งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิชาทักษะเครื่องสายสี 1 (Violin)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิชาทักษะเครื่องสายสี 1 (Violin)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิชาทักษะเครื่องสายสี 1 (Violin)
e-Learning วิชาทักษะเครื่องสายสี 1 (Violin)

2 บทที่ 2 การแนะนำให้รู้จักเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายสี
ภาพที่ 1 ขอขอบคุณ แสดงลักษณะไวลโอลิน

3 การตั้งสาย (Tuning) การตั้งสายคือรากฐานที่สำคัญของการปฏิบัติ ควรตั้งสายอยู่เสมอเพื่อให้เสียงถูกต้อง ในการตั้งเสียงควรใช้ เครื่องตั้งเสียงสำหรับช่วยตั้งเสียง เพื่อปรับเสียงให้ได้มาตรฐานที่ถูกต้องและยังสามารถใช้เปียโนในการตั้ง สายได้อีกด้วย และการติดตั้ง (Fine-tuners) เพื่อการปรับเสียงที่สะดวกและถูกต้อง แต่ข้อควรระวัง ผู้เรียนไม่ควรตั้งสาย(Tuning)เองในเบื้องต้นต้องให้ครูผู้สอนหรือผู้มีประสบการณ์ ตั้งสายตั้งให้ เพราะผู้เรียนที่ยังไม่มีประสบการณ์ตั้งสายอาจเกิดอันตรายจากการตั้งสายได้เนื่องจาก เครื่องสีมีความตึงสายมากกว่าเครื่องดีดมาก การตั้งสายเบื้องต้น ในเบื้องต้นแนะนำให้เป็นหน้าที่ของผู้สอนเท่านั้น หรือผู้ที่มีทักษะในการตั้งสายโดยตรง เนื่องจากเครื่องสายสี มีความตึงสูงมากอาจขาดได้ง่ายและรุนแรงอาจทำให้บาดเจ็บได้ อันดับแรก ควรตั้งสาย A ในความถี่ 440 ก่อน ตามด้วย D,G และ E และเช็คอีกครั้ง เพราะมือเรา หมุนลูกบิดสายหนึ่งจะทำให้สายอื่นเสียงไม่ตรงไปด้วยปรับจนเสียงเข้าที่ เทคนิคพิเศษควรดันลูกบิดเพื่อ ล็อคขณะจูนเสียงเพื่อไม่ให้ลูกบิดคลายตัวแต่ห้ามดันแรงมากเกินไปเพราะจะทำให้ลูกบิดบิดยากในการ จูนสายครั้งต่อไปเพราะต้องจูนทุกครั้งเมื่อเราจะเล่นไวโอลิน นอกจากนี้หย่องก็ต้องคอยดูไม่ให้เอียง ลักษณะการยืนหย่องที่ดีต้อง แอ่นเป็นคนแบกโลกนิดนิด ไม่เอียงโน้มไปด้านหน้า

4 ตำแหน่งสายทั้ง 4 รูปที่ 3 รูปแสดงตำแหน่งสายไวโอลินในตำแหน่งต่าง ๆขอขอบคุณ

5 การตั้งสายไวโอลิน การตั้งสายไวโอลินนั้น ควรตั้งสาย 2 ก่อนคือสาย ลา แล้วตามด้วยสาย 1 คือ สาย มี และสาย 3 คือสาย เร และสายสุดท้ายคือสาย 4 คือสาย ซอล และ สภาพอากาศมีส่วนสำคัญเพราะส่งผลกระทบโดยตรงกับไม้เสียงที่ตั้งจึงมีโอกาศ เปลี่ยนแปลงได้ง่าย เพราะฉะนั้นการจูนสายจึงต้องทำตลอดทุกครั้งก่อนเล่น เพราะถือเป็นความสำคัญอันดับต้น ๆ เพราะสายที่เพี้ยน ทำให้เมื่อเล่นเสียง เพี้ยน นักดนตรีฝึกปฏิบัติไปหูก็เพี้ยน เล่นก็เพียนอาจเป็นปัญหาต่อการเล่นมาก จึงขอแนะนำเป็นข้อหลักปฏิบัติในการเล่นเครื่องสายสากล

