งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วัตถุแห่งการชำระหนี้

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วัตถุแห่งการชำระหนี้"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วัตถุแห่งการชำระหนี้
แบ่งได้ 3 กรณี กรณีทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งการชำระหนี้เป็น เงิน กรณีทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งการชำระหนี้เป็นทรัพย์สินอย่างอื่น ที่ไม่ใช่เงิน กรณีหนี้มีหลายอย่างแต่ต้องกระทำแต่เพียงอย่างเดียว

2 กรณีทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งการชำระหนี้เป็น เงิน
แยกพิจารณาได้ 2 กรณี ก.1 กรณีหนี้เงินนั้นได้แสดงไว้เป็นเงินตราต่างประเทศ ก.2 กรณีหนี้เงินที่กำหนดไว้เป็นเงินที่ยกเลิกไม่ใช้แล้ว มาตรา ๑๙๖ “ถ้าหนี้เงินได้แสดงไว้เป็นเงินต่างประเทศ ท่านว่าจะส่งใช้เป็นเงินไทยก็ได้ การเปลี่ยนเงินนี้ ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน”

3 ข้อพิจารณา มาตรานี้ ใช้กับกรณีที่หนี้เงินได้แสดงไว้เป็นเงินต่างประเทศ เช่น ก. ซื้อรองเท้าจากร้านของ ข. ราคา 100 ล่าร์ ก. จะชำระเป็นเงินไทย หรือ เงินต่างประเทศก็ได้ การคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ให้คิด ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน ลูกหนี้และเจ้าหนี้ตกลงกันว่าต้องชำระเป็นเงินตราต่างประเทศ เท่านั้น ข้อตกลงนี้ใช้บังคับได้หรือไม่ ฏีกาที่ 1693/2493 สัญญากันว่าจะชำหนี้เป็นเงินเหรียญมาลายู จะชำระเป็นเงินไทยไม่ได้

4 ก.2 กรณีหนี้เงินที่กำหนดไว้เป็นเงินที่ยกเลิกไม่ใช้แล้ว
มาตรา ๑๙๗ “ถ้าหนี้เงินจะพึงส่งใช้ด้วยเงินตราชนิดหนึ่งชนิดใดโดยเฉพาะ อันเป็นชนิดที่ยกเลิกไม่ใช้กันแล้วในเวลา ที่จะต้องส่งเงินใช้หนี้นั้นไซร้ การส่งใช้เงินท่านให้ถือเสมือนหนึ่งว่ามิได้ระบุไว้ให้ใช้เป็นเงินตราชนิดนั้น” ข้อพิจารณา มาตรานี้ใช้บังคับ เฉพาะการชำระหนี้ด้วยเงินตรา อยู่ในฐานะที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า ไม่ใช่ในฐานะ เป็นตัวสินค้าเอง เช่น ซื้อขายเงินโบราณในฐานะที่เป็นของสะสม

5 กรณีทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งการชำระหนี้เป็นทรัพย์สินอย่างอื่น ที่ไม่ใช่เงิน
แบ่งได้ 2 กรณี กรณีที่คู่สัญญาตกลงกันไว้ กรณีที่คู่สัญญาได้ตกลงกันกำหนดทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งการชำระหนี้ไว้ชัดเจน แน่นอน ลูกหนี้ก็ต้อชำระหนี้ด้วย การส่งมอบทรัพย์นั้น กรณีที่คู่สัญญามิได้ตกลงกันไว้ให้ชัดเจนว่าทรัพย์ใดเป็นวัตถุแห่งการชำระหนี้ อาจเกิดขึ้นได้ 2 กรณี ข. 1 กรณีทรัพย์นั้นได้ระบุไว้แต่เพียงเป็นประเภท ข. 2 กรณีที่ได้กำหนดประเภทและชนิดแล้ว แต่ยังต้องกระทำเพื่อส่งมอบ หรือเลือกกำหนดตัวทรัพย์

6 ข. 1 กรณีทรัพย์นั้นได้ระบุไว้แต่เพียงเป็นประเภท
มาตรา ๑๙๕ ว. ๑ เมื่อทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้นั้นได้ระบุไว้แต่เพียงเป็นประเภท และถ้าตามสภาพแห่งนิติกรรม หรือตามเจตนาของคู่กรณีไม่อาจจะกำหนดได้ว่าทรัพย์นั้นจะพึงเป็นชนิดอย่างไรไซร้ ท่านว่าลูกหนี้จะต้องส่งมอบ ทรัพย์ชนิดปานกลาง ข้อพิจารณา กรณี เป็นกรณีที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ได้ตกลงกันไว้แล้วว่าทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งการชำระหนี้เป็นทรัพย์ประเภทใด แต่มิได้ ทำความตกลงกันในเรื่องคุณภาพของทรัพย์นั้น เช่นนี้ ข.1.1 ถ้าสภาพแห่งนิติกรรม หรือตามเจตนาของคู่กรณี สามารถทราบได้ว่าทรัพย์นั้นมีคุณภาพอย่างไร ให้ลูกหนี้ ส่งมอบทรัพย์ตามคุณภาพเช่นนั้น ข.1.2 ถ้าสภาพแห่งนิติกรรม หรือตามเจตนาของคู่กรณี ไม่อาจทราบได้ ลูกหนี้ต้องส่งมอบทรัพย์ชนิดปานกลาง

7 ข. 2 กรณีที่ได้กำหนดประเภทและชนิดแล้ว แต่ยังต้องกระทำเพื่อส่งมอบ หรือเลือกกำหนดตัวทรัพย์
มาตรา ๑๙๕ วรรค ๒ “ถ้าลูกหนี้ได้กระทำการอันตนจะพึงต้องทำเพื่อส่งมอบทรัพย์สิ่งนั้นทุกประการแล้ว ก็ดี หรือถ้าลูกหนี้ได้เลือกกำหนดทรัพย์ที่จะส่งมอบแล้วด้วยความยินยอมของเจ้าหนี้ก็ดี ท่านว่าทรัพย์นั้นจึงเป็นวัตถุ แห่งหนี้จำเดิมแต่เวลานั้นไป” บางกรณีแม้นว่าเจ้าหนี้และลูกหนี้จะได้ทำความตกลงกันเอาไว้แล้ว่าทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งการชำระหนี้เป็นทรัพย์ ประเภทและชนิดใด แต่ลูกหนี้ยังต้องกระทำการเพื่อส่งมอบทรัพย์ หรือยังต้องเลือกกำหนดตัวทรัพย์เสียก่อน จึงจะทราบ ว่าทรัพย์ใดเป็นวัตถุแห่งการชำระหนี้ เมื่อได้เลือก หรือส่งมอบแล้ว ทรัพย์นั้นจึงเป็นวัตถุแห่งการชำระหนี้นับแต่เวลานั้นไป

8 กรณีหนี้มีหลายอย่างแต่ต้องกระทำแต่เพียงอย่างเดียว
มาตรา ๑๙๘ ถ้าการอันมีกำหนดพึงกระทำเพื่อชำระหนี้นั้นมีหลายอย่าง แต่จะต้องกระทำเพียงการใดการ หนึ่งแต่อย่างเดียวไซร้ ท่านว่าสิทธิที่จะเลือกทำการอย่างใดนั้นตกอยู่แก่ฝ่ายลูกหนี้ เว้นแต่จะได้ตกลงกัน กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ข้อพิจารณา กรณีนี้เป็นกรณีที่หนี้มีหลายอย่างแต่ต้องกระทำแต่เพียงอย่างเดียวนี้ หมายถึง กรณีหนี้เดียวมีวัตถุแห่งหนี้ หรือวัตถุแห่ง การชำระหนี้หลายอย่าง แต่เจ้าหนี้ไม่สามารถเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ทุกอย่าง เช่น ก. เป็นผู้โชคดีจากการตอบปัญหาในรายการทีวีของ ข. มีสิทธิได้รางวัลเป็นโทรศัพท์ I Phone 6 s หรือ Samsung Note 5 ดังนี้ ก. มีสิทธิเรียกให้ ข. ส่งมอบโทรศัพท์ อย่างหนึ่งอย่างใดได้เท่านั้น

9 กรณีหนี้มีหลายอย่างแต่ต้องกระทำแต่เพียงอย่างเดียวมีประเด็นต้องพิจาณาหลายประการดังนี้
ผู้มีสิทธิเลือก วิธีเลือก กำหนดเวลาในการเลือก ผลของการเลือก หนี้ที่เลือกได้อย่างใดอย่างหนึ่งตกเป็นพ้นวิสัย ผู้มีสิทธิเลือก มาตรา ๑๙๘ ถ้าการอันมีกำหนดพึงกระทำเพื่อชำระหนี้นั้นมีหลายอย่าง แต่จะต้องกระทำเพียงการใดการหนึ่งแต่อย่างเดียวไซร้ ท่านว่าสิทธิที่จะ เลือกทำการอย่างใดนั้นตกอยู่แก่ฝ่ายลูกหนี้ เว้นแต่จะได้ตกลงกันกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ถ้าตกลงกันไว้ ก็เป็นไปตามนั้น เจ้าหนี้ หรือ ลูกหนี้ บุคคลอื่น ถ้าบุคคลอื่นเลือกไม่ได้ ให้ตกอยู่แก่ฝ่ายลูกหนี้ มาตรา ๒๐๑ ว. ๒ ถ้าบุคคลภายนอกนั้นไม่อาจจะเลือกได้ก็ดี หรือไม่เต็มใจจะเลือกก็ดี ท่านว่าสิทธิที่จะเลือกตกไปอยู่แก่ฝ่ายลูกหนี้” ถ้าไม่ได้ตกลงกัน ผู้มีสิทธิเลือกตกอยู่แก่ฝ่ายลูกหนี้

