งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 7 การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 7 การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 7 การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์ ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

2 ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax หรือ VAT)
ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีการขายที่จัดเก็บจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการเฉพาะส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนการจำหน่ายสินค้าและบริการ เป็นภาษีที่ผู้ซื้อ หรือผู้รับบริการคนสุดท้ายเป็นผู้รับภาระ แต่การจัดเก็บ จะให้ผู้ประกอบการในแต่ละขั้นตอนของการจำหน่ายหรือให้บริการเป็น ผู้เรียกเก็บภาษีจากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการแทนรัฐบาล ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

3 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้ประกอบการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือนิติบุคคลใดก็ตาม ถ้าการประกอบกิจการมีรายรับเกินกว่า 1,200,000 บาท ต่อปี ผู้ประกอบกิจการจะต้องมีหน้าที่จดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดกิจการที่จะต้อง เสียภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ 3 ประเภท คือ 1. การขายสินค้าในราชอาณาจักรโดยผู้ประกอบการ 2. การให้บริการในราชอาณาจักรโดยผู้ประกอบการ 3. การนำเข้าโดยผู้นำเข้า ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

4 การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องทำการคำนวณภาษี มูลค่าเพิ่มที่จะต้องชำระหรือมีสิทธิได้รับคืน โดยการคำนวณจะทำเป็น รายเดือน ดังนี้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ภาษีขาย ภาษีซื้อ ส่วนต่างที่เกิดขึ้นแสดงผลดังนี้ ภาษีขาย > ภาษีซื้อ = ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระ ภาษีขาย < ภาษีซื้อ = ภาษีที่มีสิทธิได้รับคืน หรือเครดิตภาษี ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

5 เอกสารที่ใช้ประกอบการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องเป็นไปตามหลักฐานเอกสารที่เกิดขึ้น ในระหว่างเดือนภาษี เอกสารที่ใช้ประกอบการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) คือ เอกสารที่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้ใช้บริการ ในการขายสินค้าหรือให้บริการทุกครั้ง และต้องจัดทำในทันทีที่ความรับผิด ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ใบกำกับภาษีแบ่งได้เป็น 2 ประเภท 1. ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป 2. ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

6 ใบเพิ่มหนี้ (Debit Note)
เมื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าหรือให้บริการและนำภาษีขายไปรวมคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามระบบแล้ว แต่ต่อมาต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มใหม่ เพราะมีเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นผลทำให้ภาษีขายที่คำนวณไว้ในตอนแรกมีจำนวนเพิ่มขึ้น เนื่องจาก มีการเพิ่มราคาสินค้าที่ขายหรือเพิ่มค่าบริการขึ้น เนื่องจากสินค้ามีจำนวนเกินกว่าที่ตกลงซื้อขายกัน -คำนวณราคาสินค้าหรือค่าบริการผิดพลาดต่ำกว่าความเป็นจริงหรือเหตุอื่น ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

7 ใบลดหนี้ (Credit Note)
เมื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าหรือให้บริการและนำภาษีขายไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามระบบแล้ว แต่ต่อมาต้องคำนวณภาษี มูลค่าเพิ่มใหม่ เพราะมีเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นผลทำให้ภาษีขายที่คำนวณไว้ในตอนแรกมีจำนวนลดลง เนื่องจาก มีการลดราคาสินค้าที่ขายหรือลดค่าบริการลงเนื่องจากสินค้าชำรุดเสียหาย ผิดข้อตกลงบางอย่าง หรือบริการที่ให้ไปผิดข้อกำหนดที่ตกลงกัน คำนวณราคาสินค้าหรือค่าบริการผิดพลาดสูงกว่าความเป็นจริง - ได้รับสินค้าที่ขายไปแล้วคืนกลับมาเนื่องจากบกพร่อง หรือเหตุอื่น - มีการบอกเลิกสัญญาการซื้อขายสินค้าหรือบริการ ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

