งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

พญ.มณฑา ไชยะวัฒน ศูนย์อนามัยที่5 ราชบุรี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "พญ.มณฑา ไชยะวัฒน ศูนย์อนามัยที่5 ราชบุรี"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 พญ.มณฑา ไชยะวัฒน ศูนย์อนามัยที่5 ราชบุรี
ภาวะสมองเสื่อมและการป้องกัน พญ.มณฑา ไชยะวัฒน ศูนย์อนามัยที่5 ราชบุรี

2 ความเสื่อมตามกาลเวลาของคน
อายุ>35 ปี เริ่มสายตายาว สวมแว่นตาอ่านหนังสืออายุ 45–50ปี อายุประมาณ50ปี ผมเริ่มเปลี่ยนเป็นสีดอกเลาและเริ่มล่วง ครึ่งหนึ่งของผู้ชาย หนึ่งในสี่ของผู้หญิง Menopause อายุประมาณ ปี อายุประมาณ 60–64 ปี เริ่มข้อเข่าเสื่อม(osteoarthritis ) 53% % ข้อเข่าเสื่อมทำให้เดินลำบาก ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้สูงวัย อายุ 75ปี สูญเสียการได้ยินทำให้มีปัญหาในการพูดสื่อสาร อายุประมาณ 80ปี มากกว่าครึ่งหนึ่ง (Americans) เป็นต้อกระจกและต้องรับการผ่าตัด 25% ของผู้สูงวัย อายุ มากกว่า85ปี มีภาวะหกล้ม สาเหตุการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมองแข็ง คาดว่าคนเราน่าจะมีอายุยืนที่สุดประมาณ115 ปี ในอนาคต

3 แต่งงาน มีลูก 1คน Calment celebrating her 121st birthday in 1996
Jeanne Louise Calment เกิด February 1875 (2418) Arles, France เสียชีวิต 4 August 1997(2540) (aged 122 years, 164 days) Nationality French เป็นผู้ที่ได้รับการยืนยันว่ามีช่วงอายุยืนยาวที่สุดในโลก ตั้งแต่ 12 May 1990 แต่งงาน มีลูก 1คน

4

5 อายุ65-70ปี ชายปริมาตรสมองลดลง9.6% หญิงลดลง7.4%

6 ปัญหาสุขภาพ โรคหัวใจ โรคตาเสื่อม สูญเสียความจำ ข้อเข่าเสื่อม
นิ่วในถุงน้ำดี กระดูกพรุน ความดันโลหิตสูง อ้วน อารมณ์ โลหิตจาง มะเร็ง เบาหวาน

7

8 ทำความรู้จักกับภาวะสมองเสื่อม
ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่พบมากคือ โรคอัลไซเมอร์ (50-75%) สมองเสื่อมคือ เป็นกลุ่มอาการซึ่งเกิดจากความผิดปกติในการทำงานของสมองหลายๆ ด้านพร้อมกันแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่เกิดขึ้นอย่างถาวร ส่งผลให้มีการเสื่อมของระบบ ความจำ, เข้าใจ, พิจารณา, วิเคราะห์, การควบคุมตนเองเสื่อมถอยลง อันเนื่องมาจากสมองถูกทำลาย จนส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันและความสามารถอยู่ร่วมในสังคม

9

10 สาเหตุสมองเสื่อม

11 ภาวะสมองเสื่อมเกิดจากหลายสาเหตุ
การป่วยด้วย โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน การขาดสารอาหารเช่นขาดวิตามินบี 12 กรดโฟลิก การเกิดเนื้องอกในสมอง สมองได้รับความกระทบกระเทือน อย่างรุนแรง การลื่นล้มในผู้สูงอายุ ภาวะที่เกิดขึ้นภายหลังการขาดออกซิเจนเช่น มีอาการชักซ้ำติดต่อกัน หรือมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นเวลานานๆ ภาวะอ้วนและมี กิจกรรมทางกายน้อย

