งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ตลาดตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ตลาดตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ตลาดตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศ
บทที่ 4 ตลาดตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศ

2 ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ระหว่างธนาคาร เป็นตลาดที่มีมูลค่าของเงินหมุนเวียนใหญ่ที่สุดในโลก ตลาดเปิดดำเนินการตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน ยกเว้นวันหยุดราชการและวันสุดสัปดาห์ ตลาดประกอบด้วยผู้ทำการซื้อขายเงินตราที่เรียกว่า “ผู้ค้าเงินตรา หรือ Dealer” นับร้อย ๆ คนในตลาดหนึ่ง การซื้อขายจะกระทำผ่าน “นายหน้า หรือ Broker” สื่อทางโทรศัพท์ ทางอินเตอร์เน็ต และช่องทางการสื่อสารอื่น ๆ ตลาดที่จะค้าเงินตราต่างประเทศจะมีอยู่ตลอดเวลา อีกครั้งหมุนเวียนไปรอโลก

3 ความหมายของตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
เงินตราต่างประเทศถือเป็นสินค้าอย่างหนึ่งที่สามารถซื้อขายกันได้ เช่น เกี่ยวกับเสื้อฟ้า กระเป๋า รองเท้า เข็มขัด ดังนั้น ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ คือสถานที่ที่มีการซื้อขายเงินตราต่างประเทศโดยที่มีผู้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายเงินตราต่างประเทศประกอบด้วย ธนาคารพาณิชย์นายหน้า ตัวแทนซื้อขายเงินตราต่างประเทศและเอกชนอื่น ๆ ทำหน้าที่ซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ได้แก่ โรงแรม บริษัทนำเที่ยว สนามบิน ร้านขายของที่ระลึกต่าง ๆ เป็นต้น เงินตราต่างประเทศที่นิยมซื้อขายกันได้แก่ ดอลลาร์สหรัฐ ปอนด์เสเตอริงค์ ด๊อยมาร์ค เงินเยน เป็นต้น โดยการซื้อขายจะกระทำกันในตลาดที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ตลาดลอนดอน นิวยอร์ค ซูริค ปรังเฟิร์ท โตเกียว ฮ่องกง และสิงคโปร์ เป็นต้น

4 ความสำคัญของตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
เนื่องจากการทำธุรกรรมระหว่างประเทศหากมีเงินตราต่างประเทศสกุลเดียวก็ย่อมไม่มีความจำเป็นต้องมีตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ แต่ในความเป็นจริงการทำธุรกรรมระหว่างประเทศจะต้องเกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศตั้งแต่ 2 สกุลขึ้นไป จุดมุ่งหมายของตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ก็คือการโอนอำนาจซื้อจากเงินตราสกุลหนึ่งไปยังเงินตราอีกสกุลหนึ่ง หรือเป็นการแลกเปลี่ยนหรือทำการซื้อขายเงินตราต่างประเทศสกุลหนึ่งไปยังเงินตราต่างประเทศอีกสกุลหนึ่ง

5 ตัวอย่าง ผู้ส่งออกชาวสหรัฐอเมริกาขายรถยนต์ให้แก่ผู้นำเข้าชาวไทยเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐและพ่อค้าส่งออกของไทยขายข้าวเป็นเงินบาทให้แก่พ่อค้านำเข้าของสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะตกลงซื้อขายด้วยเงินสกุลใดคู่ค้าแต่ละฝ่ายย่อมต้องการโอนอำนาจซื้อมายังเงินตราสกุลประเทศของตน กล่าวคือผู้นำเข้าชาวไทยจะต้องโอนอำนาจซื้อจากเงินบาทไปเป็นดอลลาร์สหรัฐและผู้นำเข้าสหรัฐต้องโอนอำนาจซื้อจากดอลลาร์สหรัฐมาเป็นเงินบาท

