งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

จริยศาสตร์ จริยธรรม จรรยาบรรณการพยาบาล และปัญหา ดร.ภาณุ อดกลั้น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "จริยศาสตร์ จริยธรรม จรรยาบรรณการพยาบาล และปัญหา ดร.ภาณุ อดกลั้น"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 จริยศาสตร์ จริยธรรม จรรยาบรรณการพยาบาล และปัญหา ดร.ภาณุ อดกลั้น
ดร.ภาณุ อดกลั้น

2 บทที่ 2 จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ
1. หลักจริยธรรมวิชาชีพ 1.1 เอกสิทธิ์หรือความมีอิสระ (Autonomy) 1.2 การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ (Beneficence) 1.3 การไม่ทำในสิ่งที่เป็นอันตราย (Non-maleficence) 1.4 ความยุติธรรม (Justice) 1.5 ความซื่อสัตย์ (Fidelity) 1.6 การรักษาความลับ (Confidentiality) 1.7 การบอกความจริง (Veracity) 1.8 การพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย (Advocacy)

3 5 ส.ค –12.30น. (4 ชม.) บทที่ 2 จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ 2. จรรยาบรรณพยาบาล 2.1 จรรยาบรรณวิชาชีพของสมาคมพยาบาลฯ พ.ศ. 2546 2.2 จรรยาบรรณข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2560

4 2.1 การเคารพเอกสิทธิ์/ความเป็นอิสระ (Respect for Autonomy)

5 การตัดสินใจอย่างอิสระ (autonomous decisions)
(1) ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณค่าและความเชื่อ (2) อาศัยข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอ (3) เป็นอิสระจากการถูกบังคับ (4) อยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและความตั้งใจ การกระทำอย่างอิสระ (autonomous action) (4.1) กระทำด้วยความตั้งใจ (4.2) กระทำด้วยความเข้าใจ (4.3) ไม่มีอิทธิพลใดมาควบคุม

6 2.2 การทำประโยชน์ หรือ “beneficence” เป็นการกระทำที่บ่งบอกถึงความเมตตา กรุณา ความปรารถนาดี และความเอื้อเฟื้อแก่เพื่อนมนุษย์ เช่น เพื่อการรักษา ให้หายจากความทุกข์ทรมาน หรือได้ความรู้ใหม่ มีประสิทธิภาพ ลดอัตราความเจ็บป่วย มีหลักการที่สำคัญ 2 ประการ คือ (1) การทำประโยชน์ เป็นการป้องกันสิ่งเลวร้าย หรืออันตราย การขจัดสิ่งเลวร้ายหรืออันตราย และการกระทำและส่งเสริมสิ่งที่ดี และ (2) ความสมดุลระหว่างประโยชน์และอันตราย

7 2.3 การไม่ทำอันตราย (nonmaleficence)
หมายถึง การกระทำที่ไม่นำสิ่งเลวร้าย (doing no harm) หรืออันตรายมาสู่บุคคลอื่น ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม รวมทั้งไม่ทำให้บุคคลอื่นเสี่ยงต่ออันตราย กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการห้ามบุคคลไม่ให้ทำอันตรายผู้อื่นนับเป็นแกนของคุณธรรม กฎเกณฑ์เหล่านี้ได้แก่ ห้ามฆ่า ห้ามทำให้เจ็บปวด ห้ามทำให้ไร้ความสามารถ ห้ามทำให้ปราศจากความสุข ห้ามจำกัดอิสรภาพ เป็นต้น

8 ลักษณะการดูแลที่ถือว่าผิดหลักการไม่ทำอันตรายคือ การกระทำที่ประกอบด้วย 4 ลักษณะต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้ประกอบวิชาชีพมีหน้าที่โดยตรงต่อบุคคลนั้น (2) ผู้ประกอบวิชาชีพละเลยหน้าที่ของตน (3) บุคคลนั้นได้รับอันตราย (4) อันตรายที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากการละเลยหน้าที่นั้น

9 2.4 ความยุติธรรม/เสมอภาค (Justice)
หมายถึงความยุติธรรม ความเท่าเทียม ความไม่ลำเอียง สอดคล้องกับแนวคิดดั้งเดิมของอริสโตเติล คือ “สิ่งที่เท่ากัน ต้องได้รับการปฏิบัติที่เหมือนกัน สิ่งที่ต่างกันต้องได้รับการปฏิบัติที่ต่างกัน” ซึ่งเรียกว่า “formal justice” ภายใต้หลักการนี้ เกณฑ์ใดๆ ก็สามารถนำมาใช้ในการตัดสินได้ เช่น อายุ เพศ สถานภาพสมรส หรือ อื่นๆ สำหรับหลักการที่สามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินการปฏิบัติ เป็นหลักการที่เน้นสิ่งที่ปรากฏ (material principles) ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับ “material justice”

