ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยSimon Houston ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
พฤติกรรมของสัตว์ กลไกการเกิดพฤติกรรมของสัตว์ ประเภทพฤติกรรมของสัตว์
ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับพัฒนาการของระบบประสาท การสื่อสารระหว่างสัตว์
2
กลไกการเกิดพฤติกรรมของสัตว์
พฤติกรรม (Behavior) หมายถึง กิริยาอาการแสดงออกทุกรูปแบบของสิ่งมีชีวิตเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าทั้งภายนอกและภายใน เป็นการแสดงออกที่เห็นได้จากภายนอก โดยรูปแบบของพฤติกรรมต่างๆ นั้น เป็นผลมาจากการทำงานร่วมกันของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม การเกิดพฤติกรรมของสัตว์ต้องมีสิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้น (stimulus) มากระตุ้น แล้วสัตว์นั้นจะตอบสนอง (respond) ต่อสิ่งเร้า ซึ่งจะออกมาในรูปแบบต่างๆ เช่น การวิ่ง การร้องไห้ การกินอาหาร และการสืบพันธุ์
3
สิ่งเร้า (Stimulus) หมายถึง สิ่งที่มากระตุ้นให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองเกิดเป็นพฤติกรรมขึ้น แบ่งได้ 2 ชนิด คือ 1. สิ่งเร้าภายนอก (external stimuli) คือสิ่งเร้าที่อยู่นอกตัวผู้แสดงพฤติกรรม เช่น อาหาร แสงสว่าง ความร้อน น้ำ สารเคมี เสียง แรงดึงดูดของโลก 2. สิ่งเร้าภายใน (internal stimuli) คือสิ่งเร้าที่อยู่ภายในตัวของผู้ที่แสดง พฤติกรรมเอง เช่น ความกระหาย ความหิว ความต้องการทางเพศ
4
การศึกษาพฤติกรรมของสัตว์ เป็นการศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนพื้นฐานทางสรีระวิทยาที่มีผลต่อการแสดงพฤติกรรมของสัตว์ 1. วิธีทางสรีรวิทยา (physiological approach) เป็นการศึกษาพฤติกรรมโดยอาศัยพื้นฐานทางสรีรวิทยาของสัตว์มาอธิบายพฤติกรรมของสัตว์นั้น * การนำความรู้ด้านสรีรวิทยาของระบบประสาทมาอธิบายพฤติกรรมที่เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อ 2. วิธีทางจิตวิทยา ( psychological approach) เป็นการ ศึกษาผลของปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการแสดงออกของพฤติกรรมใน สัตว์ * การศึกษาพฤติกรรมของนกนางนวลหัวดำ ที่เอาเปลือกไข่ไปทิ้งทุกครั้งหลังลูกนกฟักออกมา
5
ประเภทพฤติกรรมของสัตว์
1. พฤติกรรมที่มีมากตั้งแต่กำเนิด (innate behavior) 2. พฤติกรรมเรียนรู้ (learned behavior) พฤติกรรมที่มีมาตั้งแต่กำเนิด (innate behavior) แสดงออกเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น เช่น แสง เสียง สารเคมี เป็นพฤติกรรมที่ได้รับการถ่ายทอด โดยไม่ต้องเรียนรู้มาก่อน เป็นพฤติกรรมที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละสปีชีส์ เปลี่ยนแปลงไม่ได้ โอเรียนเตชัน (orientation reflexes) รีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง (chain of reflexes)
6