10 วิธีเลือก มาตรา ๑๙๙ “การเลือกนั้นท่านให้ทำด้วยแสดงเจตนาแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง” มาตรา ๒๐๑ “ถ้าบุคคลภายนอกจะพึงเป็นผู้เลือก ท่านให้กระทำด้วยแสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ และลูกหนี้จะต้องแจ้ง ความนั้นแก่เจ้าหนี้ ถ้าบุคคลภายนอกนั้นไม่อาจจะเลือกได้ก็ดี หรือไม่เต็มใจจะเลือกก็ดี ท่านว่าสิทธิที่จะเลือกตกไปอยู่แก่ฝ่ายลูกหนี้” ผู้มีสิทธิเลือก เลือกโดยแสดงเจตนาแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง ถ้าบุคคลภายนอกเป็นผู้เลือก เลือกโดยแสดงเจตนาแก่ ลูกหนี้ และลูกหนี้จะต้องแจ้งความนั้นแก่เจ้าหนี้ กฎหมายไม่ได้กำหนดวิธีการเอาไว้ ดังนั้นอาจทำได้ด้วยวาจา กิริยาท่าทาง หรือลายลักษณ์อักษร

11 กำหนดเวลาในการเลือก มาตรา ๒๐๐ “ถ้าจะต้องเลือกภายในระยะเวลาอันมีกำหนด และฝ่ายที่มีสิทธิจะเลือกมิได้เลือกภายใน ระยะเวลานั้นไซร้ ท่านว่าสิทธิที่จะเลือกนั้นย่อมตกไปอยู่แก่อีกฝ่ายหนึ่ง ถ้ามิได้กำหนดระยะเวลาให้เลือกไซร้ เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระฝ่ายที่ไม่มีสิทธิจะเลือกอาจกำหนดเวลา พอสมควรแก่เหตุ แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายโน้นใช้สิทธิเลือกภายในเวลาอันนั้น”

12 ผลของการเลือก มาตรา ๑๙๙ “การเลือกนั้นท่านให้ทำด้วยแสดงเจตนาแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง การชำระหนี้ได้เลือกทำเป็นอย่างใดแล้ว ท่านให้ถือว่าอย่างนั้นอย่างเดียว เป็นการ ชำระหนี้อันกำหนดให้กระทำแต่ต้นมา”

13 หนี้ที่เลือกได้อย่างใดอย่างหนึ่งตกเป็นพ้นวิสัย
มาตรา ๒๐๒ “ถ้าการอันจะพึงต้องทำเพื่อชำระหนี้นั้นมีหลายอย่าง และอย่างใดอย่างหนึ่งตกเป็นอันพ้น วิสัยจะทำได้มาแต่ต้นก็ดี หรือกลายเป็นพ้นวิสัยในภายหลังก็ดี ท่านให้จำกัดหนี้นั้นไว้เพียงการชำระหนี้อย่างอื่น ที่ไม่พ้นวิสัย อนึ่งการจำกัดอันนี้ย่อมไม่เกิดมีขึ้น หากว่าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใด อันหนึ่งซึ่งฝ่ายที่ไม่มีสิทธิจะเลือกนั้นต้องรับผิดชอบ” ข้อพิจารณา กรณีทีการอันจะพึงต้องทำเพื่อชำระหนี้นั้นมีหลายอย่างแต่จะต้องกระทำเพียงการใดการหนึ่งแต่อย่างเดียว เมื่อปรากฏว่าอย่างใดอย่างหนึ่งตกเป็นอันพ้นวิสัย จึงต้องจำกัดหนี้นั้นไว้เพียงการชำระหนี้อย่างอื่นที่ไม่พ้น วิสัย กรณีการพ้นวิสัย จะต้องเกิดขึ้นก่อนมีการเลือก เพราะถ้าเลือกแล้วถึงพ้นวิสัย หนี้อย่างที่เลือกนั้นอย่างเดียว เป็นการชำระหนี้อันกำหนดให้กระทำแต่ต้นมา ตามาตรา 199 วรรค 2

14 ผลแห่งหนี้

15 หนี้มีผลทำให้เจ้าหนี้เกิดสิทธิที่สำคัญ 4 ประการ กล่าวคือ
สิทธิในการบังคับชำระหนี้ สิทธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทน สิทธิในการบอกปัดไม่รับชำระหนี้ และ สิทธิในการควบคุมดูแล และสงวนไว้ซึ่งทรัพย์สินของลูกหนี้

16 สิทธิในการบังคับชำระหนี้
การที่เจ้าหนี้จะมีสิทธิในการบังคับชำระหนี้ มีประเด็นที่จะต้องพิจาณา 3 ประเด็น เงื่อนไขการบังคับชำระหนี้ วิธีการในการบังคับชำระหนี้ ขอบเขตในการบังคับชำระหนี้ การที่เจ้าหนี้จะบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้มีเงื่อนไข 3 ประการ 1.1 หนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว 1.2 ลูกหนี้ละเลยไม่ชำระหนี้ 1.3 หนี้นั้นเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้สามารถเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้

17 1.1 หนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว
มาตรา ๒๐๓ ถ้าเวลาอันจะพึงชำระหนี้นั้นมิได้กำหนดลงไว้ หรือจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็ไม่ได้ ไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน ถ้าได้กำหนดเวลาไว้ แต่หากกรณีเป็นที่สงสัย ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้ก่อน ถึงเวลานั้นหาได้ไม่ แต่ฝ่ายลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนกำหนดนั้นก็ได้ การที่เจ้าหนี้จะมีสิทธิบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ จะต้องได้ความว่า หนี้นั้นถึงกำหนดชำระแล้ว ซึ่งหนี้จะถึง กำหนดชำระได้ 3 กรณี คือ หนี้ถึงกำหนดเวลาตามที่ได้กำหนดไว้ หนี้ถึงกำหนดเวลาโดยอนุมานเอาจากพฤติการณ์ต่างๆ หนี้ที่ไม่ได้กำหนดเวลา หรืออนุมานจากพฤติการณ์ต่างๆ ไม่ได้

18 1.1.1 หนี้ถึงกำหนดเวลาตามที่ได้กำหนดไว้
กำหนดเวลาชำระหนี้ อาจกำหนดเป็น วัน เดือน ปี(ปีปฏิทิน) เช่น ให้ชำระวันที่ 1 มกราคม หรือ กำหนดในลักษณะอื่นก็ได้ เช่น ให้ลูกหนี้ชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนด นับจากวันใดวันหนึ่ง หรือให้ ชำระเมื่อได้ส่งมอบ ให้ชำระภายใน 15 วัน นับแต่ได้รับจดหมายฉบับนี้ ให้ชำระเงินราคา เมื่อจดทะเบียนโอน ฎีกาที่ 2074/2545 ข้อตกลงการชำระราคาสินค้ามีว่าต้องชำระภายใน 45 วัน นับแต่วันส่งมอบสินค้า จึงเป็นหนี้ที่ได้กำหนดเวลาชำระไว้ตามวันแห่งปฏิทิน

19 ฎีกาที่ 2165/2537 ผู้จะซื้อได้กรอกข้อความในสัญญาจะซื้อขายที่ดินว่ากำหนดจดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ภายในเดือนเมษายน 2531 และให้ผู้จะขายกรอกวันที่ลงไป แต่ผู้จะขายก็หาได้กรอกวันที่ไม่ ทั้งภายหลังผู้จะซื้อและผู้จะขายก็มิได้กำหนดวันที่โอนกันอีก จึงจะถือว่าสัญญาดังกล่าวได้ กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 มิได้

20 1.1.2 หนี้ถึงกำหนดเวลาโดยอนุมานเอาจากพฤติการณ์ต่างๆ
หนี้ถึงกำหนดเวลาโดยอนุมานเอาจากพฤติการณ์ต่างๆ กรณีนี้เป็นกรณีที่หนี้นั้น ไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้เอาไว้โดยชัดแจ้ง อย่างเช่นข้อ แต่ สามารถอนุมานจากพฤติการณ์ต่างๆ ได้ เช่นนี้ เจ้าหนี้ก็จะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน พฤติการณ์นั้นไม่ได้ ฎีกาที่ 105/2536 สัญญาแม้จะมิได้กำหนดเวลาให้ผู้ขายส่งมอบข้าวสารให้ผู้ซื้อก็ตามแต่ที่ สัญญาระบุว่าผู้ซื้อจะต้องชำระราคาข้าวสารให้ผู้ขายภายในวันที่ 30 กันยายน 2529 นั้น พอจะ อนุมานได้ว่าคู่กรณีตกลงให้ผู้ขายส่งมอบข้าวสารให้แก่ผู้ซื้อภายในกำหนดเวลาดังกล่าวด้วยทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203 ฎีกาที่ 599/2535 แม้สัญญายืมสิ่งของดังกล่าวจะไม่ได้กำหนดเวลาคืนสิ่งของไว้แต่ตาม พฤติการณ์การให้ยืมสิ่งของดังกล่าวเพื่อใช้ในฤดูกาลทำใบยาสูบ เมื่อสิ้นฤดูกาลแล้วก็ต้องส่งคืน หากใช้ไม่หมด ส่วนที่ใช้ไปแล้วไม่อาจส่งคืนได้ ก็ต้องใช้ราคา ดังนี้ เป็นกรณีที่ไม่ได้กำหนดเวลา ชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน เป็นเพียงอนุมานจากพฤติการณ์

