งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โดย นายมนู วงษ์กัญญา กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โดย นายมนู วงษ์กัญญา กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โดย นายมนู วงษ์กัญญา กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ รายวิชา คอมพิวเตอร์พื้นฐาน 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดย นายมนู วงษ์กัญญา กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี

2 คำนำ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นี้ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์    และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์           คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานเรื่องจะมีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาหาความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์   และขอขอบคุณคณะผู้จัดทำที่ช่วยเหลือในการหาข้อมูลต่าง ๆ   มาประกอบรายงานเรื่องนี้  ถ้าหากรายงานบกพร่องในเนื้อหาประการใดทางคณะผู้จัดทำจึงขออภัยไว้  ณ  ที่นี้ด้วย นายมนู วงษ์กัญญา

3 สารบัญ ฮาร์ดแวร์ ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
สารบัญ ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 1 คอมพิวเตอร์คืออะไร คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ ประเภทของคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ 2 ฮาร์ดแวร์หมายถึง องค์ประกอบของฮาร์ดแวร์

4 สารบัญ(ต่อ) ซอฟต์แวร์
สารบัญ(ต่อ) ซอฟต์แวร์ 3 ซอฟแวร์หมายถึง ประเภทของซอฟแวร์ ซอฟแวร์ระบบ ซอฟแวร์ประยุกต์

5 ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
1 ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

6 ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
2 ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ คือ อะไร ???? คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่งที่สามารถรับโปรแกรมและข้อมูล ประมวลผล สื่อสารเคลื่อนย้ายข้อมูลและแสดงผลลัพธ์ได้

7 ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
3 ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ การทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ 1 การทำงานด้วยความเร็วสูง 2 ความถูกต้องแม่นยำ เชื่อถือได้ 3 การเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก 4 การสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูล 5

8 ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
4 ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ประเภทของคอมพิวเตอร์ ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) 1 จัดว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เทียบได้กับคอมพิวเตอร์ทั่วไปพันๆ เครื่องใช้ในการประมวลข้อมูลข้อมูล จำนวนมากและเร็วมาก เช่น องค์การ NASA ใช้ในการพยากรณ์อากาศ เป็นต้น

9 ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
5 ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe Computer) 2 เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ มีประสิทธิภาพรองจากซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ มักใช้ในการประมวลผลจำนวนมาก เช่น ในองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ธนาคาร ที่มีสาขาทั่วโลก

10 ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
6 ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (Mini Computer) 3 จัดเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดกลางมีประสิทธิภาพสูงกว่า PC Computer เช่น องค์กรขนาดกลาง ไฟแนนซ์ มหาวิทยาลัย

11 ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
7 ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) 4 จัดเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ราคาถูก เหมาะในการใช้งานส่วนตัว ในสำนักงาน หรือองค์กรขนาดเล็ก หรือตามบ้านพักทั่วไป หรือเรียกโดยทั่วไปว่า PC (พีซี) โดยแบ่งตามลักษณะการใช้งาน ได้ดังนี้

12 ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
8 ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ขนาดสถานีงาน (Workstation) 4.1 4.1 จัดเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ประกอบด้วยเครื่องมือสำหรับการออกแบบและคำนวณทางวิศวกรรม งานออกแบบสถาปัตยกรรม งานวิเคราะห์ทางการเงินและเศรษฐกิจขั้นสูง

13 ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
9 ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ขนาดตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) 4.1 4.2 จัดเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่พบได้ทั่วไป ตามสำนักงานต่างๆ หรือตลอดจนการเรียน การสอน และการวิจัย

14 ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
10 ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ขนาดกระเป๋า (Labtop หรือ Notebook) 4.1 4.3 จัดเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีความสามารถทัดเทียมกับคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ อีกทั้งมีความคล่องตัว เหมาะสำหรับงานนำเสนอ หรือนักธุรกิจที่ต้องการความคล่องตัว

15 ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
11 ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ขนาดพกพา (Handhelds หรือ Personal Digital Assistants : PDA ) 4.1 4.4 เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลขนาดเล็กที่สามารถวางบนมือ ส่วนใหญ่มักจะติดตั้งโปรแกรมสำเร็จรูป เช่น โปรแกรมตารางการนัดหมาย โปรแกรมรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ มาพร้อมในตัว