12 ภาวะสมองเสื่อมเกิดจากหลายสาเหตุ
ขาดกิจกรรมออกกำลังกาย การติดเชื้อที่มีผลทางสมอง เช่น ซิฟิลิส ไวรัสสมองอักเสบและไวรัสเอดส์ ทำให้เซลล์สมองตาย และเกิดภาวะสมองเสื่อม การติดสุราเรื้อรังเป็นเวลานาน ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม โรคเสื่อมบางชนิดทำให้เกิดสมองฝ่อบางส่วน เช่น โรคพาร์กินสันทำให้เกิดอาการสั่น และเคลื่อนไหวช้า มีความเชื่อมโยงกับวัยชรา

13

14 การสำรวจความชุกของภาวะสมองเสื่อมในประชากรทั่วโลก
หญิง>ชาย >80 ปี 20% เกิน 90 ปี 50% >65 ปี 5-8%

15

16 ลักษณะอาการและระดับความรุนแรงของภาวะสมองเสื่อม
ระยะที่ 1 ภาวะสมองเสื่อมระดับเล็กน้อย ผู้ป่วยจะมีอาการหลงลืม โดยเฉพาะลืมเรื่องที่ เพิ่งเกิดขึ้น เช่น จำไม่ได้ว่าวางของใช้ไว้ที่ใด ไม่ สามารถจำชื่อสถานที่ที่คุ้นเคยได้ ไม่ค่อยมีสมาธิ เหลือเพียงความจำส่วนที่เกี่ยวข้องกับอดีตที่ยังดี อยู่ เริ่มมีความบกพร่องในการทำกิจกรรมต่างๆ และการใช้ชีวิตในสังคม แต่ยังสามารถอยู่คน เดียวได้ ช่วยเหลือตนเองได้ และยังมีการตัดสินใจ ที่ค่อนข้างดี

17 ระยะที่ 2 ภาวะสมองเสื่อมระดับปานกลาง ในระยะนี้ความจำเริ่มเสื่อมลงมากขึ้น มีความ บกพร่องในเรื่องความเข้าใจ ความสามารถใน การเรียนรู้ การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ เช่น ความสามารถในการคำนวณ การกะระยะทาง ไม่สามารถใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดได้ทั้งที่เคย ทำได้มาก่อน ทำอาหารที่เคยทำไม่ได้ ลืมชื่อ สมาชิกในครอบครัว ช่วงท้ายระยะนี้อาจมี อาการทางจิต เช่น ประสาทหลอน ดังนั้นการ ปล่อยให้ผู้มีอาการเหล่านี้อยู่ตามลำพังอาจเป็น อันตราย จึงต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด

18 ระยะที่ 3 ภาวะสมองเสื่อมขั้นรุนแรง ผู้ป่วยจำสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่ได้เลย สูญเสียความจำ อย่างรุนแรง จำญาติพี่น้องไม่ได้ หรือแม้แต่ตนเอง ก็อาจจำไม่ได้ด้วย มักเดินหลงทางในบ้านตนเอง มีความผิดปกติต่างๆ เช่น บุคลิกภาพเปลี่ยนไป เคลื่อนไหวช้า เดินช้า และอาจเกิดอาการแทรกซ้อน ที่ก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

19 จะรู้ได้อย่างไรว่าคนใกล้ตัว มีภาวะสมองเสื่อม
1. สูญเสียความจำโดยเฉพาะเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้น 2. ทำกิจวัตรประจำวันที่คุ้นเคยไม่ได้เหมือนเดิม หรือทำได้แต่ก็ยากลำบากเต็มที 3. มีปัญหาในการใช้ภาษา เช่น ลืมคำศัพท์ง่ายๆ ใช้ศัพท์ผิดความหมาย 4. สับสนวันเวลาและสถานที่ เช่น หลงวัน เวลา บอกที่อยู่บ้านตนเองไม่ได้ 5. มีการตัดสินใจอย่างไม่เหมาะสม เช่น เปิด พัดลมแรงทั้งที่อากาศเย็นมาก 6. มีปัญหาเกี่ยวกับความคิดรวบยอด เช่น ไม่ เข้าใจค่าของตัวเลข บวกลบคูณหารไม่ได้ เหมือนก่อน 7. เก็บสิ่งของผิดที่ผิดทาง เช่น เก็บเตารีดใน ตู้เย็น เก็บนาฬิกาในโถน้ำตาล 8. อารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ง่ายภายในเวลาไม่ นาน 9. บุคลิกภาพเดิมเปลี่ยนไป เช่น กลายเป็นคน ช่างสงสัย หรือหวาดกลัวง่ายกว่าเดิมมาก 10. ชอบเก็บตัว ขาดความกระตือรือร้นในการใช้ ชีวิต เลือกที่จะนั่งหรือนอนทั้งวัน ไม่อยาก พบเจอผู้คน

