งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การอุทธรณ์และการวินิจฉัยอุทธรณ์ ของข้าราชการกรุงเทพมหานคร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การอุทธรณ์และการวินิจฉัยอุทธรณ์ ของข้าราชการกรุงเทพมหานคร"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การอุทธรณ์และการวินิจฉัยอุทธรณ์ ของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ธีรนันต์ ไกรนิธิสม กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือ ร้องทุกข์กรุงเทพมหานคร

2 วัตถุประสงค์รายวิชา ๑. เพื่อให้ผู้ศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ นิยามและหลักการของกฎหมาย ๒. เพื่อให้ผู้ศึกษา มีความรู้และเข้าใจ เรื่องการอุทธรณ์และการวินิจฉัยอุทธรณ์ ของข้าราชการกรุงเทพมหานคร ๓. เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถนำความรู้ไปใช้ ในการปฏิบัติหน้าที่และสามารถถ่ายทอด ให้เพื่อนร่วมงาน

3 ค่านิยม ๑๒ ประการ 1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์  2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ใน สิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม  3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบา อาจารย์  4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้ง ทางตรง และทางอ้อม  5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม  6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่ และแบ่งปัน 

4 ค่านิยม ๑๒ ประการ (ต่อ) 7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง  8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จัก การเคารพผู้ใหญ่  9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราช ดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงฯ รู้จักอดออม 11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ ยอมแพ้ต่ออ านาจฝ่ายต่ า หรือกิเลส มี ความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของ ศาสนา  12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และ ของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง

5 กฎหมายเอกชน (Private Law)
กฎหมายมหาชน (Public Law) หลักนิติธรรม (The Rule Of Law) หลักนิติรัฐ (The Legal State Principle)

6 หลักนิติธรรม (The Rule Of Law)
บุคคลย่อมเสมอภาคกันต่อหน้ากฎหมาย บุคคลไม่ว่าชนชั้นใดย่อมตกอยู่ภายใต้กฎหมายปกติธรรมดาของแผ่นดิน ซึ่งบรรดาศาลทั้งหลายจะเป็นผู้รักษาไว้ซึ่งกฎหมายดังกล่าว

7 มาตรา ๓ วรรคสอง ของร่างรัฐธรรมนูญ แห่งพระราชอาณาจักรไทย พ.ศ. .....
มาตรา ๓ วรรคสอง ของร่างรัฐธรรมนูญ แห่งพระราชอาณาจักรไทย พ.ศ “การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์ตามรัฐธรรมนูญและ หน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปตามหลักนิติ ธรรม”

8 หลักนิติธรรม ๑. กฎหมายต้องเป็นธรรม มีความชัดเจน ๒. มีความเสมอภาค ใช้บังคับกับคนทุก คนเหมือนกัน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐ ๓. ต้องได้รับการประกาศใช้อย่างเปิดเผย ๔. ตราขึ้นให้มีผลบังคับไปในอนาคต ไม่มี ผลย้อนหลัง ๕. ตราขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้เกิดบังคับใช้ที่ ไม่เป็นธรรม

9 หลักนิติธรรม (ต่อ) ๖. ต้องไม่มีข้อความขัดแย้งกันเอง ๗. ต้องไม่เรียกร้องให้บุคคลปฏิบัติในสิ่งที่ ไม่อาจเป็นไปได้ ๘. ต้องมีความมั่นคง แต่เปิดโอกาสให้ แก้ไขให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ของสังคม ๙. ประกาศใช้แล้ว ต้องได้รับการบังคับให้ เป็นไปตามเนื้อหาของกฎหมาย

10 ร่างรัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๓ วรรคสอง การปฏิบัติหน้าที่ของ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์ตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงาน ของรัฐต้องเป็นไปตามหลัก นิติธรรม

11 ร่างรัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๒๑๗ หลักนิติธรรมอันเป็นรากฐาน ของรัฐธรรมนูญในระบอบ ประชาธิปไตย อย่างน้อยต้องมีหลักการ พื้นฐานสำคัญ ดังต่อไปนี้ (๑) ความสูงสุดของรัฐธรรมนูญและ กฎหมายเหนืออำเภอใจของบุคคล และ การเคารพรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ทั้ง โดยรัฐและประชาชน (๒) การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาค

12 มาตรา ๒๑๗ (ต่อ) (๓) การแบ่งแยกอำนาจ การตรวจสอบ การใช้อำนาจรัฐและการป้องกันการขัดกัน ระหว่างประโยชน์ตนเองและประโยชน์ ส่วนรวม (๔) นิติกระบวน ซึ่งอย่างน้อยต้องไม่ ใช้บังคับรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายย้อนหลัง เป็นโทษทางอาญาแก่บุคคล...

