ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Computer Technology
บทที่ 2 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Computer Technology
2
Computer Technology เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่ล่วงหน้าโดยโปรแกรมได้ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้ คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับคำสั่งที่เลือกมาใช้งาน และสามารถนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้ในงานที่ให้เกิดสารสนเทศต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง
3
ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare หมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์"
4
ความหมายของคอมพิวเตอร์
Computer คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความสามารถ ในการคำนวณอัตโนมัติตามคำสั่ง ส่วนที่ใช้ประมวลผล เรียกว่า หน่วยประมวลผล ชุดของคำสั่งที่ระบุขั้นตอนการคำนวณ เรียกว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาจากหน่วยแสดงผล นั้นอาจเป็นได้ทั้ง ตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง หรืออยู่ในรูปอื่น ๆ อีกมากมาย ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลและเรียบเรียงแล้ว จะเรียกผลลัพธ์นี้ว่า สารสนเทศ (Information) คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วย อุปกรณ์ ต่าง ๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้ จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกกันว่า ซอฟต์แวร์ (Software)
5
วิวัฒนาการก่อนจะมาเป็นคอมพิวเตอร์ 4 ยุค
ยุคก่อนเครื่องจักรกล (Premechanical) ยุคเครื่องจักรกล (Mechanical) ยุคเครื่องจักรกลระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electromechanical) ยุคเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic)
6
1. ยุคก่อนเครื่องจักรกล (Premechanical)
นับเลขด้วยมือและก้อนหิน แผ่นหินอ่อนซาลามิส เป็นแผ่นกระดานหินอ่อนขนาดใหญ่เพื่อช่วยนับค่าตัวเลข รูป แผ่นหินอ่อนซาลามิส
7
แท่งคำนวณของเนเปียร์ ซึ่งป็นเครื่องมือที่ประกอบไปด้วยแท่งไม้ตีเส้นเป็นตารางไว้ใช้สำหรับการคำนวณ
พ.ศ จอห์น เนเปียส์ นักคณิตศาสตร์ชาวสกอต ทำแท่งไม้สี่เหลี่ยมยาว และตีเส้นแบ่งเป็นช่อง ๆ ทั้งสี่ด้าน เมื่อนำแท่งไม้นี้มาเรียงต่อกันแล้วเลื่อนแท่งไม้ไปมาก็สามารถใช้หาผลคูณและค่ากำลังของจำนวนได้ เครื่องมือแบบนี้ในตอนแรกใช้กระดูกสัตว์ ทำเพื่อให้สวยงาม จึงนิยมเรียกว่า กระดูกของเนเปียส์ (Neipiar’s bone)
8
ลูกคิด เป็นอุปกรณ์ที่มีการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์มากยิ่งขึ้น ใช้สำหรับการคำนวณเช่นกัน
เครื่องคำนวณในยุคประวัติศาสตร์ เครื่องคำนวณที่รู้จักกันดีและใช้กันมาตั้งแต่ในยุคประวัติศาสตร์ คือ ลูกคิด จาก หลักฐานประวัติศาสตร์พบว่า ลูกคิดเป็นเครื่องคำนวณที่ใช้ กันในหมู่ชาวจีนมากว่า 7,000 ปี และใช้กันในอียิปต์โบราณ มากกว่า 2,500 ปี ลูกคิดของชาวจีนประกอบด้วยลูกปัดร้อย อยู่ในราวเป็นแถวตามแนวตั้ง โดยแต่ละแถวแบ่งเป็นครึ่ง บนและล่าง ครึ่งบนมีลูกปัด 2 ลูก ครึ่งล่างมีลูกปัด 5 ลูก แต่ละแถวแทนหลักของตัวเลข ความต้องการเครื่องคำนวณมีมาทุกยุคทุกสมัย
