ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
นางลาวัณย์ ประสงค์ดี ประวัติวิทยากร ติดต่อ 097- 9205033
นางลาวัณย์ ประสงค์ดี ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ปฏิบัติหน้าที่ หัวหน้างานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ การศึกษา พยาบาลศาสตร์ - พยาบาลเฉพาะทาง(จิตเวช) - รัฐศาสตร์(สาขาความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ และการเมืองการปกครองเปรียบเทียบ - ศิลปศาสตร์(สาขาการพัฒนาชุมชน) ประวัติการทำงาน - สาธารณสุขอำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี - โรงพยาบาลทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี - สาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ – 3543 - โรงพยาบาลเก้าเลี้ยว จังหวัด นครสวรรค์ - โรงพยาบาลทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี ปัจจุบัน ติดต่อ
2
ว่าที่ร.ต.หญิงธนันพัชร อัมรนันท์
ประวัติวิทยากร ว่าที่ร.ต.หญิงธนันพัชร อัมรนันท์ ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข การศึกษา - วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาสาธารณสุข ศาสตร์ (สาธารณสุขชุมชน) - กำลังศึกษา ศิลปะบัณฑิต สาขา ออกแบบ (คอมพิวเตอร์กราฟิก) ประวัติการทำงาน - งานสุขศึกษา โรงพยาบาลทัพทัน - งาน สุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรม สุขภาพ โรงพยาบาลทัพทัน ปัจจุบัน ติดต่อ
3
งานสาธารณสุขมูลฐานของประเทศไทย
มีความสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการที่แท้ จริงของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบท ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ ๘๐ ของประเทศ และยังมีความเชื่อมโยงกับงานบริการสาธารณสุข ซึ่งรัฐได้จัดให้แก่ประชาชนอยู่แล้ว
4
องค์ประกอบของงานสาธารณสุขมูลฐาน
ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพ องค์ประกอบของงานสาธารณสุขมูลฐาน
5
“สภาพแวดล้อมของ ประเทศไทยทุกวันนี้ ส่งผลให้ประชาชน ต้องเร่งรีบในการใช้ ชีวิตประจำวัน โดยไม่ สนใจเกี่ยวกับสุขภาพ เมื่อเกิดการเจ็บป่วย จึงต้องพึ่งพาการ รักษาจาก โรงพยาบาล”
6
ความสำคัญของแนวทางการรักษาสุขภาพของคนไทย
ส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟู
7
ความสำคัญของแนวทางการรักษาสุขภาพของประเทศไทย
ส่งเสริม งบประมาณ ฟื้นฟู จำนวนคนไข้ ป้องกัน จำนวนบุคคลากร
8
ให้ประชาชนหันมาสนใจการส่งเสริมและป้องกันสุขภาพมากกว่าการรักษา
ทำอย่างไร ให้ประชาชนหันมาสนใจการส่งเสริมและป้องกันสุขภาพมากกว่าการรักษา
9
ได้ให้ความหมายของการส่งเสริมสุขภาพไว้ว่า
นายแพทย์ประเวศ วะสี ได้ให้ความหมายของการส่งเสริมสุขภาพไว้ว่า การสร้างเสริมสุขภาพเป็นยุทศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในการปฏิรูประบบสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพประกอบด้วย การที่สังคมมีจิตสำนึกหรือจินตนาการใหม่ๆในเรื่องสุขภาพดีและเกิดพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชน โรงเรียน สถานที่ทำงาน ระบบบริการสังคม สื่อมวลชน ตลอดจนนโยบาย
10
จากความหมายในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพจะเห็นได้ว่า “การส่งเสริมสุขภาพเป็นกระบวนการที่บุคคล ครอบครัวและสังคมได้รับการสนับสนุนด้านการศึกษาเพื่อให้บุคคลมีความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพให้เห็นความสำคัญของการมีสุขภาพที่ดี มีวิจารณญาณ ในการเลือกวิธีปฏิบัติที่จะได้มาซึ่งแนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพมีการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพอย่างสม่ำเสมอและถาวร การส่งเสริมสุขภาพเป็นเรื่องของการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วไปไม่ใช่เป็นแต่เรื่องของประชาชนกลุ่มเสี่ยง การส่งเสริมสุขภาพเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันกับผลที่มีต่อสุขภาพ จึงไม่ใช่ความรับผิดชอบโดยแพทย์และระบบสาธารณสุข เพียงอย่างเดียว จะต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและหน่วยงานที่มีความหลากหลายเข้าร่วมส่งเสริมพลังในการทำกิจกรรมให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เช่น สถาบันการศึกษา องค์กรพัฒนาชุมชนรวมถึงผู้นำในแต่ละชุมชนนั้นๆ ในเรื่องแหล่งบริการกระจายอย่างทั่วถึง มีความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการ ควบคุมสิ่งแวดล้อมเพื่อให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน สามรถป้องกันและหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมกันในการดำเนินกิจกรรมจนบังเกิดผลแบบบูรณการในการส่งเสริมสุขภาพ ประเวศ วะสี ( 2541:15)
11
อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี
โรงพยาบาลทัพทัน อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี
12
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทัพทัน
มีโครงสร้างและผู้รับผิดชอบงานที่ชัดเจน นายสุชิน คันศร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทัพทัน นางอโณทัย สุมากรณ์ นักกายภาพบำบัดปฏิบัติการ นางสาวลลิตา เครือทราย นักวิทยาศาสตร์การกีฬา ว่าที่ร.ต.หญิงธนันพัชร อัมรนันท์ นักวิชาการสาธารณสุข นางสาวเบญจา พุ่มแจ้ง ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่สุขศึกษา คณะทำงานคลินิกปรบเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โรงพยาบาลทัพทัน คณะกรรมการดำเนินงานคลินิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โรงพยาบาลทัพทัน นางรัตนา เกียรติเผ่า หัวหน้ากลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม นางลาวัณย์ ประสงค์ดี หัวหน้างานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ
13
“บริการให้คำปรึกษา เพื่อการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย ด้านอารมณ์ สูบบุหรี่ ดื่ม สุรา”
14
ผู้รับบริการกลุ่มเป้าหมาย “ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง”
ต้องได้รับ “ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง”
15
เพื่อสำรวจความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
เป็นหนึ่งวิธีป้องกันการเกิดโรคในทางการแพทย์เรียกว่า “การคัดกรองโรค” ค้นหาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคและค้นหาภาวะแทรกซ้อนก่อนที่โรคร้ายจะลุกลาม
16
สิ่งที่ต้องคัดกรองในผู้รับบริการกลุ่มเป้าหมาย
ไขมันในเลือด/น้ำตาลในเลือด ภาวะโภชนาการเกิน/รอบเอว พฤติกรรมการกิน/ออกกำลังกาย กล้ามเนื้อ ความดันโลหิต สูบบุหรี่/ดื่มสุรา ดัชนีมวลกาย ความแข็งแรง ไขมันในช่องท้อง สิ่งที่คัดกรองในผู้รับบริการกลุ่มเป้าหมาย
17
ประชาสัมพันธ์ติดตาม เชิงรุก เชิงรับ ส่งหนังสือเชิญ ส่งรถ รับ
ส่งไปรษณียบัตร ให้บริการครบถ้วน โทรติดตาม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ประชามสัมพันธ์
18
รูปแบบการบริการศูนย์สุขภาพดี(วัยทำงาน)
