ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
รายวิชา สุนทรียภาพกับชีวิต Aesthetic Appreciation
GEH1101 3(3-0-3)
2
คำอธิบายรายวิชา การสร้างประสบการณ์การรับรู้และเข้าใจด้านศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์และการแสดงของไทย และกลุ่มประชาคมอาเซียน โดยผ่านกระบวนการพื้นฐานทางสุนทรียศาสตร์ เพื่อนำไปสู่ความซาบซึ้งและเห็นคุณประโยชน์ในความงามด้านศิลปกรรมศาสตร์
3
บทที่ 1 สุนทรียภาพ ความนำ
สุนทรียภาพมีความหมายต่างจากสุนทรียศาสตร์ กล่าวคือสุนทรียภาพมุ่งให้ความสนใจเกี่ยวกับการรู้สึกสัมผัสรับรู้ได้ของแต่ละบุคคลต่อความงามของงานศิลปะหรือสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกล่าวถึงศิลปะร่วมสมัยจะพบว่า สุนทรียภาพได้ก้าวข้ามคุณค่าด้านความงามไปสู่คุณค่าอื่นหลายรูปแบบ สุนทรียศาสตร์มุ่งให้ความสำคัญแก่การศึกษาองค์ประกอบของศิลปะตามแขนงวิชาต่าง ๆ ที่เป็นศาสตร์ด้านศิลปะ ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงสุนทรียภาพจึงต้องศึกษาความหมาย แนวคิด ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภูมิหลังเชิงประวัติของสุนทรียภาพ ความหมายของศิลปะ และความงาม เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการพรรณนาประสบการณ์สุนทรียภาพเมื่อได้สัมผัสรับรู้ผลงานศิลปะ
4
ตอนที่ 1.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสุนทรียภาพ
คำว่า สุนทรียภาพ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า aesthetic ที่มีรากคำมาจากภาษากรีก แปลว่า ผัสสะ หรือ อย่างจับใจต่อความงามทางศิลปะ หรือ รับรู้ด้วยอารมณ์ รากคำที่เป็นภาษากรีกนั้น มาจากรากคำเดิมในภาษากรีก ที่แปลว่าฉันรู้สึก สัมผัส รับรู้ได้ สรุป คำว่า สุนทรียภาพ aesthetic / esthetic หมายความว่า การรู้สึกสัมผัสรับรู้ได้ของแต่ละบุคคลต่อความงามในธรรมชาติหรืองานศิลปะ โดยอยู่นอกเหนือเจตจำนงแห่งตน
5
รุ้งกินน้ำมีเสน่ห์ทางสุนทรียภาพ
6
สุนทรียภาพ กับ สุนทรียศาสตร์
ต้นกำเนิดแนวความคิดเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์มาจากปรัชญาสาขาหนึ่งเรียกว่า คุณวิทยา หรือ อรรคฆวิทยา (axiology) ปรัชญาสาขานี้ศึกษาว่า มนุษย์จะรู้ความจริงไปเพื่ออะไร หมายความว่าอะไรควรเป็นอุดมคติสำหรับมนุษย์ มนุษย์ควรแสวงหาอะไรที่เป็นสิ่งประเสริฐสุดขณะมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ ปรัชญาสาขาคุณวิทยาจึงสามารถให้คำตอบที่ว่าด้วยคุณค่าและประเภทของคุณค่าที่ประเสริฐสุดแก่ชีวิตของคน สุนทรียศาสตร์เป็นหนึ่งแขนงย่อยของปรัชญาสาขาคุณวิทยา
7
สุนทรียศาสตร์กับสุนทรียภาพ
สุนทรียศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องด้วยศิลปะ ศึกษาศิลปะตามลักษณะของสื่อที่แสดงออก ได้แก่ วรรณกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม จิตรกรรม ดนตรี และ นาฏศิลป์ ศึกษาศิลปะตามลักษณะของการรับสัมผัส ได้แก่ ทัศนศิลป์ (visual art) โสตศิลป์ (aural art) โสตทัศนศิลป์ (audiovisual art) สุนทรียศาสตร์จึงเป็นศาสตร์ที่ช่วยปูทางไปสู่การเกิดประสบการณ์สุนทรียภาพ
8
เทพีอาโฟรไดท์เปลือยกายย่อตัวอาบน้ำ
9
ความแตกต่างระหว่างสุนทรียศาสตร์และสุนทรียภาพ
สุนทรียศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ศึกษาถึงคุณค่าและความสำคัญของศิลปะ โดยให้ความสำคัญด้านความงามและการตอบสนองรับรู้ด้วยสัมผัสต่อวัตถุธรรม สุนทรียภาพ หรือ ประสบการณ์สุนทรียภาพ (aesthetic experience) หมายถึง การตอบสนองรับรู้ด้านความงามของวัตถุธรรมที่เป็นงานศิลปะหรือที่เป็นธรรมชาติ บุคคลเกิดสุนทรียภาพผ่านการสัมผัสรับรู้ ที่อยู่นอกเหนือเจตจำนงแห่งตน จนบรรลุสภาวะสูงส่งล้ำเลิศและความงามของศิลปะและธรรมชาติ
10
คำนิยามของศิลปะและความงาม
กลุ่มคำนิยามแผนโบราณ (Traditional definitions) กลุ่มคำนิยามตามแบบแผน (Conventionalist definitions) - กลุ่มคำนิยามตามแบบแผนเชิงสถาบัน - กลุ่มคำนิยามตามแบบแผนเชิงประวัติศาสตร์ กลุ่มคำนิยามเชิงหน้าที่ (Functional definitions) สรุป ศิลปะไม่อาจนิยามความหมายได้ว่าคืออะไร
11
เมื่อศิลปะไม่มีคำนิยามที่สมบูรณ์
โลกศิลปะนับจากคริสต์ศตวรรษที่ 19 – 20 หันไปหาแนวคิดอย่างอื่นเข้ามาแทน เพื่อบ่งบอกความสำคัญของศิลปะ เช่น การแสดงออก (expression) การสื่อความหมาย (interpretation) การเห็นแจ้ง (intuition) และ ประสบการณ์ (experience) อย่างไรก็ตาม อาจสรุปรวบยอดคำนิยามของศิลปะที่มีมากมาย เพื่อให้เป็นแนวทางสำหรับศึกษาทำความเข้าใจศิลปะ ศิลปะคือ ผลผลิต (output) ของการกระทำเกี่ยวกับการเลือกสรรจัดวางตำแหน่งเรื่องราวหรือสรรพสิ่งอย่างเป็นระเบียบ โดยเจตนาเพื่อแสดงออกซึ่งความงาม ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก หรือ ปัญญา
12
คำนิยามของความงาม โลกศิลปะสงสัยไม่สิ้นสุด ว่าความงามมีอยู่จริงหรือไม่ ถ้าความงามมีอยู่จริง ความงามต้องอยู่เฉพาะกับศิลปะเท่านั้นหรือ ความงามเป็นสากลหรือไม่ ที่สำคัญที่สุดคือคำถามที่ว่า ความงามคืออะไร ความงามอยู่ที่ตาของผู้เห็น – Beauty is in the eye of the beholder. ความงามไม่มีคำนิยามที่สมบูรณ์ลงตัว
13
เมื่อความงามไม่มีคำนิยามที่สมบูรณ์
