ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยPhitchaya Ekaluck ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
เป็นการย้ายข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่าเดิมตั้งแต่ระดับ 8
ลงมา ตามความประสงค์ของเจ้าตัว และได้รับอนุมัติจาก อ.ก.พ.กรมฯ
2
หลักเกณฑ์ 1. ให้ผู้ประสงค์ขอย้ายมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่าเดิมตั้งแต่ระดับ 8 ลงมา ยืนคำขอตามแบบฟอร์มหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร /ว 12 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2542 2. ผู้ที่ประสงค์ขอย้าย ต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง ตามที่ ก.พ. กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
3
หลักเกณฑ์ 3. ผู้ประสงค์จะขอย้ายผู้ใด จะต้อง.....................
3. ผู้ประสงค์จะขอย้ายผู้ใด จะต้อง - ไม่เคยดำรงตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 หรือ ระดับ 4 มาก่อน หรือ - ไม่เคยได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ใช้วุฒิปริญญาตรีหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้มาก่อน หรือ - ไม่เคยได้รับการแต่งตั้งโดยผลการสอบแข่งขัน หรือโดยการคัดเลือกในกรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่จำเป็นต้องสอบแข่งขันตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด ให้ดำรงตำแหน่งที่ต้องใช้วุฒิตำแหน่งปริญญาตรีหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ขึ้นไปเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งมาก่อน ถ้ามีความประสงค์จะย้ายมาดำรงตำแหน่ง ในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 ผู้นั้นต้องเป็นผู้สอบแข่งขันได้ ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 0711/ ว 12 ลงวันที่ 1 ตุลาคม หรือ เป็นผู้สอบคัดเลือกได้ตามหนังสือ สำนักงาน ก.พ. ที่ นร 0705/ว 7 ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2534
4
หลักเกณฑ์ 4. เมื่อตรวจสอบคุณสมบัติถูกต้องแล้ว ให้นำเสนอ อ.ก.พ.กรมฯ พิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้ ให้พิจารณาโดยคำนึงถึงความจำเป็นของข้าราชการ แต่จะต้องไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อราชการ และราชการต้องได้รับประโยชน์จากการย้าย 5. ให้ผู้ประสงค์ขอย้ายได้รับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งในขั้นที่เทียบได้ตรงกับขั้นเงินเดือนของอันดับเดิม ตามตารางเทียบขั้นเงินเดือนแต่ละอันดับที่ข้าราชการจะได้รับ แต่ผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงของอันดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งอยู่แล้ว ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นสูงของอันดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง
5
หลักเกณฑ์ 6. ผู้ที่ประสงค์จะขอย้ายมาดำรงตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดเป็นระดับ 3 หรือ 4 หรือ 5 หรือ 6 และที่กำหนดเป็นตำแหน่ง ว หรือ วช จะต้องผ่านวิธีการตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กำหนด แล้วแต่กรณีก่อน
6
1. ตรวจสอบคุณสมบัติของข้าราชการที่จะย้ายให้มีคุณสมบัติครบถ้วน
1. ตรวจสอบคุณสมบัติของข้าราชการที่จะย้ายให้มีคุณสมบัติครบถ้วน ตามที่ ก.พ. กำหนด 1) ชื่อ – สกุล 2.) เลขประจำตัวประชาชน 3) ชื่อตำแหน่ง 4) ตำแหน่งเลขที่ 5) สังกัด 6) อัตราเงินเดือน 7) คุณวุฒิ 8 ) ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ถ้ามี) 9) ประกาศฯ ผลการสอบคัดเลือกเพื่อเปลี่ยนสายงานและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งวิศวกรฯ (ถ้ามี) 10) สำเนาใบปริญญาบัตร ( Transcript ) 11) ให้ข้าราชการผู้นั้นลงลายมือชื่อยินยอมในการย้ายมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ ต่ำกว่าเดิม (ตามบันทึกแนบท้ายหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร / ว 12 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2542)
9
2. ส่งเรื่องให้กลุ่มพัฒนาระบบงานและอัตรากำลัง สำนักพัฒนาโครงสร้างฯ
เพื่อตรวจสอบและสงวนตำแหน่ง 3. ส่งเรื่องให้ฝ่ายควบคุมเงินเดือนและค่าจ้าง กองการเงินและบัญชี เพื่อตรวจสอบอัตราเงินเดือนของตำแหน่งว่าง
10
4. จัดทำบันทึกขอความเห็นชอบรองอธิบดีในสายงานที่รับผิดชอบหน่วยงานนั้น ๆ
5. ขอความเห็นชอบอธิบดี 6. เสนอ อ.ก.พ.กรมฯ ให้ความเห็นชอบจาก อ.ก.พ. กรมฯ ก่อนตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร / ว 12 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2542
11
7. จัดทำบันทึกสรุปการย้ายของข้าราชการดังกล่าว เพื่อนำเข้า อ. ก. พ
7. จัดทำบันทึกสรุปการย้ายของข้าราชการดังกล่าว เพื่อนำเข้า อ.ก.พ. กรมฯ เสนอหัวหน้าฝ่ายสรรหาฯ เพื่อหัวหน้าฝ่ายสรรหาฯ จะได้นำเข้าที่ประชุม อ.ก.พ. กรมฯ เพื่อพิจารณา 8. จัดทำคำสั่งเสนออธิบดี ลงนามทุกวันที่ 15 ของเดือน
12
สรุปขั้นตอนการปฏิบัติ
รับเรื่อง แจ้งสำนัก/กอง เจ้าของเรื่อง ตรวจสอบคุณสมบัติ คุณสมบัติไม่ครบถ้วน จัดทำคำสั่ง เสนออธิบดี สงวนตำแหน่ง (กอ.บค.) ตรวจสอบอัตราเงินเดือน(ฝงง.) สรุปเรื่องฯ นำเข้า อ.ก.พ.กรมฯ เสนอรองอธิบดี ขอความเห็นชอบอธิบดี
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.