งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การบริหารจัดการองค์การ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การบริหารจัดการองค์การ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การบริหารจัดการองค์การ
บทที่ 1. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร

2 การจัดองค์การ (Organizing)
การจัดความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง ๆ คือ ตัวบุคคล และหน้าที่การงาน เพื่อทำให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพสามารถบรรลุเป้าหมายได้ จะสามารถกำหนดได้จากโครงสร้างองค์การ (Organization Structure) หรือแผนภูมิขององค์การ (Organization Chart)ซึ่งเป็นแผนภูมิที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจถึงอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ ของแต่ละบุคคล

3 องค์การ Input Process Output
การรวมตัวที่ค่อนข้างถาวรของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่มีความสนใจร่วมกันที่ต้องการจะดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหมู่คณะ ในการดำเนินงานจำเป็นต้องมีการแบ่งหน้าที่กันปฏิบัติของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล Input Process Output

4 เครื่องมือและอุปกรณ์
แผนดำเนินงานองค์การ ปัจจัย Input กระบวนการ Process ผลผลิต Output คน การวางแผน ผลิตผล เงิน การจัดองค์การ บริการ วัสดุ การจัดบุคคล ผลกำไร เครื่องมือและอุปกรณ์ - เทคโนโลยี การอำนวยการ ความพอใจ การควบคุม

5 การจัดองค์การ (Organizing)
ปัจจัย Input คือ ทรัพยากรเพื่อการลงทุน เช่น คน เงิน วัตถุดิบ เครื่องจักร เทคโนโลยี รวมถึงที่ดินและอาคาร

6 การปฏิบัติ การผลิต การทำงาน การบริหารจัดการ
กระบวนการ Process การปฏิบัติ การผลิต การทำงาน การบริหารจัดการ การวางแผน การจัดองค์การ ประกอบด้วย การจัดบุคคล การอำนวยการสั่งการ การควบคุม เพื่อการดำเนินงาน

7 การจัดองค์การ (Organizing)
ผลผลิต Output ผลลัพธ์ของการดำเนินงานตามกระบวนการเป็นผลการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายต่างๆ ผลิตผล เช่น การผลิตสินค้าต่างๆที่เป็นการบริการ สถานพยาบาล

8 การบริหารจัดการองค์การ
บาร์โทลและมาติน (Bartol and Martin) ให้ความหมายของการบริหารจัดการองค์การ คือ การวางแผน (Planning) การกำหนดเป้าหมายวัตถุประสงค์ ตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติ การจัดองค์การ (Organizing) การจัดปัจจัยทรัพยากรต่างๆ บุคคลเข้าสู่โครงสร้างของการแบ่งงานตามภารกิจหน้าที่ต่างๆ

9 การนำหรือการสั่ง (Leading or Directing) การมอบหมายสั่งการให้บุคลากรปฏิบัติภารกิจหน้าที่ตามโครงสร้างงานที่กำหนด การควบคุม (Controlling) การติดตามตรวจสอบ กำกับ ดูแลและการแก้ไขให้เป็นปตามมาตรฐานคุณภาพตามเป้าหมายที่ต้องการ

10 การบริหารจัดการหรือเรียกว่า PAPOSDCORB
การกำหนดนโยบาย (Policy) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ทิศทางการผลิตและการบริการ การจัดแบ่งและใช้อำนาจหน้าที่ (Authority) เพื่อการบังคับบัญชา วินิจฉัย สั่งการ ตัดสินใจ การวางแผน (Planning) กำหนดผลที่ต้องการของการผลิตนำมากำหนดกิจกรรมและวิธีการดำเนินงาน ระยะเวลา ปัจจัยที่จะต้องใช้ ผู้รับผิดชอบ การจัดการองค์การ (Organizing) จัดกลุ่มงานตามโครงสร้างขององค์การ

11 การบริหารจัดการหรือเรียกว่า PAPOSDCORB
การจัดบุคลากร (Staffing) เข้าหน่วยงานหรือเข้ากลุ่มงานต่างๆ กำหนดหน้าที่รับผิดชอบ กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน กำหนดสายงานการบังคับบัญชาและการควบคุมงาน การพัฒนาบุคลากร การสร้างแรงจูงใจและขวัญกำลังใจ การสั่งการหรือการอำนวยการ (Directing) เป็นการใช้อำนาจและอิมธิพลโดยผู้บริหารต่อผู้ปฏิบัติงานจนบรรลุผลตามเป้าหมาย การประสานงาน (Coordinating) ผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งหน้าที่ต่างๆเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและกลุ่ม การสื่อสารในองค์การ การระดมความคิด ความร่วมมือ ขจัดปัญหาความขัดแย้ง

12 การบริหารจัดการหรือเรียกว่า PAPOSDCORB
การประเมินและรายงาน (Reporting) การใช้ปัจจัยการปฏิบัติงานตามแผน การปฏิบัติงานได้มาตรฐาน การนำผลการปฏิบัติและผลที่ได้รับนำมาเป็นข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติงาน การจัดงบประมาณ (Budgeting) ปัจจัยทรัพยากรต่างๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานครอบคลุมถึงงบประมาณที่จะใช้ในการลงทุน