10 แนวทางในการกระทำที่แสดงถึงความยุติธรรม
(1) พิจารณาให้แต่ละบุคคลเท่าๆ กัน (2) พิจารณาโดยคำนึงถึงความต้องการของแต่ละบุคคล (3) พิจารณาโดยคำนึงถึงความพยายามของแต่ละบุคคล (4) พิจารณาโดยคำนึงถึงสิ่งที่แต่ละบุคคลได้กระทำ (5) พิจารณาโดยคำนึงถึงความดีของแต่ละบุคคล (6) พิจารณาโดยคำนึงถึงคุณค่าในสังคมของแต่ละบุคคล

11 2.5 ความซื่อสัตย์ (Fidelity)
หมายถึง การทำตามพันธะหน้าที่ของบุคคลตามข้อผูกพัน (commitment) ที่มีต่อตนเองหรือผู้อื่นครอบคลุมถึงการรักษาสัญญา และการปกปิดความลับ การรักษาสัญญา เป็นการแสดงถึงความภักดี (loyalty) และอยู่บนหลักการทำประโยชน์และหลักการบอกความจริง ซึ่งจะนำไปสู่ความเชื่อถือไว้วางใจในสัมพันธภาพระหว่างบุคคล

12 2.6 การรักษาความลับ (Confidentiality) การรักษาความลับ หรือ “confidentiality” หมายถึง ปกป้องข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ไม่ให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวโดยมาได้รับคำยินยอมจากเจ้าของข้อมูลนั้น ครอบคลุมถึงข้อตกลงรักษาความลับ ผู้มีสิทธิเข้าถึงข้อมูล ระบบเก็บรักษาข้อมูลให้ปลอดภัย ข้อจำกัดในการรักษาความลับ

13 2.7 การบอกความจริง หรือ“veracity” หมายถึง การบอกความจริง (telling the truth) เป็นหลักการพื้นฐานของการพัฒนาและการคงไว้ซึ่งความเชื่อถือไว้วางใจระหว่างมนุษย์ มนุษย์มีความคาดหวังที่จะได้รับการบอกความจริง เพราะการบอกความจริงเป็นความจำเป็นพื้นฐานสำหรับการสื่อสาร และการสร้างสัมพันธภาพในสังคมซึ่งยอมรับในสิทธิของบุคคลที่จะรับรู้ความจริง ดังนั้นบุคคลจึงมีหน้าที่ต้องพูดความจริง ไม่โกหกหรือหลอกลวงผู้อื่น และบุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการบอกความจริง และไม่ถูกหลอกลวง

14 2.8 การพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย (Advocacy) หมายถึง กระบวนการกระทำของพยาบาลวิชาชีพโดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์ และสิทธิที่พึงได้รับโดยการเป็นตัวแทนของผู้ป่วยในการประสานงานระหว่าง ผู้ป่วย ครอบครัวและบุคลากรอื่น ๆ ในทีมสุขภาพ รวมทั้งคุ้มครองผู้ป่วยให้ ได้รับข้อมูลที่ชัดเจนและเพียงพอต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเอง

15 กระบวนการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย ประกอบด้วย
ระยะที่ 1 ทำตามและเรียนรู้ พยาบาลให้การดูแลผู้ป่วยตามสิทธิ และเรียนรู้การพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยจากพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์ ระยะที่ 2 อึดอัดขัดแย้ง พยาบาลเมื่อไม่สามารถปกป้องสิทธิผู้ป่วยได้พยาบาลรู้สึกสับสน และเป็นห่วงผู้ป่วย ระยะที่ 3 ทุ่มเทสุดความสามารถ พยาบาลสามารถพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยด้วยตนเอง ใช้พลังของทีม และผสมผสานกลยุทธ์ที่หลากหลายเพื่อปกป้องผู้ป่วย

16 กิจกรรมการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย ประกอบด้วย
1) การส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับสิทธิในฐานะ มนุษย์ (Promoting patients basic rights as person) 2) การเป็นตัวแทนของผู้ป่วย (Acting on behalf of patients) 3) การคุ้มครองผู้ป่วยให้ได้รับข้อมูลที่เพียงพอและชัดเจน (Safeguarding patient’ informs)

17 ผลที่เกิดขึ้นจากการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย ประกอบด้วย
1. ผลที่เกิดขึ้นต่อผู้ป่วย 1.1 ผู้ป่วยเกิดพลังอำนาจและมีอิสระในการตัดสินใจด้วยตนเอง 1.2 ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่มีคุณภาพ 2. ผลที่เกิดขึ้นต่อพยาบาลวิชาชีพ 2.1 การยอมรับนบัถือในวิชาชีพ (Professional recognition) 2.2 ความพึงพอใจในงาน (Job satisfaction) 3. ผลที่เกิดขึ้นต่อวิชาชีพการพยาบาล 3.1 ส่งเสริมภาพลักษณ์วิชาชีพ 3.2 ทำให้เกิดการพัฒนาวิชาชีพ (Professional development)

