งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หน่วยที่ 2 สิทธิมนุษยชน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หน่วยที่ 2 สิทธิมนุษยชน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หน่วยที่ 2 สิทธิมนุษยชน
ตัวชี้วัด มีส่วนร่วมในการปกป้องคุ้มครองผู้อื่นตามหลักสิทธิมนุษยชน สาระการเรียนรู้ 1.ความหมาย ความสำคัญและบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน 2.การมีส่วนร่วมในการปกป้องคุ้มครองผู้อื่นตามหลักสิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตามวาระโอกาสอันควร 3. บทบาทของหน่วยงานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ที่มีบทบาทด้านมนุษยชน

2 ความหมาย (พ.ร.บ.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พุทธศักราช 2550
1. ความหมายและความสำคัญของสิทธิมนุษยชน ความหมาย (พ.ร.บ.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พุทธศักราช 2550 “สิทธิมนุษยชน หมายความว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ที่ได้รับการรับรอง หรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือตามกฎหมายไทย หรือตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม

3 ลักษณะเฉพาะของสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนที่ระบุไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน มีลักษณะเฉพาะดังต่อไปนี้ คือ ก. เป็นสิทธิที่ติดตัวมากับมนุษย์ ข. เป็นสิทธิที่เป็นสากล ค. เป็นสิทธิที่ไม่อาจถ่ายโอนให้แก่กันได้ ง. เป็นสิทธิที่ไม่อาจถูกแยกออกจากกัน

4 ประเภทของสิทธิมนุษยชน แบ่งได้ 5 ประเภท ได้แก่
ประเภทของสิทธิมนุษยชน แบ่งได้ 5 ประเภท ได้แก่  1. สิทธิพลเมือง (Civil Rights) ได้แก่ สิทธิในชีวิตและร่างกาย เสรีภาพและความมั่นคงในชีวิต ไม่ถูกทรมาน ไม่ถูกทำร้ายหรือฆ่า สิทธิในความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย สิทธิที่จะได้รับสัญชาติ เป็นต้น  2. สิทธิทางการเมือง (Political Rights) ได้แก่ สิทธิในการมีส่วนร่วมกับรัฐในการดำเนินกิจการที่เป็นประโยชน์สาธารณะ เสรีภาพในการรวมกลุ่มเป็นพรรคการเมือง เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ สิทธิการเลือกตั้งอย่างเสรี

5 3. สิทธิทางสังคม (Social Rights) ได้แก่ สิทธิการได้รับการศึกษา สิทธิการได้รับหลักประกันด้านสุขภาพ ได้รับการพัฒนาบุคลิกภาพอย่างเต็มที่ ได้รับความมั่นคงทางสังคม มีเสรีภาพในการเลือกคู่ครอง และสร้างครอบครัว เป็นต้น 4. สิทธิทางเศรษฐกิจ (Economic Rights) ได้แก่ สิทธิการมีงานทำ ได้เลือกงานอย่างอิสระ และได้รับค่าจ้างที่เหมาะสม สิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน เป็นต้น

6 5. สิทธิทางวัฒนธรรม (Cultural Rights) ได้แก่ การมีเสรีภาพในการใช้ภาษาหรือสื่อความหมายในภาษาท้องถิ่นของตน มีเสรีภาพในการแต่งกายตามวัฒนธรรม การปฏิบัติตามวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นของตน การปฏิบัติตามความเชื่อทางศาสนา การพักผ่อนหย่อนใจทางศิลปวัฒนธรรมและการบันเทิงได้โดยไม่มีใครมาบีบบังคับ เป็นต้น

7 ความสำคัญ เพื่อให้มนุษย์ทุกคน 1. ได้รับการปฏิบัติด้วยความเสมอภาคเท่าเทียมกัน 2. ได้รับการปฏิบัติอย่างยุติธรรม 3. ได้รับการส่งเสริมให้มีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

8 4. มีโอกาสมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆทางสังคม
ความสำคัญ เพื่อให้มนุษย์ทุกคน 4. มีโอกาสมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆทางสังคม 5. มีอิสระ เสรีภาพในการดำเนินชีวิต 6. มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

9

10 สนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน
โดย องค์การสหประชาชาติ และสมาชิกสหประชาชาติ 7 ฉบับ

11 ฉบับที่ 1 อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
ฉบับที่ 1 อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ฉบับที่ 2 อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ฉบับที่ 3 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ฉบับที่ 4 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ฉบับที่ 5 อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ ฉบับที่ 6. อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี ฉบับที่ 7 อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ

12

13 ก)การเคารพในศักดิ์ศรี
(ข)การไม่เลือกปฏิบัติ (ค)การมีส่วนร่วมและการเข้าร่วม (ง) การเคารพความแตกต่างและยอมรับความหลากหลาย