6 เทคนิคในการเลือกไวโอลิน
รูปที่ 5 รูปแสดงเทคนิคในการเลือกไวโอลินขอขอบคุณ

7 ไวโอลิน กับการเลือก ถ้าเป็นไวโอลินตัวแรกไม่ว่าของเด็กเล็ก เด็กโตหรือของผู้ใหญ่ ถ้าเลือกไม่เป็นอย่างน้อยที่สุด ก็คงต้องดูว่าลูกบิด บิดอยู่หรือไม่ เพราะถ้าหลวม ลื่น บิดแล้วไม่ติด และไม่นำไปแก้ไขก่อน ใช้เรียน ก็จะมีปัญหาในการตั้งเสียง เพราะตั้งเสียงไม่อยู่ เรียนไป ๆ ก็ยังจำเสียงตัวโน๊ตที่ ถูกต้องไม่ได้สักที เสียงเพี้ยนตลอด หรือถ้าให้ดีที่สุดก็ต้องซื้อจากร้านที่เซ็ทอัพมาให้ทุกอย่าง แล้วจะได้ใช้เรียนได้อย่างสบายใจ เรื่องเสียงอย่าไปเน้นแต่แรกว่าจะต้องแบบนั้นแบบนี้สำหรับไวโอลินตัวแรก เหตุผลง่าย ๆ คือ ทุกตัวถ้านำไปปรับแต่งเสียงก็จะดีขึ้น หรือถ้าไวโอลินทำมาดีแล้วมีมาตรฐานพอควร แม้ เสียงไม่ถูกใจนักก็ควรเลือกใช้ฝึกไปก่อน เมื่อเล่นเป็นแล้วต่างหากนักเรียนถึงจะมีความ ชัดเจนขึ้นว่าชอบไวโอลินเสียงแนวไหนกันแน่ คนที่เล่นเป็นแล้วส่วนใหญ่ไม่มีไวโอลินตัว เดียวหรอกส่วนมากมีเกินหนึ่งกันทั้งนั้นเพราะต้องการใช้ไวโอลินที่มีคุณภาพสูงขึ้นและมี เสียงที่ถูกใจนั่นเอง ส่วนคันชักที่มาเป็นชุดของไวโอลินเกรดนักเรียนก็พยายามเลือกแบบที่ ไม้คันชักมีความงอน ไม้คันชักไม่บิดซ้ายหรือบิดขวา หรือไม้อ่อนจนเกินไปก็จะเป็นการเลือก ที่ปลอดภัย

8 การเลือกไวโอลินเกรดดี
เนื่องจากเป็นของดี มีราคา ก็เลยต้องมีความพิถีพิถันหน่อย ฝรั่งเขาแนะว่ามี 4 ขั้นตอนที่ ควรนำไปใช้ในการประเมินคุณภาพไวโอลิน ในที่นี้เขาหมายถึงไวโอลินเกรดมาตรฐานได้รับ การเซ็ทอัพมาในระดับหนึ่งแล้วเท่านั้น  เขาให้ข้อสังเกตุดังนี้ในการคัดเลือกดังนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องพอใจอันดับแรกคือ พื้นเสียงของไวโอลิน ซึ่งหมายถึง ว่ามีเสียงแหลม หรือ นุ่มนวล รื่นหู หรือ เสียงหวาน ฯลฯ ทดสอบได้โดยการเล่น สเกลหรือ บทเพลงสั้น ๆ โดยไม่ใช้ วิบราโต้ (Vibrato) และให้เล่นโดยใช้คันชัก ที่มีคุณภาพดีที่สุดที่มีใช้เป็นของ ตนเอง จับจ้องที่สุ้มเสียงที่เกิดขึ้น ความชัดเจนของเสียง และความดังกังวาน การตอบสนอง ที่รวดเร็วต่อการสี โดยทดสอบที่ละสาย อย่างไรก็ตามคำจำกัดความว่า เสียงดี นั้นเป็น ความชอบเฉพาะบุคคล นอกจากนี้แล้วยังต้องสังเกตถึงความสม่ำเสมอ มีสมดุลของสายทุก สายว่าต้องเท่ากันด้วย หากไม่ชอบน้ำเสียงตั้งแต่ต้นก็ไม่ต้องทดสอบอีก แสดงว่าไวโอลินตัว นี้เราไม่ชอบแน่นอนแล้ว ตัดออกไปจากตัวเลือกได้เลย

9 วิธีที่ฝรั่งแนะนำในการเลือกคันชัก
รูปที่ 6 รูปแสดงเทคนิคในการเลือกโบว์ ไวโอลินขอขอบคุณ

