งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การใช้โปรแกรม SPSS เบื้องต้น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การใช้โปรแกรม SPSS เบื้องต้น"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การใช้โปรแกรม SPSS เบื้องต้น

2 การใช้ SPSS เบื้องต้น การเข้าโปรแกรม ส่วนประกอบหน้าจอ
การกำหนดลักษณะรูปแบบอักษร การสร้างแฟ้มข้อมูล การนำเข้าแฟ้มข้อมูล การกำหนดรหัสลงรายการ การบันทึกข้อมูล

3 การใช้ SPSS เบื้องต้น SPSS ? S = Statistical P = Package S = Social
S = Scientists

4 การใช้ SPSS เบื้องต้น ทำความรู้จักโปรแกรม SPSS
เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่จัดทำขึ้นสำหรับงานวิจัย มีคำสั่งหลายคำสั่งเป็นโปรแกรมย่อยๆ อยู่ภายใต้โปรแกรมใหญ่ ริเริ่มคิดขึ้นที่มหาวิทยาลัย 2 แห่งในอเมริกาคือ  มหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด (Standford University) พ.ศ. 2508  มหาวิทยาลัยชิคาโก (Chicago University) ในปี พ.ศ. 2510 ช่วงแรกใช้กันเฉพาะที่ 2 แห่งนี้เท่านั้น

5 การใช้ SPSS เบื้องต้น ทำความรู้จักโปรแกรม SPSS
ต่อมามหาวิทยาลัยทั้ง 2 แห่งได้ร่วมมือกัน พัฒนาโปรแกรมและนำออกใช้อย่างแพร่หลาย ในปี พ.ศ.2513 เมื่อพิมพ์หนังสือ SPSS รุ่นแรกออกเผยแพร่ ทำให้มีการใช้โปรแกรมขยายวงออกไป โปรแกรม SPSS ได้พัฒนาและปรับปรุงแก้ไขมาตลอดจนถึง version 16 ถือได้ว่าเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในวงการวิจัย

6 การใช้ SPSS เบื้องต้น สิ่งจำเป็นก่อนใช้โปรแกรม เครื่อง Computer
โปรแกรม SPSS รุ่นใดก็ได้ (ปัจจุบัน V.16.0) มีข้อมูล มีคู่มือลงรหัส มีความรู้ ความเข้าใจโปรแกรม และสถิติที่จะใช้

7 เริ่มต้นใช้งานSPSS

8 การเข้าสู่โปรแกรม SPSS
2 คลิกที่ All Programs 3 เลือก SPSS for Windows 4 เลือก SPSS 13.0 for Windows เพื่อเปิดหน้าจอ SPSS 1 คลิกที่ Start

9 หน้าต่าง Title ของโปรแกรม SPSS จะเปิดขึ้นมา และพร้อมแสดงพื้นที่ทำงาน

10 โปรแกรมจะแสดงหน้าต่าง เพื่อให้ผู้ใช้เลือกวิธีการทำงานที่ต้องการ โดยการทำงานของแต่ละวิธีมีความหมายดังต่อไปนี้ จะแสดงหน้าต่าง Help Topics: Tutorial เพื่อแนะนำข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับโปรแกรม เริ่มป้อนข้อมูลใหม่ จะต้องเปิดไฟล์ Database Query ขึ้นมาทำงาน สร้างไฟล์ Database Query โดยโปรแกรมจะแสดงขั้นตอนต่างๆ เพื่อช่วยในการสร้าง เปิดไฟล์ที่ผู้ใช้มีอยู่แล้ว ขึ้นมาทำงาน โดยในกรอบสี่เหลี่ยมจะแสดงรายชื่อไฟล์ของ SPSS ที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์ เปิดไฟล์ที่สร้างจากโปรแกรมอื่นเข้ามาทำงานใน SPSS ถ้าผู้ใช้ไม่ต้องการให้แสดงกรอบนี้ขณะเริ่มเปิดโปรแกรม ให้คลิกที่ช่อง

11 ส่วนประกอบของ SPSS Data Editor Window Syntax Editor Window
Output Window Script Window

12 ส่วนประกอบของ SPSS Sheet
Data Editor Window เป็นหน้าต่างที่ใช้ป้อนข้อมูล และสั่งให้คำนวณค่าสถิติ ลักษณะเป็น Work Sheet ประกอบด้วย Sheet Variable View Sheet Data View