9
ไม้บรรทัดคำนวณ โดยใช้การเขียนค่าต่างๆบนแท่งไม้ เมื่อนำมาเลื่อนต่อกันจะสามารถหาผลลัพธ์ได้
ต่อมา John William Oughtred ได้พัฒนาเครื่องมือแบบใหม่ลักษณะคล้าย ไม้บรรทัด มีแกนเลื่อนตรงกลางบนไม้บรรทัดและแกนนั้นพิมพ์ขีดสเกลพร้อม ตัวเลขไว้ เครื่องมือนี้เรียกว่าไม้บรรทัดคำนวณหรือ สไลด์ รูล (slide rule) มีประโยชน์สำหรับใช้ในการคำนวณที่ซับซ้อน เช่น คูณ หาร ยกกำลัง หาค่าทางตรีโกณมิติ ใช้คำนวณตำแหน่งของดวงดาว ไม้บรรทัดคำนวณเป็น เครื่องใช้ประจำตัวของวิศวกร และนักวิทยาศาสตร์
10
2. ยุคเครื่องจักรกล (Mechanical)
นาฬิกาคำนวณ ทำงานโดยอาศัยตัวเลขต่างๆมาบรรจุบนทรงกระบอกจำนวน 6ชุด แล้วใช้ฟันเฟื่องเครื่องหมุนทดลองเวลาคูณเลข ในปี ค.ศ วิมเลียม ชิคการ์ด (Wilhelm Schickard) แห่งมหาวิทยาลัยเทอร์บิงเจน (Univerrsity of Tubingen) ประเทศเยอรมันนี ได้สร้างนาฬิกาคำนวณ (Calculating Clock) ขึ้น โดยใช้แนวคิดของเนเปียร์มาประยุกต์ใช้ วิธีการทำงานของเครื่องอาศัยตัวเลขต่าง ๆ บรรจุทรงกระบอกจำนวน 6 ชุดแล้วใช้ฟันเฟืองเป็นเครื่องหมุนทดเวลาคูณเลข ซึ่งถือว่าเขาเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องกลไกลสำหรับคำนวณได้เป็นคนแรก
11
เครื่องคำนวณของปาสคาล ใช้การหมุนของฟันเฟืองเช่นกัน เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการบวกเลข
ค.ศ.1642 เบลส์ ปาสคาล (Blasie Pascal) นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้คิดประดิษฐ์เครื่อง บวก ลบ เลข โดยใช้เฟืองขบต่อกัน เรียกว่า "เครื่องคำนวณของปาสคาล" (Pascaline Calculator)
12
เครื่องคำนวณของไลบ์นีช (Leibniz Wheel) ได้ทำการปรับปรุงเครื่องคำนวณของปาสคาล โดยมีการปรับใหม่ให้สามารถคูณและหารได้อีกด้วย ค.ศ กอตต์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ (Gottfried Wilhelm Leibniz) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้คิดเครื่องคำนวณที่มีขีดความสามารถในการคูณ หาร และ การคำนวณหารากที่สอง เรียกเครื่องคำนวณ เรียกว่า เครื่อง Stepped Reckoner รูป Gottfried Wilhelm Leibniz กับเครื่องมือช่วยคำนวณที่เรียกกว่า Leibniz Wheel
13
เครื่องทอผ้าของแจคการ์ด ได้พัฒนาเป็นเครื่องทอผ้าให้ควบคุมลวดลายที่ต้องการแบบอัตโนมัติ
ค.ศ. 1801 โจเซฟ มารี่ แจคคาร์ด (Joseph Marie Jacquard) นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศส ได้ค้นคิดวิธีการควบคุมการทอผ้าลายต่าง ๆ โดยใช้ช่องที่เจาะไว้บนบัตร บัตรนี้เรียกว่า Pasteboard Card จึงได้นำเอาบัตรเจาะรูมาใช้ในการควบคุมเครื่อง Analytical Engine บัตรเจาะรูชนิดนี้ จะใช้บันทึกข้อมูลเข้าไปในเครื่องจักร และนำผลลัพธ์ออก การควบคุมการทำงานตามลำดับ Pasteboard Card ได้รับการปรับปรุงมาเป็นบัตรเจาะรู ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
14