13 หลักนิติรัฐ ( The Legal State )
คือ รัฐที่ปกครองโดยกฎหมาย ไม่ใช่ โดยมนุษย์ (Government of Law and not of men) ไม่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ มีหลักการแบ่งแยกอำนาจ มีหลักการชอบด้วยกฎหมายของ การกระทำขององค์กรของรัฐ มีหลักการประกันสิทธิใน กระบวนการพิจารณาคดีและ การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม กฎหมายมีความชัดเจน ไม่มี ผลย้อนหลังเป็นผลร้าย เคารพต่อหลักความเสมอ ภาค

14 หลักกฎหมายมหาชน ๑. หลักไม่มีกฎหมาย ไม่มีอำนาจ ๒. หลักการกระทำทางปกครองต้องไม่ ขัดต่อกฎหมาย (หลักความชอบด้วยกฎหมาย) ๓. หลักความเสมอภาค ๔. หลักความพอสมควรแก่เหตุ ๕. หลักความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ๖. หลักความเป็นกลาง

15 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ กรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔ มาตรา ๔๐ การจัดระเบียบข้าราชการ กรุงเทพมหานครต้องเป็นไปเพื่อผลสัมฤทธิ์ต่อ ภารกิจของกรุงเทพมหานคร ความมีประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า โดยให้ข้าราชการ กรุงเทพมหานครปฏิบัติราชการอย่างมีคุณภาพ คุณธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

16 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง (ต่อ)
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) มาตรา ๔๑ การจัดระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัตินี้ให้คำนึงถึงระบบคุณธรรม ดังต่อไปนี้ (๑) การรับบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต้องคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ ความเสมอภาค ความเป็นธรรม และประโยชน์ของทางราชการ (๒) การบริหารทรัพยากรบุคคล ต้องคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพขององค์กรและลักษณะงาน โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่าง ไม่เป็นธรรม

17 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง (ต่อ)
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) (๓) การพิจารณาความดีความชอบ การเลื่อน ตำแหน่ง และการให้ประโยชน์อื่นแก่ข้าราชการ กรุงเทพมหานครต้องเป็นไปอย่างเป็นระบบ โดย พิจารณาจากผลงาน ศักยภาพ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรม และจะนำความ คิดเห็นทางการเมือง หรือสังกัดพรรคการเมืองมา ประกอบการพิจารณามิได้ (๔) การดำเนินการทางวินัย ต้องเป็นไปด้วย ความยุติธรรม และโดยปราศจากอคติ (๕) การบริหารทรัพยากรบุคคลต้องมีความเป็น กลางทางการเมือง

18 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง (ต่อ)
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธี พิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒

19 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง (ต่อ)
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) มาตรา ๙ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธี พิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ การ กระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ได้แก่ ๑. การกระทำโดยไม่มีอำนาจ ๒. กระทำนอกเหนืออำนาจหน้าที่ ๓. กระทำโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ๔. กระทำโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการ อันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับ การกระทำนั้น

20 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง (ต่อ)
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) ๕. กระทำโดยไม่สุจริต ๖. กระทำโดยมีลักษณะเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็น ธรรม ๗. กระทำโดยมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดย ไม่จำเป็น ๘. กระทำโดยมีลักษณะเป็นการสร้างภาระให้กับ ประชาชนเกินสมควร ๙. กระทำโดยเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ

21 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
มาตรา ๒๘๘ วรรคสอง ในการบริหารงานบุคคล ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องมีองค์กรพิทักษ์ระบบคุณธรรมของ ข้าราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างระบบคุ้มครองคุณธรรมและ จริยธรรมในการ บริหารงานบุคคล ทั้งนี้ ตามที่ กฎหมายบัญญัติ