13 ประสิทธิผลขององค์การ
กิบสันและคณะ (Gibson and Others) นิยามไว้ว่า ประสิทธิผลเป็นเรื่องของการกระทำหรือความพยายามจะมีประสิทธิผลสูงต่ำเพียงใดขึ้นอยู่กับว่าผลที่ได้นั้น ตรง ครบถ้วน ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประสิทธิผลของบุคคล ประสิทธิผลแบ่งได้ 2 ระดับคือ ประสิทธิผลขององค์การ

14 ประสิทธิผลของบุคคล ลักษณะของบุคคลที่มีความสามารถปฏิบัติงานใดๆหรอืปฏิบัติกิจกรรมใดๆแล้วประสบผลสำเร็จทำให้บังเกิดผลตรงตามที่มีวัตถุประสงค์และผลที่เกิดขึ้นมีลักษณะคุณภาพ เช่น ความถูกต้อง ความมีคุณค่า ความเหมาะสมดีงาม

15 ประสิทธิผลขององค์การ
การผลิต (Production) การดำเนินการผลิตให้ได้ผลผลิตทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพได้ตรงกับความต้องการขององค์การ ประสิทธฺภาพ (Efficiency) ถ้าอัตราส่วนระหว่างปัจจัยทรัพยากร (Input) ที่ใช้กับผลผลิต (Output) มีความเหมาะสมในลักษณะที่ใช้ปัจจัยทรัพยากรได้คุ้มค่า ความพึงพอใจ (Satisfaction) ถ้าการดำเนินงานขององค์การนำมาซึ่งความสำเร็จสอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของสมาชิกในองค์การ

16 ประสิทธิผลขององค์การ
การปรับเปลี่ยน (Adaptiveness) องค์การมีกลไกที่สามารถปับเปลี่ยนการดำเนินงานได้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งภายในองค์การและภายนอกองค์การ การพัฒนา (Development) องค์การสามารถเพิ่มพูนศักยภาพขององค์การให้เจริญก้าวหน้าตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม

17 ประสิทธิภาพ กิบสันและคณะ (Gibson and Others) ของประสิทธิภาพคืออัตราส่วนของผลผลิตต่แชอปัจจัย เช่น อัตราการได้ผลตอบแทน ค่าใช้จ่ายต่อหน่วยผลผลิต อัตราการสูญเปล่าสิ้นเปลืองการใช้ทรัพยากร อัตราส่วนของผลกำไรต่อค่าใช้จ่ายในการลงทุน

18 องค์ประกอบที่นำไปสู่ประสิทธิภาพขององค์การ
สมิธ (Smith) ให้กรอบแนวคิดขององค์ประกอบการดำเนินงานองค์การที่นำไปสู่ความมีประสิทธิภาพของการผลิต ปัจจัย -ปัจจัยมนุษย์ -ปัจจัยนอกจากมนุษย์ กระบวนการ -การจัดองค์การ -การตัดสินใจและระบบข้อมูล -การวางแผนและควบคุม ผลผลิต องค์ประกอบองค์การที่นำไปสู่ผล

19 องค์ประกอบของการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน
สิ่งแวดล้อมนอกองค์การ สิ่งแวดล้อมในองค์การ ,วัฒนธรรมองค์การ ผลผลิต -ผลิตผล -บริการ -ความพึงพอใจ ปัจจัย -ทุน -อาคาร -อุปกรณ์ -เทคโนโลยี -บุคลากร กระบวนการ -การบริหารจัดการ

20 สิ่งแวดล้อมนอกองค์การ
ได้แก่ ตลาดความต้องการของลูกค้า สภาพเศรษฐกิจของสังคม ภาวะเงินเฟ้อ สภาพคล่องทางการเงินการธนาคาร กำลังการซื้อของลูกค้า ความสะดวกในการบริการ เทคโนโลยี

21 สิ่งแวดล้อมในองค์การ
คือ นโยบาย วิสัยทัศน์ละปรัชญาขององค์การที่จะกำหนดทิศทางของการดำเนินงานขององค์การวัฒนธรรมองค์การ ปัจจัยขององค์การ คือ สภาพความพร้อมขององค์การในด้านที่ดิน อาคารสถานที่ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ เงินทุน เทคโนโลยีและศักยภาพของบุคลากร องค์ประกอบด้านตัวบุคคล ปรัชญาและอุดมการณ์ บุคลิกภาพ ความต้องการ ค่านิยม การมีเป้าหมาย ความเชื่อมั่นตนเอง ความสามารถในการพิชิตอุปสรรค

22 สรุป การมีประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการมีประสิทธิภาพการทำงานของมนุษย์ในการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การ การเพิ่มความสำเร็จ ความเจริญก้าวหน้า ความพึงพอใจในผลผลิตขององค์การ สิ่งแวแดล้อมขององค์การ วัฒนธรรมขององค์การ การสร้างจูงใจ การปรับปรุงบุคลิกภาพ การพัฒนาค่านิยม ความเชื่อมั่นในตนเอง


ดาวน์โหลด ppt การบริหารจัดการองค์การ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google