16 12 ฮาร์ดแวร์

17 ฮาร์ดแวร์ 13 ฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ทำงานประสานกันเพื่อให้เกิดการประมวลผล การจัดเก็บ และการแสดงผลข้อมูลและสารสนเทศ ซึ่งหมายรวมถึงตัวคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง ฮาร์ดแวร์ในระบบคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 5 หน่วยหลัก ดังนี้

18 ฮาร์ดแวร์ หน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล หน่วยความจำหลัก หน่วยประมวลผลกลาง
14 ฮาร์ดแวร์ หน่วยรับข้อมูล 1 หน่วยแสดงผล 2 หน่วยความจำหลัก 4 หน่วยประมวลผลกลาง 3 หน่วยความจำรอง 5 หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยแสดงผล หน่วยรับข้อมูล หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำรอง

19 ฮาร์ดแวร์ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) 1.1 แป้นพิมพ์
15 ฮาร์ดแวร์ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) 1 1.1 แป้นพิมพ์ เป็นอุปกรณ์หลักในการรับข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น แป้นพิมพ์ชนิด PS/2 และแป้นพิมพ์ USB

20 ฮาร์ดแวร์ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) 1.2 เมาส์ (Mouse)
16 ฮาร์ดแวร์ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) 1 1.2 เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์ในการสั่งงานโดยคลิกที่ปุ่มของเมาส์ เมาส์ใช้เป็นอุปกรณ์ในการสั่งการ ปัจจุบันเมาส์ที่นิยมจะมีอยู่ 2 ประเภท คือเมาส์แบบลูกกลิ้ง และเมาส์แบบใช้แสง

21 ฮาร์ดแวร์ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) 1.3 เครื่องสแกนภาพ (Scanner)
17 ฮาร์ดแวร์ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) 1 1.3 เครื่องสแกนภาพ (Scanner) เป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านภาพถ่ายหรือเอกสารเพื่อนำเข้ามาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะทำการอ่านภาพหรือเอกสารที่อยู่ในรูปแบบของแผ่นกระดาษ และทำบันทึกแฟ้มภาพด้วยไฟล์ .gif .jpg

22 ฮาร์ดแวร์ หน่วยแสดงผล (Output Unit) 2.1 จอภาพ (Monitor)
18 ฮาร์ดแวร์ หน่วยแสดงผล (Output Unit) 2 2.1 จอภาพ (Monitor) เป็นส่วนประกอบที่ใช้แสดงผลลัพธ์และเป็นส่วนที่ผู้ใช้ใช้ในการมองเห็นเพื่อให้ติดต่อสั่งงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ปัจจุบันนิยมใช้จอภาพ 2 ประเภท คือ จอภาพชนิดหลอดภาพรังสี CRT และจอภาพแบบที่ใช้หลอดภาพ LCD (LCD Monitor)

23 ฮาร์ดแวร์ หน่วยแสดงผล (Output Unit) 2.2 เครื่องพิมพ์ (Printer)
19 ฮาร์ดแวร์ หน่วยแสดงผล (Output Unit) 2 2.2 เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้พิมพ์ข้อมูล หรือผลลัพธ์ออกทางแผ่นกระดาษ ซึ่งมี 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ เลเซอร์ (Laser) อิงค์เจ็ท (Inkjet) และ หัวเข็ม (Dot-Matrix)

24 ฮาร์ดแวร์ หน่วยแสดงผล (Output Unit) 2.3 ลำโพง (Speaker)
20 ฮาร์ดแวร์ หน่วยแสดงผล (Output Unit) 2 2.3 ลำโพง (Speaker) เป็นอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ในรูปแบบของเสียง ซึ่งเชื่อมต่อกับ อุปกรณ์กำเนิดเสียงหรือ Sound Card