6 หน้าที่ของตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ทำหน้าที่เป็นกลไกโอนอำนาจซื้อระยะห่างประเทศ อำนวยความสะดวกในการให้สินเชื่อสำหรับธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ และช่วยลดความเสี่ยงภัยอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน 3.1 การโอนอำนาจซื้อ (Transfer of Purchasing Power) 3.2 การอำนวยความสะดวกในการให้สินเชื่อ (Provision of Credit) 3.3 ลดความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน (Minimize Foreign Exchange)

7 3.1 การโอนอำนาจซื้อ (Transfer of Purchasing Power)
การโอนอำนาจซื้อมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินการค้าระหว่างประเทศ โดยปกติซึ่งดำเนินธุรกรรมแต่ละฝ่ายย่อมต้องการที่จะได้รับเงินของตนเป็นหลัก แม้ว่าในช่วงการดำเนินการค้าหรือการเคลื่อนย้ายเงินนั้นสามารถที่จะส่งใบกำกับสินค้า (invoice) เช่น เงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการที่จะใช้เงินตราสกุลใดนั้นจะต้องตกลงกันไว้ก่อน แต่เมื่อใช้เงินสกุลใดแล้วคู่ค้าแต่ละฝ่ายก็จะต้องโดนอำนาจซื้อไปยังเงินตราสกุลของประเทศตน กล่าวคือถ้าในการดำเนินธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศได้มีการตกลงซื้อขายกันเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ และผู้ส่งออกก็จะต้องโอนอำนาจซื้อจากเงินดอลลาร์สหรัฐมาเป็นเงินสกุลของประเทศตน

8 3.2 การอำนวยความสะดวกในการให้สินเชื่อ (Provision of Credit)
เนื่องจากการขนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศย่อมใช้ระยะเวลา ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีวิธีการที่จะจัดหาเงินมาใช้จ่ายสำหรับสินค้าที่อยู่ระหว่างเดินทาง ในบางกรณีอาจมีความจำเป็นที่จะต้องจัดหาเงินทุนสำหรับค่าเดินทางและรวมถึงเมื่อบริษัทตังแทนจำหน่าย ในระหว่างประเทศช่วงเวลาดังกล่าวอาจใช้ระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ หรือ 6 เดือนซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของการขนส่ง ผู้ส่งออกอาจตกลงให้สินเชื่อ โดยยอมให้ผู้สั่งนำเข้าเป็นลูกหนี้การค้าโดยคิดดอกเบี้ย หรือไม่คิดดอกเบี้ยก็ได้ ในทางตรงกันข้ามผู้ส่งออกอาจจะชำระค่าเป็นเงินสดหรือจัดหาโดยวิธีการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน

9 3.3 ลดความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน (Minimize Foreign Exchange)
ทั้งผู้นำเข้า และผู้ส่งออกย่อมไม่ปรารถนาที่จะได้รับความเสี่ยงที่เกิดมาจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยน ในการดำเนินธุรกิจปกตินั้น ผู้ค้าแต่ละฝ่ายย่อมหวังที่จะได้รับกำไรจากการขายมากกว่าการที่จะได้รับความเสี่ยงอันเกิดจากการที่อัตราแลกเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงไป หรือกำไรอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนโดยไม่คาดหลัง ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจะมีเครื่องมือที่อำนวยความสะดวดในการป้องกันความเสี่ยง (Hedging) โดยการโอนความเสี่ยงอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนไปยังบุคคลอื่นที่เป็นมืออาชีพที่เกี่ยวกับการป้องกันความเสี่ยง

10 ผู้มีส่วนร่วมในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
เนื่องจากปริมาณการซื้อขายเงินตราต่างประเทศของตลาดโลกมีจำนวนมหาศาลและมีการซื้อขายอยู่ตลอดเวลา จึงมีผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศหลายกลุ่มด้วยกัน ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ใหญ่ ๆ นายหน้าและตัวแทนซื้อขายเงินตราต่างประเทศซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางในตลาดระหว่างธนาคาร ลูกค้าของธนาคาร บริษัทข้ามชาติ (Multinational Corporation) และ ธนาคารกลาง ซึ่งเข้ามาเกี่ยวข้องในบางกรณี เพื่อรักษาอัตราแลกเปลี่ยนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่ให้อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวขึ้นลงมากนัก