โอเรียนเตชัน (orientation reflexes) = พฤติกรรมที่สิ่งมีชีวิตตอบสนองต่อปัจจัยทางกายภาพ ทำให้เกิดการวางตัวที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต การว่ายน้ำของปลาในลักษณะที่หลังตั้งฉากกับแสงอาทิตย์ การวางตัวทำมุมในแนวตั้งฉากกับแสงอาทิตย์ของกิ้งก่า ไคเนซิส (kinesis) เป็นการเคลื่อนที่เข้าหาหรือออกจากสิ่งเร้า โดยมีทิศทาง ไม่แน่นอน พบในโพรโทซัวหรือสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่ระบบประสาทยังไม่เจริญดี
7
การตอบสนองต่อความชื้นของเหาไม้
การตอบสนองต่ออุณหภูมิของพารามีเซียม
8
การตอบสนองของจิ้งหรีดเพศเมียต่อเสียงร้องของจิ้งหรีดเพศผู้
แทกซิส (taxis) เป็นการเคลื่อนที่เข้าหาหรือออกจากสิ่งเร้าโดยมีทิศทางแน่นอน พบในสิ่งมีชีวิตที่มีหน่วยรับความรู้สึกดี การตอบสนองของจิ้งหรีดเพศเมียต่อเสียงร้องของจิ้งหรีดเพศผู้ การตอบสนองต่อแสง ของผีเสื้อกลางคืน
9
พฤติกรรมการเขี่ยไข่กลับรัง
รีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง (chain of reflexes) รีเฟล็กซ์ = พฤติกรรมที่แสดงออกและตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ทันที ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาท รีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง เป็นพฤติกรรมที่เป็นแบบแผนแน่นอน (fixed action pattern หรือ FAP) เมื่อสัตว์ถูกกระตุ้นโดยสิ่งเร้าจากภายนอก สัตว์ที่เริ่มแสดงพฤติกรรมนี้จะแสดงต่อเนื่องจนจบถึงแม้จะถูกรบกวนโดยสิ่งเร้าอื่น พฤติกรรมการชักใย ของแมงมุม พฤติกรรมก้าวร้าว ของปลาหลังหนาม พฤติกรรมการเขี่ยไข่กลับรัง ของห่านเกรย์แลค
10
พฤติกรรมการดูดนมของเด็กอ่อน
พฤติกรรมการสร้างรังของนก พฤติกรรมเรียนรู้ (learned behavior) เป็นพฤติกรรมที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ เนื่องมาจากประสบการณ์ ได้รับอิทธิพลจากยีนและสิ่งแวดล้อม แบ่งเป็น 6 ประเภท คือ 1) พฤติกรรมความเคยชิน 2) พฤติกรรมการฝังใจ 3) การเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข 4) การลองผิดลองถูก 5) การลอกเลียนแบบ 6) การรู้จักใช้เหตุผล
11
1) พฤติกรรมความเคยชิน (habituation) เป็นพฤติกรรมที่สัตว์ลดหรือหยุดตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ซ้ำๆกัน เนื่องจากสิ่งเร้านั้นไม่มีผลต่อการดำรงชีวิต จึงเป็นพฤติกรรมที่ต้องอาศัยประสบการณ์เป็นพื้นฐาน และสัตว์สามารถจดจำสิ่งเร้านั้นได้
12
การทดลองของ Konrad Lorenz
2) พฤติกรรมการฝังใจ (imprinting) เป็นพฤติกรรมที่ถูกกำหนดมาแล้วโดยยีน จะเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต โดยช่วงเวลาการเรียนรู้จะถูกควบคุมโดยพันธุกรรม ทำให้แต่ละสปีชีส์มีช่วงเวลาในการเรียนรู้แตกต่างกัน parental imprinting = พฤติกรรมการเรียนรู้แบบฝังใจที่เกิดขึ้นระยะแรกเกิดของสัตว์ sexual imprinting = พฤติกรรมการเรียนรู้แบบฝังใจที่ขึ้นในระยะหลังเมื่อเจริญเติบโตแล้ว ทำให้สัตว์สปีชีส์เดียวกันจดจำกันได้เมื่อ ถึงระยะผสมพันธุ์ การทดลองของ Konrad Lorenz
13
3) การเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข (classial conditioning) การที่สัตว์เรียนรู้ที่จะนำสิ่งเร้าใหม่มาทดแทนสิ่งเร้าเดิม ในการกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองตามธรรมชาติ สิ่งเร้าเดิมซึ่งปกติกระตุ้นให้สัตว์เกิดการตอบสนอง = สิ่งเร้าที่ไม่เป็นเงื่อนไข (unconditioned stimulus) สิ่งเร้าใหม่ที่ปกติไม่กระตุ้นให้สัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนอง= สิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข (conditioned stimulus) Ivan Petrovich Pavlov
14
การเรียนรู้แบบมีเงื่อนไขของสุนัข
สิ่งเร้าแท้จริงของการกระตุ้นให้สุนัขน้ำลายไหล (สิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไข) คือ อาหาร สิ่งเร้าไม่แท้จริง (สิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข) คือ เสียงกระดิ่ง
15
4) การลองผิดลองถูก (trial and error)
การที่สัตว์เรียนรู้ที่จะเชื่อมโยงพฤติกรรมหนึ่งกับการได้รับรางวัลหรือการถูกลงโทษ โดยเมื่อสัตว์ได้รับรางวัลก็จะแสดงพฤติกรรมนั้นซ้ำ แต่เมื่อถูกลงโทษสัตว์ก็จะหลีกเลี่ยงการแสดงพฤติกรรมนั้นอีก
16
5) การลอกเลียนแบบ (obsetvational learning) เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากสัตว์ดูพฤติกรรมของสัตว์อื่น และเกิดการเรียนรู้แล้วทำตาม
17
6) การรู้จักใช้เหตุผล (insight learning หรือ reasoning) เป็นพฤติกรรมชั้นสูงของการเรียนรู้ ที่สัตว์สามารถแสดงได้ถูกต้องตั้งแต่ครั้งแรก ถึงแม้ว่าสัตว์นั้นไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน โดยจะนำเอาประสบการณ์มากกว่า 2 อย่างขึ้นไปซึ่งได้รับในเวลาต่างกันมารวมเป็นประสบการณ์ใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่กำลังเผชิญอยู่
18
ความสัมพันธ์ระหว่างระบบประสาทกับพฤติกรรมของสัตว์
ชนิดของสิ่งมีชีวิต ระบบประสาท พฤติกรรม มนุษย์ -สมองส่วนหน้าเจริญดี การใช้เหตุผลที่ซับซ้อน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม -สมองส่วนหน้าเจริญขึ้น สมองส่วนกลางขนาดลดลง การเรียนรู้ที่ซับซ้อน การใช้เหตุผลบ้าง สัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำ สมองส่วนหน้ายังไม่พัฒนาเมื่อเทียบกับสมองส่วนกลาง - การเรียนรู้แบบง่าย สัตว์ไม่มีกระดูก สันหลัง ไม่มีสมองที่แท้จริง ระบบประสาทไม่ซับซ้อน มีปมประสาทอยู่บ้าง และเซลล์ประสาทต่อกันเป็นร่างแห พฤติกรรมเป็นมาแต่กำเนิด รีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง โพรโทซัว สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ไม่มีระบบประสาท แทกซิส ไคนีซิส รีแฟล็กซ์
19
เปรียบเทียบพฤติกรรมที่พบในสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ
20
การสื่อสารระหว่างสัตว์
การสื่อสารด้วยเสียง (sound communication) ก ลูกไก่อยู่ในครอบแก้ว และส่งเสียงร้อง แม่ไก่ ไม่ได้ยินเสียง ไม่แสดงพฤติกรรม ข แม่ไก่แสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อเสียงร้อง ของลูกไก่ แม้มองไม่เห็นลูกไก่
21
การสื่อสารด้วยท่าทาง (visual communication)
22
การสื่อสารด้วยสารเคมี (chemical communication)
23
การสื่อสารด้วยการสัมผัส (tactile communication)
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.