25 ฮาร์ดแวร์ หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)
21 ฮาร์ดแวร์ หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) 3 3.1 ส่วนประมวลผล (Process Units) ทำหน้าที่ในการคำนวณ เปรียบเทียบ ข้อมูลและชุดคำสั่งที่ได้รับมาจากส่วนที่รับข้อมูล ผลลัพธ์ที่ได้จากหน่วยนี้จะถูกส่งไปยังส่วนแสดงผล หน่วยประมวลผลรู้จักกันโดยทั่วไปที่ชื่อซีพียู (CPU) ซีพียูที่เป็นที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ อินเทล (intel) เอเอ็มดี (AMD) เพาวเวอร์พีซี

26 ฮาร์ดแวร์ หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)
22 ฮาร์ดแวร์ หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) 3 3.2 หน่วยควบคุม (Control Units) เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยประมวลผลกลาง ทำหน้าที่ในการควบคุมหน่วยประมวลผลต่างๆ ที่ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงโปรแกรมต่างๆ ที่จะเข้าไปทำงานในหน่วยประมวลผลกลาง

27 ฮาร์ดแวร์ หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)
23 ฮาร์ดแวร์ หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) 3 3.3 หน่วยคำนวณเปรียบเทียบ (Arithmetic & Logic Unit) เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยประมวลผลกลางทำหน้าที่ในการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น การบวก การลบ การคูณ การหาร และการเปรียบเทียบทางตรรกะ เช่น มากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ

28 ฮาร์ดแวร์ หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
24 ฮาร์ดแวร์ หน่วยความจำหลัก (Main Memory) 4 เป็นสมองของคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลหรือคำสั่ง ทั้งก่อนและหลังการประมวลผล ประเภทของหน่วยความจำหลัก ได้แก่

29 ฮาร์ดแวร์ หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
25 ฮาร์ดแวร์ หน่วยความจำหลัก (Main Memory) 4 ROM (Read Only Memory) 1 ใช้บันทึกคำสั่งไว้อย่างถาวรได้อย่างเดียว ไม่สามารถแก้ไขได้ RAM (Random Access Memory) 2 ใช้บันทึกข้อมูล และคำสั่งขณะเราทำงาน สามารถอ่านและ เขียนข้อมูลได้ แต่ข้อมูลเหล่านี้จะหายไป เมื่อมีการรับข้อมูลใหม่ หรือปิดเครื่อง ถ้ามี RAM มากก็จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็ว ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ควรมีหน่วยความจำ 512 เมกกะไบต์ CACHE 3 เป็นหน่วยความจำที่ใช้บันทึกเก็บข้อมูลชั่วคราว ก่อนส่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ และช่วยให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็ว

30 ฮาร์ดแวร์ หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
26 ฮาร์ดแวร์ หน่วยความจำหลัก (Main Memory) 4 ความจุข้อมูลในหน่วยความจำ หน่วยวัดความจุของข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์เรียกตามลักษณะการเก็บข้อมูล โดยจะมีหน่วยตามขนาดของเลขฐานสอง (มีเฉพาะเลข กับ 0 และ 1 เท่านั้น) กล่าวคือเลขฐานสอง หลัก จะมีค่าเป็น 1 บิต (Bit) และนำเลขฐานสองมาเรียงกัน 8 หลัก (8 บิต) จะเรียกว่าเป็นข้อมูลขนาด 1 ไบต์ (Byte) โดยที่ 1024 Byte = 1 Kilobyte (KB) 1024 Megabyte = 1 Gigabyte (GB) 1024 Gigabyte = 1 Terabyte (TB) 1024 Kilobyte = 1 Megabyte (MB)

31 ฮาร์ดแวร์ หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage)
27 ฮาร์ดแวร์ หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage) 5 ทำหน้าที่ในการจัดเก็บบันทึกข้อมูลหรือผลลัพธ์สำหรับนำกลับมาใช้หรือปรับแก้ได้ตามต้องการในภายหลัง ตัวอย่างคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล ได้แก่ หน่วยความจำหลัก (Main Memory) แผ่นดิสก์เก็ตซีดีรอม เป็นต้น