13 ส่วนประกอบของ SPSS Data View ประกอบไปด้วยส่วนการทำงาน 2 ส่วน คือ
1. ใช้สำหรับทำารป้อนข้อมูล และต้องเป็นข้อมูลตัวเลขที่ได้ทำการกำหนดไว้ใน Variable View

14 ส่วนประกอบของ SPSS Data View
2. แสดงแถบเมนูคำสั่งต่างๆ ของโปรแกรม ดังนี้ Read Text Data : การนำไฟล์จากภายนอก เช่น ไฟล์ที่สร้างจาก Excel หรือ Notepad เข้ามาใน SPSS Save : การบันทึกไฟล์ เมื่อจะทำการบันทึกจะต้องระบุชื่อไฟล์ ตำแหน่งที่ต้องการเก็บไฟล์ Save as : การบันทึกไฟล์โดยต้องการเปลี่ยนรายละเอียด เช่น ชื่อไฟล์ หรือตำแหน่งที่ต้องการเก็บไฟล์ใหม่ เป็นต้น Mark File Read Only : บันทึกซ้ำไม่ได้ แต่สามารถบันทึกเป็นชื่ออื่นได้ Display Data File Information : แสดงค่าตัวแปร Cache Data: การสร้างเนื้อที่เพื่อเก็บข้อมูลที่นำมาประมวลผลไว้ชั่วคราว Stop Processor : หยุดการประมวลผลข้อมูล Switch Server : สลับเปลี่ยน Server Print Preview : ดูภาพก่อนพิมพ์ Print : พิมพ์ข้อมูล Recently Used Data : เปิด Data ล่าสุดที่ได้ปิดไปขึ้นมาทำงานอีกครั้ง Recently Used File : เปิดไฟล์ล่าสุดที่ได้ปิดไปขึ้นมาทำงานอีกครั้ง Exit : ออกจากโปรแกรม SPSS

15 ส่วนประกอบของ SPSS Undo : ยกเลิกการกระทำครั้งล่าสุด ย้อนการทำงานกลับไป 1 ขั้น Redo : กระทำการที่ได้ Undo ไป กลับคืนมา 1 ขั้น Cut : ตัดข้อมูลทิ้งหรือย้ายข้อมูลที่เลือกไปเก็บไว้ในคลิปบอร์ด Copy : คัดลอกข้อมูลที่เลือกไปเก็บไว้ในคลิปบอร์ด Paste : วางข้อมูลจากคลิปบอร์ดลงในตำแหน่งที่กำลังทำงานอยู่ Paste Variables : เป็นการวางค่าตัวแปร โดยสามารถกำหนดรายละเอียดได้ตามต้องการ Clear : การลบข้อมูล Find : ค้นหาข้อมูลที่ต้องการ Options : ตัวเลือกเพื่อกำหนดรายละเอียดต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ

16 ส่วนประกอบของ SPSS Status Bar : กำหนดให้มีหรือไม่มี Status Bar ก็ได้
Toolbars : กำหนดให้มีหรือไม่มี Toolbars ก็ได้ Fonts : การกำหนดรูปแบบตัวอักษรในหน้าต่าง Data Editor Grid Lines : การกำหนดให้มีหรือไม่มีเส้นแบ่งแถวและคอลัมน์ Value Labels : การกำหนดให้พิมพ์ค่า Label หรือไม่ Variables : สลับมุมมองระหว่าง Data View และ Variable View

17 ส่วนประกอบของ SPSS Compute : คำนวณหาตัวแปรให้เปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขต่างๆ ที่กำหนด Recode : กำหนดค่าใหม่ให้กับตัวแปร Count : สร้างตัวแปรใหม่โดยค่าตัวแปรจะมีเพียง 2 ค่า คือ 0 กับ 1 Rank Cases : สร้างตัวแปรใหม่ โดยตัวแปรใหม่จะเก็บค่าลำดับของตัวแปรให้เป็นไปตามเงื่อนไข Automatic Recode : เปลี่ยนค่าประเภทตัวแปร Date/Time : การกำหนดค่าวันและเวลา Create Time Series : สร้างตัวแปรใหม่ซึ่งเป็นฟังก์ชั่นของตัวแปรเดิม Replace Missing Values : สร้างค่า Missing ให้ในกรณีที่ค่าข้อมูลเสียหาย Random Number Generators : การสร้างตัวเลขสุ่ม