คัดกรองโรค NCD รักษาตามขั้นตอน วัคซีน การคัดกรอง โภชนาการ คลินิกเฉพาะทาง ตรวจสุขภาพ วัดความดัน บุหรี่/สุรา ป่วย ออกกำลังกาย น้ำหนัก /รอบเอว ห้องให้คำปรึกษา แพทย์/พยาบาล/นวก./วิทย์กีฬา ประวัติรับวัคซีน (DT) ผู้รับบริการ ปกติ ติดตามทุก 1 ปี กลับบ้าน สุรา/บุหรี่ 3 อ. เสี่ยง มาด้วยตนเอง สมรรถภาพ เข้ารับการปรับพฤติกรรมสุขภาพ(CBT) In body 720 ติดตามทุก 3 , 6 เดือน
19
ปัญหาสุขภาพที่ได้จากคัดกรองในผู้รับบริการกลุ่มเป้าหมาย
ไขมันในเลือดสูง ภาวะน้ำหนักเกิน กล้ามเนื้อ/ขาดความสมดุล ไขมันในช่องท้อง พบในกลุ่ม พบในกลุ่ม พบในกลุ่ม พบในกลุ่ม พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ไม่ผ่านเกณฑ์คะแนน 80 คะแนน ขาดการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง มีพฤติกรรมเนือยนิ่งติดต่อยาวนาน ชอบพบปะสังสรรค์ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ไม่ผ่านเกณฑ์คะแนน 80 คะแนน ขาดการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง มีพฤติกรรมเนือยนิ่งติดต่อยาวนาน ชอบพบปะสังสรรค์ คะแนนความแข็งแรง ต่ำกว่าเกณฑ์ มีพฤติกรรมเนือยนิ่งเป็นเวลานาน หรือพบในอาชีพที่ต้องใช้กล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นเวลานานต่อเนื่อง เช่น หมอนวด พยาบาล พนักงานขับรถ พนักงานออฟฟิต จะมีอาการปวดเมื่อยเนื่องจากกล้ามเนื้อไม่แข็งแรง พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ไม่ผ่านเกณฑ์คะแนน 80 คะแนน ขาดการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ชอบทานของมันของทอดติดต่อกันหลายวันต่อสัปดาห์ มักมีพฤติกรรมทานอาหารที่ซื้อจากตลาด
20
ตัวอย่างปัญหาสุขภาพที่ได้จากคัดกรองในผู้รับบริการกลุ่มเป้าหมาย
พบว่า คะแนนพฤติกรรมอาหาร 65 คะแนน ปริมาณไขมันสะสมในร่างกาย 33.5 Kg ( 44.1%) ความสมดุลของร่างกาย แขนขวา 2.28 Kg แขนซ้าย 2.30 Kg ขาขวา Kg ขาซ้าย Kg ไขมันในช่องท้อง (เกณฑ์ไม่เกิน 10) รอบเอว cm ความแข็งแรงของร่างกาย 59 / 100 คะแนน ผลเลือด FBS mg/dl CHO mg/dl TRI mg/dl หญิงไทย อายุ 48 ปี น้ำหนัก 75.8 Kg. มีอาชีพรับราชการครู ตัดมดลูก พฤติกรรมไม่ควบคุมการรับประทานอาหารไม่ค่อยออกกำลังกาย ชอบทางอาหารทอด ผัด รู้สึกว่าตัวเองอ้วน อึดอัดไม่สบายตัว วันที่ 4 พ.ค. 61 เข้ารับบริการคลินิกสุขภาพดี ได้รับการตรวจเพื่อคัดกรองความเสี่ยง
21
ตัวอย่างปัญหาสุขภาพที่ได้จากคัดกรองในผู้รับบริการกลุ่มเป้าหมาย
พบว่า คะแนนพฤติกรรมอาหาร 64 คะแนน ปริมาณไขมันสะสมในร่างกาย 22.4 Kg ( 44.1%) ความสมดุลของร่างกาย แขนขวา 3.49 Kg แขนซ้าย 3.53 Kg ขาขวา Kg ขาซ้าย Kg ไขมันในช่องท้อง (เกณฑ์ไม่เกิน 10) รอบเอว cm ความแข็งแรงของร่างกาย 75 / 100 คะแนน ผลเลือด FBS mg/dl CHO mg/dl TRI mg/dl HDL mg/dl LDL mg/dl ชายไทย อายุ 59 ปี น้ำหนัก 86.2 Kg. มีอาชีพรับราชการผู้อำนวยการโรงเรียน พฤติกรรมไม่ควบคุมการรับประทานอาหารไม่ค่อยออกกำลังกาย ชอบทางอาหารทอด ผัด ชอบสังสรรค์ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ วันที่ 4 พ.ค. 61 เข้ารับบริการคลินิกสุขภาพดี ได้รับการตรวจเพื่อคัดกรองความเสี่ยง
22
กลุ่มเสี่ยง/ป่วย เข้าโปรแกรมติดตามพฤติกรรม 6 เดือน
3 เดือนตรวจซ้ำ ติดตามผล จัดกิจกรรมสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามปัญหา
23
กิจกรรมสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามปัญหา กล้ามเนื้อ/ขาดความสมดุล