32 ฮาร์ดแวร์ หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage)
28 ฮาร์ดแวร์ หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage) 5 ประเภทใช้แถบแม่เหล็ก (Megnetic) ประเภทที่ใช้แสง (Optical) Diskette, Hard Disk CD, DVD จะใช้สารแม่เหล็กเคลือบบนวัสดุ เช่น พลาสติกหรือโลหะทำให้มีคุณสมบัติในการบันทึกข้อมูลได้ จะใช้แสงฉายลงไปบนวัสดุ ทำให้มีคุณสมบัติในการบันทึกข้อมูลได้ นิยมเก็บข้อมูลในปริมาณมากๆ เพื่อใช้ในการแจกจ่ายหรือขาย เช่น แผ่นหนัง หรือใช้ในการสำรองข้อมูล

33 29 ซอฟต์แวร์

34 30 ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์ หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน หรืออีกความหมายหนึ่ง ซอฟต์แวร์ หมายถึงรวมถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ ทำงานได้

35 ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
31 ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ซอฟต์แวร์ระบบ (SYSTEM SOFTWARE) 1 คือ ซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขี้นมาเพื่อใช้จัดการระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถดำเนินงานพื้นฐานต่างๆ ได้ เช่น รับข้อมูลจากแป้นพิมพ์แล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (APPLICATION SOFTWARE) 2 เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่างๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เช่น นักวิเคราะห์ระบบใช้โปรแกรมตารางทำการคำนวณยอดขาย นักออกแบบกราฟิกใช้โปรแกรม Adobe Photoshop ตกแต่งภาพ เป็นต้น

36 ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์ระบบสามารถแบ่งหน้าที่การทำงานได้ดังนี้
32 ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์ระบบ (SYSTEM SOFTWARE) 1 ซอฟต์แวร์ระบบสามารถแบ่งหน้าที่การทำงานได้ดังนี้ 1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating System) เรียกย่อๆ ว่า OS ซึ่งทำหน้าที่ในการบริหารและจัดการทรัพยากร ในระบบคอมพิวเตอร์ให้กับผู้ใช้ เช่น ระบบปฏิบัติการ Window Unix Mac OS ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ทำงานตลอดเวลาที่เราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ 1.2 โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Programs) เป็นโปรแกรมที่ช่วยบริหารจัดการคอมพิวเตอร์ให้ทำงานอย่างราบรื่น เช่น โปรแกรมตรวจจับไวรัสคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

37 ซอฟต์แวร์ 1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating System)
33 ซอฟต์แวร์ 1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ระบบปฏิบัติการของบริษัท Microsoft MS-DOS - จัดการแบ่งหน่วยความจำสำหรับระบบและผู้ใช้งาน พร้อมทั้งจัดการเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล - จัดการติดต่ออุปกรณ์รับและแสดงผลข้อมูล Microsoft Windows XP

38 ดีกว่า vista เทียบเคียง apple
34 ซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการของบริษัท Microsoft Windows Vista Windows 7 กราฟิกสวย ดีกว่า vista เทียบเคียง apple

39 งานคำนวณด้านวิทยาศาสตร์ ใช้ในดารเรียนการสอนเพื่อพัฒนาโปรแกรม
35 ซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการ Linux ใช้ command line ใช้ GUI งานคำนวณด้านวิทยาศาสตร์ ใช้ในดารเรียนการสอนเพื่อพัฒนาโปรแกรม

40 ระบบปฏิบัติการของบริษัท Apple
36 ซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการของบริษัท Apple Mac OS X

41 ระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก
37 ซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก Symbian OS Window Mobile Android IOS Linux nokia/sony E HTC HD2

42 ซอฟต์แวร์ 1.2 โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Programs)
38 ซอฟต์แวร์ 1.2 โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Programs) โปรแกรมจัดการดิสก์ ประเภทการจัดการแฟ้มข้อมูล โปรแกรม อรรถประโยชน์ - การคัดลอก เปลี่ยนชื่อ แบ่งพาติชัน การ format - Disk Cleanup Disk Defragmenter ประเภทลบทิ้งโปรแกรม โปรแกรมบีบอัดแฟ้ม - Add/Remove โปรแกรม โปรแกรมรักษาหน้าจอ โปรแกรมป้องกันไวรัส