18 ส่วนประกอบของ SPSS ค่าสถิติต่างๆ ที่ต้องการใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น การแจกความถี่ ร้อยละ ค่า Min ค่า Max ค่าเฉลี่ย ค่าพิสัย การทดสอบค่าเฉลี่ยในแบบต่างๆ และการทดสอบสมมติฐาน เป็นต้น

19 ส่วนประกอบของ SPSS คำสั่งที่ใช้ในการสร้างกราฟในรูปแบบต่างๆ ที่จะได้มาจากผลของการวิเคราะห์ข้อมูล

20 ส่วนประกอบของ SPSS Variable View เป็นหน้าต่างที่ใช้สำหรับกำหนดค่าตัวแปรที่จะใช้ในการคำนวณค่าทางสถิติ ประกอบไปด้วยคอลัมน์ต่างๆ จำนวน 10 คอลัมน์

21 ส่วนประกอบของ SPSS Variable View Name ชื่อตัวแปร Type ชนิดตัวแปร
Width ความยาวของข้อมูล Decimals จำนวนตำแหน่งทศนิยม Label คำอธิบายชื่อตัวแปร Values กำหนดรายละเอียดให้กับค่าในตัวแปร Missing การกำหนดค่าสูญหาย Column กำหนดความกว้างของคอลัมน์ Align กำหนดการจัดวางข้อมูล Measure กำหนดระดับข้อมูล

22 Descriptive Statistic
ส่วนประกอบของ SPSS 2. Syntax Editor Window เป็นหน้าต่างแสดงคำสั่งของโปรแกรม ซึ่งอาจจะเรียกดูลักษณะของคำสั่งนี้ได้ทุกครั้งที่มีการสั่งให้โปรแกรมมีการวิเคราะห์ข้อมูลจากหน้าต่าง Data Editor ยกตัวอย่าง การค่าความถี่ (Frequencies) ของตัวแปรอายุ (Age) เลือกคำสั่ง Analyze Descriptive Statistic Frequencies Run

23 ส่วนประกอบของ SPSS 3. Output Window
เป็นหน้าต่างแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล โดยแบ่งส่วนการแสดงออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ Outline Pane แสดงหัวข้อของผลลัพธ์ทั้งหมดที่มีการวิเคราะห์ Contents Pane แสดงรายละเอียดต่างๆ ของผลลัพธ์ ทั้งตารางและข้อความ หรือกราฟ

24 ส่วนประกอบของ SPSS 4. Script Window
เป็นหน้าต่างที่สามารถใช้ภาษา Visual Basic เขียนสั่งงานให้โปรแกรมทำงานต่างๆ ที่ไม่ได้มีอยู่ในเมนูหรือคำสั่งทางสถิติ ผู้ใช้จะต้องมีความรู้และความชำนาญในการเขียน Visual Basic เป็นอย่างดี

25 การกำหนดรูปแบบอักษร การกำหนดลักษณะและขนาดของตัวอักษร ใน Data Editor

26 การกำหนดรูปแบบอักษร 2. การกำหนดลักษณะและขนาดของตัวอักษร
ใน Output Window 2.1 การกำหนดลักษณะและขนาดของตัวอักษรในส่วนของ Outline Pane

27 การเลือกแบบเซลล์เดียว การเลือกแบบหลายเซลล์
การกำหนดรูปแบบอักษร 2.2 การกำหนดลักษณะและขนาดของตัวอักษรในส่วนของ Contents Pane การกำหนดลักษณะของรูปแบบตัวอักษรมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ กำหนดเฉพาะเซลล์เดียว แบบหลายเซลล์ และทั้งตาราง ดับเบิ้ลคลิกบริเวณตารางที่ต้องการกำหนดรูปแบบตัวอักษร การกำหนดรูปแบบตัวอักษรเพียงเซลล์เดียว ให้คลิกที่ช่องเซลล์ที่ต้องการ การเลือกหลายเซลล์ ให้กดปุ่มซ้ายมือของเม้าส์ค้างไว้ แล้วลากคลุมจำนวนเซลล์ที่ต้องการ การเลือกแบบเซลล์เดียว การเลือกแบบหลายเซลล์

28 การกำหนดรูปแบบอักษร 3. ถ้าต้องการปรับรูปแบบตัวอักษรทั้งตาราง
1. ให้ดับเบิ้ลคลิกที่บริเวณตารางที่ต้องการตั้งค่าภาษาไทย 2. คลิกที่เมนู Edit ลากเม้าส์ลงมายังคำสั่ง Select  Table โปรแกรมจะทำการคลุมดำทั้งตารางให้อัตโนมัติ