14 2.การมีส่วนร่วมในการปกป้องคุ้มครองผู้อื่น ตามหลักสิทธิมนุษยชน
หน้าที่ของทุกภาคส่วน (รัฐบาล + องค์กรเอกชน + ประชาชน) ปฏิบัติ รับรู้

15 ปฏิบัติ(ตามสิ่งที่รู้)
การมีส่วนร่วม รับรู้ (เกี่ยวกับ) สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล สิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการของรัฐ สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน สิทธิชุมชน สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ปฏิบัติ(ตามสิ่งที่รู้) การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การมีส่วนร่วมช่วยเหลือผู้ยากไร้ การมีส่วนร่วมสนับสนุนเด็กและเยาวชน การสร้างความเป็นเอกลักษณ์ชุมชน การมีส่วนร่วมในการให้ความเมตตา การมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ การประชาสัมพันธ์และเผยแพร่

16 3.องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนเป็นหลักการสากลที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ การเคารพสิทธิมนุษยชนจึงมีความสำคัญเหนือไปกว่าการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ข้อบังคับของสังคม หรือกฎหมาย การดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนมิได้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น หากแต่เป็นหน้าที่ของหน่วยงาน องค์กร หรือกลุ่มต่างทางสังคมด้วย

17 3.1องค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วย 1.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

18 2หน่วยงานบริหารราชการแผ่นดิน
กระทรวงพัฒนาสังคมและมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ

19 3.2 องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน
ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วย 1.มูลนิธิเด็ก 2. คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส) 3.มูลนิธิเพื่อนหญิง

20 3.3 องค์กรระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วย 1.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (The United Nations Human Rights Council : UNHRC มีบทบาทหน้าที่ในการติดตาม ตรวจสอบและดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ตั้ง –กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

21 วันนี้ (22 มิ.ย.2553) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า สภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์ เลือก นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว เอกอัครราชทูตและผู้แทนถาวรไทยประจำยูเอ็น ณ นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ เป็นประธานสภาคนใหม่ตลอด 1 ปีข้างหน้า นายสีหศักดิ์จะเข้ารับหน้าที่ต่อจากอเล็กซ์ แวน มีอูเวน ทูตจากเบลเยียม หลังได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้สมัครจากภูมิภาคเอเชียเพียงคนเดียว  ทั้งนี้ เอเชียได้รับสิทธิในการแต่งตั้งประธานคนใหม่ตามกฎ ซึ่งให้แต่ละภูมิภาคดำรงตำแหน่งประธานหมุนเวียนของสภาฯ ซึ่งมีสมาชิก 47 ประเทศ ทุกๆ 5 ปี สำหรับการเลือกนายสีหศักดิ์ในวันจันทร์ที่ผ่านมา มีขึ้นหลังจากนาวี พิลเลย์ ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ออกมาวิพากษ์วิจารณ์การประท้วงรุนแรงในไทยเมื่อไม่นานมานี้        ในเดือนที่ผ่านมา พิลเลย์ได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยรับประกันว่าจะมีการสอบสวนอย่างอิสระกรณีเหตุปะทะกัน ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 90 คน และบาดเจ็บอีกร่วม 1,800 ราย

22 2 กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติหรือยูนิเซฟ
(United Nations Children’s Fund : UNICEF )

23 ดูแลช่วยเหลือด้านมนุษยชน พัฒนาการ สุขภาพ รวมทั้งความเป็นอยู่ของเด็กทั่วโลก ดูแลพัฒนาการศึกษาพื้นฐาน ความเท่าเทียมระหว่างเพศ การปกป้องเด็กจากความรุนแรง การทำทารุณทำร้ายเด็ก การใช้แรงงานเด็ก รวมทั้งการพิทักษ์สิทธิเด็ก

24

25 3. องค์การแรงงานระหว่างประเทศหรือ ไอแอลโอ
(International Labour Organization : ILO )

26 ก่อตั้งขึ้นก่อนจะมีองค์การสหประชาชาติ ประเทศไทยมีส่วนร่วมในการริเริ่มก่อตั้ง
ภารกิจ - ช่วยเหลือแรงงานทั่วโลกให้ได้รับความเป็นธรรม

27 4. องค์การนิรโทษกรรมสากล ( Amnessty International : AI )
เป็นองค์กรเอกชน (ตั้งอยู่ในลอนดอน-อังกฤษ) จุดประสงค์-ค้นคว้า ดำเนินการป้องกันและยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชน


ดาวน์โหลด ppt หน่วยที่ 2 สิทธิมนุษยชน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google