18 3. จรรยาบรรณวิชาชีพของพยาบาล
จรรยาบรรณพยาบาล ฉบับปีพุทธศักราช 2546 ( สมาคมพยาบาลแห่งประเทศในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) มี 9 ข้อ ข้อที่ 1 พยาบาลรับผิดชอบต่อประชาชนผู้ต้องการการพยาบาล และบริการสุขภาพ พยาบาลรับผิดชอบต่อประชาชนผู้ต้องการการพยาบาล และบริการสุขภาพทั้งต่อปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชน และระดับประเทศ ในการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันความเจ็บป่วย การฟื้นฟูสุขภาพและการบรรเทาความทุกข์ทรมาน

19 ข้อที่ 2 พยาบาลประกอบวิชาชีพด้วยความเมตตากรุณา เคารพในคุณค่าของชีวิต ความมีสุขภาพดีและความผาสุกของเพื่อนมนุษย์ พยาบาลประกอบวิชาชีพด้วยความเมตตากรุณา เคารพในคุณค่าของชีวิตความมีสุขภาพดี และความผาสุกของเพื่อนมนุษย์ ช่วยให้ประชาชนดำรงสุขภาพไว้ใน ระดับดีที่สุด ตลอดวงจรของชีวิต นับแต่ปฏิสนธิ ทั้งในภาวะสุขภาพปกติ ภาวะเจ็บป่วย ชราภาพ จนถึงระยะสุดท้ายของชีวิต

20 ข้อที่ 3 พยาบาลมีปฏิสัมพันธ์ทางวิชาชีพกับผู้ใช้บริการ ผู้ร่วมงาน และประชาชนด้วยความเคารพในศักดิ์ศรี และสิทธิมนุษยชน ของบุคคล พยาบาลมีปฏิสัมพันธ์ทางวิชาชีพกับผู้ใช้บริการ ผู้ร่วมงาน และประชาชนด้วยความเคารพในศักดิ์ศรี และสิทธิมนุษยชนของบุคคลทั้งในความเป็นมนุษย์สิทธิในชีวิต และสิทธิในเสรีภาพเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว การพูด การแสดงความคิดเห็น การมีความรู้ การตัดสินใจ ค่านิยมความแตกต่างทางวัฒนธรรม และความเชื่อทางศาสนา ตลอดจนสิทธิในความเป็นเจ้าของ และความเป็นส่วนตัวของบุคคล

21 ข้อที่ 4 พยาบาลยึดหลักความยุติธรรม และความเสมอภาคในสังคมมนุษย์
ข้อที่ 4 พยาบาลยึดหลักความยุติธรรม และความเสมอภาคในสังคมมนุษย์ พยาบาลยึดหลักความยุติธรรม และความเสมอภาคในสังคมมนุษย์ ร่วมดำเนินการเพื่อช่วยให้ประชาชนที่ต้องการบริการสุขภาพ ได้รับความช่วยเหลือดูแลอย่างทั่วถึง และดูแลให้ผู้ใช้บริการได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสมกับความต้องการอย่างดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ด้วยความเคารพในคุณค่าของชีวิต ศักดิ์ศรี และสิทธิในการมีความสุขของบุคคลอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่จำกัดด้วยชั้น วรรณะ เชื้อชาติ ศาสนา เศรษฐานะ เพศ วัย กิตติศัพท์ ชื่อเสียง สถานภาพในสังคม และโรคที่เป็น

22 ข้อที่ 5 พยาบาลประกอบวิชาชีพโดยมุ่งความเป็นเลิศ
พยาบาลประกอบวิชาชีพ โดยมุ่งความเป็นเลิศปฏิบัติการพยาบาล โดยมีความรู้ในการกระทำ และสามารถอธิบายเหตุผลได้ในทุกกรณี พัฒนาความรู้ และประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง รักษาสมรรถภาพในการทำงาน ประเมินผลงานและประกอบวิชาชีพ ทุกด้านด้วยมาตรฐานสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้

23 ข้อที่ 6 พยาบาลพึงป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ และชีวิตของผู้ใช้บริการ
พยาบาลพึงป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ และชีวิตของผู้ใช้บริการ โดยการร่วมมือประสานงานอย่างต่อเนื่องกับผู้ร่วมงาน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุกระดับ เพื่อปฏิบัติให้เกิดผลตามนโยบาย และแผนพัฒนาสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชน พึงปฏิบัติหน้าที่ รับมอบหมายงาน และมอบหมายงานอย่างรอบคอบ และกระทำการอันควรเพื่อป้องกันอันตรายซึ่งเห็นว่าจะเกิดกับผู้ใช้บริการแต่ละบุคคล ครอบครัว กลุ่มหรือชุมชนโดยการกระทำของผู้ร่วมงาน หรือสภาพแวดล้อมของการทำงาน หรือในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง

24 ข้อที่ 7 พยาบาลรับผิดชอบในการปฏิบัติให้สังคม เกิดความเชื่อถือไว้วางใจต่อพยาบาล และต่อวิชาชีพการพยาบาล พยาบาลรับผิดชอบในการปฏิบัติให้สังคม เกิดความเชื่อถือไว้วางใจต่อพยาบาล และต่อวิชาชีพการพยาบาล มีคุณธรรมจริยธรรมในการดำรงชีวิตประกอบวิชาชีพด้วยความมั่นคงในจรรยาบรรณ และเคารพต่อกฎหมายให้บริการที่มีคุณภาพเป็นวิสัย เป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชน ร่วมมือพัฒนาวิชาชีพ ให้เจริญก้าวหน้าในสังคมอย่างเป็นเอกภาพ ตลอดจนมีมนุษยสัมพันธ์อันดีและร่วมมือกับผู้อื่นในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ทั้งในและนอกวงการสุขภาพ ในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระหว่างประเทศ

25 ข้อที่ 8 พยาบาลพึงร่วมในการทำความเจริญก้าวหน้าให้แก่วิชาชีพการพยาบาล
พยาบาลพึงร่วมในการทำความเจริญก้าวหน้าให้แก่วิชาชีพการพยาบาลร่วมเป็นผู้นำทางการปฏิบัติการพยาบาลหรือทางการศึกษา ทางการวิจัยหรือทางการบริหารโดยร่วมในการนำทิศทางนโยบาย และแผนเพื่อพัฒนาวิชาชีพ พัฒนาความรู้ ทั้งในขั้นเทคนิคการพยาบาลทฤษฎีขั้นพื้นฐาน และศาสตร์ทางการพยาบาล ขั้นลึกซึ้งเฉพาะด้าน ตลอดจนการรวบรวม และเผยแพร่ความรู้ข่าวสารของวิชาชีพ ทั้งนี้ พยาบาลพึงมีบทบาททั้งในระดับรายบุคคล และร่วมมือในระดับสถาบัน องค์กรวิชาชีพ ระดับประเทศ และระหว่างประเทศ

26 ข้อที่ 9 พยาบาลพึงรับผิดชอบต่อตนเองเช่นเดียวกับรับผิดชอบต่อผู้อื่น
พยาบาลพึงรับผิดชอบต่อตนเองเช่นเดียวกับรับผิดชอบต่อผู้อื่น เคารพตนเอง รักษาความสมดุลมั่นคงของบุคลิกภาพ เคารพในคุณค่าของงาน และทำงานด้วยมาตรฐานสูง ทั้งในการดำรงชีวิตส่วนตัว และในการประกอบวิชาชีพในสถานการณ์ที่จำเป็นต้องเสียสละ หรือประนีประนอม พยาบาลพึงยอมรับในระดับที่สามารถรักษาไว้ซึ่งความเคารพตนเอง ความสมดุลในบุคลิกภาพ และความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตของตน เช่นเดียวกับของผู้ร่วมงาน ผู้ใช้บริการ และสังคม

27 Code of Ethics ANA Autonomy การเคารพเอกสิทธิ์/ความเป็นอิสระ
Beneficence การกระทำในสิ่งที่ดี/มีประโยชน์ Nonmaleficence ไม่นำอันตรายมาสู่บุคคลอื่น Fidelity ความซื่อสัตย์/รักษาสัญญา Paternalism เปิดเผยหรือปกปิดข้อมูลดูผู้ป่วยเป็นหลัก

28 พฤติกรรมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(โดยคณะอนุกรรมการจริยธรรม สภาการพยาบาล) เกณฑ์ของจรรยาบรรณวิชาชีพ ด้านจริยธรรมทั่วไป(10ข้อ) 1) ดำเนินชีวิตโดยปฏิบัติตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ 2) ดำรงตนเป็นคนดี มีคุณธรรม มีมนุษย์สัมพันธ์ มารยาทงาม 3) รักษาเกียรติและศักดิ์ศรีของตน 4) ปฏิบัติตนด้วยการใช้ชีวิตเรียบง่ายไม่ฟุ้งเฟ้อ 5) ปฏิบัติตนตามกฎหมายบ้านเมือง

29 6) อนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของชาติ
7) เคารพในสิทธิหน้าที่ของตนและผู้อื่น 8) มีส่วนร่วมในกิจกรรมการส่งเสริม ยกย่อง สนับสนุนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหา กษัตริย์ 9) ปฏิบัติงานด้วยความยุติธรรม ไม่มีอคติ 10) ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต

30 พฤติกรรมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(โดยคณะอนุกรรมการจริยธรรม สภาการพยาบาล) ด้านจริยธรรมวิชาชีพ(40ข้อ) 11) ประกอบวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต 12) ไม่ใช้ หรือไม่ยินยอมให้ผู้อื่นประกอบวิชาชีพเพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้ 13) ปฏิบัติตนตามกฎหมายวิชาชีพและข้อบังคับของวิชาชีพ 14) ยอมรับความเชื่อและค่านิยมของผู้อื่น 15) ตระหนักในคุณค่าของตนเองและภูมิใจในวิชาชีพ

