ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ศูนย์ประสานการทดสอบ
2
คกก. ตรวจสอบระบบการดูแลความปลอดภัยของเล่นสำหรับเด็ก
ตั้งโดยคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 232 / 2550 ลงวันที่ 17 กันยายน 2550 โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นประธาน
3
การดำเนินงานของ คกก. ตรวจสอบระบบการดูแลความปลอดภัยของเล่นสำหรับเด็ก
เสนอแนวทางในการปรับปรุงระบบดูแลความปลอดภัยของเล่นสำหรับเด็กต่อคณะรัฐมนตรี เมื่อ 30 ตุลาคม 2550 ที่มาของแนวทาง ศูนย์วิจัยเสริมสร้างความปลอดภัยการป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ร่วมกับ บริษัท Intertek จำกัด และ บริษัท SGS จำกัด สำรวจของเล่นที่ น่าน พิษณุโลก พิจิตร บุรีรัมย์ สระแก้ว และ กรุงเทพมหานคร จำนวน 179 ตัวอย่าง
4
ผลการสำรวจ ระดับสารตะกั่วสูงกว่าค่าความปลอดภัยตามมาตรฐานกำหนด ร้อยละ 17.9 พบทั้งของเล่นที่มีเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) และไม่มีเครื่องหมาย
5
แนวทางป้องกัน แก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใช้ ของเล่นสำหรับเด็ก
ให้ สมอ. ตรวจสอบผู้นำเข้าเพื่อให้ทราบถึงผู้ผลิตและผู้ส่งออกของประเทศต้นทาง และแจ้งรายชื่อผู้ผลิตและผู้ส่งออกจากประเทศต้นทางให้กระทรวงพาณิชย์ทราบ เพื่อแจ้งต่อไปยังรัฐบาลของประเทศนั้น ๆ เพื่อควบคุมการผลิตของเล่นอันตราย กระทรวงมหาดไทย โดยผู้ว่าราชการทุกจังหวัด กำกับดูแลการตรวจสอบ โดยจัดตั้งคณะทำงานตรวจสอบซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับ สคบ. และศูนย์วิจัยเสริมสร้างฯ สุ่มตรวจของเล่นในแหล่งที่เป็นกลุ่มเสี่ยง (โรงเรียน และศูนย์เด็กเล็ก)
6
แนวทางป้องกัน แก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใช้ ของเล่นสำหรับเด็ก
ให้ทุกส่วนราชการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบสภาพปัญหา และลักษณะของเล่นที่ไม่ปลอดภัย และตระหนักถึงอันตรายต่างๆ จากของเล่นที่ไม่ปลอดภัยและไม่ได้มาตรฐาน
7
ศูนย์ประสานการทดสอบ ตั้งขึ้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2550
ที่ตั้ง : ชั้น 5 อาคารบีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ วัตถุประสงค์การตั้ง เพื่อทำการตรวจสอบหรือพิสูจน์สินค้า และเฝ้าระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้บริโภค โดยความร่วมมือระหว่างเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อเป็นศูนย์กลางการดำเนินงานทดสอบหรือพิสูจน์สินค้าที่มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๑
8
อำนาจหน้าที่ของศูนย์ประสานการทดสอบ
ประสานและพัฒนาความร่วมมือในด้านการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้า ระหว่างเครือข่ายทางวิชาการ เครือข่ายภาครัฐและเอกชน และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ศึกษา วิจัย และพัฒนารูปแบบการดำเนินงานประสานการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้าให้มีประสิทธิภาพ จัดทำฐานข้อมูลการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้า เพื่อสร้างองค์ความรู้แบบบูรณาการ
9
อำนาจหน้าที่ของศูนย์ประสานการทดสอบ (ต่อ)
เผยแพร่ผลการทดสอบสินค้า และข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในการเลือกซื้อสินค้าแก่ผู้บริโภค ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้า ปฏิบัติการอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมาย
10
คณะอนุกรรมการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้า
การแต่งตั้ง คำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 16/2551 วันที่ 31 ตุลาคม 2551 วัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบสินค้าที่มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันส่วนใหญ่ของผู้บริโภค และ เผยแพร่ผลการทดสอบโดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ หรือทางระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ ตามความเหมาะสม เพื่อให้ความรู้ หรือคำแนะนำแก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าต่างๆ ซึ่งจะเป็นการช่วยให้ผู้บริโภคได้รับทราบข้อมูลเพิ่มเติม และสามารถ ตัดสินใจได้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น