เครื่อง Analytical Engine ใช้แนวคิดของการแจคการ์ดที่เอาบัตรเจาะรูมาช่วยควบคุมลวดลายการทอผ้าให้ได้ตามที่ต้องการ
15
เครื่อง Different Engine เป็นเครื่องคำนวณต้นแบบที่คำนวณในงานที่ซับซ้อนมากๆ
พ.ศ.2363 ชาลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้คิดออกแบบเครื่องคำนวณชื่อว่า เครื่องหาผลต่าง หรือ (Difference Engine) ที่สามารถคำนวณเลขที่ซับซ้อนได้ หลังจากนั้นได้ออกแบบเครื่องคำนวณใหม่อีกแบบหนึ่งให้มีหน่วยรับข้อมูล หน่วยความจำ และหน่วยแสดงผล เครื่องนี้เรียกว่า เครื่องเคราะห์ หรือ แอนาลิติกัล เอนจิน (Analytical Engine) ซึ่งแนวความคิดของชาลส์ แบบเบจ มาพัฒนามาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เขาจึงได้รับ การยกย่องให้เป็น บิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์
16
การทำงานของเครื่อง Analytical Engine
Input Device อาศัยบัตรเจาะรูในการนำข้อมูลเข้าสู่ตัวเครื่อง Arithmetic Processor เป็นส่วนที่ทำหน้าที่คำนวณเพื่อหาผลลัพธ์ Control Unit สำหรับคอยควบคุมและตรวจสอบงานที่จะนำออกว่าได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องหรือไม่ Memory เป็นส่วนสำหรับเก็บตัวเลขเพื่อรอการประมวลผล รูป Analytical Engine
17
ในปี ค.ศ Augusta ada Byron ได้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่อง Analytical Engine เพื่อช่วยเผยแพร่แนวคิดนี้ให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งได้เขียนขั้นตอนในการตั้งคำสั่งของเครื่องนี้ลงในหนังสือ Taylor’s Scientific Memories ซึ่งเป็นแนวคิดที่คล้ายคลึงกับการเขียนโปรแกรมในปัจจุบันมากที่สุด จึงได้รับยกย่องว่า เป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก
18
ปี ค.ศ ดร.เฮอร์แมน ฮอลเลอริช ได้จดทะเบียนก่อตั้งบริษัท เพื่อผลิตและจำหน่าย เครื่องจักรช่วยในการคำนวณ โดยใช้ชื่อบริษัท . คอมพิวติง เทบบูลาติง เรดคอสติง หลังจากนั้น . ในปี ค.ศ ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นบริษัทไอบีเอ็ม . (International Business Machine :IBM) บริษัทไอบีเอ็มนี้มีบทบาทสำคัญในการ .ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรก ๆ ของโลก ในปี ค.ศ บริษัทไอบีเอ็มได้สร้างเครื่อง . คำนวณที่สามารถคำนวณจำนวนที่มีค่าต่างๆ ได้ โดยหัวหน้าโครงการคือศาสตราจารย์ โฮวาร์ด ไอเกน (Howard Aiken) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และให้ชื่อเครื่องคำนวณนี้ ว่า มาร์กวัน (Mark I) รูป ฮอลเลอริช
19
3. ยุคเครื่องจักรกลระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electromechanical)
ในยุคนี้ตัวเครื่องจะใช้เครื่องจักรกลปนกับระบบกระแสไฟฟ้าในการทำงาน มีการประมวลผลโดยอาศัยวงจรที่ประกอบด้วยหลอดสุญญากาศ (vacuum tube) ทำให้เปลืองต้นทุนในการบำรุงรักษามาก เพราะหลอดสุญญากาศนี้มีอายุการใช้งานที่สั้นและต้องมีการเปลี่ยนหลอดอยู่บ่อย ๆ จึงทำให้ คอมพิวเตอร์ยุคเครื่องจักรกลระบบอิเล็กทรอนิกส์ มุ่งเข้าสู่ ยุคเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ยุคเครื่อง(Electronic) คอมพิวเตอร์ยุคแรก มีการนำเอาไปใช้ในการทำงานของภาครัฐ และรวมไปถึงภารกิจทางด้านการทหาร แวดวงการศึกษาในระดับสูง