31 16) พัฒนาตนเองให้มีความยึดมั่นในคุณงามความดีและความถูกต้องชอบธรรม
17) พัฒนาตนเองให้มีความรู้ฯ ทักษะในการปฏิบัติงานที่ทันสมัยอยู่เสมอ 18) สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม 19) ปฏิบัติวิชาชีพด้วยเจตนาดีไม่คำนึงถึงความแตกต่างด้านฐานะ ศาสนา เชื้อชาติ สังคม และ การเมือง 20) ประกอบวิชาชีพโดยไม่มุ่งหวังประโยชน์ส่วนตนเกินกว่าที่พึงได้รับ

32 21) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อการเลือกใช้บริการของผู้รับบริการ
22) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้รับบริการตามสิทธิ 23) ให้บริการโดยคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวของผู้รับบริการ 24) ไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้รับบริการเว้นแต่เป็นการรักษาพยาบาล หรือต้องปฏิบัติตามกฎหมาย 25) เป็นตัวแทนผู้รับบริการที่สื่อความต้องการด้วยตนเองไม่ได้

33 26) ปกป้องการละเมิดสิทธิของผู้รับบริการในการรักษาพยาบาล
27) ประกอบวิชาชีพโดยคำนึงถึงความถูกต้อง ปลอดภัย และรวดเร็วต่อผู้รับบริการ 28) ปฏิบัติการพยาบาลตามขอบเขตวิชาชีพเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้รับบริการ 29) ส่งเสริมสนับสนุนการประกอบวิชาชีพของผู้ร่วมงาน ไม่ทับถมให้ร้าย หรือกลั่นแกล้งกัน 30) ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น และความต้องการพื้นฐานของแต่ละคน

34 31) เคารพในสิทธิ ยอมรับความสามารถ ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล
32) ยกย่องผู้มีความรู้ ความสามารถ และผู้ประพฤติดี 33) ละเว้นการส่งเสริม ปกป้องผู้ประพฤติผิด 34) ละเว้นการนำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน 35) ช่วยเหลือผู้อื่นเมื่ออยู่ในวิสัยที่ช่วยเหลือได้โดยไม่ต้องรอการร้องขอ

35 36) ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อประสานสัมพันธ์และมุ่งให้เกิดความสามัคคีในหน่วยงาน
37) ร่วมคิดและหาแนวทางแก้ไขปัญหาการประกอบวิชาชีพให้เกิดความร่วมมือที่ดีและปรับปรุง พัฒนางานสม่ำเสมอ 38) ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้ร่วมงานในทางที่ชอบ 39) ส่งเสริมความเสมอภาคในการพัฒนาและความก้าวหน้าในหน้าที่ของผู้ร่วมงานและผู้ร่วม วิชาชีพ 40) เผยแพร่ชื่อเสียงและคุณค่าของวิชาชีพด้วยความภาคภูมิใจ

36 41) อุทิศตนเป็นประโยชน์ต่อวิชาชีพเพื่อเป็นแบบอย่าง
42) ศรัทธาในการประกอบวิชาชีพของตน 43) ดำรงไว้ซึ่งสิทธิอันชอบธรรมในการประกอบวิชาชีพ 44) อุทิศเวลาในการปฏิบัติงาน เมื่อมีเหตุจำเป็นและฉุกเฉิน นอกเหนือเวลาทำงานปกติ 45) มีน้ำใจ และแสดงความเต็มใจในการให้บริการ

37 46) ไม่เรียก หรือยอมรับทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์ตอบแทนอื่นใด นอกเหนือจากสิทธิที่พึงได้รับ
47) จัด, ร่วมหรือสนับสนุนกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ หรือต่อวิชาชีพโดยไม่หวัง ผลประโยชน์ 48) ถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสังคมที่จะปกป้องสาธารณะประโยชน์ 49) ขวนขวายและอาสาในการให้บริการแก่ชุมชน โดยเฉพาะในยามวิกฤต 50) ให้ข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนอย่างถูกต้องครบถ้วน และเสมอภาค

38 เกณฑ์การประเมินพฤติกรรมจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล
1.บุคลิกภาพดี เหมาะสมในการประกอบวิชาชีพ และในการดำรงตนอยู่ในสังคม 1.1 การแต่งกายถูกต้องตามระเบียบ สะอาด เรียบร้อย 1.2 รักษาสุขวิทยาส่วนบุคคล 1.3 วางตัวได้เหมาะสมตามกาลเทศะ น่าเชื่อถือเป็นแบบอย่างที่ดี สังคมยอมรับ 1.4 กิริยาท่าทางสุภาพ น้ำเสียงอ่อนโยนใช้คำสุภาพ 1.5 คล่องแคล่ว ว่องไว 1.6 สุขภาพกายแข็งแรง 1.7 สุขภาพจิตสมบูรณ์

39 2.ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรม สอดคล้องกับค่านิยมวัฒนธรรม และกฎเกณฑ์ของสังคม
2.1 ไม่มีประวัติการทำผิดศีลธรรม 2.2 ดำรงตนอยู่ในขอบเขตกฎหมายบ้านเมือง 2.3 ซื่อสัตย์ สุจริต ไม่แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ 2.4 รักษาระเบียบ วินัย วัฒนธรรมขององค์การ 2.5 มีความเสียสละ 2.6 มีความเพียรพยายาม มานะ อดทน 2.7 ละเว้นการส่งเสริม ปกป้องผู้ประพฤติผิด 2.8 ดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อ