ภาวะน้ำหนักเกิน ไขมันในเลือดสูง กล้ามเนื้อ/ขาดความสมดุล โครงการ The winner สวยใสไร้พุง เป็นโครงการสำหรับลดน้ำหนัก ลดไขมันในช่องท้อง กิจกรรมเน้นการออกกำลังกายแบบ Cardio เช่น เต้น Line Dance ลีลาศ ชะชะช่าLine Dance โครงการ โยคะเพื่อสุขภาพ เป็นโครงการสำหรับลดไขมันในเลือด และยังแก้ไขความอ่อนตัวของร่างกาย กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต โครงการ Fit Ball เพื่อกระชับกล้ามเนื้อ เป็นโครงการสำหรับการสร้างกล้ามเนื้อ และสร้างความสมดุลให้กับร่างกาย ในคนไข้กลุ่มนี้สามารถเข้าร่วมโครงการ โยคะเพื่อสุขภาพได้
24
เจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลทัพทัน
ตัวอย่างกลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรมสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามปัญหา เจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลทัพทัน ก่อน หลัง กลุ่มเป้าหมาย โครงการ Fit Ball 24 คน น้ำหนัก เฉลี่ยเป็นร้อยละ 57.66 คะแนนพฤติกรรมอาหาร เฉลี่ยเป็นร้อยละ 72.79 กลุ่มเป้าหมาย โครงการ Fit Ball 24 คน น้ำหนัก เฉลี่ยเป็นร้อยละ 57.44 คะแนนพฤติกรรมอาหาร เฉลี่ยเป็นร้อยละ 76.63 กลุ่มเป้าหมาย โยคะเพื่อสุขภาพ 24 คน น้ำหนักเฉลี่ยเป็นร้อยละ คะแนนพฤติกรรมอาหาร เฉลี่ยเป็นร้อยละ 77.2 กลุ่มเป้าหมาย โยคะเพื่อสุขภาพ 24 คน น้ำหนัก เฉลี่ยเป็นร้อยละ 57.82 คะแนนพฤติกรรมอาหาร เฉลี่ยเป็นร้อยละ 79.42 กลุ่มเป้าหมาย โครงการ The Winner 44 คน น้ำหนัก เฉลี่ยเป็นร้อยละ 71.13 คะแนนพฤติกรรมอาหาร เฉลี่ยเป็นร้อยละ 69.66 กลุ่มเป้าหมาย โครงการ The Winner 44 คน น้ำหนัก เฉลี่ยเป็นร้อยละ 71.62 คะแนนพฤติกรรม เฉลี่ยเป็นร้อยละ 70.25
25
นางสาวสุวรรณ โตธัญญะ นางสาวไอลดา เอี่ยมพลับ
ตัวอย่างกลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรมสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามปัญหา นางสาวสุวรรณ โตธัญญะ นางสาวไอลดา เอี่ยมพลับ ก่อน หลัง ก่อน หลัง ผลเลือด FBS : 90 Cho : 221 Tri : 423 คะแนนพฤติกรรมอาหาร 77 คะแนน ผลเลือด FBS : 94 Cho : 221 Tri : 212 คะแนนพฤติกรรมอาหาร 88 คะแนน น้ำหนัก Kg คะแนนพฤติกรรมอาหาร 80 คะแนน น้ำหนัก Kg คะแนนพฤติกรรมอาหาร 67 คะแนน
26
ทำอย่างไร ให้การปฏิบัติกิจกรรม เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ สม่ำเสมอและถาวร
27
“การส่งเสริมสุขภาพเป็นกระบวนการที่บุคคล ครอบครัวและสังคมได้รับการสนับสนุนด้านการศึกษาเพื่อให้บุคคลมีความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ ให้เห็นความสำคัญของการมีสุขภาพที่ดี มีวิจารณญาณ ในการเลือกวิธีปฏิบัติที่จะได้มาซึ่งแนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพมีการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพอย่างสม่ำเสมอและถาวร” ประเวศ วะสี ( 2541:15)
28
แนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพมีการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพอย่างสม่ำเสมอและถาวร
การส่งเสริมสุขภาพไม่ใช่ความรับผิดชอบโดยแพทย์และระบบสาธารณสุข เพียงอย่างเดียว จะต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและหน่วยงานที่มีความหลากหลายเข้าร่วมส่งเสริมพลังในการทำกิจกรรมให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมกันในการดำเนินกิจกรรมจนบังเกิดผลแบบบูรณการในการส่งเสริมสุขภาพ ประเวศ วะสี ( 2541:15) เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ใน สสอ. ,รพ.สต. ,CUP เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะครู ในโรงเรียน เจ้าหน้าที่ปกครอง, กำนัน/ผู้ใหญ่
29
แนวทางวางแผนกิจกรรมสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