43 39 ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (APPLICATION SOFTWARE) 2 2.1 ซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐาน 2.1.1 ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (Word processor software) ใช้ในการพิมพ์เอกสาร เช่น จดบันทึก จดหมาย คู่มือ รายงาน แผ่นพับ เช่น Microsoft Word, Corel WordPerfect, Lotus Word Pro และ OpenOffice.org Writer

44 40 ซอฟต์แวร์ 2.1.2 ซอฟต์แวร์ตารางคำนวณ (Spreadsheet software) ซอฟต์แวร์ตารางที่ช่วยในการคิดคำนวณ วิเคราะห์ข้อมูล และสร้างแผนภูมิ เช่น Microsoft Excel, Lotus และ OpenOffice.org CalC

45 41 ซอฟต์แวร์ 2.1.3 ซอฟต์แวร์นำเสนอ (Presentation software) ซอฟต์แวร์ใช้ในการนำเสนอ เพื่อให้งานมีความน่าสนใจและมีความเป็นมืออาชีพ เช่น Microsoft PowerPoint, Corel Presentation, Lotus Freelance Graphics และ OpenOffice.org Impress

46 42 ซอฟต์แวร์ 2.1.4 ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (Database management software) ซอฟต์แวร์ใช้ในการเก็บข้อมูล จัดการข้อมูล ทำฐานข้อมูล เช่น Microsoft Access, Corel Paradox, Lotus Approach และ OpenOffice.org Base

47 43 ซอฟต์แวร์ 2.1.5 ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล (Data communication software) ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่นๆ ได้ เช่น ส่ง ใช้โอนแฟ้มข้อมูล แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร

48 ซอฟต์แวร์ 44 2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานโดยเฉพาะ 2.2.1 ซอฟต์แวร์ออกแบบสิ่งพิมพ์ (Desktop Publishing) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับการจัดหน้าเอกสารและการพิมพ์ ซึ่งประกอบไปด้วยข้อความ กราฟิก รูปภาพ เช่น Adobe InDesign , PageStream, RagTime, Microsoft Publisher, Apple Page และCorelDraw

49 ซอฟต์แวร์ 45 2.2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับจัดการภาพกราฟิก (Graphic editing) เป็นซอฟต์แวร์สำหรับจัดการภาพกราฟิก ซึ่งเป็นการนำภาพมาตกแต่งโดยใช้คอมพิวเตอร์ ที่ใช้สำหรับการจัดหน้าเอกสารและการพิมพ์ ซึ่งประกอบไปด้วยข้อความ กราฟิก รูปภาพ เช่น Adobe Photoshop, GIMP

50 ซอฟต์แวร์ 46 2.2.3 CAI (Computer-Assisted Instruction) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้เกี่ยวกับการศึกษาในการเพิ่มประสิทธิภาพการสอน และการรับรู้ของผู้เรียน โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวนำเสนอเนื้อหา และกิจกรรม ของการเรียน เช่น โปรแกรม Authorware, Toolbook, Cai ez Tools, Photoshop, Movie Maker และ Sound Editor

51 ซอฟต์แวร์ 47 2.2.4 ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ (Computer-Aided Design: CAD) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้เกี่ยวกับงานวิศวกรรม ออกแบบ และสถาปัตยกรรม ซึ่งนำมาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์แบบต่างๆ ได้แก่ AutoCAD, SolidWorks, Pro/ENGINEER, CATIA

52 ซอฟต์แวร์ 48 2.2.5 Web Page Authoring เป็นเว็บที่ช่วยในการสร้างหน้าเว็บ (Web Page) ซึ่งจะอำนวยความสะดวกในการจัดรูปแบบหน้าเว็บเพจ ได้แก่ Adobe Dreamweaver, Arachnophilia, Microsoft FrontPage, SME Web, Cool Page,HomeSite, NetObject Fusion, Coffee Cup, Compozer

53 เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
49 เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

54 บรรณานุกรม https://www.youtube.com/watch?v=YRpCMhPYiJE
49

55


ดาวน์โหลด ppt โดย นายมนู วงษ์กัญญา กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google