21 1.1.3 หนี้ที่ไม่ได้กำหนดเวลา หรืออนุมานจากพฤติการณ์ต่างๆ ไม่ได้
หนี้ที่ไม่ได้กำหนดเวลา หรืออนุมานจากพฤติการณ์ต่างๆ ไม่ได้ กรณีที่คู่กรณีไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ และอนุมานจากพฤติการณ์ต่างๆไม่ได้ จ้าหนี้ย่อมสามารถเรียกให้ลูกหนี้ชำระ หนี้ได้โดยพลัน และลูกหนี้ย่อมสามารถชำระหนี้ได้โดยพลัน เช่นเดียวกัน เช่น ก. ยืมเงิน ข. 1 หมื่นบาทโดยไม่ได้กำหนดว่าจะใช้คืนเมื่อใด เช่นนี้ ข. ย่อมเรียกให้ ก. คืนเงินได้โดยทันที แม้น จะผ่านไปเพียง 1 นาที และ ก. ก็ย่อมมีสิทธิคืนเงินให้ ข. ทันที เช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพราะ โดยทั่วไป กำหนดเวลาชำระหนี้ ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากเวลาชำระหนี้ ผู้ที่ได้รับประโยชน์ คือ ลูกหนี้ ดังนั้น หนี้ที่ไม่ได้กำหนดเวลา หรืออนุมานจากพฤติการณ์ต่างๆไม่ได้ จึงมีผลเท่ากับว่า ลูกหนี้ไม่ประสงค์จะเอาประโยชน์จาก เวลา นั่นเอง ฎีกาที่ 3045/2545 เมื่อการฝากเงินของโจทก์ไว้กับธนาคารจำเลย ไม่มีกำหนดเวลาคืนเงินฝากไว้แน่นอน ต้องถือว่าหนี้ เงินฝากถึงกำหนดชำระทันทีที่โจทก์ได้ฝากเงินไว้กับจำเลย

22 ข้อสังเกตเกี่ยวกับกำหนดเวลาชำระหนี้
เมื่อหนี้ถึงกำหนดไม่ว่ากรณีใดใน 3 กรณีข้างต้น เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยทันที ไม่จำต้อง บอกกล่าวก่อน เนื่องจากการฟ้องคดีก็คือ การเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้นั่นเอง ฎีกาที่ 1137/2540 หนี้เงินกู้ ไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ โจทก์จะบอกกล่าวเพื่อให้เวลาจำเลยหรือไม่ก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 230 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องได้ แม้ไม่ได้บอกกล่าวจำเลยให้ชำระหนี้ มีข้อยกเว้นที่เจ้าหนี้สามารถบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้แม้หนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระ คือ ป.พ.พ. มาตรา 193,218 ว.1, 663,1754 มาตรา ๑๙๓ ในกรณีดังต่อไปนี้ ฝ่ายลูกหนี้จะถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเริ่มต้นหรือเงื่อนเวลาสิ้นสุดมิได้ (๑) ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย (๒) ลูกหนี้ไม่ให้ประกันในเมื่อจำต้องให้ (๓) ลูกหนี้ได้ทำลาย หรือทำให้ลดน้อยถอยลงซึ่งประกันอันได้ให้ไว้ (๔) ลูกหนี้นำทรัพย์สินของบุคคลอื่นมาให้เป็นประกันโดยเจ้าของทรัพย์สินนั้นมิได้ยินยอมด้วย

23 1.2 ลูกหนี้ละเลยไม่ชำระหนี้
มาตรา ๒๑๓ วรรค ๑ “ ถ้าลูกหนี้ละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตน เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับ ชำระหนี้ก็ได้ เว้นแต่สภาพแห่งหนี้จะไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้นได้” คำว่า “ละเลย” คือ การไม่ชำระหนี้ ไม่ว่าลูกหนี้จะใส่ใจ หรือไม่ใส่ใจ แม้ลูกหนี้จะในใส่ใจแต่ไม่ชำระหนี้ให้ สำเร็จ ก็ได้ชื่อว่าละเลยไม่ชำระหนี้ ฎีกาที่ 1314/2515 สัญญาจะขายที่ดินแก่โจทก์ ก่อนถึงกำหนด จำเลยขายที่ดินแก่ผู้อื่นเสีย ถือเป็นไม่ ชำระหนี้ได้ทันที

24 1.3 หนี้นั้นเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้สามารถเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้
หนี้ที่เจ้าหนี้สามารถเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ ประกอบดัวย เป็นหนี้ในแพ่ง และ การชำระหนี้ไม่ตกเป็นพ้นวิสัย หนี้ สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ หนี้ในแพ่ง และ หนี้ในธรรม

25 หนี้ในแพ่ง หนี้ในแพ่ง หมายถึง หนี้ที่ชอบด้วยกฎหมายที่เจ้าหนี้สามารถเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ หนี้นั้นไม่ตกเป็นโมฆะ และ มีหลักฐานในการฟ้องร้องตามกฎหมาย

26 หนี้ในธรรม หนี้ในธรรม คือ หนี้ ที่มีข้อบกพร่องที่ทำให้เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ แต่มีผลบางอย่าง เช่นเดียวกับหนี้ในแพ่ง เช่น ถ้าลูกหนี้ชำระหนี้ไปแล้วเรียกคืนไม่ได้ นำมาหักกลบลบหนี้กับหนี้อื่นได้ แปลง หนี้ใหม่ได้ เช่น หนี้ที่ขาดอายุความ หนี้ที่ขาดหลักฐานการฟ้องร้อง หนี้กู้ยืมเกินกว่า 2,000 บาท ตามมาตรา 653 หนี้สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ ตามาตรา 538 หนี้ที่ชำระโดยฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดี ตามมาตรา 411 การให้โดยธรรมจรรยา หรือให้ในการสมรส ตามมาตรา 535 (3),(4)

27 1.3.2 การชำระหนี้ไม่ตกเป็นพ้นวิสัย
การชำระหนี้ไม่ตกเป็นพ้นวิสัย การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย หมายความว่า การชำระหนี้นั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ อย่างไรก็ไม่สามารถทำได้ การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากการชำระหนี้ เจ้าหนี้จึงบังคับให้ชำระหนี้ไม่ได้ การพ้นวิสัยซึ่งทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากการชำระหนี้ อาจเป็นลักษณะดังต่อไปนี้ การพ้นวิสัยในลักษณะที่ไม่มีใครสามารถชำระหนี้นั้นได้ (objective impossibility:ภาวะวิสัย) เช่น ก. ขายรถ ให้แก่ ข. ระหว่างที่ยังไม่ได้ส่งมอบรถ รถเกิดเพลิงไหม้ทำให้เสียหายทั้งคัน การพ้นวิสัยในลักษณะที่เฉพาะตัวลูกหนี้เองไม่สามารถชำระหนี้นั้นได้ (subjective impossibility:อัตวิสัย) เช่น ก. รับจ้าง ข. เขียนแบบสร้างบ้าน ระหว่างที่ยังเขียนแบบไม่เสร็จ ก. เป็นโรคกล้ามเนื้อแขนอ่อนแรงเฉียบพลัน ทำให้เขียนแบบไม่ได้ มาตรา ๒๑๙ “ถ้าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ก่อหนี้ และซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ นั้นไซร้ ท่านว่าลูกหนี้เป็นอันหลุดพ้นจากการชำระหนี้นั้น ถ้าภายหลังที่ได้ก่อหนี้ขึ้นแล้วนั้น ลูกหนี้กลายเป็นคนไม่สามารถจะชำระหนี้ได้ไซร้ ท่านให้ถือเสมือนว่าเป็นพฤติการณ์ที่ทำให้การชำระหนี้ตก เป็นอันพ้นวิสัยฉะนั้น”

28 การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย อาจเกิดจากความผิดของลูกหนี้หรือไม่ก็ได้
ถ้าเกิดจากความผิดของลูกหนี้ เช่น ลูกหนี้จงใจ หรือประมาทเลินเล่อ ลูกหนี้หลุดพ้นจากการชำระหนี้ แต่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้เจ้าหนี้ เช่น ก. ขายรถ ให้แก่ ข. ระหว่างที่ยังไม่ได้ส่งมอบรถ รถเกิดเพลิงไหม้ทำให้เสียหายทั้งคัน ถ้าเกิดจากความผิดของ ก. ก. หลุดพ้นจากการชำระหนี้ (ส่งมอบรถ) แต่ ก. จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับ ข. มาตรา ๒๑๘ “ถ้าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยจะทำได้เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ต้อง รับผิดชอบไซร้ ท่านว่าลูกหนี้จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เจ้าหนี้เพื่อค่าเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่การไม่ชำระ หนี้นั้น” ถ้ามิได้เกิดจากความผิดของลูกหนี้ เช่น เกิดจากเหตุภัยธรรมชาติ ลูกหนี้หลุดพ้นจากการชำระหนี้ และไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เจ้าหนี้ ตามตัวอย่างข้างบน ก. หลุดพ้นจากการชำระหนี้ และไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่ประการใดๆ มาตรา ๒๑๙ “ถ้าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ก่อ หนี้ และซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบนั้นไซร้ ท่านว่าลูกหนี้เป็นอันหลุดพ้นจากการชำระหนี้นั้น

