที่ 1) Page15

16 แผนความคุ้มครองและเบี้ยประกันภัยร้านค้าในศูนย์การค้า
Page16

17 เงื่อนไขการรับประกันภัย
การพิจารณารับประกันภัย 1. กำหนดทุนประกันภัย พิจารณาจากมูลค่าทรัพย์สินที่แท้จริง 2. ทุนประกันภัยกำหนดไว้ตั้งแต่ 300,000 บาทและสูงสุดไม่เกิน 2,000,000 บาท ต่อหนึ่งสถานที่เอาประกันภัย (หากทุนประกันเกินกว่าที่กำหนด จะรับพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ) เอกสารที่ใช้ในการทำประกันภัย 1. ใบคำขอเอาประกันภัย 2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของร้าน 3. สำเนา ภ.พ.20 หรือใบจดทะเบียนการค้า (ถ้ามี) 4. เอกสารสัญญาเช่า (ถ้ามี) Page17

18 เงื่อนไขการรับประกันภัย
คุณสมบัติร้านค้าในศูนย์การค้าที่สามารถรับประกันภัยได้ดังนี้ 1. ร้านค้าที่สามารถปิดล๊อคครบทั้ง 4 ด้าน ไม่รวมร้านค้าเปิดโล่ง และ บู๊ทเปิดโล่ง 2. ร้านค้าที่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการ 2.1 ร้านทองและอัญมณี 2.2 โรงรับจำนำ ร้านสินค้ามือสอง 2.3 ร้านนาฬิกาข้อมือ 2.4 แฟรนไชส์ผลิตภัณฑ์สมุนไพรธรรมชาติ 2.5 ร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ และ โทรศัพท์มือถือ ซิมโทรศัพท์มือถือ บัตรเติมเงิน 2.6 ร้านหรือธุรกิจวัตถุโบราณ ภาพเขียนและของสะสม 2.7 เครื่องสำอางค์ 2.8 ร้านค้า CD (ไม่มีลิขสิทธิ์) 2.9 โรงภาพยนตร์ 2.10 โกดังสินค้า 3. ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าในเขตพื้นที่อันตราย บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ไม่สามารถเอาประกันภัยแผนนี้ได้ดังนี้ 3.1 สำเพ็ง 3.2 ประตูน้ำ (ยกเว้น Platinum fashion mall และ ประตูน้ำ city) Page18

19 หมวดที่ 1 การประกันอัคคีภัยและภัยเพิ่ม
ความคุ้มครอง หมวดที่ 1 การประกันอัคคีภัยและภัยเพิ่ม ไฟไหม้,ฟ้าผ่า,ระเบิดจากแก๊สหุงต้ม (อัคคีภัยพื่นฐาน) 2. ภัยเนื่องจากน้ำ 3. ลมพายุ ลูกเห็บ 4. การถูกชนโดยยานพาหนะและอากาศยาน 5. แผ่นดินไหวและสึนามิ 6. ระเบิดและควัน 7. การจลาจลและนัดหนุดงาน การกระทำอย่างป่าเถื่อนหรือการกระทำอันมี เจตนาร้าย 9. ความสูญเสียหรือเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย 1. เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่งติดตั้งตรึงตรา อุปกรณ์สำนักงาน เครื่องใช้สำนักงาน 2. เครื่องจักร 3. สต็อกสินค้า (สต็อกสินค้าอย่างเดียวไม่รับประกันภัย) Page19 19

20 ภัยต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า
ความคุ้มครอง ภัยต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า หมายถึง ความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า โดยมีสาเหตุมา จากไฟฟ้าลัดวงจร การใช้ความกดดันเกินกำหนด แต่ความเสียหายดังกล่าว ต้องมี ร่องรอยการลุกไหม้ หรือ เกิดประกายไฟเกิดขึ้น การจลาจลและนัดหยุดงาน หมายถึง การกระทำของบุคคลใดๆ ซึ่งร่วมกับกลุ่มบุคคลอื่น เพื่อก่อกวนความสงบสุข แห่งสาธารณชน หรือการกระทำโดยเจตนาของผู้นัดหยุดงาน หรือคนงานที่ถูกห้าม เข้าทำงาน เพื่อส่งเสริมการนัด หยุดงาน หรือการต่อต้านการห้ามเข้าทำงาน ไม่ว่า การกระทำดังกล่าวจะเป็นการก่อกวนความสงบสุขแห่งสาธารณหรือไม่ก็ตาม การกระทำอันมีเจตนาร้าย หมายถึง การกระทำอย่างจงใจเพื่อให้เกิดความสูญเสียหรือความเสียหายโดยตรงต่อ ตัวทรัพย์สินที่เอาประกันภัย ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะเป็นการก่อกวนความสงบสุข แห่งสาธารณชนหรือไม่ก็ตาม Page20 20

