งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

“ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และการประกันคุณภาพการศึกษา” คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 31 พฤษภาคม 2552.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "“ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และการประกันคุณภาพการศึกษา” คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 31 พฤษภาคม 2552."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 “ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และการประกันคุณภาพการศึกษา” คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 31 พฤษภาคม 2552

2 ปรัชญา “มุ่ง มั่นพัฒนาวิชาการ สู่ การผลิตวิศวกรที่มีคุณภาพและคุณธรรม
“มุ่ง มั่นพัฒนาวิชาการ สู่ การผลิตวิศวกรที่มีคุณภาพและคุณธรรม ความ รู้สู่สังคมไทย เป็น ผู้นำด้านวิจัยและเทคโนโลยี เลิศ ล้ำค่าความเป็นไทยดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม”

3 วิสัยทัศน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
เป็นแหล่งรวมและเสริมสร้าง องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคมไทยให้นำไปสู่การ พึ่งพาตนเอง รวมทั้งการแข่งขันได้ในระดับสากล

4 พันธกิจ สร้างและผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพมีองค์ความรู้เพื่อนำไปสู่การพึ่งพาตนเอง มีคุณธรรมและจริยธรรม เสริมสร้างบุคลากรและผลงานวิจัยแบบองค์รวม สร้างระบบบริหารจัดการโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ ถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อนำไปสู่สังคมแห่งการพึ่งพาตนเอง องค์รวม: ต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ ทุกคนในหน่วยงานเดียวกัน มองที่เป้าหมายเดียวกันว่าอะไรคือความสำเร็จสูงสุดขององค์กรและร่วมมือร่วมใจให้ไปถึงจุดดังกล่าว การบริหารงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Results Based Management - RBM) ... คือ วิธีการบริหารจัดการที่เป็นระบบมุ่งเน้นที่ผลสัมฤทธิ์หรือผลการปฏิบัติงานเป็นหลัก

5 เป้าประสงค์ นิสิตมีความรู้ความสามารถเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน
นิสิตมีคุณธรรมและจริยธรรม ส่งเสริมความเข้มแข็งของทุนทางวัฒนธรรม อาจารย์มีผลงานวิชาการที่มีคุณภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์มีการบริหารจัดการภายในคณะที่มีประสิทธิภาพ มีระบบฐานข้อมูลและความพร้อมใช้งานของข้อมูล มีระบบการบริหารความเสี่ยงของระบบสารสนเทศ ผู้รับบริการทางวิชาการได้รับความพึงพอใจ ทุนทางวัฒนธรรมจะปรากฏตัวใน 3 รูปแบบคือ เป็นสิ่งที่ฝังอยู่ในตัวคนหรือกลุ่มคน เช่น  1.ความคิด  จินตนาการ ความคิดริเริ่ม และความเชื่อ เป็นต้น 2.เป็นสิ่งที่เป็นรูปลักษณ์และเป็นตัวตน เช่น ภาพวาด เครื่องมือ อุปกรณ์ สิ่งก่อสร้าง สถานที่ที่เป็นมรดกโลก และ 3.ความเป็นสถาบัน ว่า ทุนวัฒนธรรม ก็คือ ตัว “วัฒนธรรม” ที่มีอยู่เดิมของสังคมนั้น ๆ ที่สั่งสมสืบทอดกันมา ซึ่งปรากฏเป็นรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งตามที่กล่าวมาข้างต้น โดยอาจจะเป็นนามธรรมอย่างประเพณี ความเชื่อ หรือเป็นรูปธรรมอย่างวัดวาอาราม โบราณสถาน หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น เช่น ผ้า เครื่องปั้นดินเผา และอาหาร เป็นต้น ซึ่งสิ่งที่กล่าวมานี้ยังเป็นสิ่งที่สังคมนั้น ๆ เห็นคุณค่า ยังเป็นที่ต้องการ และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ให้งอกเงยขึ้นมาได้

6 การดำเนินงานด้านประกันคุณภาพ

7 ความเชื่อมโยงระหว่างมาตรฐานการศึกษาและ การประกันคุณภาพ

8 องค์ประกอบคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา 9 ด้าน
ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนดำเนินงาน การเรียนการสอน กิจกรรมการพัฒนานิสิตนักศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการสู่สังคม การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การบริหารและการจัดการ การเงินและงบประมาณ ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ

9 การประกันคุณภาพการศึกษา ที่เกี่ยวข้องกับนิสิตโดยตรง

10 ด้านการเรียนการสอน มีหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน ทุกหลักสูตร สี่อและอุปกรณ์
การเรียนการสอนที่ใช้ใน ห้องเรียน จัดการเรียนการสอนที่ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วัสดุและคุรภัณฑ์ใน ห้องปฏิบัติการ จัดให้มีการพาไปดูงาน และฝึกงาน ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์

11 ด้านการเรียนการสอน ร้อยละของบัณฑิตระดับปริญญาตรี
ที่ได้งานทำและประกอบอาชีพอิสระ เท่ากับ 72.06 จำนวนอาจารย์ที่มีคุณวุฒิ ปริญญาเอก 45 คน ระดับความพึงพอใจของนายจ้าง ผู้ประกอบการ และผู้ใช้บัณฑิต 3.8 (มาก) อาจารย์ป.เอก 45 คนจาก 95 คน ผู้เชี่ยวชาญ 3 คนและศึกษาต่อ 13 คน ร้อยละของบัณฑิตระดับปริญญาตรี ที่ได้งานทำและประกอบอาชีพอิสระ เท่ากับ นอกจากนั้นส่วนใหญ่ก็จะศึกษาต่อในระดับปริญญาโท

12 รางวัลของนิสิตที่ได้รับ เช่น
ด้านการเรียนการสอน รางวัลของนิสิตที่ได้รับ เช่น รางวัลชนะเลิศ York Cool Engineering Contest 2008 นายวสินต์ รุ่งวิทย์วทัญญู นายสมชาย ยิ่มวงษ์ นายเอกลักษณ์ สุยะตา อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ศิษฐ์ภัณฑ์ แคนลา รางวัลชมเชย โครงการแข่งขันคอนกรีตมวลเบาชิงแชมป์ ระดับอุดมศึกษา ครั้งที่ 2 นายสิชล อนันตชัยศิริ นายสุรงค์ โพธิ นายวสันต์ ประดุจพงษ์เพชร รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง โครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์ “ปตท.คลังนักคิด สิ่งประดิษฐ์เพื่อชุมชน” ในโครงงานเรื่องระบบแจ้งเตือนภัยน้ำท่วมผ่านมือถือ นายสังวร สีสุทัศน์ นิสิต ดร.อัครพันธ์ วงศ์กังแห อาจารย์ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.ศรินทิพย์ แทนธานี หัวหน้าโครงการ

13 ด้านกิจกรรมพัฒนานิสิต
ส่งเสริมกิจกรรมนิสิตที่ สอดคล้องกับคุณลักษณะของ บัณฑิตที่พึงประสงค์ ความรู้ ทักษะการคิด การพัฒนาคุณธรรมและ จริยธรรม ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่เป็นที่ต้องการของผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้จ้างงานนิสิต ทักษะการวิเคราะห์และ การสื่อสาร ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ

14 แนวทางการดำเนินกิจกรรมที่ดี
P วางแผน A ปรับปรุงแก้ไข D ปฏิบัติ PDCA  คือ  วงจรการบริหารงานคุณภาพ ประกอบด้วย                P  = Plan  คือ  การวางแผนงานจากวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ได้กำหนดขึ้น                D = Do  คือ  การปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนงานที่ได้เขียนไว้อย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง                C = Check  คือ  การตรวจสอบผลการดำเนินงานในแต่ล่ะขั้นตอนของแผนงานว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขแผนงานในขั้นตอนใด                A = Action  คือ  การปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา หรือถ้าไม่มีปัญหาใดๆ ก็ยอมรับแนวทางการปฏิบัติตามแผนงานที่ได้ผลสำเร็จ เพื่อนำไปใช้ในการทำงานครั้งต่อไป เมื่อได้วางแผนงาน  (P)  นำไปปฏิบัติ  (D) ระหว่างการปฏิบัติก็ดำเนินการตรวจสอบ (C)  พบปัญหาก็ทำการแก้ไขหรือปรับปรุง (A) การปรับปรุงก็เริ่มจากการวางแผนก่อน วนไปได้เรื่อยๆ จึงเรียกวงจร PDCA C ตรวจสอบ

15 ขอขอบคุณค่ะ


ดาวน์โหลด ppt “ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และการประกันคุณภาพการศึกษา” คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 31 พฤษภาคม 2552.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google