ความงาม และ ศิลปะ ตกอยู่ในสถานะและชะตากรรมเดียวกันคือ ไม่มีคำนิยามให้แก่ตนเองที่สมบูรณ์ จอร์จ แบนครอฟท์ (George Bancroft ) นักประวัติศาสตร์ นักการศึกษา ชาวอเมริกัน เสนอความเห็นเกี่ยวกับความงามว่า ความงามโดยตัวมันเองคือฉายาที่สัมผัสรับรู้ได้ของพระผู้เป็นเจ้า (Beauty itself is but the sensible image of the infinite.) หมายความว่า จักรวาลมีความงามเพราะพระผู้เป็นเจ้าทรงสร้าง พระผู้เป็นเจ้าเป็นองค์แห่งความบริบูรณ์
14
เมื่อความงามไม่มีคำนิยามที่สมบูรณ์
ดังนั้น ความซาบซึ้งความงามจึงต้องกระทำด้วยทัศนะคติสุนทรียะ (aesthetic attitude) อันหมายถึงการปราศจากขอบเขตเจตนาอื่นใดนอกจากความเบิกบานใจอันสุนทร (aesthetic enjoyment) กล่าวโดยสรุป มนุษย์ซาบซึ้งความงามด้วยทัศนคติสุนทรียะ ผ่านการรู้สึกสัมผัสรับรู้และจินตนาการ ทำให้เกิดสุนทรียภาพขึ้นภายในตัวเอง
15
ตอนที่ 1.2 ศิลปะและประสบการณ์สุนทรียภาพ
ศิลปะไม่มีคำนิยามที่ชัดเจนแก่ตัวเอง แต่ศิลปะกลับถูกสร้างสรรค์ขึ้นมามากมาย ดังนั้น จึงเกิดคำถามว่า ศิลปะควรเป็นอย่างไร และ การตัดสินคุณค่าของศิลปะควรทำอย่างไร คลีเมนท์ กรีนเบิร์ก (Clement Greenberg 1909 – 1994) นักวิจารณ์ศิลปะชาวอเมริกัน ผู้มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในโลกศิลปวิจารณ์ ได้เสนอความเห็นไว้ ดังนี้ สื่อศิลปะควรมองหาว่าอะไรทำให้ตนเองมีความพิเศษท่ามกลางสื่อศิลปะประเภทอื่น ๆ และจากนั้นจึงกลั่นตัวเองออกมาเป็นสิ่งใดก็ได้ที่มากกว่าการยืนยันความพิเศษของตนเองว่าเป็นรูปแบบ (as a form)
16
การตัดสินคุณค่าศิลปะ
ศิลปะต้องมีคุณค่า (value) ที่จะต้องถูกพิจารณาตัดสิน คุณค่าอะไรที่ควรได้รับความเห็นว่าเหมาะสมสำหรับมนุษย์ คุณค่าของศิลปะควรตัดสินจากหลักการอะไร ในที่สุดหลักการต่าง ๆ ก็ถูกเสนอออกมามากมาย จนเกิดความปั่นป่วน ปวดเศียรเวียนเกล้า หาข้อยุติลงตัวไม่ได้ ไม่ต่างไปจากการหาคำนิยามของคำว่า ศิลปะ และ ความงาม กลุ่มความเห็นเกี่ยวกับการตัดสินคุณค่าของศิลปะแบ่งเป็น 2 แนวทาง คือ ตัดสินจากคุณค่าภายนอก และ ตัดสินจากคุณค่าภายใน
17
การตัดสินศิลปะจากคุณค่าภายนอก (extrinsic value)
ผู้ที่เชื่อว่าศิลปะมีคุณค่าภายนอกที่สามารถยืนยันคุณค่าศิลปะ ว่าเป็นคุณค่าของวิถีการแสดงออกด้านจริยธรรม ความดี ความงาม งามตรึงใจ (picturesque) และอารมณ์ความรู้สึก คือ ลีโอ ตอลสตอย (Leo Tolstoy ) ตอลสตอยเชื่อว่าคุณค่าศิลปะอยู่ที่การรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น (empathy) เขากล่าวว่าศิลปะเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์ โดยผู้สร้างศิลปะได้ส่งผ่านอารมณ์ความรู้สึกของตนในการดำรงชีวิตไปถึงผู้อื่นด้วยสื่อสัญญาณภายนอกที่เห็นได้ในลักษณะใดก็ตาม และผู้อื่นสามารถรับรู้สัมผัสได้ถึงความรู้สึกเหล่านั้น
18
การตัดสินศิลปะจากคุณค่าภายใน (intrinsic value)