40 3.มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
3.1 กระตือรือร้น ให้ความช่วยเหลือผู้รับบริการและผู้ร่วมงานอย่างเต็มความสามารถ 3.2 ยกย่องให้เกียรติ เคารพในศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน 3.3 ยกย่องผู้มีความรู้ ความสามารถและผู้ประพฤติดี 3.4 สามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดี 3.5 มีความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ 3.6 ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น

41 4. แสดงความเป็นมิตรต่อผู้รับบริการและประชาชนทั่วไป
4.1 ให้การต้อนรับด้วยอัธยาศัยอันดี 4.2 สนใจรับฟังตอบข้อซักถามและอธิบายให้ผู้รับบริการทราบ ด้วยความเต็มใจ 5. ให้บริการพยาบาลด้วยความเอื้ออาทรเต็มใจ 5.1 ดูแลเอาใจใส่ ห่วงใยผู้รับบริการอย่างสม่ำเสมอด้วยความเต็มใจและเท่าเทียมกัน 5.2 แสดงออกด้วยกิริยา วาจา น้ำเสียง และสัมผัสที่อ่อนโยนอย่างเหมาะสม

42 6. รักษาสิทธิของผู้รับบริการ
6.1 ให้ข้อมูลที่ถูกต้องเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของ ผู้รับบริการ 6.2 ปกป้องสิทธิในความเป็นส่วนตัว และไม่เปิดเผยความลับ ของผู้รับบริการ 6.3 เป็นตัวแทนผู้รับบริการที่สื่อความต้องการด้วยตนเองไม่ได้ 6.4 ไม่ละเมิดสิทธิของผู้รับบริการ

43 7. มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้รับบริการและสังคม
7.1 ตรงต่อเวลา 7.2 ไม่ละทิ้งหน้าที่ 7.3 ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จครบถ้วน 7.4 ช่วยเหลืองานนอกเหนือจากงานที่ได้รับมอบหมาย ตามโอกาสอันสมควร

44 8. ให้บริการด้วยเทคนิคที่ถูกต้อง ตามขอบเขตและมาตรฐานวิชาชีพ
8.1 ปฏิบัติการพยาบาลถูกต้องตามหลักการ วิธีการ ตรงกับปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการ 9. มีการพัฒนาความรู้อย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง เกี่ยวกับการดำรงตนในการประกอบวิชาชีพ 9.1 สนใจศึกษาค้นคว้าหาความรู้และทักษะด้านศาสตร์ ทางวิชาชีพ ศาสตร์ทาง จริยธรรม และ ศาสตร์อื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์กับการปฏิบัติวิชาชีพและการดำรงตนในสังคม

45 10. มีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรวิชาชีพ
10.1 เป็นสมาชิกขององค์กรวิชาชีพ 10.2 เข้าร่วมกิจกรรมในการพัฒนาวิชาชีพ 10.3 ส่งเสริมสนับสนุน และเผยแพร่กิจกรรมวิชาชีพ 10.4 ปฏิบัติตามมาตรฐานจรรยาบรรณและกฎหมายวิชาชีพ 10.5 ติดตามข้อมูลข่าวสารของวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ

46 เกณฑ์การประเมินพฤติกรรมของพยาบาลโดยผู้รับบริการ
1) อัธยาศัยในการต้อนรับ 2) ความสุภาพและความอ่อนโยน 3) มีมนุษยสัมพันธ์ 4) ความกระตือรือร้น 5) การควบคุมอารมณ์ 6) การให้ความเสมอภาค 7) การให้เกียรติ

47 8) ตอบคำถามด้วยความเต็มใจ
9) ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ 10) รับฟังและช่วยคลี่คลายปัญหาและให้คำปรึกษา 11) รักษาสิทธิของผู้รับบริการ 12) รักษาความลับของผู้รับบริการ 13) อธิบายให้เข้าใจทั้งก่อนและหลังการให้บริการ 14) ปลอบโยนให้กำลังใจ

48 15) ความรวดเร็วและประสิทธิภาพในการบริการ
16) ความนิ่มนวลในการปฏิบัติการพยาบาล 17) มีน้ำใจ (สนใจ เต็มใจ เอาใจใส่) 18) ช่วยเหลือให้บรรเทาความเจ็บปวด หรือความไม่สุขสบาย 19) ความสะอาดเรียบร้อยในการแต่งกาย 20) พฤติกรรมโดยทั่วไปน่าเชื่อถือและน่าศรัทธา

49 การบริการที่ดีของพยาบาล
แสดงความเป็นมิตรต่อผู้รับบริการและประชาชนทั่วไป -ให้การต้อนรับด้วยอัธยาศัยอันดี -สนใจรับฟังตอบข้อซักถามและอธิบายให้ผู้รับบริการทราบ ด้วยความเต็มใจ ให้บริการพยาบาลด้วยความเอื้ออาทรเต็มใจ -ดูแลเอาใจใส่ ห่วงใยผู้รับบริการอย่างสม่ำเสมอด้วยความเต็มใจและเท่าเทียมกัน -แสดงออกด้วยกิริยา วาจา น้ำเสียง และสัมผัสที่อ่อนโยนอย่างเหมาะสม