11 ผู้มีส่วนร่วมในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ(ต่อ)
ธนาคารพาณิชย์นับว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ซึ่งเป็นผู้นำตลาด (Marker Market) อย่างแท้จริงกล่าวคือจะเป็นผู้ดำเนินการซื้อขายเงินตราต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลประโยชน์ของตน การทำธุรกรรมระหว่างธนาคารเกือบทั้งหมดในประเทศจะกระทำโดยผ่านนายหน้าซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ในด้านข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งซื้อขายเงินตราต่างประเทศ และอัตราแลกเปลี่ยน โดยนายหน้าซื้อขายเงินตราต่างประเทศจะได้รับค่าตอบแทนจาการค้าเงินตราต่างประเทศ ลูกค้าของธนาคารพาณิชย์และนาคารกลางทำการซื้อขายเงินตราต่างประเทศโดยผ่านธนาคารของตน

12 ผู้มีส่วนร่วมในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ(ต่อ)
จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเราสามารถบทสรุปได้ว่าผู้ที่มีส่วนร่วมในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจำแนกได้ออกเป็น 5 กลุ่มคือ 4.1 กลุ่มธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่นที่ทำหน้าที่ เป็นตัวกลางในการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ 4.2 กลุ่มเอกชนและธุรกิจที่ประกอบธุรกรรมพาณิชย์และการลงทุน 4.3 กลุ่มนักเก็งกำไรและนักค้ากำไร (Speculators and Arbitrager) 4.4 กลุ่มธนาคารกลาง และหน่วยงานคลังของรัฐ 4.5 กลุ่มนายหน้าซื้อขายเงินตราต่างประเทศ

13 รูปแบบของตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสามารถจำแนกออกเป็น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ ด้วยกันตามระยะเวลาการส่งมอบสินค้าหรือระยะเวลาการส่งมอบเงินตราต่างประเทศ 5.1 ตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศทันที หรือตลาดทันที 5.2 ตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าหรือตลาดล่วงหน้า

14 ประเภทของการทำธุรกรรมซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
การซื้อขายเงินตราต่างประเทศสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ 6.1 การทำธุรกรรมทันที (Spot Transaction) :การทำธุรกรรมทันทีในตลาดระหว่างธนาคาร ซึ่งเป็นการตกลงซื้อขายเงินตราต่างประเทศที่มีการส่งมอบและชำระเงินทันทีระหว่างธนาคารด้วยกัน 6.3 การทำธุรกรรมสว๊อพ (Swap Transaction) :เป็นการตกลงทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศโดยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนกันในวันนี้ เพื่อทำการส่งมอบเงินตราต่างประเทศในอนาคตข้างหน้า 6.2 การทำธุรกรรมล่วงหน้า (Forward Transaction) :การตกลงทั้งซื้อและขายเงินตราต่างประเทศจำนวนเดียวกัน แต่มีการส่งมอบในระยะเวลาที่ต่างกัน

15 อัตราแลกเปลี่ยนทันทีและอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Spot Rate and Forward Rate)
7.1 อัตราแลกเปลี่ยนทันที่ (Spot Rate) หมายถึง อัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้ สำหรับการซื้อขายเงินตราต่างประเทศที่มีการส่งมอบเงินตราทันที หรือไม่เกิน 2 วันทำการถัดไป (Business) การดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารต่าง ๆ รวมถึงเวลา ที่มีความแตกต่างกันระหว่าง 2 ประเทศในกรณีที่วันส่งมอบตรงกับวันหยุดทำ การของประเทศหนึ่งของเงินตราแต่ละสกุลก็ให้เลื่อนขึ้นไปวันทำการถัดไป 7.2 อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward Rate) หมายถึงอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้ สำหรับการซื้อขายเงินตราต่างประเทศที่มีการส่งมอบหรือโอนเงินตรากันในอนาคต ซึ่งมีระยะเวลาการส่งมอบกันมากกว่า 2 วัน ทำการอาจจะเป็น 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน เป็นต้น