29 เหตุโทษลูกหนี้ไม่ได้ ลูกหนี้หลุดพ้นจากการชำระหนี้
ฎีกาที่ 1074/2546 เมื่อที่จำเลยไม่สามารถส่งมอบข้าวสารให้แก่โจทก์ได้เนื่องมาจากไฟไหม้โรงสีของจำเลย โดยไม่ ปรากฏว่าเกิดจากการกระทำของผู้ใดจึงถือไม่ได้ว่าเหตุที่เกิดไฟไหม้โรงสีนั้นเนื่องมาจากพฤติการณ์ที่จำเลยต้อง รับผิดชอบ การชำระหนี้ของจำเลยด้วยการส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ย่อมกลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์ซึ่งลูกหนี้ไม่ ต้องรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 วรรคหนึ่ง ฎีกาที่ 2526/2543 สัญญาที่ผู้ตายต้องไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้ร้องหลังจากออกโฉนดที่ดินแล้วเป็นเพียง สัญญาจะซื้อขาย หากที่ดินของผู้ตายต้องห้ามไม่ให้โอนตามประมวลกฎหมายที่ดิน ทำให้ผู้ตายหลุดพ้นจากการชำระ หนี้

30 ข้อสังเกต การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย ที่จะทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากการชำระหนี้ หมายถึง การชำระหนี้ตกเป็นพ้น วิสัยภายหลังที่เกิดหนี้ ขึ้นแล้ว ก. ตกลงขายม้าให้กับ ข. ต่อมาม้าถูกฟ้าผ่าตาย เช่นนี้ ก. หลุดพ้นจาการชำระหนี้ ไม่ต้องส่งมอบ ม้าให้แก่ ข. ถ้าการพ้นวิสัยเกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดหนี้ เช่นนี้ นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะตั้งแต่เริ่มแรก ซึ่งถือว่าไม่มีหนี้ เกิดขึ้นเลย ตามตัวอย่างข้างบน ถ้า ก่อนที่ ก. จะขายม้าให้กับ ข. ม้าได้ถูกฟ้าผ่าตายที่ทั้ง ก. และ ข. ไม่ทราบ เช่นนี้ สัญญาซื้อขายระหว่าง ก. กับ ข. ตกเป็นโมฆะตั้งแต่เริ่มแรก

31 ข้อสังเกต การที่ลูกหนี้ต้องรับภาระเพิ่มมากขึ้น ถือว่าไม่เป็นเหตุให้การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย ฎีกาที่ 2829/2522 การที่วัสดุก่อสร้างมีราคาสูงขึ้น ไม่เป็นเหตุให้การชำระหนี้ของโจทก์ที่จะต้อง ก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเป็นพ้นวิสัย โจทก์จะอ้างเรื่องวัสดุ ก่อสร้างที่มีราคาสูงขึ้นมาเป็นเหตุให้หลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาไม่ได้

32 วิธีการในการบังคับชำระหนี้
เจ้าหนี้ต้องใช้วิธีการยื่นคำฟ้องต่อศาล เจ้าหนี้จะบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้โดยพลการไม่ได้ เจ้าหนี้สามารถขอให้ศาลบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้โดยเฉพาะเจาะจงได้ต่อเมื่อสภาพแห่งหนี้เปิดช่อง ถ้าสภาพแห่งนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้โดยเฉพาะเจาะจง เจ้าหนี้สามารถขอให้ศาลสั่งให้ลูกหนี้ชำระหนี้ด้วย วิธีการอื่น ตามมาตรา 213 วรรค 2 และ 3 สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้โดยเฉพาะเจาะจง มีกรณีดังต่อไปนี้ หนี้ที่ต้องการความรู้ความสามารถหรือคุณสมบัติเฉพาะตัวลูกหนี้ เช่น สัญญาจ้างนักร้องมาร้องเพลง ทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งการชำระหนี้ไม่อยู่ในอำนาจของลูกหนี้ เช่น ลูกหนี้โอนทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งการชำระหนี้ ให้แก่บุคคลภายนอก

33 วิธีการที่เจ้าหนี้จะสามารถขอให้ศาลสั่งให้ลูกหนี้ชำระหนี้ด้วยวิธีการอื่น มีดังนี้
ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำการอันหนึ่งอันใด เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับให้บุคคลภายนอกกระทำการอัน นั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายให้ก็ได้ จ้างผู้รับเหมามาจ้างบ้าน ผู้รับเหมาทิ้งงาน เจ้าหนี้สามารถขอให้ศาลสั่งให้ลูกหนี้เป็นคนเสียค่าใช้จ่าย ในการไปจ้างผู้รับเหมาคนใหม่ มา สร้างบ้านให้แล้วเสร็จลงได้ ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งไซร้ ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดง เจตนาของลูกหนี้ก็ได้ ถ้าผู้ขาย ไม่ยอมไปจดทะเบียน ผู้ซื้อสามารถฟ้องให้ศาลสั่งให้เอาคำพิพากษา ซึ่งพิพากษาให้ผู้ขายโอนที่ แทนการไปจดทะเบียนโอนของ ผู้ขายได้ ถ้าวัตถุแห่งนี้เป็นอันจะให้งดเว้นการอันใด เจ้าหนี้จะเรียกร้องให้รื้อถอนการที่ได้กระทำลงแล้วนั้นโดยให้ลูกหนี้เสีย ค่าใช้จ่าย และให้จัดการอันควรเพื่อกาลภายหน้าด้วยก็ได้

34 ขอบเขตในการบังคับชำระหนี้
มาตรา ๒๑๔ “ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา ๗๓๓ เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะให้ชำระหนี้ของตนจาก ทรัพย์สินของลูกหนี้จนสิ้นเชิง รวมทั้งเงินและทรัพย์สินอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกค้างชำระแก่ลูกหนี้ด้วย” เจ้าหนี้มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ทั้งหมด สิทธิของเจ้าหนี้ รวมถึงเงิน หรือทรัพย์สินอื่นที่บุคคลภายนอกค้างชำระแก่ลูกหนี้ด้วย ก. เป็นหนี้ ข. ขณะเดียวกัน ค. ก็เป็นลูกหนี้ ก. เช่นเดียวกัน เช่นนี้ ข. มีสิทธิบังคับให้ ค. ชำระหนี้ด้วยเช่นเดียวกัน (การใช้สิทธิ เรียกร้องของลูกหนี้) ก. เป็นหนี้ ข. ขณะเดียวกัน ก. ก็มีเงินฝากอยู่กับ ธนาคาร กรุงไทย เช่นนี้ ข. มีสิทธิยึดเงินฝากของ ก. ที่อยู่กับธนาคารฯ ด้วย

35 การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย จะเกิดผลอะไรขึ้น
ถ้าการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย ในเหตุอันจะโทษลูกหนี้ได้ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกค่า สินไหมทดแทนความเสียหายนั้น (ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบ) มาตรา ๒๑๘ “ถ้าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยจะทำได้เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่ง ซึ่งลูกหนี้ต้องรับผิดชอบไซร้ ท่านว่าลูกหนี้จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เจ้าหนี้เพื่อ ค่าเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่การไม่ชำระหนี้นั้น”

36 ถ้าการชำระหนี้ตกเป็นอันพ้นวิสัย ในเหตุอันจะโทษลูกหนี้ไม่ได้ เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิ เรียกค่าสินไหมทดแทนความเสียหายจากลูกหนี้ได้ (ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ) มาตรา ๒๑๙ “ถ้าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งเกิดขึ้น ภายหลังที่ได้ก่อหนี้ และซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบนั้นไซร้ ท่านว่าลูกหนี้เป็นอันหลุดพ้นจากการ ชำระหนี้นั้น ถ้าภายหลังที่ได้ก่อหนี้ขึ้นแล้วนั้น ลูกหนี้กลายเป็นคนไม่สามารถจะชำระหนี้ได้ไซร้ ท่านให้ ถือเสมือนว่าเป็นพฤติการณ์ที่ทำให้การชำระหนี้ตกเป็นอันพ้นวิสัยฉะนั้น”

37 การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยในสัญญาต่างตอบแทน
เมื่อการชำระหนี้ของคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งตกเป็นอันพ้นวิสัย(ไม่ต้องชำระหนี้นั้นๆอีกและหรือไม่ต้อง ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนก็ตาม) มีปัญหาว่าคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งยังจะต้องชำระหนี้ของตนเองอีก หรือไม่ เรื่องนี้แยกพิจารณา ได้ ๒ กรณี สัญญาที่มีวัตถุประสงค์ในการโอนทรัพย์เฉพาะสิ่ง หรือเมื่อกลายเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง มาตรา ๓๗๐ สัญญาที่ไม่มีวัตถุประสงค์ในการโอนทรัพย์เฉพาะสิ่ง มาตรา ๓๗๑

38 สัญญาที่มีวัตถุประสงค์ในการโอนทรัพย์เฉพาะสิ่ง ๓๗๐
มาตรา ๓๗๐ ถ้าสัญญาต่างตอบแทนมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการก่อให้เกิดหรือโอนทรัพยสิทธิในทรัพย์ เฉพาะสิ่ง และทรัพย์นั้นสูญหรือเสียหายไปด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษลูกหนี้มิได้ไซร้ ท่านว่า การสูญหรือเสียหายนั้นตกเป็นพับแก่เจ้าหนี้ มาจากหลัก Res peri domino : ความเสียหายในทรัพย์หากโทษผู้ใดไม่ได้ ย่อมตกเป็นพับแก่ เจ้าของ หรือเจ้าของทรัพย์ย่อมเป็นผู้รับเอาภัยพิบัติในทรัพย์ นอกจากจะต้องรับในผลแห่งภัยพิบัติแล้ว ตนเองยังจะต้องชำระหนี้อีกด้วย