50 รักษาสิทธิของผู้รับบริการ
-ให้ข้อมูลที่ถูกต้องเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้รับบริการ -ปกป้องสิทธิในความเป็นส่วนตัว และไม่เปิดเผยความลับของผู้รับบริการ -เป็นตัวแทนผู้รับบริการที่สื่อความต้องการด้วยตนเองไม่ได้ -ไม่ละเมิดสิทธิของผู้รับบริการ มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้รับบริการและสังคม -ตรงต่อเวลา -ไม่ละทิ้งหน้าที่ - ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จครบถ้วน - ช่วยเหลืองานนอกเหนือจากงานที่ได้รับมอบหมายตามโอกาส

51 ให้บริการด้วยเทคนิคที่ถูกต้อง ตามขอบเขตและมาตรฐานวิชาชีพ
-ปฏิบัติการพยาบาลถูกต้องตามหลักการ วิธีการ ตรงกับปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการ มีการพัฒนาความรู้อย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่องเกี่ยวกับการดำรงตนในการประกอบวิชาชีพ - สนใจศึกษาค้นคว้าหาความรู้และทักษะด้านศาสตร์ ทางวิชาชีพ ศาสตร์ทางจริยธรรม และศาสตร์อื่นๆที่เป็นประโยชน์กับการปฏิบัติวิชาชีพและการดำรงตนในสังคม

52 มีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรวิชาชีพ
- เป็นสมาชิกขององค์กรวิชาชีพ -เข้าร่วมกิจกรรมในการพัฒนาวิชาชีพ -ส่งเสริมสนับสนุน และเผยแพร่กิจกรรมวิชาชีพ -ปฏิบัติตามมาตรฐานจรรยาบรรณและกฎหมายวิชาชีพ -ติดตามข้อมูลข่าวสารของวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ

53 เรื่องใหม่ควรรู้จาก สบช.

54 จรรยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นส่วนราชการที่มีหน้าที่หลักในการให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขแก่ประชาชนเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี และสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขทุกด้านสอดคล้องกับสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ โดยให้บริการประชาชนอย่างเป็นธรรม ครอบคลุมและมีมาตรฐาน ดังนั้น การที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้แก่ประชาชนอย่างมีคุณภาพจึงขึ้นอยู่กับการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการซึ่งต้องมีจิตสำนึกในหน้าที่กระทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม เสียสละ และมุ่งประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

55 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จึงได้จัดทำจรรยาข้าราชการตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพโดยการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขทั้งในราชการบริหารส่วนกลางและราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมีเจตนารมณ์เพื่อให้ข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้มีความประพฤติดี สำนึกในหน้าที่ โดยยึดหลักคุณธรรมจริยธรรม และถือเอาประโยชน์สาธารณะเป็นที่ตั้ง เป็นข้าราชการที่ดี มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี สร้างความเลื่อมใสศรัทธา ความเชื่อถือและยกย่องจากประชาชนอาศัยอำนาจตามความในมาตรา78 และมาตรา79 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

56 ข้อ 1 ซื่อสัตย์สุจริตและรับผิดชอบ
1.1 ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเองหรือผู้อื่น 1.2 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ยึดถือผลประโยชน์ของทางราชการมากกว่าประโยชน์ส่วนตน 1.3 มีความรับผิดชอบต่อผลงานที่ได้กระทำไปแล้ว 1.4 ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ เสียสละและอุทิศเวลาให้แก่ทางราชการจนงานสำเร็จถูกต้องตามมาตรฐานของงาน 1.5 ปฏิบัติหน้าที่โดยตั้งอยู่ในความไม่ประมาท 1.6 รักษาและปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมของทางราชการ 1.7 เป็นแบบอย่างที่ดีในการดำรงตน รักษาชื่อเสียง และภาพลักษณ์ของหน่วยงานราชการ

57 ข้อ 2 ยืนหยัดและยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้อง
2.1 ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดถือความถูกต้องตามหลักวิชาการ กฎหมายและกรอบนโยบาย 2.2 ปกป้องผลประโยชน์ของชาติและประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของประชาชน 2.3 มีความกล้ายืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง 2.4 ไม่ตกอยู่ใต้อิทธิพล ไม่ใช้อิทธิพล และไม่ใช้อำนาจในทางที่ไม่ถูกต้องในการปฏิบัติงานตลอดจนการดำรงชีวิตส่วนตน เพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนในองค์กรทุกรูปแบบ 2.5 มีสัจจะและไม่สัญญาใดๆ กับบุคคลอื่นโดยมุ่งผลประโยชน์หรือความก้าวหน้าของตนเอง