20

21

22

23

24 ทำอย่างไรให้ห่างไกลจากภาวะสมองเสื่อม
สร้างพฤติกรรมประจำวันให้ห่างไกลภาวะสมองเสื่อม 1.เลือกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลี่ยงอาหารที่มี ไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลสูง (เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม) เน้นกิน ปลาทะเล ช่วยป้องกันภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ ลดลงเหลือ0.4และ0.3ตามลำดับ ชะลอการลดลงของการทำงานด้านความคิดและเหตุผลของสมอง ผักและผลไม้ที่มีวิตามินซี วิตามิน อี (antioxidant)และ กรดโฟลิกสูง เช่น ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว และผักใบเขียว

25

26 BMIกับภาวะสมองเสื่อม
2. ดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติและไม่อ้วน กก/ตรม. กก/ตรม. กก/ตรม. กก/ตรม. >30กก/ตรม. 2.54เท่า 2.3เท่า 1.93เท่า 1.73เท่า ป้องกันสมองเสื่อม

27 ทำอย่างไรให้ห่างไกลจากภาวะสมองเสื่อม
3. ไม่ดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือกินยาใดๆ โดยไม่มี ความจำเป็น เพราะอาจมีอันตรายต่อสมองได้ สูบบุหรี่เพิ่มอุบัติการณ์การเกิดโรคหลอดเลือดสมองถึง2เท่า

28 4. หมั่นเข้าสังคมเพื่อการพบปะเจรจาพูดคุย กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุ กิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ อื่นๆ

29 5. ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี หากมีโรคประจำตัว ต้องติดตามการรักษาเป็นระยะและปฏิบัติ ตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด โรคความดันโลหิตสูงวัยกลางคนจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมในวัยสูงอายุ การศึกษาในฝรั่งเศสอายุเฉลี่ย65ปี BP>160/95 ติดตาม4ปี มีความเสี่ยง2.8เท่าที่จะมีคะแนนทดสอบทางจิตแบบย่อ(MMSE)ลดลง ผู้ป่วยHTที่ไม่ได้รับการรักษามีความเสี่ยง4.3เท่าที่จะมีการทำงานด้านความคิดและหาเหตุผลของสมองเสื่อมลง ผู้ป่วยHTที่ได้รับการรักษามีความเสี่ยง1.9เท่าเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่เป็นโรค

30 โรคเบาหวานชนิดที่2ร่วมกับความดันโลหิตสูงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์ โรคเบาหวานและการที่มีระดับอินซูลินในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงของทั้งโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมเนื่องจากโรคหลอดเลือดสมอง ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองนำไปสู่การเกิดภาวะสมองเสื่อม การศึกษาในหลอดทดลองHDL(apo J )สามารถยับยั้งการเกิดamyloid

31

32 6. ระมัดระวังอุบัติเหตุโดยเฉพาะการลื่นล้มที่จะ มีผลกระทบกระเทือนต่อสมองโดยตรง

33 7. หมั่นทำกิจกรรมเสริมสร้างเซลล์สมอง

34 ทำอย่างไรให้ห่างไกลจากภาวะสมองเสื่อม
8. การออกกำลังกาย ที่ทำให้เหนื่อยหรือมีการสูญเสียเหงื่อ เริ่มตั้งแต่วัยกลางคนจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ลดลงร้อยละ52และ62ตามลำดับเมื่อเข้าวัยสูงอายุ 21ปี cohort study in Finland

35 แนวทางเหล่านี้ป้องกันรักษาภาวะสมองเสื่อมได้จริงหรือ
x ผลิตภัณฑ์จากสารสกัดใบแปะก๊วย (Gingko Biloba) ยาลดไขมันกลุ่ม Statin ยา และ วิตามินเสริม ฮอร์โมนทดแทน ในเพศหญิง x x

36

37

38


ดาวน์โหลด ppt พญ.มณฑา ไชยะวัฒน ศูนย์อนามัยที่5 ราชบุรี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google