39 เช่น นาย ก. ตกลงซื้อรถจากนาย ข
เช่น นาย ก. ตกลงซื้อรถจากนาย ข. ทั้งสองตกลงกันส่งมอบรถและชำระเงินค่ารถในอีก 5 วัน ข้างหน้า ในระหว่างที่ยังไม่ถึงกำหนด เกิดพายุนอกฤดูกาล เกินความคาดหมายของ นาย ข. เป็น เหตุให้ต้นไม้หักทับรถคันดังกล่าวเสียหายทั้งคัน ดังนี้ นาย ข. มีสิทธิเรียกให้นาย ก. ชำระเงินค่ารถ อยู่หรือไม่

40 สัญญาที่มีวัตถุประสงค์ในการโอนทรัพย์เฉพาะสิ่ง แต่มีเงื่อนไขบังคับก่อน มาตรา ๓๗๑
มาตรา ๓๗๑ “บทบัญญัติที่กล่าวมาในมาตราก่อนนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าเป็นสัญญา ต่างตอบแทนมีเงื่อนไขบังคับก่อน และทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญานั้นสูญหรือทำลายลง ในระหว่างที่เงื่อนไขยังไม่สำเร็จถ้าทรัพย์นั้นเสียหายเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะ โทษเจ้าหนี้มิได้ และเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว เจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้โดยลดส่วนอันตน จะต้องชำระหนี้ตอบแทนนั้นลงหรือเลิกสัญญานั้นเสียก็ได้แล้วแต่จะเลือก แต่ในกรณีที่ ต้นเหตุเสียหายเกิดเพราะฝ่ายลูกหนี้นั้นท่านว่าหากระทบกระทั่งถึงสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะเรียก ค่าสินไหมทดแทนไม่”

41 เช่น นาย ก. ตกลงซื้อรถจากนาย ข
เช่น นาย ก. ตกลงซื้อรถจากนาย ข. ทั้งสองตกลงกันส่งมอบรถและชำระเงินค่ารถในอีก 5 วัน ข้างหน้า ถ้ายังไม่ถึงกำหนดให้กรรมสิทธิ์ในรถยังคงเป็นของนาย ข. อยู่ ในระหว่างที่ยังไม่ถึง กำหนด เกิดพายุนอกฤดูกาล เกินความคาดหมายของ นาย ข. เป็นเหตุให้ต้นไม้หักทับรถคัน ดังกล่าวเสียหายทั้งคัน ดังนี้ นาย ข. มีสิทธิเรียกให้นาย ก. ชำระเงินค่ารถ อยู่หรือไม่

42 เช่น นาย ก. ตกลงซื้อรถจากนาย ข
เช่น นาย ก. ตกลงซื้อรถจากนาย ข. ทั้งสองตกลงกันส่งมอบรถและชำระเงินค่ารถในอีก 5 วัน ข้างหน้า ถ้ายังไม่ถึงกำหนดให้กรรมสิทธิ์ในรถยังคงเป็นของนาย ข. อยู่ ในระหว่างที่ยังไม่ถึง กำหนด เกิดพายุนอกฤดูกาล ทั้งที่กรมอุตุประกาศแล้วว่าพายุที่เกิดขึ้นจะมีความรุนแรงมาก แต่ นาย ข. ไม่คิดว่าจะรุนแรงมาก จึงไม่ย้ายรถไปยังที่ปลอดภัย เป็นเหตุให้ต้นไม้หักทับรถคัน ดังกล่าวเสียหายทั้งคัน ดังนี้ นาย ข. มีสิทธิเรียกให้นาย ก. ชำระเงินค่ารถ อยู่หรือไม่

43 สัญญาที่ไม่มีวัตถุประสงค์ในการโอนทรัพย์เฉพาะสิ่ง มาตรา ๓๗๒
มาตรา ๓๗๒ “นอกจากกรณีที่กล่าวไว้ในสองมาตราก่อน ถ้าการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย เพราะเหตุอย่าง ใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก็ไม่ได้ไซร้ ท่านว่าลูกหนี้หามีสิทธิจะรับชำระหนี้ตอบแทนไม่” สัญญาที่ไม่มีวัตถุประสงค์ในการโอนทรัพย์เฉพาะสิ่ง อาจเป็นสัญญาที่มีทรัพย์เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น สัญญาเช่า หรือไม่มีทรัพย์มาเกี่ยวข้องก็ได้ เช่น สัญญาจ้างแรงงาน ถ้าโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้ ลูกหนี้หามีสิทธิจะรับชำระหนี้ตอบแทนไม่ (มาตรา ๓๗๒ วรรค ๑) ถ้าโทษเจ้าหนี้ได้ ลูกหนี้หาเสียสิทธิที่จะรับชำระหนี้ตอบแทนไม่ (มาตรา ๓๗๒ วรรค ๒)

44 ถ้าโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้ ลูกหนี้หามีสิทธิจะรับชำระหนี้ตอบแทนไม่ (มาตรา ๓๗๒ วรรค ๑)
เช่น นาย ก. เช่าบ้าน นาย ข. มีกำหนดเวลา 1 ปี หลังจากทำสัญญาเช่าได้ 3 เดือน บ้านของนาย ข. ถูกเพลิงไหม้เนื่องจากไฟฟ้าลัดวงจร เป็นเหตุให้บ้านถูกไฟไหม้เสียหายทั้งหลัง ดังนี้ นาย ก. จะเรียกร้องให้นาย ข. สร้างบ้านใหม่ ให้ตนเองเช่าตามสัญญาเช่าที่เหลืออีก ๙ เดือน ได้หรือไม่ ดังนี้ นาย ข. จะเรียกร้องให้นาย ก. จ่ายค่าเช่าต่อไปจนกว่าจะครบสัญญาได้หรือไม่

45 2. ถ้าโทษเจ้าหนี้ได้ ลูกหนี้หาเสียสิทธิที่จะรับชำระหนี้ตอบแทนไม่ (มาตรา ๓๗๒ ว. ๒)
เช่น นาย ก. เช่าบ้าน นาย ข. มีกำหนดเวลา 1 ปี หลังจากทำสัญญาเช่าได้ 3 เดือน บ้านของนาย ข. ถูกเพลิงไหม้เนื่องจากนาย ก. ใช้ไฟฟ้าโดยเสียเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายเครื่องบนรางปลั๊กพ่วงเป็น เหตุให้ไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้บ้านถูกไฟไหม้เสียหายทั้งหลัง ดังนี้ นาย ก. จะเรียกร้องให้นาย ข. สร้างบ้านใหม่ ให้ตนเองเช่าตามสัญญาเช่าที่เหลืออีก ๙ เดือน ได้หรือไม่ ดังนี้ นาย ข. จะเรียกร้องให้นาย ก. จ่ายค่าเช่าต่อไปจนกว่าจะครบสัญญาได้หรือไม่

46 มาตรา ๓๗๒ นอกจากกรณีที่กล่าวไว้ในสองมาตราก่อน ถ้าการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย เพราะเหตุ อย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก็ไม่ได้ไซร้ ท่านว่าลูกหนี้หามีสิทธิจะรับชำระหนี้ตอบ แทนไม่ ถ้าการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษเจ้าหนี้ได้ลูกหนี้ก็หาเสียสิทธิ ที่จะรับชำระหนี้ตอบแทนไม่ แต่ว่าลูกหนี้ได้อะไรไว้เพราะการปลดหนี้ก็ดี หรือใช้คุณวุฒิ ความสามารถของตนเป็นประการอื่นเป็นเหตุให้ได้อะไรมา หรือแกล้งละเลยเสียไม่ขวนขวายเอา อะไรที่สามารถจะทำได้ก็ดี มากน้อยเท่าไร จะต้องเอามาหักกับจำนวนอันตนจะได้รับชำระหนี้ตอบ แทน วิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงกรณีที่การชำระหนี้อันฝ่ายหนึ่งยังค้างชำระอยู่นั้นตกเป็นพ้น วิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งฝ่ายนั้นมิต้องรับผิดชอบ ในเวลาเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งผิดนัดไม่รับ ชำระหนี้

47 มาตรา ๒๑๘ วรรค ๑ “ถ้าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยจะทำได้เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่ง ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบไซร้ ท่านว่าลูกหนี้จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เจ้าหนี้เพื่อค่าเสียหาย อย่างใดๆ อันเกิดแต่การไม่ชำระหนี้นั้น”

48 เช่น นาย ก. ตกลงซื้อรถจากนาย ข
เช่น นาย ก. ตกลงซื้อรถจากนาย ข. ทั้งสองตกลงกันส่งมอบรถและชำระเงินค่ารถในอีก 5 วัน ข้างหน้า ถ้ายังไม่ถึงกำหนดให้กรรมสิทธิ์ในรถยังคงเป็นของนาย ข. อยู่ ในระหว่างที่ยังไม่ถึงกำหนด นาย ก. ได้นำรถไปหัดขับ แล้วเกิดอุบัติเหตุทำให้รถเสียหายทั้งคัน เช่นนี้ นาย ข. มีสิทธิเรียกให้นาย ก. ชำระเงินค่ารถ อยู่หรือไม่ ถ้านาย ข. มีสิทธิจะได้เงินค่าประกันวินาศภัยจากบริษัทประกันภัย ทดแทนการที่รถเสียหายครึ่งหนึ่งของราคารถ เช่นนี้ นาย ข. จะเรียกให้นาย ก. ชำระราคารถทั้งจำนวนอยู่หรือไม่