29 การกำหนดรูปแบบอักษร 3. ที่แถบเมนูคำสั่ง ให้เลือกคำสั่ง Format  Font จะปรากฏหน้าต่างรูปแบบตัวอักษร ให้เลือกรูปแบบตัวอักษรที่ช่อง Font เลือกลักษณะตัวอักษรที่ช่อง Font Style และเลือกขนาดตัวอักษรที่ช่อง Size ที่ต้องการ 4. ที่ช่อง Script ด้านล่างสุดของหน้าต่าง Font ให้คลิกปุ่มลูกศรด้านขวามือ เพื่อเลือก Scirpt ภาษาไทย (Thai)

30 การกำหนดรูปแบบอักษร การกำหนดรูปแบบอักษรทั้งตาราง ด้วยวิธีการเลือกรูปแบบภาษาไทยสำเร็จรูป โดยใช้ Table Looks… ให้ดับเบิ้ลคลิกที่บริเวณตารางที่ต้องการตั้งค่าภาษาไทย คลิกเมนู Format  Table Looks ที่หน้าต่าง Table Looks ให้เลื่อนแถบ Scholl bar เพื่อเลือกรูปแบบอักษรไทยสำเร็จรูปที่ได้นำลงไว้ในเครื่องคอมฯ ไว้แล้ว คลิกปุ่ม OK

31 การกำหนดรูปแบบอักษร การกำหนดรูปแบบอักษรภาษาไทยให้ตาราง โดยไม่ต้องตั้งค่าใหม่ทุกๆ ครั้ง โดยใช้ Table Looks ดับเบิลคลิกที่ตาราง output ใดๆ คลิกเมนู Format  Table Looks คลิกที่ปุ่ม Browse เพื่อเลือกแบบอักษรไทยสำเร็จรูป ในที่นี้เลือกชื่อไฟล์ thai1 3. บันทึก

32 การกำหนดรูปแบบอักษร 4. เลือกที่เก็บไฟล์ 5. ตั้งชื่อไฟล์ใหม่
6. กดปุ่มเพื่อบันทึก

33 การกำหนดรูปแบบอักษร 7. กลับมาที่หน้าต่าง Data Editor
8. คลิกที่คำสั่ง Edit  Options จะปรากฏหน้าต่าง Option ขึ้น 9. เลือกแถบ Pivot Table จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Browse

34 การกำหนดรูปแบบอักษร 10. โปรแกรมจะเปิดหน้าต่าง Open ขึ้นมาเพื่อให้เลือกไฟล์ TableLooks 11. ในช่อง Look in ให้เลือกตำแหน่งที่เก็บไฟล์ที่ได้ตั้งค่าตารางไว้ 12. เลือกชื่อไฟล์เราบันทึกไว้ 13. คลิกปุ่ม Open

35 การกำหนดรูปแบบอักษร 14. ชื่อไฟล์จะไปปรากฏที่หน้าต่าง Options จากนั้นคลิกปุ่ม OK การประมวลผลตาราง Output ครั้งต่อไป โปรแกรมจะแสดง รูปแบบตัวอักษรตามที่เรากำหนดไว้ทุกครั้ง

36 การปรับขนาดเซลล์ให้เหมาะสมกับข้อความ
ข้อความในบางช่องเซลล์มีความยาวไม่เหมาะสมกับขนาดของเซลล์ ดังนั้นจึงต้องมีการปรับขนาดช่องเซลล์ใหม่ เพื่อให้ข้อความในช่องเซลล์นั้นๆ มีความเหมาะสมและสวยงาม

37 การปรับขนาดเซลล์ให้เหมาะสมกับข้อความ
ดับเบิลคลิกที่บริเวณตาราง ให้นำเม้าส์ไปวางที่ช่องเซลล์ที่ต้องการปรับขนาด ตรงบริเวณเส้นแบ่งคอลัมน์ ให้กดเม้าส์ค้างไว้แล้วลากเม้าส์ไปทางขวามือ จนได้ขนาดช่องเซลล์ที่เหมาะสมกับข้อความแล้วจึงปล่อยเม้าส์ออก

38 การสร้างแฟ้มข้อมูล การทำงานของโปรแกรม SPSS มีขั้นตอนดังนี้ การนำเข้า
การจัดการ ข้อมูล บันทึก ข้อมูล หมายความว่ามีหรือไม่ก็ได้