11
อำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้า
สั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจดำเนินการทดสอบ หรือพิสูจน์สินค้า เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าสินค้าใดอาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค หรือตามที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมอบหมาย หากผู้ประกอบธุรกิจไม่ดำเนินการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้า หรือดำเนินการล่าช้าโดยไม่มีเหตุผลอันควร คณะอนุกรรมการอาจดำเนินการทดสอบ หรือพิสูจน์สินค้านั้นแทนได้ ทั้งนี้ให้ผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย ประสานงานกับส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจและหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยเรื่องสินค้าที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค
12
1 เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการ
อนุกรรมการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้า 1 เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการ 2 รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ได้รับมอบหมาย รองประธานอนุกรรมการ อนุกรรมการ 3 รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กอบชัย ภัทรกุลวณิชย์ 5 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล สันติธรรมนนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สรา อาภรณ์ 7 ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง ดร.วีระพันธ์ รังสีวิจิตรประภา 9 ดร.สุริยา ณ หนองคาย ดร.พนิต กิจสุบรรณ 11 ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล 12 ผู้แทนกรมวิทยาศาสตร์บริการ ผู้แทนสำนักงบประมาณ 14 ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ผู้แทนกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 16 ผู้แทนสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 17 ผู้แทนศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ 18 ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและคดี สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือผู้แทน 19 ผู้อำนวยการสำนักแผนและการพัฒนาการคุ้มครองผู้บริโภค หรือผู้แทน 20 ผู้อำนวยการกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก หรือผู้แทน 21 หัวหน้าฝ่ายประสานงานภาครัฐและเอกชน สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เลขานุการ 22 ผู้แทนสำนักแผนและการพัฒนาการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้ช่วยเลขานุการ 23 ผู้แทนสำนักแผนและการพัฒนาการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้ช่วยเลขานุการ
13
ร้องเรียนสินค้าอันตราย กรณีเกิดอันตรายจากการใช้สินค้า
สคบ. แจ้งจับผู้ผลิต/จำหน่ายสินค้า เจ้าหน้าที่ตำรวจ ร้องเรียน 1. สัญญา 2. ฉลาก 3. สินค้าอันตราย 4. โฆษณาเกินจริง เรียกร้องค่าเสียหายแทนผู้บริโภค จับกุม/ดำเนินคดี ผลการ ทดสอบสินค้า เรื่องร้องเรียนเพื่อพิสูจน์สินค้า ผู้ผลิต/จำหน่ายสินค้า ร้องเรียนสินค้าอันตราย ศูนย์ เก็บ ตย.สินค้าอันตราย สุ่มตรวจสินค้า กรณีเกิดอันตรายจากการใช้สินค้า ฟ้องศาลตาม PL Law ส่งสินค้า เพื่อทดสอบ ถามความเห็น ศาล ห้องปฏิบัติการทดสอบ ส่งเรื่องร้องเรียน โรงพยาบาล สถานีตำรวจ หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค (อย., สมอ. ฯลฯ) นักวิชาการ นักวิจัย สมาคม/มูลนิธิทีเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค
14
รูปแบบของศูนย์ ระยะสั้น (1 – 3 ปี) ระยะยาว
เป็นหน่วยงานภายใต้ สคบ. ในโครงสร้างระบบราชการปรกติ ระยะยาว หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (SDU = Service Delivery Unit) หรือ องค์การมหาชน
15
สวัสดีครับ..
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.