49 มาตรา ๓๗๐ “ถ้าสัญญาต่างตอบแทนมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการก่อให้เกิดหรือโอนทรัพยสิทธิใน ทรัพย์เฉพาะสิ่ง และทรัพย์นั้นสูญหรือเสียหายไปด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษลูกหนี้มิได้ ไซร้ ท่านว่าการสูญหรือเสียหายนั้นตกเป็นพับแก่เจ้าหนี้” มาตรา ๓๗๑ “บทบัญญัติที่กล่าวมาในมาตราก่อนนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าเป็นสัญญาต่างตอบแทนมีเงื่อนไขบังคับก่อน และทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญานั้นสูญหรือทำลายลง ในระหว่างที่เงื่อนไขยังไม่สำเร็จถ้าทรัพย์นั้นเสียหายเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษเจ้าหนี้มิได้ และเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว เจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้โดยลดส่วนอันตนจะต้องชำระหนี้ตอบแทนนั้นลงหรือเลิกสัญญานั้นเสียก็ได้แล้วแต่จะเลือก แต่ในกรณีที่ต้นเหตุเสียหายเกิดเพราะฝ่ายลูกหนี้นั้นท่านว่าหากระทบกระทั่งถึงสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนไม่”

50 มาตรา ๓๗๒ นอกจากกรณีที่กล่าวไว้ในสองมาตราก่อน ถ้าการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก็ไม่ได้ไซร้ ท่านว่าลูกหนี้หามีสิทธิจะ รับชำระหนี้ตอบแทนไม่ ถ้าการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษเจ้าหนี้ได้ลูกหนี้ ก็หาเสียสิทธิที่จะรับชำระหนี้ตอบแทนไม่ แต่ว่าลูกหนี้ได้อะไรไว้เพราะการปลดหนี้ก็ดี หรือ ใช้คุณวุฒิความสามารถของตนเป็นประการอื่นเป็นเหตุให้ได้อะไรมา หรือแกล้งละเลยเสียไม่ ขวนขวายเอาอะไรที่สามารถจะทำได้ก็ดี มากน้อยเท่าไร จะต้องเอามาหักกับจำนวนอันตนจะ ได้รับชำระหนี้ตอบแทน วิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงกรณีที่การชำระหนี้อันฝ่ายหนึ่งยัง ค้างชำระอยู่นั้นตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งฝ่ายนั้นมิต้องรับผิดชอบ ใน เวลาเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งผิดนัดไม่รับชำระหนี้

51 สิทธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทน
มีประเด็นที่ต้องพิจารณา ดังนี้ 2.1 เงื่อนไขในการใช้สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน 2.2 ประเภทของค่าสินไหมทดแทนที่เรียกได้ 2.3 ข้อจำกัดสิทธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทน และ 2.4 สิทธิในการเรียกดอกเบี้ย

52 2.1 เงื่อนไขในการใช้สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน
2.1 เงื่อนไขในการใช้สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน 2.1.1 เหตุที่ลูกหนี้ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ : เจ้าหนี้จะมีสิทธิเรียกสินไหมทดแทนจากลูกหนี้ อาจเกิดขึ้นจากกรณีดังต่อไปนี้ ลูกหนี้ละเลยไม่ชำระหนี้ การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะความผิดของลูกหนี้ ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ สำหรับกรณีที่ลูกหนี้ละเลยไม่ชำระหนี้ และ การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะความผิดของลูกหนี้ เป็นไป ตามที่ได้อธิบาย ไว้ในหัวข้อก่อนๆ

53 ค. ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้
มาตรา ๒๑๕ “เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ไซร้ เจ้าหนี้จะ เรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นก็ได้” การไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ เป็นกรณีที่ลูกหนี้ อาจชำระหนี้ หรือไม่ชำระหนี้ก็ ได้ การละเลยไม่ชำระหนี้ ก็ถือว่าเป็นการไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ในตัว กรณีที่ลูกหนี้ ชำระหนี้ แต่การชำระหนี้ของลูกหนี้ เป็นการชำระดังนี้ การชำหนี้ผิดเวลา ผิดสถานที่ ชำระหนี้แต่ เพียงบางส่วน ผิดนัดชำระหนี้ ชำระหนี้ชำรุดบกพร่อง ส่งมอบทรัพย์ผิดชนิด ผิดประเภท ก็ถือว่าเป็นการไม่ ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ เช่นเดียวกัน เช่น นาย ก. ซื้อแม่ม้าจากนาย ข. แต่นาย ข. ส่งพ่อม้าให้แทน เช่นนี้ ถือว่าเป็นการไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความ ประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้

54 2.1.2 เจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย
การที่เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากลูกหนี้ ต้องปรากฏด้วยว่าการที่ลูกหนี้ละเลยไม่ชำระ หนี้ หรือไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ หรือการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย ทำให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย ถ้าเจ้าหนี้ไม่ได้รับความเสียหายก็จะเรียกค่าสินไหมทดแทนจาก ลูกหนี้ไม่ได้ ดังที่จะพิจารณาได้จากมาตรา 222

55 2.1.3 เป็นความผิดของลูกหนี้ หรือพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบ
การที่ลูกหนี้จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ จะต้องได้ความว่า เกิดจากความผิดของลูกหนี้ หรือเป็นพฤติการณ์ ที่ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบด้วย ซึ่งได้แก่ กรณีดังต่อไปนี้ ลูกหนี้จงใจไม่ชำระหนี้ ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ ลูกหนี้จงใจให้การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะความผิดลูกหนี้ ลูกหนี้ผิดนัด ในทางกลับกัน ถ้าไม่ได้เกิดจากความผิดของลูกหนี้ ลูกหนี้ก็ไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ แต่ประการใดๆ เช่น

56 กรณีข้างต้น กฎหมายยังขยายไปถึง กรณีที่เป็นความผิดของตัวแทนลูกหนี้ด้วย
มาตรา ๒๒๐ “ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบในความผิดของตัวแทนแห่งตนกับทั้งของบุคคลที่ตน ใช้ในการชำระหนี้นั้นโดยขนาดเสมอกับว่าเป็นความผิดของตนเองฉะนั้น แต่บทบัญญัติแห่งมาตรา ๓๗๓ หาใช้บังคับแก่กรณีเช่นนี้ด้วยไม่”

57 ตัวอย่าง :กรณีที่ไม่ใช้ความผิดลูกหนี้ ลูกหนี้ไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ เจ้าหนี้
ฎีกาที่ 8193/2543 โจทก์ประสบปัญหาด้านการตลาด คำสั่งซื้อสินค้าลดลงมาก ทำให้การดำเนินงานของโจทก์ในส่วนการ ประกอบชิ้นส่วนลดน้อยลง ถือเป็นเหตุจำเป็นที่โจทก์สามารถสั่งให้หยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวได้ การที่โจทก์สั่งให้ลูกจ้างที่ทำงานในส่วนการประกอบหยุดงานชั่วคราวเป็นเวลา 2 เดือนจึงชอบด้วยกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 ได้กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อย กว่าร้อยละ 50 ของค่าจ้างในช่วงที่นายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว เมื่อโจทก์ได้จ่ายค่าจ้างในอัตราร้อยละ 70 ของค่าจ้าง ในวันทำงาน รวมทั้งเบี้ยขยันและค่าอาหาร รวมแล้วประมาณร้อยละ 80 ของค่าจ้าง นับว่าเป็นคุณแก่ลูกจ้างอยู่แล้ว โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างปกติเต็มจำนวนให้แก่ลูกจ้างที่โจทก์สั่งให้หยุดงานชั่วคราวอีก

58 เหตุอันเป็นความผิดลูกหนี้
เป็นพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบ หรือไม่ ลูกหนี้ประมาทเลินเล่อในการชำระหนี้ ใช่ ลูกหนี้จงใจไม่ชำระหนี้ ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ ลูกหนี้จงใจให้การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย ลูกหนี้ผิดนัด

59 2.2 ประเภทของค่าสินไหมทดแทนที่เรียกได้
2.2 ประเภทของค่าสินไหมทดแทนที่เรียกได้ ค่าสินไหมทดแทน 2.2.1 ค่าเสียหายปกติ : เป็นความเสียหายที่ใครๆก็ต้องรู้ว่าถ้าไม่ชำระหนี้ ความเสียหายเช่นนั้น ก็จะ เกิดขึ้น ผู้ขายผิดนัดส่งมอบรถยนต์ การขาดประโยชน์ใช้สอยเป็นความเสียหายปกติ ที่เกิดขึ้นกับผู้ซื้อ ผู้ขายส่งมอบทรัพย์ชำรุดบกพร่อง ผู้ซื้อต้องเสียค่าใช้จ่ายซ่อมแซมทรัพย์ 2.2.2 ค่าเสียหายพิเศษ : เป็นความเสียหายที่ผิดธรรมดาซึ่งลูกหนี้ไม่พึงคาดหมายได้ตามปกติ หรือ เป็นความเสียหายที่ทุกคนไม่รู้ การผิดนัดส่งมอบรถยนต์ กำไรซึ่งผู้ซื้อจะนำไปขายอีกทอดหนึ่ง เป็นค่าเสียหายพิเศษ

60 การคาดเห็น หรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์พิเศษ ลูกหนี้ต้องคาดเห็นตั้งแต่ตอนทำสัญญาหรือไม่
ในเรื่องนี้ ได้ข้อยุติว่า แม้เป็นการคาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นในขณะผิดสัญญา เจ้าหนี้ก็มีสิทธิ เรียกค่าสินไหมทดแทนจากลูกหนี้เช่นเดียวกัน