22 พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร และบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2554
มาตรา 30 ให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร” ประกอบด้วยกรรมการจำนวนห้าคน ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งตามมาตรา 32 กรรมการ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร ต้องทำงานเต็มเวลา ให้หัวหน้าสำนักงาน ก.ก. เป็นเลขานุการของ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร

23 พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร และบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2554
มาตรา 32 วรรคหนึ่ง คณะกรรมการคัดเลือกกรรมการ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย - ประธานศาลปกครองสูงสุด - รองประธานศาลฎีกาที่ได้รับมอบหมายจาก ประธานศาลฎีกา 1 คน - กรรมการ ก.ก. ผู้ทรงคุณวุฒิ 1 คน ได้รับเลือกโดย ก.ก. - ให้หัวหน้าสำนักงาน ก.ก. เป็นกรรมการและเลขานุการ

24 พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร และบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2554
มาตรา 35 กรรมการ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร มีวาระการดำรงตำแหน่งหกปีนับแต่วันที่นายกรัฐมนตรี แต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว ให้กรรมการ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะแต่งตั้งกรรมการ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร ใหม่

25 ของกรรมการ ก.พ.ค.กรุงเทพมหานคร
การพ้นจากตำแหน่ง ของกรรมการ ก.พ.ค.กรุงเทพมหานคร นอกจากพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อ 1. ตาย 2. ลาออก 3. มีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ 4. ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 31 หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 33 5. ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก แม้จะมีการรอการลงโทษ เว้นแต่เป็นการรอการลงโทษในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท 6. ไม่สามารถปฏิบัติงานได้เต็มเวลาอย่างสม่ำเสมอ ตามระเบียบ ก.พ.ค.กรุงเทพมหานคร

26 อำนาจหน้าที่ของ ก.พ.ค.กรุงเทพมหานคร
(มาตรา 37) 1. เสนอแนะต่อ ก.ก. เพื่อให้ ก.ก. ดำเนินการจัดให้มีหรือ ปรับปรุงนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลของ กรุงเทพมหานครในส่วนที่เกี่ยวกับการพิทักษ์ระบบคุณธรรม 2. พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา 60 3. พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ตามมาตรา 64 4. พิจารณาเรื่องคุ้มครองระบบคุณธรรมตามมาตรา 66 (ต่อ)

27 5. ออกกฎ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร ข้อบังคับ ระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีการเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร และข้อบังคับ เมื่อประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ (ต่อ)

28 6. แต่งตั้งบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่ ก. พ. ค
6. แต่งตั้งบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร กำหนด เพื่อเป็นกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ กรุงเทพมหานคร หรือกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ กรุงเทพมหานคร 7. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.พ.ค. ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้

29 ข้อควรคำนึงตามระบบคุณธรรม
มาตรา 40 การจัดระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร ต้องเป็นไปเพื่อผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของกรุงเทพมหานคร ความมีประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า โดยให้ข้าราชการ กรุงเทพมหานครปฏิบัติราชการอย่างมีคุณภาพ คุณธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

30 การอุทธรณ์ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ กรุงเทพมหานคร
และบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2554 กฎ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ พ.ศ.2555

31 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ. ศ. ๒๕๓๙
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๔๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๔๘ กรณีที่คำสั่งทางปกครองใดไม่ได้ออกโดยรัฐมนตรีและไม่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองไว้เป็นการเฉพาะ ให้คู่กรณีอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองนั้น โดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว

32 พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร และบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2554
ส่วนที่ 4 การอุทธรณ์ มาตรา 60 ผู้ใดถูกสั่งลงโทษหรือสั่งให้ออกจากราชการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคำสั่ง การอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดใน กฎ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร

33 ความหมาย การอุทธรณ์ หมายถึง การที่ผู้ได้รับผลกระทบจากคำสั่งทางปกครอง และเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม มีคำขอให้ผู้ออกคำสั่งทางปกครองหรือผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ทบทวนคำสั่งนั้นใหม่ โดยให้ยกเลิก เปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือสั่งให้ดำเนินการใหม่ ให้ถูกต้องและเป็นธรรม

