งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

คลี่ข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของโรงเรียนเทศบาลเมืองทุ่งสง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "คลี่ข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของโรงเรียนเทศบาลเมืองทุ่งสง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 คลี่ข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของโรงเรียนเทศบาลเมืองทุ่งสง

2 ประเด็นนำเสนอ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของโรงเรียน คืออะไร ขั้นตอนการทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของโรงเรียน กิจกรรมอะไรในโรงเรียนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปฏิบัติการคำนวณการปล่อยและการดูดซับก๊าซเรือนกระจก ข้อสังเกตเบื้องต้นที่พบ นัดหมายส่งข้อมูลที่เสร็จสมบูรณ์ คำถามชิงรางวัล

3 คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint)
คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจาก 1. กิจกรรมในชีวิตประจำวัน 2. ผลิตภัณฑ์ 3. การดำเนินงานขององค์กร วัดออกมาในรูป กิโลกรัมหรือตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

4 คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของโรงเรียน
หมายถึง ปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก ที่เกิดจากกิจกรรมการดำเนินงานของโรงเรียน ปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก จะนำมาคิดเทียบกับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีหน่วยวัดเป็น ตัน หรือ กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

5 ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1 ตัน = ถัง 200 ลิตร จำนวน 2,824 ถัง
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1 ตัน = ถัง 200 ลิตร จำนวน 2,824 ถัง ที่มา : ดร.สุวิน อภิชาติพัฒนศิริ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

6 ทราบแหล่งปล่อย+ปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก
วัตถุประสงค์การทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของโรงเรียน ทราบแหล่งปล่อย+ปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก หามาตรการ/วางแผนลดการปล่อย/เพิ่มการดูดซับ ก๊าซเรือนกระจก โรงเรียนคาร์บอนต่ำ เมืองคาร์บอนต่ำ ลดภาวะโลกร้อน

7 ก๊าซเรือนกระจก 7 ชนิดตามพิธีสารเกียวโต
NF3

8 แหล่งกำเนิดก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ 7 ชนิด
แหล่งกำเนิดก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ 7 ชนิด ก๊าซเรือนกระจก แหล่งกำเนิด คาร์บอนไดออกไซด์ CO2 การหายใจของสัตว์/คน การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจากซากฟอสซิล (น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ) การทำลายป่า มีเทน CH4 การย่อยสลายสารอินทรีย์แบบไร้อากาศ เช่น การทำนาแบบน้ำขัง การผายลมของสัตว์ การหมักหมมของขยะอินทรีย์ การย่อยสลายในบ่อบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น ไนตรัสออกไซด์ N2O ปุ๋ยเคมีที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ และอุตสาหกรรมที่ใช้ กรดไนตริกผลิต เช่น เส้นใยไนลอน เคมี พลาสติก ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน HFCs สารดับเพลิง และสารทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศ เปอร์ฟลูออโรคาร์บอน PFCs อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตสารกึ่งตัวนำไฟฟ้า เครื่องสำอาง และยา ซัลเฟอร์เฮกซาฟลูโอไรด์ SF6 การถลุงแร่แมกนีเซียม,อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ไนโตรเจนไตรฟลูโอไรด์ NF3 อุตสาหกรรมอิเล็กโทรนิคส์ วงจรรวมขนาดเล็กสำหรับคอมพิวเตอร์

9 8 ขั้นตอนการทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของโรงเรียน
ขั้นตอนที่ 1 : การกำหนดขอบเขตขององค์กรและการดำเนินงาน ขั้นตอนที่ 2 : การวิเคราะห์แหล่งปล่อย/ดูดซับก๊าซเรือนกระจก ขั้นตอนที่ 3 : การคัดเลือกวิธีการคำนวณ ขั้นตอนที่ 4 : การเก็บข้อมูล ขั้นตอนที่ 5 : คัดเลือกค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

10 ขั้นตอนที่ 6 : การคำนวณปริมาณการปล่อย/ดูดซับ ก๊าซเรือนกระจก
ขั้นตอนที่ 7 : รายงานสรุปปริมาณการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกของโรงเรียน ขั้นตอนที่ 8 : การทวนสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล ปริมาณก๊าซเรือนกระจก

11 การรายงานข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของโรงเรียน
1.ข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1.1 การปล่อย GHG ทางตรง 1.2 การปล่อย GHG จากการใช้ไฟฟ้า 1.3 การปล่อย GHG ทางอ้อมอื่นๆ 2.ข้อมูลการดูดกลับก๊าซเรือนกระจก ต้นไม้/พื้นที่สีเขียว