20
4. ยุคเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic)
ยุคที่ 1 First Generation “หลอดสุญญากาศ” Vacuum Tube ยุคที่ 2 Second Generation “ทรานซิสเตอร์” Transistor ยุคที่ 3 Third Generation “แผงวงจรรวม” Integrated Circuits หรือ IC ยุคที่ 4 Fourth Generation “แผงวงจรรวมขนาดใหญ่” LSI (Large scale Integration) ยุคที่ 5 Fifth Generation “เครือข่ายคอมพิวเตอร์” LAN, MAN, WAN ยุคที่ 6 อนาคต “ปัญญาประดิษฐ์” AI (Artificial Intelligence)
21
ยุคที่ 1 First Generation “หลอดสุญญากาศ”
22
Tablating Machine เป็นระบบสำมะโนประชากรของประเทศสหรัฐ
23
ABC Atanasoff-Berry-Computer เป็นเครื่องมือประมวลผลที่ใช้ระบบการทำงานของหลอดสุญญากาศ
24
ยุคที่ 2 Second Generation “ทรานซิสเตอร์” Transistor
25
เครื่อง Colossus เป็นเครื่องถอดรหัสลับของฝ่ายทหารเยอรมันที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารในสงครามโลกครั้งที่ 2
26
เครื่อง Mark I หรือ IBM Automatic Sequence Controlled Calculator
27
ยุคที่ 3 Third Generation “แผงวงจรรวม” Integrated Circuits หรือ IC
ENIAC เป็นเครื่องคำนวณวิถีกระสุนปืนใหญ่แต่ใช้งานยุ่งยาก เพราะต้องป้อนคำสั่งใหม่ทุกครั้ง ส่วนย่อยๆ เรียกว่า subroutines เพื่อช่วยในการทำงาน
28
- EDSAC เป็นชุดคำสั่งซึ่งไว้ทำงานภายในได้เอง โดยมีการเขียนชุดคำสั่งการทำงานแบ่งออกเป็น
29
- EDVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ตามแนวสถาปัตยกรรมของนิวแมน
30
- UNIVAC ถือว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรกที่ใช้ในเชิงธุรกิจเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคทรานซิสเตอร์
31
- IBM 1620 มีการนำมาใช้ในเมืองไทยครั้งแรกที่ภาควิชาสถิติ และการบัญชีมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์
32
IBM 1404 สำนักงานแห่งชาตินำมาใช้งานด้าน สำมะโนประชากร
33
ยุคที่ 3 Third Generation “แผงวงจรรวม” Integrated Circuits หรือ IC
34
ยุคที่ 4 Fourth Generation “แผงวงจรรวมขนาดใหญ่” LSI (Large scale Integration)
35
ยุคที่ 5 Fifth Generation “เครือข่ายคอมพิวเตอร์”
ไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั่วโลก ซึ่งมุ่งเน้นให้เกิดการเชื่อมต่อเป็นเครือข่าย
36
ยุคที่ 6 อนาคต “ปัญญาประดิษฐ์” AI (Artificial Intelligence)
37
ประเภทของคอมพิวเตอร์แบ่งตามลักษณะ
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท อนาลอกคอมพิวเตอร์ Analog Computer เครื่องมือประมวลผลข้อมูลที่อาศัยหลักการวัด (Measuring Principle) ทำงานโดยใช้ข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบต่อเนื่อง (Continuous Data) แสดงออกมาในลักษณะสัญญาณที่เรียกว่า Analog Signal แสดงผลด้วยสเกลหน้าปัทม์ และเข็มชี้ เช่น การวัดค่าความยาว โดยเปรียบเทียบกับสเกลบนไม้บรรทัด เป็นต้น หรือ Analog Computer ที่ใช้การประมวลผลแบบเป็นขั้นตอน เช่น เครื่องวัดปริมาณการใช้น้ำด้วยมาตรวัดน้ำ ที่เปลี่ยนการไหลของน้ำให้เป็นตัวเลขแสดงปริมาณ หรือ เครื่องตรวจคลื่นสมองที่แสดงผลเป็นรูปกราฟ เป็นต้น