34 ผู้มีสิทธิอุทธรณ์ 1. ผู้ถูกสั่งลงโทษทางวินัย
โทษทางวินัยมี 5 สถาน ดังนี้ 1. ภาคทัณฑ์ 2. ตัดเงินเดือน 3. ลดเงินเดือน 4. ปลดออก 5. ไล่ออก พ.ร.บ.ระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ม. 96 , ม. 97

35 ผู้มีสิทธิอุทธรณ์ 2. ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการ มีดังนี้
พ.ร.บ.ระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ม. 110 (1) (3) (5) (6) (7) (8) 2. ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการ มีดังนี้ 2.1 เจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการ ของตนได้โดยสม่ำเสมอ

36 ผู้มีสิทธิอุทธรณ์ 2. ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการ มีดังนี้
(ต่อ) 2. ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการ มีดังนี้ 2.2 ขาดคุณสมบัติทั่วไป หรือมีลักษณะต้องห้าม คุณสมบัติทั่วไป คือ - มีสัญชาติไทย - เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ด้วยความบริสุทธิ์ใจ

37 ผู้มีสิทธิอุทธรณ์ (ต่อ) 2. ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการ มีดังนี้
2. ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการ มีดังนี้ มีลักษณะต้องห้าม (ตามมาตรา ๓๖) (๑) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (๒) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต ฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. (๓) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออก จากราชการไว้ก่อนตาม พ.ร.บ.นี้ หรือตามกฎหมายอื่น (๔) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี จนเป็นที่รังเกียจของสังคม (๕) เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง

38 มีลักษณะต้องห้าม (ตามมาตรา ๓๖) (ต่อ)
(๖) เป็นบุคคลล้มละลาย (๗) เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๘) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (๙) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น (๑๐) เป็นผู้ถูกลงโทษไล่ออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่น (๑๑) เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ หรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ

39 ผู้มีสิทธิอุทธรณ์ (ต่อ) 2. ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการ ตามมาตรา ๕๙
2. ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการ ตามมาตรา ๕๙ ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามวรรคหนึ่ง .... ถ้าผู้นั้นมีผล การประเมินทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้ ไม่ว่าจะครบกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการแล้วหรือไม่ก็ตาม

40 ผู้มีสิทธิอุทธรณ์ (ต่อ) ๓. ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการ ตามมาตรา ๖๗
๓. ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการ ตามมาตรา ๖๗ กรณีเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง โดยไม่ได้รับอนุมัติจาก ก.พ. ตามมาตรา ๖๒ ๔. ถูกสั่งให้ออกจากราชการในกรณีต่อไปนี้ (๑) ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๑๐๑ (ถูกตั้งกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำผิดอาญา) (๒) ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๑๑๐ ได้แก่ ก. เจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ ข. ไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการ ค. หย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการบกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ ถ้าให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจะเสียหายแก่ราชการ

41 ผู้มีสิทธิอุทธรณ์ ง. มีกรณีถูกสอบสวนว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ตามมาตรา 93 และผลการสอบสวนไม่ได้ความแน่ชัด พอที่จะฟังลงโทษตามมาตรา 97 วรรคหนึ่ง แต่มีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวน ถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ

42 ผู้มีสิทธิอุทธรณ์ จ. ต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งของศาล ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก

43 การอุทธรณ์แทน (ข้อ ๒๓) (ข้อ ๒๔)
กรณีผู้อุทธรณ์ถึงแก่ความตายก่อนใช้สิทธิอุทธรณ์ ทายาทผู้มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอดมีสิทธิอุทธรณ์แทนได้ (ข้อ ๒๓) ผู้มีสิทธิอุทธรณ์จะมอบหมายให้ทนายความ หรือ บุคคลอื่นที่บรรลุนิติภาวะ ทำการอุทธรณ์แทนได้ กรณีมีเหตุจำเป็นดังนี้ - เจ็บป่วยจนไม่สามารถอุทธรณ์ด้วยตนเอง - อยู่ในต่างประเทศไม่อาจอุทธรณ์ด้วยตนเองได้ทันเวลา - มีเหตุจำเป็นอย่างอื่นที่ ก.พ.ค.กรุงเทพมหานคร หรือองค์คณะวินิจฉัยเห็นสมควร (ข้อ ๒๔)