16 อัตราแลกเปลี่ยนทันทีและอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Spot Rate and Forward Rate)
7.3 การเสนออัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange Quotation) ในการเสนออัตราแลกเปลี่ยนมักเกี่ยวข้องกับเงินตราอย่างน้อย 2 สกุลเสมอ กล่าวคือ เมื่อมีการขายเงินตราต่างประเทศสกุลหนึ่งก็ จะต้องมีการซื้อเงินตราต่างประเทศอีกสกุลหนึ่งควบคู่กันไป 7.4 อัตราแลกเปลี่ยนโยง (Cross Rate) การหาค่าอัตราแลกเปลี่ยนของเงินตรา 2 สกุลซึ่งไม่สามารถจะ ทำได้โดยตรงต้องใช้เงินตราสกุลที่ 3 เป็นตัวกลางในการหาค่าอัตรา แลกเปลี่ยนของเงิน 2 สกุลดังกล่าว

17 ราคาเสนอซื้อและราคาเสนอขาย (Bid price and Offer price)
ราคาเสนอซื้อ (Bid price หรือ Buying price) หมายถึง อัตราซื้อที่ผู้ค้าเงินที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางต้องการที่จะซื้อเงินตราต่างประเทศจากลูกค้า ราคาเสนอขาย (Offer price หรือ Selling price) หมายถึงอัตราขายที่ผู้ค้าเงินที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางต้องการที่จะขายเงินตราต่างประเทศให้แก่ลูกค้า โดยปกติราคาเสนอขายจะสูงกว่าราคาเสนอซื้อเล็กน้อย การเสนออัตราแลกเปลี่ยนโดยการเสนอราคาเต็มจำนวน (full price) ทั้งราคาเสนอซื้อและราคาเสนอขายเรียกว่า Outright Quotation โดยจะแสดงจุดทศนิยมไว้ 4 ตำแหน่ง หรือในบางกรณีจะแสดงเฉพาะตัวเลขสุดท้าย ของการเสนอราคาก็ได้เรียกว่า Point Quotation

18 การเสนอราคาในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า
การเสนอราคาที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นการเสนอราคาในตลาดทันที สำหรับ ในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า หรือตลาดล่วงหน้า(Forward Marker) นั้นการเสนอราคาอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward Quotation) สามารถกระทำได้ 2 วิธีคือ 1. การเสนอราคาในหน่วยของจำนวนเงินตราสกุลในประเทศต่อเงินตรา สกุลต่างประเทศ เช่นเดียวกับการเสนอราคาอัตราแลกเปลี่ยนทันที การเสนอ ราคาดังกล่าวเรียกว่า Outright rate ซึ่งเป็นการเสนอราคาที่ผู้ค้าเงินตราเสนอแก่ลูกค้า 2. Swap rate หมายถึงการเสนอราคาแบบจำนวนส่วยเพิ่ม (premium) และจำนวนส่วนลด (discount) จากอัตราแลกเปลี่ยนทันทีโดยทั่วไป

19 ส่วนเพิ่มและส่วนลด (Premium Discount)

20 การค้ากำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดเงินตราต่างประเทศ
โดยหลักการแล้วการเสนออัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลหนึ่ง ๆ ควรจะเป็นอัตราเดียวกันในตลาดเงินตราต่างประเทศที่มีการซื้อขายกัน แต่ในบางขณะการเสนออัตราแลกเปลี่ยนของสกุลหนึ่งอาจจะมีค่าไม่เท่ากันซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้มีการทำกำไรการซื้อขายเงินตราสกุลนั้น โดยการซื้อเงินตราต่างประเทศสกุลนั้นในราคาถูกและขายเงินตราต่างประเทศสกุลนั้นในราคาแพง การดำเนินการดังกล่าวเรียกว่า Arbitrage ตัวอย่างเช่น มีการเสนอราคาอัตราแลกเปลี่ยนของเงินด๊อยมาร์คต่อเงินดอลลาร์สหรัฐของตลอดนิวยอร์คและตลอดลอนดอน