10 คำอธิบาย ปกติเมื่อเลือกซื้อไวโอลินระดับนักเรียน เขาเรียกว่าเป็นแบบชุด มักมีคันชักแถม มาให้อยู่แล้วไม่ต้องซื้อใหม่เว้นแต่คุณภาพด้อยจริง ๆ ใช้งานลำบาก ส่วนคนที่ ต้องการซื้อคันชักดี ๆ การทดสอบประสิทธิภาพแบบที่ฝรั่งแนะนำก็น่าจะเป็น แนวทางหนึ่งที่ควรนำไปใช้ คันชักที่มีคุณภาพด้อยกว่ามาตรฐานมากเช่นคันชักที่แถมมากับไวโอลินจีนราคา ถูก หรือคันชักที่ขายเดี่ยวราคาถูกมาก ๆ ก็คงไม่สามารถทดสอบตามคำแนะนำ ด้านล่างนี้ได้ การทดสอบคงดูได้เฉพาะความแข็งแรงของแท่งไม้เลือกที่แท่งตรง ไม่บิดเบี้ยว ดูน้ำหนักว่าเหมาะมือหรือไม่ และทดสอบเสียงว่าพอรับได้หรือไม่ เท่านั้น  

11 ส่วนคันชักที่มีมาตรฐานดีนั้นฝรั่งเขาแนะนำว่าการทดสอบคันชักมีสี่ขั้นตอนสามารถนำไปใช้ได้ดังนี้ 
ขั้นแรกไม่ว่าผู้เล่นอยู่ในระดับใด ควรคำนึงเสมอว่าเราต้องมีความพอใจ ในเสียงของไวโอลินเวลาใช้ คันชักนั้นเล่น (หาคันชักคุณภาพดีใช้ ก่อนซื้อไวโอลินที่ดีขึ้นกว่าตัวเดิมอาจเป็นทางเลือกที่ดี เพราะ ทำให้ไวโอลินตัวเก่าของเราเสียงดีขึ้น นอกจากนี้คันชักที่มีคุณภาพดีมากก็ยังมีราคาไม่สูงเท่าการ เปลี่ยนไวโอลินตัวใหม่) การทดลองเล่นสเกลต่าง ๆ โดยไม่ใช้เทคนิควิบราโต้  ขณะทดสอบให้จดจ่อ อยู่กับสุ้มเสียง เสียงมีความคมชัด กลมกลืนตลอดหัวจรดปลายคันชัก คันชักกินสายหรือไม่ เล่น ง่ายหรือไม่ คันชักที่ซื้อควรมีประสิทธิภาพของข้อแรกนี้ ถ้าคันชักไม่ผ่านการทดสอบในขั้นแรก ก็ไม่ ต้องพิจารณาสิ่งอื่น ขั้นตอนที่สอง หากผู้เล่นมีความสามารถในระดับที่สูงขึ้นในการใช้คันชักต้องพิจารณาน้ำเสียง และ ความดังว่าระยะห่างที่จะได้ยินเสียงอยู่ใกล้ ไกล เพียงใด ทดสอบโดยใช้เทคนิควิบราโต้แบบสั้น แบบยาว ทดลองเล่นให้เสียงดังและเสียงเบาโดยไม่ให้ได้ยินเสียงเสียดสีของสายและหางม้าแทรกให้ ได้ยิน ทดลองลากคันชักลงโดยใช้เทคนิค เครสเซนโดส์-Crescendos ตลอดความยาวของ หางม้าไปจนถึงปลายคันชัก ขั้นตอนสุดท้าย เมื่อคันชักนั้นผ่านขั้นตอนต่าง ๆ มาแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายต้องนำมาเปรียบเทียบกับ คันชักอันเดิมที่ใช้อยู่ว่าดีกว่าหรือไม่ อย่างไรบ้าง เช่น เสียงดีกว่า มีสปริงดีกว่า เล่นคล่องขึ้นและ ควบคุมง่ายกว่า การเทียบก็สามารถเทียบโดยการใช้การทดสอบเบื้องต้นมาเทียบ แล้วในที่สุดต้องมี ความมั่นใจในการตัดสินใจว่า ต้องการหรือไม่


ดาวน์โหลด ppt วิชาทักษะเครื่องสายสี 1 (Violin)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google