ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยEvangelista Giuseppe ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
2
ISO ย่อมาจาก International Organization for Standardization คือ องค์การมาตรฐานสากล หรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เป็นองค์กรที่ออกมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ และอุตสาหกรรม ได้ก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ ประเทศสมาชิกเริ่มแรก 25 ประเทศ ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งสิ้น 117 ประเทศ สำนักงานอยู่ ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศให้เป็นที่ยอมรับทั่วโลก รวมทั้งพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เพื่อขยายการค้าระหว่างประเทศ มาตรฐานที่องค์กรนี้ออกมา จะใช้ชื่อนำหน้าว่า ISO เช่น ISO 9000 และ ISO ซึ่งก็เป็นมาตรฐานที่ว่าด้วยระบบบริหารคุณภาพ และระบบบริหารสิ่งแวดล้อม
3
มาตรฐาน ISO 9000 ISO 9000 คือ การจัดระบบการบริหารเพื่อประกันคุณภาพ ที่สามารถตรวจสอบได้ โดยผ่านระบบเอกสาร ISO 9001 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกำกับดูแลทั้งการออกแบบ และพัฒนาการผลิต การติดตั้ง และการบริการ
4
ISO 9002 มาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกำกับดูแลเฉพาะการผลิต การติดตั้ง และการบริการ
5
มาตรฐาน ISO 14000 คือ มาตรฐานสากลว่าด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นมาตรฐานที่กำหนดให้องค์การมีการจัดตั้งระบบการบริหารที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมขององค์การนั้นๆ ซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมายและข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อมขององค์การนั้นๆ มาตรฐาน ISO จะครอบคลุมถึงการฝึกอบรมพนักงาน การจัดการด้านความรับผิดชอบ และระบบต่างๆที่ต้องทำงาน มาตรฐาน ISO ประกอบด้วย
6
ข้อกำหนดของระบบจัดการสิ่งแวดล้อม
ISO ข้อกำหนดของระบบจัดการสิ่งแวดล้อม ISO การตรวจประเมินสิ่งแวดล้อมและคุณสมบัติผู้ตรวจประเมิน ฉลากสิ่งแวดล้อมสำหรับผลิตภัณฑ์ ISO ISO การตรวจวัดผลปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อม ประเมินวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ISO คำนิยามและศัพท์ ISO 14050
7
ประโยชน์ของ มาตรฐาน ISO
2. พนักงานภายในองค์กร/บริษัท 1. องค์กร/บริษัท 3. ผู้ซื้อ/ผู้บริโภค - การจัดองค์กร การบริหารงาน การผลิตตลอดจนการให้บริการมีระบบ และมีประสิทธิภาพ - ผลิตภัณฑ์และบริการ เป็นที่พึงพอใจของลูกค้าหรือผู้รับบริการและได้รับการยอมรับ - ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กร - ประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว - มีการทำงานเป็นระบบ - เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน - พนักงานมีจิตสำนึกในเรื่องของคุณภาพมากขึ้น - มีวินัยในการทำงาน - พัฒนาการทำงานเป็นทีมหรือเป็นกลุ่มมีการประสานงานที่ดี และสามารถพัฒนาตนเองตลอดจน เกิดทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน - มั่นใจในผลิตภัณฑ์และบริการ ว่ามีคุณภาพตามที่ต้องการ - สะดวกประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องตรวจสอบคุณภาพซ้ำ - ได้รับการคุ้มครองด้านคุณภาพความปลอดภัยและการใช้งาน
8
การประกันคุณภาพทางการศึกษา
ISO การประกันคุณภาพทางการศึกษา
9
โรงเรียนมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพของนักเรียน ให้เป็นผู้ประพฤติดีและมีความรู้ ซึ่งจะดำเนินการอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อสนองตอบต่อความต้องการ ของผู้ปกครองและชุมชน ด้วยจิตสำนึกที่มีความรับผิดขอบ ของครูอาจารย์การประกันคุณภาพทางการศึกษา เป็นกระบวนการยกระดับสถานศึกษาให้มีมาตรฐาน เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ปกครองและสังคมว่า สถานศึกษาสามารถจัดการศึกษาได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน นักเรียนที่จบการศึกษามีคุณสมบัติตามความคาดหวัง ของหลักสูตรและมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา เป็นที่ยอมรับของสังคม
10
สาเหตุที่ต้องมี การประกันคุณภาพ
11
สภาพปัจจุบันของการศึกษามีสภาพดังนี้
1. ผู้จบการศึกษาไม่มีคุณภาพ ไม่สนองตอบต่อสังคม 2. ไม่มีมาตรฐานกลางของโรงเรียนทั้งด้านกระบวนการผลิต และ การนำหลักสูตรไปใช้ในการเรียนการสอน 3. ไม่มีมาตรการกำกับการดำเนินงานของโรงเรียนอย่างจริงจัง
12
4. ไม่มีการเสริมแรงเพื่อยกย่องให้รางวัลความก้าวหน้าแก่ผู้มีผลการปฎิบัติงานสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐาน
5. ไม่มีความสมดุล มีความสับสน ความไม่ชัดเจนเชิงนโยบาย เช่น การรวม อำนาจ การกระจายอำนาจ การให้อิสระแก่โรงเรียน การให้โรงเรียนอยู่ในความดูแลของท้องถิ่น การจัดรายวิชามาตรฐาน ความรู้ความสามารถและคุณธรรมของนักเรียน
13
บรรณานุกรม อนุศักดิ์ ฉิ่นไพศาล. (2557) ความเป็นมาของมาตรฐานสากล ISO 9000(History of ISO 9000). กรุงเทพฯ : วี พริ้น . ISO คืออะไร มีกี่ประเภท. [ออนไลน์]. ได้จาก: [สืบค้นเมื่อ วันที่ 6 กันยายน 2561]. วิภาดา ใสยาเย็น. (2559). มาตรฐาน ISO [ออนไลน์]. ได้จาก: [สืบค้นเมื่อ วันที่ 6 กันยายน 2561]. นโยบายคุณภาพ. [ออนไลน์]. ได้จาก: [สืบค้นเมื่อ วันที่ 8 กันยายน 2561].
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.