39 การนำเข้าข้อมูลจากโปรแกรม Microsoft Excel การนำเข้าข้อมูลจาก Notepad
วิธีการนำเข้าข้อมูล การนำเข้าข้อมูลจากโปรแกรม Microsoft Excel การนำเข้าข้อมูลจาก Notepad การป้อนข้อมูลจากหน้าต่าง Data Editor ของโปรแกรม SPSS

40 วิธีการนำเข้าข้อมูล การนำเข้าข้อมูลจาก Microsoft Excel
ข้อมูลที่ป้อนใน Excel ต้องเป็นแบบ Numeric (ตัวเลข) เท่านั้น จะต้องไม่ป้อนข้อมูลเป็นแบบ String (อักษร) บรรทัดแรก ต้องเป็นชื่อตัวแปร ส่วนบรรทัดต่อที่ 2 เป็นต้นไปจะเป็นข้อมูล

41 วิธีการนำเข้าข้อมูล ตัวอย่าง ชื่อตัวแปร ข้อมูลตัวเลข

42 วิธีการนำเข้าข้อมูล การนำเข้าข้อมูลจาก Microsoft Excel
ขั้นตอนการนำข้อมูลเข้า เปิดโปรแกรม SPSS ที่หน้าต่าง Data Editor เลือกเมนู File  Open  Data

43 วิธีการนำเข้าข้อมูล การนำเข้าข้อมูลจาก Microsoft Excel
เมื่อหน้าต่าง Open File เปิดขึ้น ที่ช่อง Look in ให้ค้นหาที่เก็บไฟล์ จากนั้นเลือกชื่อไฟล์ข้อมูลที่ต้องการจะนำไปใช้งาน ที่ช่อง File of type เลือกคลิกที่ปุ่มลูกศร แล้วลากเม้าส์ลงมาที่ Excel (*.xls) เสร็จแล้วปล่อยเม้าส์ออก คลิกปุ่ม Open จะปรากฏหน้าจอตามภาพ

44 วิธีการนำเข้าข้อมูล การนำเข้าข้อมูลจาก Microsoft Excel
คลิกปุ่ม OK ข้อมูลจาก Excel จะถูกนำเข้ามายังโปรแกรม SPSS เลือกเมนู File  Save As เพื่อทำการบันทึกไฟล์ใหม่ในโปรแกรม SPSS โดยพิมพ์ชื่อไฟล์ลงในช่อง File name และที่ช่อง Save as type เลือก SPSS (*.sav) คลิกปุ่ม Save

45 วิธีการนำเข้าข้อมูล การพิมพ์ข้อมูลเข้าจาก SPSS โดยตรง
การป้อนข้อมูลจากหน้าต่าง Data Editor เป็นวิธีที่สะดวกที่สุดสำหรับผู้ใช้ที่มีโปรแกรม SPSS วิธีการป้อนข้อมูลจากหน้าต่าง Data Editor นี้ จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ 1. ส่วนที่เป็น Data View คือ หน้าต่างที่มีพื้นที่การทำงานเหมือน Work Sheet มีช่อง Cells ต่างๆ สำหรับป้อนข้อมูลที่ต้องการลงไป

46 วิธีการนำเข้าข้อมูล การพิมพ์ข้อมูลเข้าจาก SPSS โดยตรง
2. ส่วนที่ Variable View คือ หน้าต่างที่มีไว้สำหรับตั้งค่าตัวแปร เพื่อให้ไปปรากฏที่หน้าต่างๆ Data View และมีผลต่อการประมวลผลข้อมูล ดังนั้นจึงต้องรู้วิธีการตั้งค่าตัวแปรให้ถูกต้อง

47 การกำหนดรหัสลงรายการ
1. คลิกไปที่ส่วนของ Variable View

48 การกำหนดรหัสลงรายการ
2. กำหนดชื่อตัวแปรในช่อง Name 3. กำหนด ลักษณะข้อมูล โดยคลิกค่ากำหนดในช่อง Type คลิกปุ่ม ทางขวาของช่อง จะเกิดหน้าต่างกำหนดชนิดข้อมูลที่จะจัดเก็บ

