ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ภาควิชา วิศวกรรมโลหการ
2
วิศวกรรมโลหการและวัสดุคืออะไรสาขาที่ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะ วิธีการผลิต สมบัติของวัสดุและการปรับปรุงวัสดุชนิดต่างๆ รวมทั้งการเลือกใช้อย่างเหมาะสม ในสาขานี้จะศึกษาตั้งแต่สมบัติของวัสดุซึ่งครอบคลุมตั้งแต่โลหะที่พบเห็นใช้งานในชีวิตประจำวัน เช่น เหล็กโครงสร้างบ้านเรือนถึงโลหะหรือวัสดุผสมที่ใช้ในเครื่องยนต์กลไก จนถึงวัสดุที่ใช้ในแผงวงจร หรือใช้ในวงการแพทย์ เซรามิก และพอลิเมอร์ นอกจากจะศึกษาถึงสมบัติพื้นฐานของวัสดุ ยังศึกษาถึงกระบวนการผลิตและปรับปรุงคุณสมบัติ เช่น เทคโนโลยีการขึ้นรูป การปรับปรุงผิว การเคลือบฟิล์มบาง การตรวจสอบความเสียหาย การป้องกันการกัดกร่อน ตลอดจนวัสดุนาโน
3
เรียนจบแล้วจะมีงานทำหรือไม่
วิศวกรโลหการสามารถทำงานได้หลากหลาย อาจแบ่งออกได้เป็น งานสายการผลิต เช่น การผลิตโลหะ ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หรืองานผลิตเครื่องประดับ งานสายการตรวจสอบ เช่น งานวิเคราะห์ความเสียหาย ซึ่งสามารถเลือกทำได้ทั้งใน ภาครัฐ ได้แก่ ส่วนงานราชการและรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้า การบินไทย กรมทางหลวง ฯลฯ หรือภาคเอกชน เช่น ในการตรวจสอบท่อส่งก๊าซของบริษัทน้ำมัน หรือ การตรวจสอบในระหว่างการผลิตของบริษัทต่างๆ งานวิจัย วิศวกรโลหการสามารถทำงานเป็นนักวิจัยทั้งในศูนย์วิจัยของรัฐ เช่น ศูนย์วิจัยโลหะและวัสดุ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ และศูนย์วิจัยของเอกชน
4
เรียนจบแล้วจะเรียนต่อได้ที่ไหน
นิสิตที่จบจากสาขาวิศวกรรมโลหะและวัสดุในระดับปริญญาบัณฑิตแล้วสามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอกทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากสาขานี้เป็นที่ต้องการในการพัฒนาอุตสาหกรรม จึงเป็นสาขาที่เปิดสอนกันอย่างกว้างขวาง ทั้งในอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย หรือ เอเซีย ภาควิชามีความร่วมมือกับต่างประเทศ โดยเชิญอาจารย์จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นมาสอนและให้คำแนะนำในการทำวิจัย และยังคงมีอาจารย์รับเชิญจากประเทศต่างๆมาบรรยายในระยะสั้น หรือเป็นที่ปรึกษาร่วมในงานวิจัย
5
ระดับปริญญา ทุนจากบริษัทไทยปาร์คเกอร์ บริษัทสหวิริยา และจากภาควิชา
ทุนการศึกษา ระดับปริญญา ทุนจากบริษัทไทยปาร์คเกอร์ บริษัทสหวิริยา และจากภาควิชา ระดับบัณฑิตศึกษา ทุนจากบริษัทสหวิริยา จากภาควิชาและจุฬา นอกจากนี้ยังมีทุนจากต่างประเทศ AUN SEED ทุนมอนบุโชแบบ MEM
6
ความพร้อมในการเรียนการสอน
ความพร้อมในการเรียนการสอน ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ ตั้งอยู่ที่ ชั้น ตึก 4 และมีห้องปฏิบัติการที่ชั้น 1-2 ตึกสี่ภาควิชา และ ชั้น 3 ตึกยานยนต์ ห้องปฏิบัติการต่างๆของภาค มี วัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์การเรียนการสอนอย่างครบครัน
7
อุปกรณ์เตรียมชิ้นวัสดุสำหรับวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาคได้แก่ เครื่อง ตัด อัดเข้าแบบ และขัด จากนั้นจึงนำชิ้นวัสดุที่ผ่านการขัดผิวเรียบมาวิเคราะห์เบื้องต้นด้วย กล้องจุลทรรศน์แสง (Optical Microscope)
8
การตรวจสอบโครงสร้างของวัสดุวิธีที่แม่นยำ สะดวก และรวดเร็วคือ การใช้กล้องจุลทรรศน์แสงตรวจสอบผิวชิ้นวัสดุที่ผ่านการขัดเรียบแล้ว ถ่ายภาพโครงสร้างจุลภาค มีกำลังขยายระดับไมโครเมตร สามารถเก็บบันทึกด้วยกล้องดิจิตอล เพื่อวิเคราะห์ปริมาณเฟสต่างๆในเนื้อวัสดุ
9
เครื่องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกวาด สามารถวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาคของวัสดุในระดับนาโนเมตร
10
เครื่อง Electron Spectroscopy for Chemical Analysis
เครื่อง Auger Electron Spectroscope สำหรับวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของพื้นผิววัสดุวิเคราะห์ฟิล์มบางระดับนาโนเมตรที่ผิวของชิ้นงาน
11
เครื่องวิเคราะห์ทางความร้อน (Thermal Analyzer) สำหรับวิเคราะห์การเปลื่ยนแปลงทางกายภาพ เคมี และการเปลี่ยนเฟสของวัสดุเมื่อได้รับความร้อน
12
สมบัติทางกลแบบหนึ่งที่สามารถตรวจสอบได้โดยง่ายคือ ความแข็ง โดยใช้
เครื่องวัดความแข็งแบบมหภาค (Macrohardness Tester) โดยใช้หัวกดตามเกณฑ์มาตรฐาน
13
การจำลองกระบวนการผลิตด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น การถ่ายเทความร้อนในแผ่นโลหะที่หล่อแบบต่อเนื่อง อุณหภูมิ การไหลและแข็งตัวของน้ำโลหะในแบบหล่อ เป็นต้น
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.