แต่งตั้งคณะทำงาน ประกอบด้วย ทีมหสวิชาชีพ เช่น ปลัดอำเภอ หัวหน้ากองสาธารณสุข อาจารย์ พยาบาล ตัวแทนจากหน่วยงาน ประชาสัมพันธ์การบริการ คลินิกสุขภาพดี(วัยทำงาน) ให้กับหน่วยงานต่างๆ แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ ประกอบด้วย นายอำเภอ นายยกเทศมนตรี สาธารณสุขอำเภอ ผู้อำนวยการโรงเรียน แพทย์ คัดกรองในผู้รับบริการกลุ่มเป้าหมาย โดยการตรวจสุขภาพประจำปี จัดกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพที่ได้จากคัดกรองในผู้รับบริการกลุ่มเป้าหมาย เช่น จัดกิจกรรมเข้าค่ายปรับพฤติกรรมสุขภาพ ส่งตัวแทนเข้ารับการปรับพฤติกรรมสร้างต้นแบบในองค์กร ออกกำลังการกลุ่ม 3 วัน/สัปดาห์
30
โครงการสุขภาพดี วัยทำงาน (อายุ 15-59 ปี) อำเภอทัพทัน ประจำปีงบประมาณ 2561
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรขององค์กรต่าง ๆ ในเขตอำเภอทัพทันที่มีภาวะเสี่ยงได้ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพและมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น ๒. เพื่อลดน้ำหนัก, ค่าBMI, รอบเอว, ระดับน้ำตาล และไขมันในเลือดที่สูงกว่าปกติให้อยู่ในระดับปกติ ๓. เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับชุมชนในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน
31
เป้าหมาย 1. ข้าราชการพลเรือน และข้าราชการจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น พื้นที่การศึกษา และหน่วยราชการในเขตอำเภอทัพทันที่มีภาวะเสี่ยง มีค่า BMI เกินกว่าปกติ, มีระดับน้ำตาล และไขมันในเลือดสูงกว่าปกติน้ำหนักตัวสูงกว่าปกติ จำนวน 110 คน 2. วิทยากร และทีมงาน จำนวน 5 คน (
32
วิธีดำเนินงาน 1. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ
2. ประสานงานกับหน่วยงาน และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการฯ 3. กำหนดคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการ ที่มีค่า BMI เกินเกณฑ์/มีโรคเรื้อรัง หรือมีระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ
33
4. จัดทำแผนการดำเนินงาน จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และแบบประเมินผล
5. (กิจกรรมที่ ๑) จัดพิธีเปิดศูนย์สุขภาพดี วัยทำงาน (Wellness Center) จัดอบรมชี้แจงโครงการฯ และตรวจร่างกายผู้เข้าร่วมโครงการฯ ด้วยเครื่อง Inbody ๗๒๐ สำรวจพฤติกรรมการกิน วัดความดันโลหิต และชีพจร ทดสอบสมรรถภาพ และให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ 6. (กิจกรรมที่ 2) จัดอบรมผู้เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อให้ความรู้เรื่องโรคที่เกิดจากภาวะอ้วน วิธีการลด น้ำหนัก ลดรอบเอว โภชนาการ วิธีการออกกำลังกาย
34
ผลที่คาดว่าจะได้รับ ระยะเวลาดำเนินการ มิถุนายน - กรกฎาคม 2561
1. ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้เรื่องโรคที่เกิดจากภาวะอ้วน วิธีการลดน้ำหนัก ลดรอบเอว โภชนาการ และวิธีการออกกำลังกาย 2. ได้รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่สามารถเป็นตัวอย่างได้ 3. เกิดบุคคลต้นแบบ นำไปสู่ชุมชน/องค์กรต้นแบบได้ ระยะเวลาดำเนินการ มิถุนายน - กรกฎาคม 2561
35
“การสร้างเสริมสุขภาพประกอบด้วย การที่สังคมมีจิตสำนึกหรือจินตนาการใหม่ๆในเรื่องสุขภาพดีและเกิดพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชน โรงเรียน สถานที่ทำงาน ระบบบริการสังคม สื่อมวลชน ตลอดจนนโยบาย”
36
สวัสดีค่ะ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.