49 การกำหนดรหัสลงรายการ
Number ตัวเลขเป็นบวก หรือลบ Comma ตัวเลข ถ้าเกินพันจะมี , คั่น Scientific notation ข้อมูลเป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์ Date วันที่ Dollar ตัวเลขทางการเงิน มี $ นำหน้า Custom currency ตัวเลขทางการเงินโดยมีให้เลือก 5 รูปแบบ คือ CCA CCB CCC CCD และ CCE String ข้อมูลที่เป็นได้ทั้งข้อความ, ตัวเลข เครื่องหมายต่าง ๆ

50 การกำหนดรหัสลงรายการ
4. กำหนด Width เพื่อกำหนดจำนวนตัวอักษรหรือตัวเลขของชื่อตัวแปร กำหนด Decimals เพื่อกำหนดจำนวนตำแหน่งทศนิยม ในที่นี้ให้ กำหนดค่าเป็น 0 เพื่อความสะบายตาในการมองข้อมูลใน Data View กำหนดคำอธิบายตัวแปรที่ Label 5. กำหนด Values การกำหนดตัวเลขเพื่อใช้แทนค่าตัวแปร เช่น เพศชาย เพศหญิง จะต้องกำหนดให้เพศชาย = 1 และเพศหญิง = 2 ทำได้โดยคลิกที่ปุ่ม ทางขวามือของช่อง

51 การกำหนดรหัสลงรายการ
โปรแกรมจะเปิดหน้าจอให้กำหนดค่าที่ต้องการลงไป พิมพ์ตัวเลขที่ต้องการใช้แทนค่าตัวแปรลงในช่อง Value พิมพ์ความหมายของค่าตัวเลขนั้น ที่ช่อง Label คลิกปุ่ม Add เพื่อส่งค่าเข้าไปเก็บ ทำเช่นนี้จนหมดจำนวนตัวแปรที่ ต้องการตั้งค่า เมื่อตั้งค่าตัวแปรจนครบแล้ว ให้คลิกปุ่ม OK

52 การกำหนดรหัสลงรายการ
6. กำหนด Missing หรือกำหนดค่าที่ผู้ตอบแบบสอบถามไม่ได้ตอบในบางข้อ ทำได้โดยคลิกที่ปุ่ม ซึ่งการกำหนดค่าแบ่งเป็น 3 ลักษณะ No missing Values ไม่มีการกำหนดค่า Discrete missing Values กำหนดได้ 3 ค่า ปกตินิยมใช้เลข Range plus one optional discrete missing value กำหนดค่าเป็นช่วงๆ เช่น 10 ถึง 20

53 การกำหนดรหัสลงรายการ
7. กำหนด Columns กำหนดขนาดความกว้างของคอลัมน์ของตัวแปรที่จะแสดงให้เห็นใน Data View ควรกำหนดให้มีขนาดเท่ากับจำนวนตัวอักษรของตัวแปรนั้นๆ โดยการพิมพ์ตัวเลขเข้าไปได้เลย 8. กำหนด Align การจัดรูปแบบการมองเห็นของข้อความหรือตัวเลข เช่น ต้องการให้ชิดซ้าย ชิดขวา หรือจัดกึ่งกลางของช่อง cell โดยการคลิกที่ลูกศรด้านข้างของช่อง

54 การกำหนดรหัสลงรายการ
9. กำหนด Measure เป็นการกำหนดระดับการวัดของตัวแปร จากข้อมูลที่หยาบที่สุดจนถึงข้อมูลที่ละเอียดที่สุด ขึ้นอยู่กับประเภทตัวแปรแต่ละตัว ตัวแปรเพศหญิง เพศชาย ตัวแปรอาชีพ ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มนี้ไม่สามารถเรียงลำดับได้ว่าใครมาก่อนหรือหลัง ต้องกำหนดเป็น Nominal เป็นต้น

55 การกำหนดรหัสลงรายการ
เมื่อกำหนดทุกอย่างเรียบร้อยแล้วคลิกสลับหน้าต่าง ไปที่ Data View จะเห็นชื่อตัวแปรที่เราได้กำหนดไว้ปรากฏอยู่ที่หัวข้อของคอลัมน์ จากนั้นก็สามารถลงข้อมูลในช่อง cell ได้ทันที

56 การบันทึกข้อมูลโปรแกรม
คลิกปุ่ม หรือเลือกเมนู File  Save As 1 .เลือกตำแหน่งที่เก็บไฟล์ 4. กดปุ่ม Save เพื่อบันทึก 2. ตั้งชื่อไฟล์ 3. เลือกประเภทไฟล์

57 คำถาม ?


ดาวน์โหลด ppt การใช้โปรแกรม SPSS เบื้องต้น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google