งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual Framework)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual Framework)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual Framework)
ดร.นครชัย ชาญอุไร

2 ทฤษฎี + งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กรอบความคิดเชิงทฤษฎี
การวางกรอบความคิด (conceptualization) ทฤษฎี + งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กรอบความคิดเชิงทฤษฎี

3 การวางกรอบความคิด (conceptualization) ต้องมีการศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ศึกษา เช่น ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีการเสริมแรง ทฤษฎีแรงจูงใจ ทฤษฎีบุคลิกภาพ ทฤษฎีความขัดแย้ง

4 กรอบความคิดเชิงทฤษฎี (theoretical framework)
เป็นแบบจำลองแสดงโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปรทั้งหมดที่เกี่ยวข้องตามทฤษฎี (นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2540)

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14 Research Flow Chart เป็นการสร้างแผนภาพเชื่อมโยงขั้นตอนในการทำวิจัย โดยเริ่มจาก กำหนดปัญหาวิจัย ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง สร้างเครื่องมือวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลและเขียนรายงาน

15 กรอบแนวคิดในการวิจัย
กรอบแนวคิดการวิจัย กรอบแนวคิดงานวิจัย กรอบความคิดในการวิจัย กรอบแนวความคิดการวิจัย กรอบการศึกษา กรอบแนวความคิดในการศึกษา กรอบมโนทัศน์การวิจัย

16 ความหมายของกรอบแนวคิดการวิจัย
เป็นความคิดรวบยอดของการวิจัยที่สรุปมาจากแนวคิดทฤษฎี โดยชี้ให้เห็นว่าเป็นกรอบที่ศึกษาตัวแปรอะไรบ้าง มีอะไรเป็นตัวแปรอิสระ อะไรเป็นตัวแปรตาม พร้อมทั้งระบุประเด็นที่ต้องการศึกษา เช่น ต้องการศึกษาความแตกต่างหรือศึกษาความสัมพันธ์ หรือ ศึกษาเชิงพรรณนา เป็นต้น

17 ความหมายของกรอบแนวคิด
การวิจัย กรอบที่แสดงความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ที่นักวิจัยต้องการศึกษา ซึ่งมาจากแนวคิด ทฤษฎี และผลการวิจัยต่างๆ นักวิจัยได้ปรับลดรูปแบบได้เป็นกรอบซึ่งจะใช้เฉพาะงานวิจัยนั้นๆ เท่านั้น หากเปลี่ยนเรื่องก็ต้องเปลี่ยนกรอบ

18 ความหมายของกรอบแนวคิดการวิจัย
แผนผังที่ประกอบด้วยปัญหาหลักที่ทำการวิจัย ตัวแปรที่ใช้และความสัมพันธ์ของตัวแปร แนวคิด ทฤษฎีที่สนับสนุน พร้อมทั้งคำอธิบาย

19 ความหมายของกรอบแนวคิดการวิจัย
กระบวนการกำหนดหรือสรุปแนวคิดที่เป็นประเด็นสำคัญ มีการระบุเนื้อหาและแนวคิดให้ชัดเจนในรูปของปัจจัยหรือตัวแปรแล้วนำมาสร้างแผนภาพระบุเส้นทางความสัมพันธ์ของปัจจัยหรือตัวแปร ทำให้นักวิจัยเห็นภาพและแนวทางการทำวิจัยชัดเจนขึ้น

20 กรอบความคิดของการวิจัย
(conceptual framework) แบบจำลองที่นักวิจัยสร้างขึ้นโดยไม่ได้ศึกษาตัวแปรทุกตัวตัวตามทฤษฎี แต่คัดเลือกหรือลดตัวแปรลงให้มีความเหมาะสม ใช้ทฤษฎีและผลการวิจัยในอดีตเพื่อแทนความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในธรรมชาติและจะนำไปตรวจสอบว่ามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์หรือไม่เพียงใด

21 กรอบความคิดการวิจัย & ขอบเขตการวิจัย
กรอบความคิดของการวิจัยไม่ใช่ขอบเขตของการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย หมายถึง สาระที่นักวิจัยเสนอให้ผู้อ่านทราบว่าการวิจัยครั้งนี้ครอบคลุมประชากรกลุ่มใด ตัวแปรครบถ้วนตามกรอบความคิดเชิงทฤษฎีหรือไม่ การวัดตัวแปรแต่ละตัวครบถ้วนตามนิยามเชิงทฤษฎีของตัวแปรเพียงใด การรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสมบูรณ์ตามที่ควรจะเป็นเพียงใด การวิเคราะห์ข้อมูลตอบคำถามวิจัยลึกถึงขนาดไหน การที่สภาพความเป็นจริงสอดคล้องกับกรอบความคิดการวิจัยแต่นักวิจัยไม่ได้ทำ ถือว่าเป็นข้อจำกัดของการวิจัย