44 การยื่นอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์ต้องเป็นผู้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร (ข้อ ๒๒) ต้องยื่นภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันได้ทราบ หรือถือว่าได้ทราบคำสั่งที่เป็นเหตุแห่งการ อุทธรณ์ (คำสั่งลงโทษหรือคำสั่งให้ออกจาก ราชการ) ผู้อุทธรณ์ตายก่อนยื่นอุทธรณ์ ทายาทต้อง ยื่นอุทธรณ์ภายใน ๙๐ วัน นับแต่วัน ทราบหรือถือว่าได้ทราบคำสั่งฯ หรือหนึ่งปี นับแต่วันที่ผู้ถูกสั่งลงโทษหรือสั่งให้ออกจาก ราชการ

45 สาระสำคัญของหนังสืออุทธรณ์ (ข้อ 27)
1. ต้องทำเป็นหนังสือถึงประธาน ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร 2. ใช้ถ้อยคำสุภาพ 3. มีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ - ระบุชื่อ ตำแหน่ง สังกัดและที่อยู่ของผู้อุทธรณ์ - คำสั่งที่เป็นเหตุแห่งการอุทธรณ์ และวันที่รับทราบคำสั่ง - ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ยกขึ้นเป็นข้อคัดค้านคำสั่ง ที่เป็นเหตุแห่งการอุทธรณ์ - คำขอของผู้อุทธรณ์ - ลายมือชื่อผู้อุทธรณ์ 4. หนังสือมอบหมาย (ในกรณีมอบหมายให้ดำเนินการแทน)

46 ประเด็นที่อุทธรณ์ อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง 2. อุทธรณ์ในข้อกฎหมาย 3. อุทธรณ์ในระดับโทษ

47 การถอนอุทธรณ์ อุทธรณ์ที่ยื่นไว้แล้ว ผู้อุทธรณ์อาจถอนอุทธรณ์ในเวลาใดๆ ก่อนที่องค์วินิจฉัย จะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้นก็ได้ (ข้อ ๓๓) การถอนอุทธรณ์ต้องทำเป็นหนังสือ (ข้อ ๓๓) ๓. การออกราชการของผู้อุทธรณ์ ไม่เป็นเหตุให้ยุติการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ (ข้อ ๓๕)

48 การพิจารณารับคำอุทธรณ์
เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร เป็นผู้ถูกสั่งลงโทษทางวินัยหรือสั่งให้ออกจากราชการ ยื่นอุทธรณ์ได้สำหรับตนเองเท่านั้น ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ อยู่ในอำนาจของผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ ยื่นอุทธรณ์ถูกต้องใช้ถ้อยคำสุภาพ มีสาระสำคัญตามที่กำหนด (มีคำขอ/ลงลายมือชื่อ) ๗. ไม่ต้องห้ามที่จะรับอุทธรณ์ไว้พิจารณา

49 การพิจารณาอุทธรณ์ ใช้ระบบไต่สวน (ข้อ ๕)
การยื่นเอกสารหลักฐาน อาจยื่นด้วยตนเอง/มอบฉันทะ/ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน (ข้อ ๑๑) ในการแจ้งคำผู้รับไม่อยู่/อยู่แต่ไม่รับ ให้วางหรือปิดหนังสือไว้ (ข้อ ๑๔) พยาน/บุคคลภายนอก/ผู้มีส่วนได้เสียขอตรวจดูเอกสารได้ (ข้อ ๑๖)

50 การคัดค้านกรรมการวินิจฉัย (ข้อ ๓๙)
ผู้อุทธรณ์อาจคัดค้านกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ ในกรณีดังต่อนี้ (๑) รูเห็นเหตุการณ์ในการกระทําผิดวินัยที่ผูอุทธรณถูกลงโทษหรือการกระทําที่ ผูอุทธรณ ถูกสั่งใหออกจากราชการ (๒) มีสวนไดเสียในการกระทําผิดวินัยที่ผูอุทธรณถูกลงโทษหรือการกระทําที่ ผูอุทธรณถูกสั่งใหออกจากราชการ (๓) มีสาเหตุโกรธเคืองกับผูอุทธรณ (๔) เปนผูกลาวหา หรือเปนหรือเคยเปนผูบังคับบัญชาผูสั่งลงโทษ หรือสั่งใหออกจากราชการ (๕) เปนผูมีสวนเกี่ยวของกับการดําเนินการทางวินัยหรือการสั่งใหออกจากราชการของผู้นั้น (๖) มีความเกี่ยวพันทางเครือญาติหรือทางการสมรสกับบุคคลตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)