กลุ่มที่มีความเห็นว่าศิลปะมีคุณค่าอยู่ภายในตัวเอง (Art is valuable in and of itself.) คือกลุ่มศิลปินที่เชื่อว่า ศิลปะเพื่อศิลปะ (art for art’s sake) ความหมายของแนวความคิดดังกล่าว ศิลปินกลุ่มนี้มีความคิดว่าศิลปะมีความสูงส่งเลิศลอยน่าชื่นชมยำเกรง ซึ่งมีลักษณะตาม นัยยะของคำภาษาอังกฤษว่า “the sublime” บุคคลที่มีความคิดเห็นอย่างโดดเด่นของกลุ่มนี้คือออสการ์ ไวลด์ (Oscar Wilde ) นักเขียนชาวไอริช ผู้มีผลงานเขียนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในวงการวรรณกรรมและศิลปะ
19
ศิลปะเป็นกิจกรรมการสร้างสรรค์ของมนุษย์
20
องค์ประกอบของสุนทรียภาพ
สุนทรียภาพเป็นสากลหรือไม่ อองเดร มาลโร (André Malraux 1901 – 1976) นักเขียน นวนิยาย นักทฤษฎีศิลปะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ชาวฝรั่งเศส อธิบายว่าแนวคิดเกี่ยวกับความงามมีรากเหง้ามาจากกรอบคิดด้านศิลปะยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการล่วงมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 วิทยาการด้านสุนทรียศาสตร์สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 เข้าใจผิดในเรื่องปรากฏการณ์ร่วมสมัยนี้ โดยเห็นว่าเป็นธรรมชาติที่ยั่งยืนของศิลปะ
21
องค์ประกอบของสุนทรียภาพ
หมายความว่า ความงามเป็นเพียงคุณค่าหนึ่งด้านองค์ประกอบของสุนทรียภาพ สุนทรียภาพยังมีองค์ประกอบที่เป็นคุณค่าอื่น ๆ ร่วมอยู่ด้วยตามลักษณะของงานศิลปะหรือสภาพของธรรมชาติ ดังนั้น สุนทรียภาพจึงมิได้มีองค์ประกอบจำเพาะที่ความงามเมื่อต้องกล่าวถึงศิลปะร่วมสมัยปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม กล่าวได้ว่าเมื่อต้องตัดสินด้านสุนทรียภาพ (aesthetic judgment) ของงานศิลปะหรือสภาพของธรรมชาติ (natural environment) ซึ่งต้องใช้ความสามารถด้านการแยกแยะระดับของการสัมผัสรับรู้ ความงามยังคงเป็นองค์ประกอบหนึ่งเพื่อพิจารณาคุณค่าของศิลปะบางประเภท เพราะความงามเป็นคุณค่าที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมทางจิต (effective domain) ของมนุษย์
22
องค์ประกอบของสุนทรียภาพ
ฉะนั้น เมื่อกล่าวว่าผลงานศิลปะชิ้นนั้น ๆ มีความงาม ความหมายคือความงามมิได้เป็นความงามเฉพาะของผู้ตัดสิน แต่ความงามนั้นเป็นความงามอันเดียวกันกับความงามของคนอื่น ๆ ด้วย (sensus communis) เพราะความงามเป็นคุณสมบัติที่ปรากฏอยู่ในผลงานศิลปะที่ถูกตัดสิน มิได้เป็นความงามตามความเห็นเฉพาะของผู้หนึ่งผู้ใด นอกจากนั้น องค์ประกอบของสุนทรียภาพยังอิงอยู่กับคุณค่าอื่น ๆ ด้วย กล่าวคือประกอบด้วยคุณค่าที่มาจากรายละเอียดเฉพาะทางวัฒนธรรม (cultural specifics) ของสังคมแต่ละสังคม คุณค่าที่มาจากการกำหนดขึ้นด้วยอำนาจของชนชั้นกลาง ชนชั้นสูง และผู้ปกครอง (bourgeois-elitist-state regulation) แห่งรัฐ และ คุณค่าที่มาจากการตีความหมายเชิงปัจเจก (individual interpretations)