38
ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ Digital Computer
เครื่องมือประมวลผลข้อมูลที่อาศัยหลักการนับ ทำงานกับข้อมูลที่มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) ในลักษณะของสัญญาณไฟฟ้า หรือ Digital Signal อาศัยการนับสัญญาณข้อมูลเป็นจังหวะด้วยตัวนับ (Counter) ภายใต้ระบบฐานเวลามาตรฐาน ผลลัพธ์น่าเชื่อถือ นับข้อมูลให้ค่าความละเอียดสูง Digital Computer ไม่สามารถรับข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต้นทางได้โดยตรง จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนข้อมูลต้นทางที่รับเข้า (Analog Signal)เป็นสัญญาณไฟฟ้า (Digital Signal) เสียก่อน เมื่อประมวลผลเรียบร้อยแล้วจึงเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้ากลับไปเป็น Analog Signal เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ต่อไป โดยมีส่วนประกอบสำคัญที่เรียกว่า ตัวเปลี่ยนสัญญาณข้อมูล (Converter) คอยทำหน้าที่ในการเปลี่ยนรูปแบบของสัญญาณข้อมูล ระหว่าง Digital Signal กับ Analog Signal
39
ไฮบริดคอมพิวเตอร์ Hybrid Computer
เครื่องประมวลผลข้อมูลที่อาศัยเทคนิคการทำงานแบบผสมผสาน ระหว่าง Analog Computer และ Digital Computer โดยทั่วไปมักใช้ในงานเฉพาะกิจ โดยเฉพาะงานด้านวิทยาศาสตร์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ในยานอวกาศ ที่ใช้ Analog Computer ควบคุมการหมุนของตัวยาน และใช้ Digital Computer ในการคำนวณระยะทาง เป็นต้น การทำงานแบบผสมผสานของคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ ยังคงจำเป็นต้องอาศัยตัวเปลี่ยนสัญญาณ (Converter) เช่นเดิม
40
คอมพิวเตอร์แบ่งตามกลุ่มใช้งาน
แบบใช้งานทั่วไป (General Purpose Computer) เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความยืดหยุ่นในการทำงาน (Flexible) โดยสามารถประยุกต์ใช้ในงานประเภทต่างๆ ได้ ระบบจะทำงานตามคำสั่งในโปรแกรมที่เขียนขึ้นมา สามารถเก็บโปรแกรมไว้ได้หลายๆ โปรแกรมในเครื่องเดียวกันได้
41
แบบใช้งานเฉพาะ (Special Purpose Computer)
เครื่องประมวลผลข้อมูลที่ถูกออกแบบตัวเครื่องและโปรแกรมควบคุมให้ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการเฉพาะ (Inflexible) โดยทั่วไปมักใช้ในงานควบคุมหรืองานอุตสาหกรรมที่เน้นการประมวลผลแบบรวดเร็ว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ควบคุมสัญญาณไฟจราจร หรือคอมพิวเตอร์ควบคุมระบบอัตโนมัติในรถยนต์ เป็นต้น
42
ประเภทของคอมพิวเตอร์ตามความสามารถของระบบ
Super Computer มีความสามารถในการประมวลผลสูงที่สุด นำไปใช้งานกับการคำนวณซับซ้อนมากๆ และต้องการความเร็วสูง สร้างขึ้นเป็นการเฉพาะ Mainframe Computer มีส่วนความจำและความเร็วน้อยลง ใช้ข้อมูลและชุดคำสั่งในเครื่องรุ่นอื่นในตระกูลเดียวกันได้ ทำงานระบบเครือข่ายได้ดี เชื่อมต่อเครื่องปลายทางจำนวนมากได้ ทำงานหลายงานและทำงานพร้อมกันหลายคนได้ ราคาแพง จึงเหมาะกับการใช้งานทั่วไปในธุรกิจขนาดใหญ่ Mini Computer มีขนาดเล็ก ราคาถูกลง สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ รอบข้างที่มีความเร็วสูงได้ มีการใช้แผ่นจานแม่เหล็กความจุสูงชนิดแข็ง (Harddisk)ในการเก็บข้อมูล อ่านข้อมูลได้รวดเร็ว ให้บริการแก่ลูกค้าเครือข่าย เหมาะกับบริษัทธุรกิจเพื่อหน่วยงานขนาดกลาง