51 สิทธิของคู่กรณี 1. ขอตรวจดู ทราบ คัดสำเนาหรือขอรับสำเนา (ข้อ ๑๕) 2. มีสิทธิอุทธรณ์จะมอบหมายให้ทนาย / บุคคลผู้บรรลุนิติภาวะทำการอุทธรณ์แทนได้ (ข้อ ๒๔) 3. มีสิทธินำทนายความ / ที่ปรึกษาของตนเข้ามาในการพิจารณาได้ (ข้อ ๒๔) 4.ผู้อุทธรณ์ตาย ทายาทผู้มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอด มีสิทธิอุทธรณ์แทนได้

52 สิทธิของคู่กรณี ๕. ผู้อุทธรณ์ขอยื่นถอนอุทธรณ์ได้ (ข้อ ๓๓) ๖. ยื่นอุทธรณ์แล้วผู้อุทธรณ์ตาย ทายาทผู้จัดการมรดก ผู้รับสิทธิของผู้นั้นขอเข้ามาแทนที่ผู้อุทธรณ์ได้ภายใน ๙๐ วัน (ข้อ ๒๔)

53 สิทธิของพยานและบุคคลภายนอก
พยานเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการให้ถ้อยคำของตนในสำนวน หรือบุคคลภายนอก ผู้มีส่วนได้เสีย มีสิทธิตรวจดูเอกสารทั้งหมดหรือบางฉบับในสำนวน หรือ ขอคัดสำเนาหรือขอสำเนาอันรับรองถูกต้องก็ได้ เว้นแต่ (๑) บุคคลภายนอก ในสำนวนที่พิจารณาโดยไม่เปิดเผย (๒) พยานหรือบุคคลภายนอก ในสำนวนที่ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร ห้าม เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือประโยชน์สาธารณะ (๓) พยานหรือบุคคลภายนอก ในกรณีที่กฎหมายคุ้มครองให้ไม่ต้องเปิดเผย หรือจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ของรัฐและราชการ

54 ระยะเวลายื่นอุทธรณ์ (ข้อ 29) ผู้ถูกลงโทษ, ผู้ถูกให้ออก ทายาท ก.พ.ค.
วันทราบ หรือ ถือว่าทราบคำสั่ง 30 วัน ผู้ถูกลงโทษ, ผู้ถูกให้ออก ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร วันทราบ หรือ ถือว่าทราบคำสั่ง 90 วัน ทายาท วันที่ผู้ถูกสั่งลงโทษ หรือถูกสั่งให้ออก ถึงแก่ความตาย 1 ปี

55 ผู้อุทธรณ์ออกจากราชการ ผู้อุทธรณ์ถึงแก่ความตายก่อนการวินิจฉัยอุทธรณ์
(ข้อ 35) ไม่เป็นเหตุให้ยุติการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์ถึงแก่ความตายก่อนการวินิจฉัยอุทธรณ์ ให้รอการวินิจฉัยอุทธรณ์จนกว่าทายาท ผู้จัดการมรดก หรือผู้รับสิทธิของผู้นั้นจะมีคำขอเข้ามาแทนที่ผู้อุทธรณ์ หรือผู้มีส่วนได้เสียจะมีคำขอเข้ามา โดยมีคำขอเข้ามาเอง หรือโดยองค์คณะวินิจฉัยเรียกเข้ามา เนื่องจากคู่กรณี ในอุทธรณ์มีคำขอ

56 กำหนดระยะเวลาการพิจารณาอุทธรณ์
(มาตรา 61) ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ข้อยกเว้น - กรณีมีเหตุขัดข้องที่ทำให้การพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายใน 120 วันให้ขยายเวลาได้อีกไม่เกิน 2 ครั้ง แต่ละครั้ง ไม่เกิน 60 วัน - ให้บันทึกเหตุขัดข้องให้ปรากฏไว้ด้วย ในกรณีที่ไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด และผู้อุทธรณ์เห็นว่า ได้รับความเสียหาย ให้ถือว่าผู้อุทธรณ์เป็นผู้ได้รับเดือดร้อนหรือเสียหายตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