58 ข้อ 3 ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมและเสมอภาค
3.1 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุภาพ มีน้ำใจเอื้ออาทรและมีจิตบริการต่อผู้มารับบริการด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม รวดเร็วและถูกต้อง โดยไม่คำนึงถึงฐานะเชื้อชาติ ศาสนาสังคม หรือลัทธิทางการเมือง 3.2 ไม่กระทำการใดอันเป็นการช่วยเหลือ อุปถัมภ์ หรือเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม 3.3 ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนได้อย่างครบถ้วน ถูกต้อง ทันการณ์และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง

59 ข้อ 4 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสและตรวจสอบได้
4.1 กำหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอน 4.2 ให้ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ โดยเปิดเผยหลักเกณฑ์ข้อมูล ขั้นตอน ระยะเวลา และวิธีการปฏิบัติงานที่ได้กำหนดไว้ตามกรอบของกฎหมาย ตามความเหมาะสมอย่างทั่วถึงและง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูล 4.3 ไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นความลับของทางราชการ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้ตนเองหรือผู้อื่นหรืออันจะเป็นภัยต่อประชาชนและประเทศชาติ 4.4 เก็บหลักฐานการปฏิบัติงานไว้พร้อมสำหรับการตรวจสอบ

60 ข้อ 5 มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
5.1 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรอบคอบ ใส่ใจ ระมัดระวัง รวดเร็ว ทันเวลาและมีคุณภาพ 5.2 พัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และความชำนาญในการปฏิบัติงาน โดยใส่ใจและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 5.3 ปรับปรุงวิธีการ กระบวนการทำงาน ตลอดจนกฎเกณฑ์ที่ไม่ชอบธรรมที่เป็นอุปสรรคต่อการบริการประชาชน 5.4 ประสานงานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 5.5 ให้ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนได้ส่วนเสียร่วมในการปฏิบัติราชการ

61 ข้อ 6 ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
6.1 ยึดถือและปฏิบัติตนตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของสังคมนำคำสอนทางศาสนาเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตด้วยความเรียบง่าย ประหยัด เหมาะสมกับฐานะของตนและสังคม โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น 6.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต อดทน และมีความเพียร ใช้ความรู้ สติปัญญา คุณธรรมเป็นภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิต 6.3 การดำเนินการใดๆ ต้องมีเหตุผล และใช้ความรู้ตามหลักวิชาการมาพิจารณาให้เชื่อมโยงอย่างรอบคอบ และระมัดระวัง โดยคำนึงถึงประโยชน์ต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ

62 ข้อ 7 ปฏิบัติตนตามค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ
7.1 มีความรักชาติ ศาสนาพระมหากษัตริย์ 7.2 ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน 7.3 กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ 7.4 ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม 7.5 รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย 7.6 มีศีลธรรม รักษาความสัตย์

63 ข้อ 7 ปฏิบัติตนตามค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ (ต่อ)
7.7 เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย 7.8 มีระเบียบ วินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่ 7.9 มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ 7.10 มีความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ 7.11 รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 7.12 คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง

64 กลไกการขับเคลื่อนจรรยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ข้อ 1 ผู้บริหารต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการประพฤติปฏิบัติตามจรรยา ข้อ 2 ผู้บริหารต้องเห็นความสำคัญในการส่งเสริมจรรยาข้าราชการโดยกำหนดนโยบายและจัดทำแผนปฏิบัติในการส่งเสริมให้ข้าราชการมีจิตสำนึกและปฏิบัติตามจรรยาของข้าราชการ ข้อ 3 ประชาสัมพันธ์ให้ข้าราชการทุกคนได้ทราบจรรยาที่ควรปฏิบัติ และยืนยันว่าจะยึดมั่นปฏิบัติจรรยา ข้อ 4 ให้หน่วยงานจัดอบรมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับจรรยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข หรือบูรณาการเข้ากับการอบรมในโครงการต่างๆ เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง เพื่อปลูกฝังและกระตุ้นจิตสำนึกในการเป็นข้าราชการที่ดี

65 กลไกการขับเคลื่อน(ต่อ)
ข้อ 5 คัดเลือกหน่วยงานและบุคลากรที่มีความประพฤติที่ดีเด่นทางด้านจรรยา เพื่อประกาศยกย่องเป็นแบบอย่างที่ดี ข้อ 6 ให้หน่วยงานกำหนดหลักเกณฑ์ในการใช้จรรยาบรรณ เช่น การให้รางวัล การให้โอกาสปรับปรุงและพัฒนาตน และการลงโทษสำหรับ ผู้ที่ฝ่าฝืน

66 ทั้งนี้ให้ข้าราชการปฎิบัติตามข้อบังคับว่าด้วยจรรยาสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ อย่างครบถ้วน และให้นำไปใช้ -ตักเตือน -แต่งตั้ง -เลื่อนเงินเดือน (ประกาศ ณ 4 ต.ค. 2560)


ดาวน์โหลด ppt จริยศาสตร์ จริยธรรม จรรยาบรรณการพยาบาล และปัญหา ดร.ภาณุ อดกลั้น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google