43
Work station ให้บริการสนับสนุนเครือข่ายปล่อยสัญญาณ internet ให้กับเครื่องลูกข่าย
Micro Computer หรือ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer)ได้รับความนิยมมาก ราคาถูกและซื้อมาใช้งานได้ทั่วไป จำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1. แบบติดตั้งใช้งานอยู่กับที่บนโต๊ะทำงาน (Desktop Computer) 2. แบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable Computer) หรือ Laptop Computer หรือ Notebook Computer Handheld Computer มีขนาดเล็กสุดเมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์ทั่วไป ใช้ จัดการเก็บข้อมูลประจำวัน ซึ่งโทรศัพท์บางรุ่นอาจจัดอยู่ในกลุ่มนี้
44
Super computer
45
Mainframe Computer
46
Mini computer
47
Workstation computer
48
Micro computer
49
Handheld Computer
50
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้กับงานภาครัฐ ประยุคเข้ากับการงานของทะเบียนราษฎร์ และมีรูปแบบริการใหม่ที่เรียกว่า E-Service 2. คอมพิวเตอร์กับการทำงานด้านธุรกิจ เพื่อการประมวลผลที่รวดเร็ว สนองต่อความต้องการของลูกค้าผู้รับบริการได้มากิ่งขึ้น 3. คอมพิวเตอร์กับงานสายการบิน ใช้ในการสำรองที่นั่งผู้โดยสาร 4. คอมพิวเตอร์กับงานด้านการศึกษา เปิดสอนหลักสูตรผ่านระบบคอมพิวเตอร์ 5. คอมพิวเตอร์กับธุรกิจนำเข้าและส่งออกสินค้า ซื้อขายระบบ E-commerce 6. คอมพิวเตอร์กับธุรกิจธนาคาร ใช้ระบบ E-banking เพื่อฝาก-ถอน หรือตรวจสอบยอดบัญชี 7. คอมพิวเตอร์กับงานทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ช่วยวินิจฉัยและตรวจสอบอาการของคนไข้ อีกทั้งเก็บข้อมูลประวัติคนไข้
51
เรื่องน่ารู้กับคอมพิวเตอร์
Desktop นิยมใช้ในสำนักงานหรือตามบ้านทั่วไป ปัจจุบันมีการผลิตเน้นที่ความสวยงาม Notebook มีขนาดเล็กและบาง น้ำหนักเบา สามารถพกพาสะดวกขึ้น Desk note คล้ายๆกับโน้ตบุ๊กแต่ไม่มีแบตเตอรี่คอยจ่ายไฟจึงต้องเสียบปลั๊กตลอดเวลา Tablet PC ป้อนข้อมูลเข้าไปได้โดยการเขียนบนจอภาพ มีราคาค่อนข้างแพง PDA เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดพกพาได้รับความนิยมในปัจจุบัน แบ่งเป็น Palm เป็นเครื่องช่วยบันทึกการนัดหมาย สมุดโทรศัพท์ และ Pocket PC ระบบปฏิบัติการจะใช้อิงกับไมโครซอฟท์เป็นหลัก หากคุ้นเคยกับ Windows จะใช้งานง่าย Smart Phone โทรศัพท์มือถือที่พัฒนาขีดความสามารถ การทำงานใกล้เคียงกับ PDA
52
คอมพิวเตอร์ในอนาคต ระบบ Expert System ผู้เชี่ยวชาญ สามารถเอามาใช้ทดแทนในกรณีที่บุคคลากรขาดแคลนได้ อาศัยการสร้างฐานความรู้ในเรื่องนั้นๆเก็บไว้ ระบบ Robotics ระบบหุ่นยนต์ เอาคอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกับเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ไว้บังคับ เพื่อทดแทนพลังงานคนได้เป็นอย่างดี ระบบ Natural Language ภาษาธรรมชาติ นำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการสื่อสารกับมนุษย์