57 ขั้นตอนการแสวงหาข้อเท็จจริง
ผู้อุทธรณ์ คู่กรณีในอุทธรณ์ คำอุทธรณ์ คำแก้อุทธรณ์(30 วัน) คำคัดค้าน คำแก้อุทธรณ์(15 วัน) คำแก้อุทธรณ์เพิ่มเติม (15 วัน)

58 อำนาจ ก.พ.ค.กรุงเทพมหานคร
การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย (ข้อ 84 ก.) 1. ยกอุทธรณ์ 2. ให้ยกเลิกคำสั่ง 3. ให้ลดโทษ 4. ให้ยกโทษ 5. ให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความ ให้เป็นการถูกต้องเหมาะสม เพิ่มโทษไม่ได้ เว้นแต่ ได้รับแจ้งจาก ก.ก. ว่าสมควรเพิ่มโทษ

59 อำนาจ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร อุทธรณ์คำสั่งให้ออกจากราชการ
(ข้อ 84 ข.) 1. ให้ยกอุทธรณ์ 2. ให้ยกเลิกคำสั่ง และให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการเสียใหม่ ให้ถูกต้อง 3. ให้ยกเลิกคำสั่ง และให้ผู้อุทธรณ์กลับเข้ารับราชการต่อไป 4. ให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความให้เป็นการถูกต้องเหมาะสม กรณีเห็นสมควรเยียวยาความเสียหายให้ผู้อุทธรณ์ หรือดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ให้มีคำวินิจฉัยตามระเบียบ ที่ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร กำหนด

60 ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว
( มาตรา 62 ) ให้ผู้บังคับบัญชาตาม ม.52, ม.53, ม.54 ดำเนินการตามคำวินิจฉัยภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่มีคำวินิจฉัย - ผู้บังคับบัญชาไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัย ถือว่า จงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิด ความเสียหายแก่บุคคลอื่น

61 ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร ศาลปกครอง คำสั่งลงโทษ หรือคำสั่งให้ออก (มาตรา 62)
อุทธรณ์ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร กรณีผู้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัย ให้ฟ้องคดีภายใน 90 วัน ศาลปกครอง

62 วินัยและการรักษาวินัย ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ. ศ
วินัยและการรักษาวินัย ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๘๐ ต้องรักษาวินัยโดยกระทำการหรือไม่กระทำการ ตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ โดยเคร่งครัด มาตรา ๘๑ ต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความ บริสุทธิ์ใจ

63 วินัยและการรักษาวินัย (ต่อ)
วินัยและการรักษาวินัย (ต่อ) มาตรา ๘๒ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ต้องกระทำการอันเป็นข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑) ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม (๒) ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตาม กฎหมาย กฎ ระเบียบของทางราชการ มติ ของคณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐบาล และ ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ (๓) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้บังเกิด ผลดี หรือความก้าวหน้าแก่ราชการด้วย ความตั้งใจ อุตสาหะ เอาใจใส่ และรักษา ประโยชน์ของทางราชการ

64 วินัยและการรักษาวินัย (ต่อ)
วินัยและการรักษาวินัย (ต่อ) (๔) ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่ สั่งในหน้าที่ราชการ โดยชอบด้วยกฎหมายและ ระเบียบของทางราชการ โดยไม่ขัดขืนหรือ หลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติตามคำสั่งนั้น จะทำให้เสียหายแก่ทางราชการ หรือจะเป็น การไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการจะต้อง เสนอความเห็นเป็นหนังสือทันที เพื่อให้ ผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่งนั้น และเมื่อได้เสนอ ความเห็นแล้ว ถ้าผู้บังคับบัญชายืนยันให้ปฏิบัติ ตามคำสั่งเดิม ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม (๕) ต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ จะ ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้ (๖) ต้องรักษาความลับของทางราชการ (๗) ต้องสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี และต้องช่วยเหลือกันในการปฏิบัติราชการ ระหว่างข้าราชการด้วยกันและผู้ร่วมปฏิบัติ ราชการ