21 หมวดที่ 2 เงินทดแทนการสูญเสียรายได้รายวัน
ความคุ้มครอง หมวดที่ 2 เงินทดแทนการสูญเสียรายได้รายวัน หากธุรกิจของผู้เอาประกันภัยต้องหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว อันเนื่องจากทรัพย์สิน ที่เอาประกันภัยได้รับความเสียหายและอยู่ภายใต้ความคุ้มครองหมวดที่ 1 บริษัทจะจ่ายเงินชดเชยการสูญเสียรายได้รายวันสูงสุดไม่เกินจำนวนเงิน ผลประโยชน์ตามที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ (ตั้งแต่ 500 – 3,000 บาท/วัน) หมายเหตุ บริษัทจะเริ่มชดใช้ตั้งแต่วันที่ 2 ของการปิดร้านและสูงสุดไม่เกิน 30 วัน ต่อตลอด ระยะเวลาเอาประกันภัย หมวดที่ 3 ความเสียหายต่อกระจกอาคารอันเนื่องจากอุบัติเหตุ คุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหายต่อกระจกอาคารอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ กระจกอาคาร หมายถึง กระจกที่ติดตั้งถาวรและเป็นส่วนหนึ่งของตัวอาคาร แต่ ทั้งนี้ไม่รวมถึง เครื่องแก้ว เครื่องกระเบื้อง เครื่องเคลือบดินเผา หินอ่อน หรือวัตถุ อื่นที่เปราะหรือแตกง่าย Page21 21

22 ความคุ้มครอง หมวด 4 ความเสียหายหรือสูญหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัยจากการถูกโจรกรรม โดยมีสาเหตุดังต่อไปนี้ 1. การลักทรัพย์ที่ปรากฏร่องรอยความเสียหายต่อตัวอาคารในการเข้าหรือออก หมายถึง ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยซึ่งเก็บไว้ภายในอาคารได้รับความเสียหายหรือสูญหาย จากการถูกลักทรัพย์ กรมธรรม์จะให้ความคุ้มครองก็ต่อเมื่อมีการปรากกฏร่องรอยความ เสียหายที่เห็นได้ชัดเจนต่ออาคารในการเข้าหรือออกที่เกิดจากการลักทรัพย์นี้ 2 ชิงทรัพย์ หมายถึง การลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญ เช่น ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือ ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น หรือ ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ หรือ ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือ ให้พ้นจากการจับกุม 3. ปล้นทรัพย์ หมายถึง การชิงทรัพย์ ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ขยายความคุ้มครองการซ่อมแซมตัวอาคาร จากการถูกโจรกรรม Page22 22

23 หมวดที่ 5 การประกันภัยความรับผิดตามกฏหมายต่อบุคคลภายนอก
ความคุ้มครอง หมวดที่ 5 การประกันภัยความรับผิดตามกฏหมายต่อบุคคลภายนอก ความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอกจากอุบัติเหตุ โดยอุบติเหตุอันเกี่ยวกับ กิจการหรือธุรกิจของผู้เอาประกันภัยภายในสถานที่เอาประกันภัยหรือเกิดจากการใช้ สถานที่เอาประกันภัย หมายเหตุ : ผู้เอาประกันต้องรับผิดชอบ 2,000 บาทแรกสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้น ต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก (หากเสียชีวิต/บาดเจ็บไม่มีความรับผิดส่วนแรก) ตัวอย่างเช่น ลูกค้าได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุกระจกอาคารแตก เป็นต้น Page23 23

24 ขอจบการนำเสนอในส่วนผลิตภัณฑ์ ขอขอบคุณผู้มีเกียรติทุกท่านเป็นอย่างสูง
และ ขอขอบคุณผู้มีเกียรติทุกท่านเป็นอย่างสูง


ดาวน์โหลด ppt ประกันภัยร้านค้าอุ่นใจ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google