53
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
Hard ware Soft ware - system Software ซอฟต์แวร์ระบบ Application Software ซอฟต์แวร์ประยุกต์ Data / Information ข้อมูล / สารสนเทศ People ware บุคลากร Documentation / Procedure กระบวนการทำงาน
54
วงจรการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ 4 ขั้นตอน
55
รูปแบบการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ แบ่ง 3 ประเภท
Personal Computing การประมวลผลส่วนบุคคล การประมวลผลโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวที่เป็นอิสระจากกัน เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะไม่สามารถติดต่อสื่อสาร เชื่อมโยงข้อมูลร่วมกันได้ ซึ่งหากต้องการใช้ข้อมูลร่วมกันจะต้องคัดลอกไปยังหน่วยความจำสำรอง
56
Centralized Computing การประมวลผลแบบรวมศูนย์
เป็นระบบที่นำอุปกรณ์ประมวลผล ทั้งฮาร์ตแวร์และซอฟต์แวร์มารวมไว้ในคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว ใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ชนิดเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) โดยมีผู้ทำหน้าที่ควบคุมการประมวลผลเพียงผู้เดียว ซึ่งเป็นที่ยุ่งยากมาก ต่อมาจึงมีการพัฒนาการประมวล โดยแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ 2.1 การประมวลผลแบบแบทซ์ (Batch Processing) 2.2 การประมวลผลแบบออนไลน์ (On-line Processing)
57
Distributed Computing การประมวลผลแบบกระจาย
ใช้ในองค์กรที่มีขนาดใหญ่ที่มีการขยายสาขาออกไป ทำให้มีระบบการทำงานที่มีขนาดใหญ่ จึงมีการนำการประมวลผลแบบกระจายจากศูนย์กลางมาใช้เพื่อชดเชยข้อจำกัดของการประมวลแบบรวมศูนย์ที่ค่อนข้างล่าช้า ส่งผลให้สามารถจัดสรรทรัพยากรเพื่อกระจายและแจกจ่ายการใช้งานข้อมูลต่างๆ ร่วมกันได้ทั่วทั้งองค์กรและรวดเร็วมากขึ้น รวมทั้งระหว่างหน่วยงานย่อยขององค์กรด้วย
58
คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์
Storage ด้านความจำ Speed ด้านความเร็ว Self Action ด้านการปฏิบัติงานอัตโนมัติ Sure ด้านความน่าเชื่อถือ
59
ข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์
การวางระบบคอมพิวเตอร์ต้องใช้เวลานานมาก การรบกวนระบบงานปกติ การทำงานขึ้นอยู่กับมนุษย์
60
คำถามท้ายบท
61
คำถามท้ายบท ยุคสมัยของคอมพิวเตอร์มีกี่ยุค แต่ละยุคใช้วิธีการประมวลผลอย่างไร จงบอกประเภทของคอมพิวเตอร์ตามลักษณะของข้อมูลและแบ่งตามสมรรถนะขนาดราคาให้ครบถ้วน พร้อมยกตัวอย่างประกอบ องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 5 ส่วน ให้อธิบายแต่ละส่วนประกอบและหน้าที่ของแต่ละส่วน จงบอกประเภทของรูปแบบการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ว่ามีรูปแบบอะไรบ้าง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.