23
ความงามมิได้เป็นแก่นกลางของศิลปะ
24
วัฒนธรรมกำหนดคุณค่าทางสุนทรียภาพ
25
คุณค่าสุนทรียภาพเกิดจากการตีความเชิงปัจเจก
26
เกณฑ์อธิบายประสบการณ์สุนทรียภาพ
จอห์น ดูอี (John Dewey 1859 – 1952) นักปรัชญา นักจิตวิทยา นักปรัชญาเศรษฐศาสตร์ (georgist) นักปฏิรูปการศึกษา ชาวอเมริกันกล่าวว่า ประสบการณ์หนึ่งอย่างหรือหนึ่งกรณี (an experience) เป็นผลผลิต หรือบางคนอาจกล่าวว่าเป็นผลลัพธ์ (bi-product) ของปฏิสัมพันธ์สะสมต่อเนื่องระหว่างตัวสิ่งมีชีวิตเองกับสิ่งแวดล้อม
27
เกณฑ์อธิบายประสบการณ์สุนทรียภาพ
หมายความว่า ประสบการณ์หนึ่งอย่างนั้นต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่องเป็นอิสระ แต่ละห้วงแต่ละตอนของการดำเนินไปยังได้หลอมรวมเข้าเป็นเอกภาพเดียวกัน นอกจากนั้นประสบการณ์หนึ่งอย่างนั้นต้องมีความเป็นปัจเจกเอกเทศ (individual and singular) มีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดโดยตัวเอง มีโครงเรื่องของตนเอง มีคุณสมบัติเอกเทศแผ่ซ่านตลอดทั่วทั้งประสบการณ์หนึ่งอย่างนั้นอย่างกอปรไปด้วยปัญญาและอารมณ์ (intellectual and emotional)
28
เกณฑ์อธิบายประสบการณ์สุนทรียภาพ
เกณฑ์อธิบายประสบการณ์ฯ ประกอบด้วย 4 เกณฑ์ ดังนี้ ประวัติผลงานศิลปะ (History of Artwork) หมายถึง การรู้แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นมาของผลงานศิลปะนั้น ๆ เช่น หาข้อมูลจากการตอบคำถามประเภท Wh-questions ผลงานมีความพิเศษอย่างไร มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ศิลปะอย่างไร ทฤษฎีศิลปะ (Art Theory) หมายถึง แนวคิดเกี่ยวกับการกำหนดประเภทของศิลปะที่นำไปสู่ความเข้าใจรูปแบบและเนื้อหาของผลงานศิลปะ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเกิดประสบการณ์สุนทรียภาพขึ้นในตัวปัจเจกบุคคล
29
เกณฑ์อธิบายประสบการณ์สุนทรียภาพ
คุณค่าด้านสุนทรียภาพ (Aesthetic Qualities) หมายถึง คุณค่าจากองค์ประกอบของสุนทรียภาพด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านที่ตัวผลงานศิลปะ คุณค่าด้านเกณฑ์สุนทรียภาพ (Qualitative Criteria) หมายถึง คุณค่าที่เกิดจากประสบการณ์สุนทรียภาพที่รับรู้อย่างสอดคล้องกับรูปแบบ (form) และ เนื้อหา (content) ของทฤษฎีศิลปะหรือประเภทของศิลปะ
30
ผลงานภาพจิตรกรรม ชื่อ The Scream
31
ขอบคุณครับ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.