ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยMuoi Jurangkool ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
เครือข่ายโรงเรียนเอกชน จังหวัดลำปาง วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม 2556
ดุลยภาพบำบัดมีความสำคัญกับ การศึกษาอย่างไร เครือข่ายโรงเรียนเอกชน จังหวัดลำปาง วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม 2556 โดย รศ.พญ.ลดาวัลย์ สุวรรณกิตติ เลขาธิการมูลนิธิดุลยภาพบำบัดเพื่ออายุและสุขภาพ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ นายกสมาคมฝังเข็มเพื่อสุขภาพ ประธานกรรมการบ้านสวนสหคลินิก
14
ดุลยภาพบำบัด เป็นการรักษาที่ยึดหลักการความสมดุลทางธรรมชาติของมนุษย์ โดยพิจารณาถึงโครงสร้างร่างกาย หน้าที่ของอวัยวะและระบบต่าง ๆ สภาพจิตใจ อาชีพ อริยาบถประจำวัน ตลอดจนอาหาร ภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อม ร่วมกับการฝังเข็มแบบประยุกต์ เพื่อปรับสมดุลโครงสร้างร่างกาย ส่วนที่ไม่สามารถปรับสมดุลด้วยตนเองได้ ซึ่งทั้งหมดตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นวิทยาศาสตร์
15
ธรรมชาติมนุษย์ ต้องมองเป็นภาพรวม ในเวลาเดียวกัน พร้อม ๆ กับ จิต กาย สังคม ที่มีความสัมพันธ์กันอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถแยกส่วนใดส่วนหนึ่งออกจากกันหรือพยายามบำบัดรักษาอาการใด โรคใดโรคหนึ่งเท่านั้น หลักการเป็นเชิงรุก เป็นการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันก่อนจะเกิดโรค แม้นว่าเมื่อเกิดแล้วการบำบัดรักษาไม่มองเฉพาะอวัยวะที่เกิดอาการเท่านั้น เน้นที่การเสียสมดุลของโครงสร้างร่างกาย และหน้าที่ที่เปลี่ยนไปตามอาชีพ สังคม ที่สำคัญการเสียสมดุลตั้งแต่ก่อนเกิด(ครรภ์มารดา) ในอดีตจะมีความสัมพันธ์ถึงปัจจุบันที่บ่งชี้อาการตามอวัยวะต่าง ๆ สุดท้ายทุกคนในครอบครัวสามารถเสริมสร้างสุขภาพ และประคับประคองการฟื้นฟูได้ด้วยตนเอง เป็นการตั้งรับได้ในทุกสถานการณ์
16
หลักการดุลยภาพบำบัดเป็นข้อเรียนรู้และปฏิบัติ
1. การเรียนรู้ (Education) รู้ระบบโครงสร้างร่างกาย หน้าที่ของมนุษย์เป็นระบบ
17
หลักการดุลยภาพบำบัดเป็นข้อเรียนรู้และปฏิบัติ
2. ความสมดุล (Equilibrium) ของจิต กาย สังคม ที่มีความสัมพันธ์กับโครงสร้าง หน้าที่ และตำแหน่งของร่างกายมนุษย์ทั้งระบบ
18
หลักการดุลยภาพบำบัดเป็นข้อเรียนรู้และปฏิบัติ
3. การบริหารร่างกาย (Exercise) จิต กาย ให้เข้ากับสังคม การหายใจ ไม่ได้มองเฉพาะระบบการหายใจอย่างเดียว
19
หลักการดุลยภาพบำบัดเป็นข้อเรียนรู้และปฏิบัติ
4. การรับประทานอาหาร (Eating) มนุษย์ทุกคนต้องการอาหารเพื่อความอยู่รอด การรับของเข้าร่างกายมนุษย์ทางปากย่อมมีบทบาทสำคัญพื้นฐานหนึ่งของการดำรงชีวิตให้มีสุขภาพดี
20
หลักการดุลยภาพบำบัดเป็นข้อเรียนรู้และปฏิบัติ
5. อารมณ์ (Emotion) มีอยู่ในธรรมชาติของมนุษย์เพียงแต่ว่าจะฝึกอารมพัฒนาตนได้มากน้อยเพียงใด เริ่มต้นด้วยการนำจิตให้มีสมาธิเมื่อเกิดปัญญา
21
หลักการดุลยภาพบำบัดเป็นข้อเรียนรู้และปฏิบัติ
6. การขับถ่าย (Excretion) เซลล์ที่เล็กที่สุดได้รับอาหารแล้วก็ต้องมีทางที่จะระบายออก ปฏิบัติอย่างไรเพื่อที่จะให้ระบบขับถ่ายทุกระบบในร่างกายมีความสมดุล
22
หลักการดุลยภาพบำบัดเป็นข้อเรียนรู้และปฏิบัติ
7. สิ่งแวดล้อม (Environment) ความตระหนักถึงบทบาทการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี และเวลาเดียวกันกับมุมมองที่สิ่งแวดล้อมกระทบถึงตัวเราเพื่อให้ได้อาหาร อากาศ สังคมที่ดี ซึ่งจำเป็นต่อโครงสร้างมนุษย์อย่างชัดเจน ก็คงจะสะท้อนถึงสุขภาพที่ดีได้
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.