21 การค้ากำไรจากความแตกต่างในอัตราดอกเบี้ย (Covered Inter)
ตามทฤษฎีอัตราดอกเบี้ยเสมอภาค ความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยจะเท่ากับส่วนเพิ่มหรือส่วนลดของอัตราล่วงหน้าของเงินตรา 2 สกุล เนื่องอัตราดอกเบี้ยของเงินสกุลโดยปกติแล้วจะไม่เท่ากันจึงทำให้มีการค้ากำไรจากความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยของเงินสกุล ตัวอย่าง อัตราดอกเบี้ยของตั๋วเงินคลังของของอังกฤษเท่ากับ 10% ต่อปี ขณะที่ตั๋วเงินคลังของสหรัฐอเมริกาเท่ากับ 6.8% ต่อปี ตามทฤษฎีอัตราดอกเบี้ยเสมอภาค เงินปอนด์จะมีส่วนลด 3.2% ซึ่งเท่ากับความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยคือ 3.2% เท่ากัน

22 วิวัฒนาการตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย
สมัยก่อนสงคราม ประเทศไทยผูกค่าของเงินบาทไว้กับปอนด์สเตอร์ลง เนื่องจากการค้าต่างประเทศมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยมาก รัฐบาลไทยจึงยึดมั่นในหลักการที่จะดำรงค่าของเงินบาทให้มีเสถียรภาพมั่นคง โดยมิได้มีการควบคุมการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราแต่อย่างใด ต่อมาเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง เหตุการณ์บังคับให้ไทยต้องค้าขายกับญี่ปุ่นเพียงประเทศเดียวทั้งต้องจำยอมรับเงื่อนไขทางการเงินอีกด้วย จึงมีความจำเป็นต้องทำการควบคุมการและเปลี่ยนเงิน รัฐบาลสมัยนั้นจึงได้ตราพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ปี พ.ศ ขึ้น

23 วิวัฒนาการตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย
ประเทศไทยก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนอีกหลายครั้ง ซึ้ง สามารถแบ่งระยะต่าง ๆ โดยอิงกับระบบอัตราและเปลี่ยนที่ใช้อยู่ในระยะ นั้นได้ ดังต่อไปนี้คือ ระยะที่หนึ่ง (พ.ศ ): ก่อนกำหนดค่าเสมอภาคของบาท ระยะที่สอง (พ.ศ ): ระบบค่าเสมอภาค ระยะที่สาม (พ.ศ ): เลิกค่าเสมอภาคและใช้วิธีกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนประจำวัน ระยะที่สี่ (พ.ศ ): ทุนรักษาระดับฯเป็นผู้กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนประจำวัน ระยะที่ห้า (พ.ศ ปัจจุบัน): ทุนรักษาระดับฯเป็นผู้กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนประจำวันโดยโยงค่าของบาทไว้กับเงินสกุลหลายสกุล

24 บทสรุป การค้าที่พัฒนามาเลื่อยทำให้การพัฒนาตลาดเงินตรา พัฒนาการอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการซื้อขายเงินตราต่างประเทศจงต้องมีรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อสนองต่อความต้องการของผู้ที่ต้องการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ดังนั้นระบบการซื้อขายเงินตราจึงมีหลากหลายรูปแบบ เช่น การทำธุรกรรมทันที (Spot Transaction) สองการทำธุรกรรมล่วงหน้า (Forward Transaction) อัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้ในวันทำสัญญาเรียกว่า อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward Rate) และ การทำธุรกรรมสว๊อพ (Swap Transaction)


ดาวน์โหลด ppt ตลาดตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google