61 ค่าเสียหายปกติ ค่าเสียหายพิเศษ มีเหตุให้เจ้าหนี้เรียกค่าสินไหมทดแทนจากลูกหนี้ได้ เป็นความผิดลูกหนี้ เจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย ลูกหนี้ได้คาดเห็น หรือควรจะคาดเห็น ว่าเจ้าหนี้จะได้รับความเสียหายเช่นว่านั้น

62 ฎีกาที่ 749/2518 จำเลยประกอบการค้าในการรับฝากรถยนต์ จึงต้องใช้ความระมัดระวังเท่าที่เป็น ธรรมดาจะต้องใช้ในการประกอบการค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659 วรรคท้าย การที่ ลูกจ้างจำเลยไปทำธุระที่หลังปั๊มน้ำมันของจำเลย โดยไม่จัดผู้อื่นดูแลแทน และรถยนต์ของโจทก์ที่ฝากจำเลย ไว้หายไประหว่างนั้น เป็นการไม่ใช้ความระมัดระวังเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้ รถยนต์ของโจทก์ที่ฝากจำเลยไว้ถูกคนร้ายลักไป โจทก์ต้องจ้างรถยนต์คันอื่นบรรทุกผักแทน เป็น ความเสียหายที่โจทก์ได้รับอันเนื่องมาจากโจทก์ไม่ได้ใช้รถยนต์ตามปกติที่เคยใช้ จำเลยจึงต้องชดใช้ให้โจทก์

63 ฎีกาที่ 1692/2538 จำเลยตกลงขายที่ดินและบ้านแก่โจทก์ และโจทก์ชำระหนี้บางส่วนแล้ว โดยไม่ได้กำหนดวันโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินและบ้านไว้แน่นอน การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งกำหนดวันเวลาให้จำเลยจัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านให้ และให้รับเงินค่า ที่ดินและบ้านส่วนที่เหลือ ณ สำนักงานที่ดิน หากจำเลยไม่ไปตามนัด โจทก์ขอบอกเลิกสัญญา จำเลยได้รับหนังสือแล้ว แต่ไม่ไปตามนัด ส่วนโจทก์ได้ไปตามนัดและได้เขียนเช็คเพื่อชำระราคาที่ดินที่ เหลือไปพร้อมแล้ว เช่นนี้ฟังได้ว่าจำเลยผิดนัดผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว สัญญาดังกล่าวจึงเลิกกัน คู่กรณีต้อง กลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าที่ดินและบ้านที่รับไว้พร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันรับไว้ จนกว่าจะชำระเสร็จ ค่าเสียหายที่โจทก์อาจนำที่ดินและบ้านไปขายต่อได้กำไร หากจำเลยไม่ผิดสัญญาจะซื้อจะขาย เพราะที่ดิน และบ้านนั้นราคาสูงขึ้น เป็นความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นจากการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์มาตรา 222

64 ฎีกาที่ 3587/2526 แม้จะไม่ได้ความชัดว่าหากไม่มีการเลิกสัญญากันโจทก์จะได้กำไรจากการขายอาคารพาณิชย์ที่ โจทก์จ้างจำเลยก่อสร้างเป็นจำนวนเท่าใด แต่เป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ก่อสร้างศูนย์การค้าเพื่อหากำไร เมื่อสร้างไม่เสร็จก็ย่อมเกิดผลเสียหาย ซึ่ง เป็นความเสียหายที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นจากการละทิ้งงานของจำเลย ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดให้ตามที่ เห็นสมควรได้

65 ฎีกาที่ 1585/2517 โจทก์มีรถไว้ให้เช่า การที่รถอยู่ในความครอบครองของจำเลยตลอดเวลาที่จำเลยผิดนัด โจทก์ใช้ ประโยชน์ในทรัพย์นั้นไม่ได้ ยิ่งเห็นอยู่ในตัวว่าโจทก์ย่อมเสียหายขาดประโยชน์ที่จะพึงได้จากการให้เช่าทรัพย์ นั้น มิใช่ความเสียหายพิเศษซึ่งจำเลยไม่อาจคาดเห็นล่วงหน้า จำเลยจึงต้องรับผิดในค่าเสียหายนั้น

66 ฎีกาที่ 903/2519จำเลยส่งสินค้าที่มีคุณภาพชำรุดบกพร่องถึงขนาดที่โจทก์ไม่อาจนำไปขายต่อได้ เป็นการผิดสัญญา จำเลยต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องดังกล่าว โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 215,287, 391 และ 472 ค่าขนส่งสินค้าจากกรุงเทพมหานครไปยังที่ทำการของโจทก์ในต่างประเทศ ค่าประกันภัยสินค้า ค่าภาษีขาเข้าและค่า นำสินค้าดังกล่าวออกจากด่านศุลกากร ล้วนเป็นค่าเสียหายพิเศษซึ่งจำเลยควรจะคาดคิดล่วงหน้าได้ว่าโจทก์จำเป็นต้องเสีย จำเลยจึงต้องรับผิดในค่าเสียหายนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสองส่วนค่าใช้จ่ายในการพิสูจน์ สินค้าของกลางที่ชำรุดบกพร่อง เมื่อปรากฏกรรมการซึ่งมีอำนาจลงชื่อแทนบริษัทจำเลยไม่ยอมรับรู้ข้อตกลงในเรื่องที่ผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบสินค้าดังกล่าว จึงเป็นเพียงค่าใช้จ่ายที่เป็นประโยชน์แก่โจทก์ฝ่ายเดียว จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้

67 2.3 ข้อจำกัดสิทธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทน
2.3 ข้อจำกัดสิทธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทน มาตรา ๒๒๓ “ถ้าฝ่ายผู้เสียหายได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วยไซร้ ท่านว่าหนี้ อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญก็คือว่า ความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร วิธีเดียวกันนี้ ท่านให้ใช้แม้ทั้งที่ความผิดของฝ่ายผู้ที่เสียหายจะมีแต่เพียงละเลยไม่เตือน ลูกหนี้ให้รู้สึกถึงอันตรายแห่ง การเสียหายอันเป็นอย่างร้ายแรงผิดปกติ ซึ่งลูกหนี้ไม่รู้หรือไม่อาจจะรู้ได้ หรือเพียงแต่ละเลยไม่บำบัดปัดป้อง หรือบรรเทา ความเสียหายนั้นด้วย อนึ่งบทบัญญัติแห่งมาตรา ๒๒๐ นั้นท่านให้นำมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม”

68 ตามมาตรา 223 กรณีที่อาจถือได้ว่าเจ้าหนี้มีส่วนผิดอยู่ด้วยในการก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นกับตนเอง มีด้วยกัน 3 กรณี คือ เจ้าหนี้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหาย เจ้าหนี้ละเลยไม่เตือนลูกหนี้ให้รู้สึกถึงอันตรายแห่งการเสียหายอันเป็นอย่างร้ายแรงผิดปกติ ซึ่งลูกหนี้ไม่รู้ หรือไม่ อาจจะรู้ได้ เจ้าหนี้ละเลยไม่บำบัดปัดป้อง หรือ บรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้น กรณีที่ เจ้าหนี้มีส่วนผิด กฎหมายกำหนดเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทน ลดลงด้วย

69 ฎีกาที่ 1585/2529 จำเลยที่1เป็นผู้จัดการสาขาธนาคารโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน บ.เป็นลูกค้าได้ทำสัญญาเบิก เงินเกินบัญชีกับสาขาธนาคารโจทก์โดยมีส.เป็นผู้ค้ำประกันก่อนที่จำเลยที่1จะรับหน้าที่เป็นผู้จัดการเมื่อจำเลยที่1เข้ารับหน้าที่ ผู้จัดการได้ให้ บ.เบิกเงินเกินบัญชีเกินวงเงินที่ทำสัญญาไว้มากเป็นการเกินขอบอำนาจของผู้จัดการสาขาต่อมาบ.ถึงแก่กรรม ธนาคารโจทก์ทราบแล้วไม่ได้ดำเนินการเรียกร้องหรือฟ้องเรียกหนี้จากกองมรดกของบ.ลูกหนี้หรือจากส.ผู้ค้ำประกันทั้งๆที่มี โอกาสจะทำได้จนโจทก์หมดสิทธิฟ้องเพราะขาดอายุความมรดกเมื่อ บ.มีทรัพย์สินและโจทก์มีโอกาสจะได้รับชำระหนี้สิ้นเชิงหาก ดำเนินการฟ้องร้องหนี้นั้นดังนี้การที่โจทก์ไม่ฟ้องร้องย่อมเป็นการละเลยไม่บำบัดปัดป้องหรือบรรเทาความเสียหายถือเป็นเหตุที่ เจ้าหนี้มีส่วนทำความผิดให้เกิดความเสียหายหรือนัยหนึ่งความเสียหายเกิดจากการละเว้นการกระทำของโจทก์ที่ไม่ยอมบำบัด ปัดป้องไม่ให้ความเสียหายเกิดขึ้น จำเลยที่1ซึ่งเป็นตัวแทนผู้กระทำการนอกเหนือขอบอำนาจจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์และจำเลย ที่2ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ย่อมไม่ต้องรับผิดด้วย Note ผู้สอน : กรณีนี้ โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารไม่ได้ฟ้องผู้กู้ยืมเงินให้รับผิดภายในอายุความ ธนาคารจึงมาฟ้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิด และฟ้องลูกจ้างตัวเอง (ผู้จัดการธนาคาร)ให้รับผิด ผู้ถูกฟ้องต่อสู้ว่า การที่ธนาคารฟ้องผู้กู้ไม่ได้ เพราะมีส่วนผิดที่ปล่อยให้คดีขาดอายุความ

