งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เขตการค้าเสรี ไทย-อินเดีย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เขตการค้าเสรี ไทย-อินเดีย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เขตการค้าเสรี ไทย-อินเดีย
India-Thailand Free Trade Area

2 ความเป็นมา ในปี 2001 ไทย-อินเดีย ได้จัดตั้ง คณะศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำเขตการค้าเสรี ผลการศึกษาปรากฏว่า การจัดทำ FTA จะนำมาซึ่งประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย ในแง่ความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุน ในปี 2002 ได้จัดตั้งคณะเจรจาจัดทำกรอบความตกลงเขตการค้าเสรี ในปี 2003 ได้มีการลงนามกรอบฯ โดยรัฐมนตรีการค้าของทั้ง สองฝ่าย

3 วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
เพื่อเปิดเสรีและลดอุปสรรคทางการค้า เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายการค้าสินค้าและการค้าบริการ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในสาขาใหม่ๆ

4 ประโยชน์ที่จะได้รับ การเข้าสู่ตลาดที่มากขึ้นของทั้งสองฝ่าย (better market access) สร้างโอกาสใหม่ๆ ทางการค้าและการลงทุน สร้างแนวทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจร่วมกัน ระหว่าง ไทย-อินเดีย เป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างเอเซียใต้และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

5 สาระสำคัญของเขตการค้าเสรี ไทย-อินเดีย
มีขอบเขตครอบคลุมในทุกเรื่อง คือ การค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจในสาขาต่างๆ จะยกเลิกมาตรการภาษีและมิใช่ภาษีในปี 2010 จะเปิดเสรีการค้าบริการ ให้ได้สาขามากที่สุด และกำลังตกลงในเรื่องระยะเวลาในการเปิดเสรีกันอยู่

6 ลักษณะของเขตการค้าเสรี ไทย-อินเดีย (ต่อ)
ลักษณะของเขตการค้าเสรี ไทย-อินเดีย (ต่อ) ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือในการลงทุนระหว่างกัน ร่วมกันสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่จะนำประโยชน์มา สู่ทั้งสองฝ่าย เช่น การประมง/เลี้ยงสัตว์น้ำ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีชีวะภาพ การท่องเที่ยว และการดูแล สุขภาพ เป็นต้น สนับสนุนการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน เช่นในเรื่องของกระบวนการศุลกากร ความตกลงการยอมรับร่วม เป็นต้น

7 สินค้าเร่งลดภาษี (Early Harvest Scheme)
ครอบคลุมสินค้า 82 รายการ ได้แก่ เงาะ มังคุด ลำไย องุ่น แอปเปิ้ล ข้าวสาลี อาหารทะเลแปรรูป เม็ดพลาสติก ชิ้นส่วนยานยนต์ ฯลฯ ตารางการลดภาษีสินค้า จะใช้วันที่ 1 มค เป็นปีฐาน - 1 กย สค % - 1 กย สค % - 1 กย. 06 เป็นต้นไป %

8 สินค้าเร่งลดภาษี (ต่อ)
ใช้กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (ชั่วคราว) กับสินค้ากลุ่มนี้ สินค้าที่จะได้รับสิทธิการลดภาษีจะต้องระบุแหล่งกำเนิดสินค้าจากประเทศไทยหรืออินเดีย สินค้าที่จะได้รับสิทธิพิเศษภายใต้ FTA จะต้อง - ใช้วัตถุดิบที่ผลิตภายในประเทศทั้งหมด (wholly obtained) - สินค้าที่ผลิตในไทยหรืออินเดีย โดยมีการนำเข้าวัตถุดิบจากแหล่งอื่นไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้

9 สินค้าเร่งลดภาษี (ต่อ)
สินค้าที่มีวัตถุดิบจากต่างประเทศ (นอกจาก ไทยและอินเดีย) จะต้องมีกระบวนการผลิตเพิ่มและมีการเปลี่ยนแปลงพิกัดอัตราศุลกากรในระดับที่กำหนดไว้ (changing in tariff classification) สินค้าที่มีวัตถุดิบจากต่างประเทศ (นอกจาก ไทยและอินเดีย) จะต้องมีสัดส่วนมูลค่าเพิ่มของวัตถุดิบในประเทศตามที่กำหนด (local value added content)

10 มูลค่าการค้าของทั้งสองฝ่าย

11 มูลค่าการค้าสินค้า Early Harvest Scheme

12 มูลค่าการค้าสินค้า Early Harvest Scheme
มูลค่าการค้ารวมในปี ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็น 7.2% ของมูลค่าการค้ารวม ไทย-อินเดีย) มูลค่าส่งออก ล้านเหรียญสหรัฐฯ (พลาสติก เครื่องปรับอากาศ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์) มูลค่านำเข้า ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม เคมีภัณฑ์ และเครื่องจักร)

13 มูลค่าการค้าสินค้าเร่งลดภาษี (ต่อ)
ในปี สินค้ากลุ่มนี้มีปริมาณการค้าเพิ่มขึ้น 60.5% ไทยนำเข้าสินค้ากลุ่มนี้จากอินเดียเพิ่มขึ้น 91.5% ซึ่งอินเดียมีส่วนแบ่งตลาดในไทยเท่ากับ 1.1% ไทยส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ไปอินเดียเพิ่มขึ้น 36.4%

14 สถานะการเจรจาในปัจจุบัน
การเปิดเสรีการค้าสินค้า (Trade in Goods) ครอบคลุมหัวข้อสำคัญ สินค้าที่จะนำมาลดภาษี (Normal / Sensitive Track) รูปแบบการลดภาษี กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า มาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี และมาตรการปกป้อง พิธีการศุลกากร การระงับข้อพิพาททางการค้า

15 สถานการณ์เจรจาในปัจจุบัน (ต่อ)
การค้าบริการและการลงทุน ใช้กรอบการเจรจาการค้าบริการภายใต้ WTO เป็นพื้นฐาน ให้มีการเจรจาเปิดเสรีรายสาขา โดยใช้วิธีการแลกเปลี่ยน request / offer

16 สถานการณ์เจรจาในปัจจุบัน (ต่อ)
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในสาขาต่างๆ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การท่องเที่ยว การศึกษา

17 ผลสืบเนื่องจาก FTA ขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนให้กว้างขึ้น
การเข้าสู่ตลาด เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบเศรษฐกิจ เพิ่มศักยภาพในการผลิตและการแข่งขัน

18 ธวัชชัย โสภาเสถียรพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์
ขอบคุณครับ ธวัชชัย โสภาเสถียรพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์


ดาวน์โหลด ppt เขตการค้าเสรี ไทย-อินเดีย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google