12 ประเภทของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ประเภทที่ 1 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (Scope 1 Direct Greenhouse Gas Emission) ประเภทที่ 2 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมการใช้ไฟฟ้า (Scope 2 Indirect Greenhouse Gas Emission) ประเภทที่ 3 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ (Scope 3 Other Indirect Greenhouse Gas Emission)

13 การรั่วไหล (Fugitive Emission)
ประเภทที่ 1 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง การเผาไหม้ที่อยู่กับที่ (Stationary Combustion) การเผาไหม้ที่มีการเคลื่อนที่ (Mobile Combustion) การรั่วไหล (Fugitive Emission) การเผาไหม้ชีวมวล (Combustion of Biomass)

14 การเผาไหม้ที่อยู่กับที่
เครื่องตัดหญ้า เครื่องพ่นหมอกควัน ถัง LPG ปั๊มน้ำ เชื้อเพลิงชีวมวล

15 การเผาไหม้ที่มีการเคลื่อนที่

16 การรั่วไหลและอื่น ๆ อุปกรณ์ดับเพลิง

17 การรั่วไหลและอื่นๆ การใช้ปุ๋ยเคมี
น้ำเสียไม่ได้รับการบำบัด/การบำบัดน้ำเสีย การใช้ปุ๋ยเคมี

18 เป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ณ แหล่งที่ผลิตกระแสไฟฟ้า
ประเภทที่ 2 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ไฟฟ้า เป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ณ แหล่งที่ผลิตกระแสไฟฟ้า

19 ประเภทที่ 3 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ

20 ขยะในโรงเรียน

21 หลักการคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจก
ปริมาณก๊าซเรือนกระจก = ข้อมูลกิจกรรม x ค่าแฟคเตอร์ของการ ปล่อยหรือดูดซับ ก๊าซเรือนกระจก GHG emissions = Activity Data x Emission Factor

22 เอกสารอ้างอิงการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์
เครื่องมือคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในชีวิตประจำวัน แนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร แนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์

23 ปฏิบัติการคำนวณ ปริมาณการปล่อยและการดูดซับ ก๊าซเรือนกระจก (อย่างง่าย)
ปฏิบัติการคำนวณ ปริมาณการปล่อยและการดูดซับ ก๊าซเรือนกระจก (อย่างง่าย)

24

25 ข้อสังเกตเบื้องต้นที่พบจากข้อมูลของโรงเรียน
การให้ความสำคัญกับที่มาของข้อมูล นำมาซึ่งความน่าเชื่อถือปริมาณก๊าซเรือนกระจก เช่น ใบเสร็จ การสำรวจ วัดจริง ทะเบียนคุมการใช้ หรือ การประมาณค่า กะเอาด้วยสายตาทำข้อมูลคลาดเคลื่อน

26 ตัวเลขปริมาณการใช้น้ำ ใช้ไฟ ใช้กระดาษ สูงมาก
หน่วยการใช้ที่นำมาคำนวณถูกต้องหรือไม่ หากเป็นตัวเลขจำนวนเงิน นำมาใช้คำนวณไม่ได้

27 หน่วยการใช้น้ำอันใด นำมาคำนวณก๊าซเรือนกระจกได้เลย

28 ตัวเลขเท่ากันทุกเดือน เช่น การใช้น้ำมัน (ระบบโควต้าหรือไม่)
ตัวเลขปริมาณขยะน้อย มีการจัดการขยะอย่างไร ข้อมูลยังไม่ครบถ้วน

29 นัดหมายส่งข้อมูลที่ครบถ้วน วันที่ 22 กรกฎาคม 2559 ทางอีเมล envi
นัดหมายส่งข้อมูลที่ครบถ้วน วันที่ 22 กรกฎาคม 2559 ทางอีเมล

30 คำถาม 1. โรงเรียนอนุบาลรีสอร์ททุ่งสงใช้น้ำประปา ลิตร กับ โรงเรียนกีฬาเทศบาลเมืองทุ่งสง ใช้น้ำประปา ลบ.เมตร โรงเรียนใดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่ากัน และปล่อยเท่าไหร่

31 คำถาม 2.โรงเรียนใดต่อไปนี้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด เพราะเหตุใด
รร.วัดโคกสะท้อน ใช้น้ำมันเบนซินในเครื่องตัดหญ้า 100 ลิตร โรงเรียนวัดไชยชุมพล ใช้น้ำมันเบนซินในรถยนต์โรงเรียน 100 ลิตร โรงเรียนเทศบาลวัดนาเหนือ ใช้ก๊าซ LPG ในโรงอาหาร 100 กิโลกรัม


ดาวน์โหลด ppt คลี่ข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของโรงเรียนเทศบาลเมืองทุ่งสง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google