ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บทที่ 1 ความหมายและแนวทางของนโยบายสาธารณะ
ดร.ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร
2
ความหมายของนโยบายสาธารณะ
คำว่า “นโยบายสาธารณะ” หรือ “Public Policy” “หมายถึง การตัดสินใจของรัฐบาลในการเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำกิจกรรมใดๆ เพื่อประโยชน์สุขต่อประชาชน”
3
ประเภทของนโยบายสาธารณะ
1 แบ่งประเภทตามลักษณะเนื้อหา และวัตถุประสงค์ของนโยบาย มีนักวิชาการที่แบ่งตามนี้ เช่น Theodore Lowi ได้แบ่งไว้ 3 ประเภท คือ นโยบายเกี่ยวกับการจัดระเบียบกฎเกณฑ์ นโยบายเกี่ยวกับการ กระจายทรัพยากร นโยบายเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรใหม่ 2 แบ่งประเภทตามลักษณะขอบข่ายผลกระทบของนโยบาย นักวิชาการที่แบ่งตามลักษณะนี้ เช่น David Easton (1953) โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ นโยบายเฉพาะกลุ่ม และนโยบายส่วนรวม
4
ประเภทของนโยบายสาธารณะ
3 แบ่งประเภทตามลักษณะกระบวนการของนโยบายสาธารณะ นักวิชาการที่แบ่งตามลักษณะนี้ เช่น Ira Sharkansky (1970) แบ่งไว้ 3 ประเภท ขั้นนโยบายสาธารณะ ขั้นผลผลิตของนโยบายสาธารณะ และขั้นผลกระทบของนโยบาย 4 แบ่งประเภทตามลักษณะกิจกรรม หรือภารกิจสำคัญของรัฐบาล นักวิชาการที่แบ่งตามลักษณะนี้ เช่น Thomas Dye (1978) แบ่งตามภารกิจของสหรัฐอเมริกา ไว้ 12 ประเภท มีนโยบายป้องกันประเทศ นโยบายต่างประเทศ นโยบายการศึกษา นโยบายสวัสดิการ นโยบายการรักษาความสงบภายใน นโยบายทางหลวง นโยบายภาษีอากร นโยบายการเคหะ นโยบายประกันสังคม นโยบายสาธารณะสุข นโยบายพัฒนาชุมชน/ตัวเมือง และนโยบายทางเศรษฐกิจ
5
ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะ
คณิตศาสตร์ มานุษยวิทยา เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ จิตวิทยา อื่นๆ
6
แนวทางสำหรับการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ
7
ขั้นตอนของการวิเคราะห์นโยบาย
8
ประโยชน์ของการวิเคราะห์นโยบาย
ประการแรก ช่วยให้ทราบถึงความต้องการที่แท้จริงของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากนโยบายทุกฝ่าย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่มีความเป็นไปได้สูงขึ้นและสามารถสนองตอบต่อความต้องการที่แท้จริง ประการต่อมา ทำให้ทราบถึงมูลเหตุที่แท้จริงของปัญหา (Causes) อันมีผลต่อการตัดสินใจเลือกนโยบายหรืออนุมัตินโยบายของผู้นำหรือผู้มีอำนาจ
9
ประโยชน์ของการวิเคราะห์นโยบาย
ประการที่สาม ช่วยลดความผิดพลาดในการเลือกหรือการตัดสินใจต่อนโยบาย เพราะการวิเคราะห์นโยบายจะช่วยทำให้เกิดข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอต่อการตัดสินใจมากขึ้น ประการที่สี่ ทำให้การปรับปรุง เปลี่ยนแปลง รวมทั้งการยุตินโยบายกระทำขึ้นอย่างเป็นระบบ ลดความอคติต่อนโยบาย จนนำไปสู่การตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อนโยบาย
10
แนวโน้มในการการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ
ประการแรก เน้นความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ (Objective) มากขึ้น ประการที่สอง ให้ความสำคัญต่อเรื่องค่านิยม (Value) ทางสังคมมากขึ้น ประการที่สาม พยายามประยุกต์ศาสตร์สาขาต่างๆ ในรูปของสหวิทยาการ อาทิ สังคมวิทยา พฤติกรรมศาสตร์ รัฐศาสตร์ ปรัชญา วิทยาการจัดการ สถิติศาสตร์ คณิตศาสตร์ประยุกต์ เป็นต้น ประการที่สี่ เน้นการวิเคราะห์แบบมีส่วนร่วมมากขึ้น (Participation) ซึ่งสอดคล้องกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
11
แนวโน้มในการการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ
ประการที่ห้า ใช้วิธีวิเคราะห์นโยบายที่ง่าย และแม่นตรง (Validity) เชื่อถือได้ (Reliability) ประการที่หก การวิเคราะห์นโยบายเชิงธุรกิจ (Cost - Benefit) มีบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะนโยบายที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ประการที่เจ็ด ให้ความสำคัญต่อบทบาทนักวิเคราะห์นโยบายมากขึ้น โดยเน้นให้เป็นผู้เชี่ยวชาญในการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ การเป็นนักเจรจาต่อรอง การอำนวยความสะดวก และการเป็นนักประสานงานที่ดี
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.