ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการฝึกอบรม
สาขาอุตสาหกรรมสิ่งทอ/ออกแบบ โดย ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ หัวหน้าคณะที่ปรึกษาสาขา Textile/Design
2
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการฝึกอบรม
สาขาอุตสาหกรรมสิ่งทอ/ออกแบบ การทำงานในโครงการนี้ สาขาฯ แบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย 1. กลุ่มสิ่งทอ (กระบวนการปั่นด้าย ทอผ้า ถักผ้า) 2. กลุ่มเคมีสิ่งทอ (กระบวนการฟอกย้อม พิมพ์ ตกแต่งสิ่งทอ) 3. กลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูป (ทำแบบตัด ตัดผ้า เย็บผ้า ทำสำเร็จ ฯลฯ)
3
ข้อเสนอแนะของสาขาสิ่งทอ และเคมีสิ่งทอ
สถานการณ์ปัจจุบัน - กรมพัฒน์ฯ ไม่มีครูฝึกด้านสิ่งทอและเคมีสิ่งทอมาก่อน - ไม่มีเครื่องมือเครื่องจักรมาก่อน และเครื่องมือเครื่องจักรมีราคาแพง - ขาดเอกสารตำราด้านสิ่งทอ - ไม่ได้มีการเตรียมเพื่อออกแบบสถานฝึกอบรมด้านสิ่งทอ
4
ข้อเสนอแนะของสาขาสิ่งทอ และเคมีสิ่งทอ
สถานการณ์ปัจจุบัน (ต่อ) - ผู้บริหารของกรมฯ ยังไม่เห็นความสำคัญของอุตสาหกรรมสิ่งทอ และยังคิดว่าสิ่งทอมีเพียงงานตัดเย็บเสื้อผ้าเท่านั้น - อุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นอุตสาหกรรมอันดับต้นๆ ของการส่งออกต่างประเทศ แต่ไม่มีการฝึกระดับพนักงานด้านนี้โดยตรง เนื่องจากสถาบันการศึกษามุ่งเน้นจะผลิตระดับบริหาร กรมฯ ควรเติมในส่วนนี้เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมนี้
5
ข้อเสนอแนะของสาขาสิ่งทอ และเคมีสิ่งทอ
- ควรจัดหาและจ้างผู้ที่จบวุฒิ ปว.ส. ขึ้นไป สาขาตรง มาฝึกอบรมเพื่อเป็นครูฝึก เพื่อประหยัดเวลาในการเตรียมความพร้อมของครูฝึก - ให้ครูฝึกเข้าไปฝึกงานในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มประสบการณ์และทักษะในการทำงานจริงๆ - ควรส่งเสริมการฝึกแบบอิงเกณฑ์ (CBST) และส่งเสริมครูฝึกร่วมกันพัฒนาโมดูลการฝึกที่รับผิดชอบ เพื่อให้การฝึกมีคุณภาพดีขึ้น
6
ข้อเสนอแนะของสาขาสิ่งทอ และเคมีสิ่งทอ
ข้อเสนอแนะ (ต่อ) - ควรประสานงานกับสถาบันการศึกษาด้านสิ่งทอ เช่น สถาบันราชมงคล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตร ฯลฯ เพื่อขอตำราและเอกสารประกอบการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาครูฝึก และให้ครูฝึกมีคุณภาพมากขึ้น - จะต้องมีการจัดทำมาตรฐานครูฝึก เพื่อควบคุมคุณภาพครูฝึก - จัดหาเครื่องมือเครื่องจักรให้ตรงกับภาคอุตสาหกรรม
7
ข้อเสนอแนะของสาขาสิ่งทอ และเคมีสิ่งทอ
ข้อเสนอแนะ (ต่อ) - ประสานงานกับสมาคมวิชาชีพ และอุตสาหกรรมสิ่งทอขนาดใหญ่ เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์ฝึกอบรมพิเศษของกรมฯ - กระตุ้นให้อุตสาหกรรมสิ่งทอใช้ระบบค่าจ้างตามความสามารถ (Competency) มากกว่าใช้วุฒิการศึกษา - จุดเน้นควรอยู่ที่บริเวณใกล้แหล่งอุตสาหกรรม เช่น สมุทรปราการ กรุงเทพฯ สมุทรสาคร เป็นต้น
8
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการฝึกอบรม
สาขาช่างตัดเย็บเสื้อผ้าอุตสาหกรรม สถานการณ์ปัจจุบัน 1. มีมาตรฐานฝีมือแรงงานสาขาช่างตัดเย็บเสื้อผ้าสตรีเพียงสาขาเดียว 2. ยังไม่มีการวางแผนฝึกอบรมด้านเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่เป็นเชิงอุตสาหกรรม
9
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการฝึกอบรม
สาขาช่างตัดเย็บเสื้อผ้าอุตสาหกรรม ข้อเสนอแนะ ควรมีการปรับปรุง และพัฒนาในด้าน... - อาชีพอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ช่างทำแบบตัด ช่างตัดผ้า ช่างเย็บ ช่างทำสำเร็จ - ช่างออกแบบเสื้อผ้าสตรี
10
ข้อเสนอแนะฯ สาขาช่างตัดเย็บเสื้อผ้าอุตสาหกรรม
ข้อเสนอแนะ (ต่อ) - ปรับปรุงมาตรฐานฯ สาขาช่างตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี - เสนอแนะ สพร. ศพจ. ที่เหมาะสมกับการฝึก - ควรให้ผู้รับการฝึกจบออกไปหางานทำเองเป็น SME ด้วย - กรมฯ ควรเน้นการฝึกในสาขาอื่นๆ ที่กล่าวมาแล้ว เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และทำให้งานมีคุณภาพดี อีกทั้งลดอุบัติเหตุในการทำงาน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.