22 การสร้างกรอบความคิดการวิจัย
การกำหนดแหล่งข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย การจัดประเภทหรือหมวดหมู่ของสาระที่จะสังเคราะห์ (นิยามตัวแปร ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรหลักของการวิจัยหรือผลการวิจัยก่อนหน้า)

23 การสร้างกรอบความคิดการวิจัย
3) นำข้อมูลมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ : ถ้าต้องการกำหนดกรอบความคิดของการวิจัย ก็ควรให้ความสำคัญกับเอกสารเชิงทฤษฎีและผลการวิจัยเพื่อกำหนดโครงสร้างความสัมพันธ์ของตัวแปร 4) เขียนแสดงคำอธิบาย/บรรยายกรอบความคิดของการวิจัยที่แสดงเป็นแผนภาพเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร (ไม่ควรแสดงแต่แผนภาพเฉยๆ)

24 ทฤษฎีกับการวางกรอบความคิดของการวิจัย
1) ทฤษฎี (theory) หมายถึง ข้อความที่อธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติหรือในโลกแห่งความเป็นจริง (real world) โดยการแสดงความสัมพันธ์เชื่อมโยงมโนทัศน์ (concepts) ต่างๆ ให้เข้าใจว่าวิถีการปฏิบัติของคนในสังคมเป็นอย่างไร และทำให้เข้าใจเหตุผลของการกระทำหรือการแสดงพฤติกรรมที่ปรากฏนั้น ๆ ให้เห็น 2) กรอบความคิดของการวิจัยจะมีมโนทัศน์ของการศึกษาซึ่งเรียกว่า “ตัวแปร” (variable)

25 ทฤษฎีกับการวางกรอบความคิดของการวิจัย
3) ตัวแปรเป็นมโนทัศน์ที่มีคุณลักษณะ (attribute) ที่สามารถแปรเปลี่ยนได้ เช่น เพศ ระดับการศึกษา 4) มโนทัศน์จะเป็นตัวแปรได้ก็ต่อเมื่อมีลักษณะ 3 ประการ 4.1 สามารถจำแนกได้มากกว่าหนึ่งลักษณะ 4.2 นักวิจัยเลือกเข้ามาศึกษาในการวิจัย 4.3 อยู่ในรูปที่สังเกตเห็นและวัดได้

26 ทฤษฎีกับการวางกรอบความคิดของการวิจัย
5) กรอบความคิดของการวิจัยจึงต้องมีการนิยามตัวแปรในกรอบความคิดของการวิจัยให้เป็นนิยามเชิงปฏิบัติการ (operational definition) 6) ความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ในกรอบความคิดเชิงทฤษฎีเป็นสิ่งที่สามารถกำหนดได้จากทฤษฎีหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

27 ทฤษฎีกับการวางกรอบความคิดของการวิจัย
7) ลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรจะนำไปสู่การกำหนดข้อเสนอซึ่งจะเป็นสมมุติฐานของการวิจัย (research hypothesis) 8) สมมุติฐานการวิจัยเป็นข้อเสนอที่ใช้ในการตรวจสอบว่าทฤษฏีที่นำมาศึกษายังคงยืนยันได้ต่อไปหรือไม่ หรือต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างไร (บางเรื่องไม่กำหนดสมมุติฐานไว้ล่วงหน้าแต่อาจกระทำได้หลังสิ้นสุดการวิจัย)

28 แนวคิดการวิจัยที่ใช้ในการวางกรอบความคิดของการวิจัย
การวิจัยเชิงปริมาณใช้หลักนิรนัย (deductive direction) การวิจัยเชิงคุณภาพใช้หลักอุปนัย (inductive direction) - มีการออกแบบที่มีความยืดหยุ่นกว่า - ไม่มีกรอบความคิดที่กำหนดตัวแปรล่วงหน้าตายตัว - ตัวแปรหรือประเด็นคำถามต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการศึกษาจะปรากฏระหว่างการศึกษา

29 ผลสัมฤทธิ์ วิธีสอน ตัวอย่างกรอบความคิดของการวิจัย Independent
Variables Dependent Variables

30 วิธีสอน ผลสัมฤทธิ์ เจตคติ
ตัวอย่างกรอบความคิดของการวิจัย วิธีสอน ผลสัมฤทธิ์ เจตคติ

31

32 input process output

33

34 ว่าที่ ร.ต.ดร.สิริศักดิ์ อาจวิชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

35 ว่าที่ ร.ต.ดร.สิริศักดิ์ อาจวิชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

36 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ขอบคุณครับ ดร.นครชัย ชาญอุไร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี


ดาวน์โหลด ppt การสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual Framework)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google