65 วินัยและการรักษาวินัย (ต่อ)
วินัยและการรักษาวินัย (ต่อ) (๘) ต้องต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความ เป็นธรรม และให้ความสงเคราะห์แก่ประชาชน ผู้ติดต่อราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตน (๙) ต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการ ปฏิบัติหน้าที่ราชการและในการปฏิบัติการอื่นที่ เกี่ยวข้องกับประชาชน กับจะต้องปฏิบัติตาม ระเบียบของทางราชการว่าด้วยมารยาททาง การเมืองของข้าราชการด้วย (10) ต้องรักษาชื่อเสียงของตน และรักษาเกียรติ ศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้ เสื่อมเสีย (11) กระทำการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.

66 วินัยและการรักษาวินัย (ต่อ)
วินัยและการรักษาวินัย (ต่อ) มาตรา 83 ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่ กระทำการใดอันเป็น ข้อห้าม ดังต่อไปนี้ (1) ต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้อง แจ้งถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย (2) ต้องไม่ปฏิบัติราชการอันเป็นการ กระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้น แต่ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้ กระทำหรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้ง คราว (3) ต้องไม่อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัย ตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนหาประโยชน์ ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น

67 วินัยและการรักษาวินัย (ต่อ)
วินัยและการรักษาวินัย (ต่อ) (4) ต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ (5) ต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำ การหาผลประโยชน์ อันอาจทำให้เสีย ความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของ ตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน (6) ต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือ ผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะ งานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท (7) ต้องไม่กระทำการอย่างใดที่เป็นการกลั่น แกล้ง กดขี่ หรือข่มเหงกันในการปฏิบัติ ราชการ (8) ต้องไม่กระทำการอันเป็นการล่วงละเมิด หรือคุกคามทางเพศตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.

68 วินัยและการรักษาวินัย (ต่อ)
วินัยและการรักษาวินัย (ต่อ) (9) ต้องไม่ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงประชาชน ผู้ติดต่อ ราชการ (10) ไม่กระทำการอื่นใดตามที่กำหนดใน กฎ ก.พ.

69 วินัยและการรักษาวินัย (ต่อ)
วินัยและการรักษาวินัย (ต่อ) มาตรา 84 ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่ ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติตาม มาตรา 81 และมาตรา 82 หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83 ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัย มาตรา 85 การกระทำผิดวินัยในลักษณะ ดังต่อไปนี้ เป็นความผิดวินัย อย่าง ร้ายแรง (1) ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ราชการโดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่าง ร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการ ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต (2) ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มี เหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการ อย่างร้ายแรง

70 วินัยและการรักษาวินัย (ต่อ)
วินัยและการรักษาวินัย (ต่อ) (3) ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราว เดียวกันเป็นเวลาเกินสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุอัน สมควรหรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจง ใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ (4) กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว อย่างร้ายแรง (5) ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง หรือทำร้ายประชาชนผู้ติดต่อราชการอย่าง ร้ายแรง (6) กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษ จำคุกหรือโทษที่หนักกว่าโทษจำคุกโดยคำ พิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือให้รับโทษที่หนัก กว่าโทษจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิด ที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิด ลหุโทษ

71 วินัยและการรักษาวินัย (ต่อ)
วินัยและการรักษาวินัย (ต่อ) (7) ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 82 หรือฝ่าฝืน ข้อห้ามตามมาตรา 83 อันเป็นเหตุให้เสียหาย แก่ราชการอย่างร้ายแรง (8) ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 80 วรรคสอง และมาตรา 82 (11) หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตาม มาตรา 83 (10) ที่มีกฎ ก.พ. กำหนดให้เป็น ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

72 กองพิทักษ์ระบบคุณธรรม
สำนักงาน ก.ก. โทรศัพท์ ๐๒ ๒๑๔๖๖๑๑ - ๒ โทรสาร ๐๒ ๒๑๔๖๖๑๓ - ๔


ดาวน์โหลด ppt การอุทธรณ์และการวินิจฉัยอุทธรณ์ ของข้าราชการกรุงเทพมหานคร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google