8 ภาษีขาย คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้เรียกเก็บ หรือพึ่งเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ เมื่อมีการขายสินค้าหรือรับ ค่าบริการ หรือ คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ เสียในการขายสินค้า หรือในกรณีที่เป็นการให้บริการ ตัวอย่าง1 บริษัท เอส บี จำกัด เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในเดือนสิงหาคม 2547 ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในราคา 8,000 บาท และได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

9 การคำนวณ ภาษีขาย = 8,000 x 7% = 560 บาท การบันทึกบัญชี
สมุดรายวันทั่วไป หน้า 1 พ.ศ. 25x1 รายการ เลขที่บัญชี เดบิต เครดิต เดือน วันที่ ส.ค. เงินสด 8,560 - ขาย 8,000 ภาษีขาย 560 ขายสินค้าเป็นเงินสด ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

10 ภาษีซื้อ คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่นเรียกเก็บ เนื่องจากการซื้อหรือรับบริการมาเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตน เมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ตัวอย่าง2 บริษัท เอส บี จำกัด เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้ซื้อสินค้ามาเพื่อขายในเดือนสิงหาคม 2547 จำนวน 20,000 บาท และได้ ถูกผู้ขายเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

11 การคำนวณ ภาษีซื้อ = 20,000 x 7% = 1,400 บาท การบันทึกบัญชี
สมุดรายวันทั่วไป หน้า 1 พ.ศ. 25x1 รายการ เลขที่บัญชี เดบิต เครดิต เดือน วันที่ ส.ค. ซื้อ 20,000 - ภาษีซื้อ 1,400 เงินสด 21,400 ซื้อสินค้าเป็นเงินสด ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

12 ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ = 560 – 1,400 = (840)
จากตัวอย่างที่ 1 และ 2 สมมติในระหว่างเดือนสิงหาคมไม่มีรายการค้าเกิดขึ้น ดังนั้น สิ้นเดือนสิงหาคมกิจการจะต้องสรุปโดยจัดทำรายงานภาษีซื้อ และรายงานภาษีขาย เพื่อเก็บรวบรวมรายการที่เกี่ยวกับภาษีซื้อและภาษีขาย ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในระหว่างเดือนสิงหาคม ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ = – 1,400 = (840) จากการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีนี้ กิจการมีสิทธิได้รับคืนภาษี ในจำนวน 840 บาท ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

13 การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่คำนวณภาษีและ ยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มหรือขอรับคืนตามแบบ ภ.พ. 30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ณ สำนักงานสรรพากรเขตในท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทำ รายงานเกี่ยวกับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มดังต่อไปนี้ 1. รายงานภาษีขาย 2. รายงานภาษีซื้อ 3. รายงานสินค้าและวัตถุดิบ ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

14 รายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ
รายงานภาษีขาย เป็นแบบรายงาน เพื่อทำการสรุปภาษี ซึ่งทำให้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับมูลค่าสินค้า หรือบริการและจำนวนภาษีขายที่ผู้ประกอบการได้เรียกเก็บจากลูกค้าไว้ทั้งสิ้นในเดือนภาษีนั้น ตามหลักฐานในเอกสารใบกำกับภาษี รายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีซื้อ เป็นแบบรายงาน เพื่อทำการสรุปภาษีซื้อ ซึ่งทำให้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับมูลค่าสินค้า หรือบริการและจำนวนภาษีซื้อที่ผู้ประกอบการรายอื่นได้เรียกเก็บไปทั้งสิ้นในเดือนภาษีนั้น ตามหลักฐานในเอกสารใบกำกับภาษี ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

15 รายงานสินค้าและวัตถุดิบ
รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เป็นแบบรายงานเพื่อแสดงปริมาณสินค้าหรือวัตถุดิบที่รับมาหรือจ่ายไปจริง และปริมาณสินค้าที่คงเหลือยู่ การจัดทำรายงานต้องมีเอกสารประกอบเป็นใบสำคัญรับหรือจ่ายสินค้า ซึ่งควรแยกออกเป็นแต่ละประเภท ชนิดและขนาด ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 7 การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google