70 ฎีกาที่2500/2526 จำเลยมีอาชีพรับซ่อมรถ โดยปกติย่อมมีหน้าที่ระวังรักษาตัวรถที่รับจ้างซ่อมเท่านั้น ไม่อาจรู้ได้ว่าภายในรถมี สิ่งของมีค่าอย่างอื่นอยู่ด้วยหรือไม่เว้นแต่เจ้าของรถหรือผู้นำรถมาซ่อมจะได้บอกกล่าวหรือมอบฝากไว้ เพื่อจำเลยจะได้ ใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษนอกเหนือจากตัวรถ ดังนั้น เมื่อลูกจ้างของโจทก์นำรถมาซ่อมที่อู่ของจำเลยโดยไม่ได้บอก กล่าวให้จำเลยทราบว่าในรถมีสินค้ามีค่าสูงบรรทุกอยู่ในตู้ทึบ และโจทก์มิได้กำชับจำเลยว่าให้มอบรถให้แต่เฉพาะคนที่ ขับรถไปซ่อมเท่านั้น การที่จำเลยมอบรถแก่ผู้ที่แอบอ้างเป็นลูกจ้างโจทก์ไปเป็นเหตุให้สินค้าของโจทก์ในรถสูญหาย ย่อมถือได้ว่า โจทก์มีส่วนทำความผิดก่อให้เกิดความเสียหายประกอบด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442 ศาลมีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดก็ได้โดยอาศัย พฤติการณ์เป็นประมาณ ตามมาตรา 223 Note ผู้สอน: โจทก์เอารถไปซ่อมกับจำเลย ต่อมามีผู้แอบอ้างขโมยรถไปจากอู่ของจำเลย โจทก์จึงมาฟ้องให้จำเลยชดใช้ราคารถ และสินค้าที่อยู่ ในรถ โดยขณะที่นำมาซ่อมโจทก์ไม่ได้แจ้งจำเลยว่า ในรถมีสินค้ามีมูลค่าสูงอยู่ ทำให้จำเลยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังเพิ่มมากขึ้น

71 กรณีที่เจ้าหนี้มีส่วนผิดทั้ง 3 กรณีข้างต้น กฎหมายให้นำไปใช้กับความเสียหายอันเป็นอย่างร้ายแรงผิดปกติ ด้วย ตามมาตรา 223 ว.2 มาตรา ๒๒๓ “ถ้าฝ่ายผู้เสียหายได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วยไซร้ ท่านว่าหนี้ อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญก็คือว่า ความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร วิธีเดียวกันนี้ ท่านให้ใช้แม้ทั้งที่ความผิดของฝ่ายผู้ที่เสียหายจะมีแต่เพียงละเลยไม่เตือน ลูกหนี้ให้รู้สึกถึงอันตรายแห่ง การเสียหายอันเป็นอย่างร้ายแรงผิดปกติ ซึ่งลูกหนี้ไม่รู้หรือไม่อาจจะรู้ได้ หรือเพียงแต่ละเลยไม่บำบัดปัดป้อง หรือบรรเทา ความเสียหายนั้นด้วย อนึ่งบทบัญญัติแห่งมาตรา ๒๒๐ นั้นท่านให้นำมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม”

72 1. ลูกหนี้ต้องคาดเห็นว่าเจ้าหนี้จะได้รับความเสียหาย และ
ความเสียหายอันเกิดจากพฤติการณ์พิเศษ ไม่จำเป็นว่าต้องร้ายแรงผิดปกติเสมอไป ในกรณีความเสียหายนั้นเป็นความเสียหายอันเกิดจากพฤติการณ์พิเศษ แต่ไม่เป็นอย่างร้ายแรงผิดปกติ เจ้าหนี้จะเรียกค่าสิน ไปทดแทนได้ต่อเมื่อลูกหนี้ได้รู้หรือควรจะได้รู้พฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว แต่แม้ลูกหนี้รู้ว่าจะเกิดความเสียหายอันเกิดจากพฤติการณ์พิเศษ แต่เจ้าหนี้ไม่ได้เตือนให้รู้ว่าความเสียหายอันเกิดจาก พฤติการณ์พิเศษนั้นจะเป็นการเสียหายอย่างร้ายแรงผิดปกติ สิทธิของเจ้าหนี้ในการได้รับค่าสินไหมทดแทนย่อมถูกจำกัดตัด ทอนลงมาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 223 สรุป 1. ลูกหนี้ต้องคาดเห็นว่าเจ้าหนี้จะได้รับความเสียหาย และ 2. เจ้าหนี้ได้แจ้งให้ลูกหนี้ ทราบว่าจะเกิดความเสียหายอันเป็นอย่างร้ายแรงผิดปกติ

73 ฎีกาที่2500/2526 จำเลยมีอาชีพรับซ่อมรถ โดยปกติย่อมมีหน้าที่ระวังรักษาตัวรถที่รับจ้างซ่อมเท่านั้น ไม่อาจรู้ได้ว่าภายในรถมีสิ่งของมี ค่าอย่างอื่นอยู่ด้วยหรือไม่เว้นแต่เจ้าของรถหรือผู้นำรถมาซ่อมจะได้บอกกล่าวหรือมอบฝากไว้ เพื่อจำเลยจะได้ใช้ความ ระมัดระวังเป็นพิเศษนอกเหนือจากตัวรถ ดังนั้น เมื่อลูกจ้างของโจทก์นำรถมาซ่อมที่อู่ของจำเลยโดยไม่ได้บอกกล่าวให้จำเลย ทราบว่าในรถมีสินค้ามีค่าสูงบรรทุกอยู่ในตู้ทึบ และโจทก์มิได้กำชับจำเลยว่าให้มอบรถให้แต่เฉพาะคนที่ขับรถไปซ่อมเท่านั้น การ ที่จำเลยมอบรถแก่ผู้ที่แอบอ้างเป็นลูกจ้างโจทก์ไปเป็นเหตุให้สินค้าของโจทก์ในรถสูญหายย่อมถือได้ว่า โจทก์มีส่วนทำความผิด ก่อให้เกิดความเสียหายประกอบด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442 ศาลมีอำนาจกำหนดค่าสินไหม ทดแทนให้โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดก็ได้โดยอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ตามมาตรา 223 Note ผู้สอน: โจทก์เอารถไปซ่อมกับจำเลย ต่อมามีผู้แอบอ้างขโมยรถไปจากอู่ของจำเลย โจทก์จึงมาฟ้องให้จำเลยชดใช้ราคารถ และ สินค้าที่อยู่ในรถ โดยขณะที่นำมาซ่อมโจทก์ไม่ได้แจ้งจำเลยว่า ในรถมีสินค้ามีมูลค่าสูงอยู่ ทำให้จำเลยไม่ได้ใช้ความ ระมัดระวังเพิ่มมากขึ้น

74 ตัวอย่างบทบัญญัติของกฎหมาย
มาตรา ๖๒๐ “ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดในเงินทองตรา ธนบัตร ธนาคารบัตร ตั๋วเงินพันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ ประทวนสินค้า อัญมณี และของมีค่าอย่างอื่น ๆ หากมิได้รับบอกราคาหรือสภาพแห่งของไว้ในขณะที่ส่งมอบแก่ตน แต่ถ้าของนั้นได้บอกราคา ท่านว่าความรับผิดของผู้ขนส่งก็ย่อมจำกัดเพียงไม่เกินราคาที่บอก”

75 ตัวอย่างบทบัญญัติของกฎหมาย
มาตรา ๖๗๔ “เจ้าสำนักโรงแรมหรือโฮเต็ล หรือสถานที่อื่นทำนองเช่นว่านั้น จะต้องรับผิดเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายอย่าง ใด ๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งคนเดินทางหรือแขกอาศัยหากได้พามา” มาตรา ๖๗๕ “เจ้าสำนักต้องรับผิดในการที่ทรัพย์สินของคนเดินทางหรือแขกอาศัยสูญหายหรือบุบสลายไปอย่างใด ๆ แม้ถึงว่า ความสูญหายหรือบุบสลายนั้นจะเกิดขึ้นเพราะผู้คนไปมาเข้าออก ณ โรงแรม โฮเต็ล หรือสถานที่เช่นนั้น ก็คงต้องรับผิด ความรับผิดนี้ ถ้าเกี่ยวด้วยเงินทองตรา ธนบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ ประทวนสินค้าอัญมณี หรือของมีค่าอื่นๆ ให้ จำกัดไว้เพียงห้าพันบาท เว้นแต่จะได้ฝากของมีค่าเช่นนี้ไว้แก่เจ้าสำนักและได้บอกราคาแห่งของนั้นชัดแจ้ง แต่เจ้าสำนักไม่ต้องรับผิดเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือแต่สภาพแห่งทรัพย์สินนั้น หรือแต่ความผิด ของคนเดินทางหรือแขกอาศัยผู้นั้นเอง หรือบริวารของเขา หรือบุคคลซึ่งเขาได้ต้อนรับ”

76 2.4 สิทธิในการเรียกดอกเบี้ย
2.4 สิทธิในการเรียกดอกเบี้ย นอกจากเจ้าหนี้ จะมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนที่ตนได้รับความเสียหายแล้ว ในกรณีที่หนี้นั้น เป็นหนี้เงินเจ้าหนี้ยังมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในกรณี ดังนี้ 2.4.1 สิทธิในการเรียกดอกเบี้ยในหนี้เงินระหว่างลูกหนี้ผิดนัด 2.4.2 สิทธิในการเรียกดอกเบี้ยจากค่าสินไหมทดแทนหนี้ส่งมอบทรัพย์สินอื่น

77 2.4.1 สิทธิในการเรียกดอกเบี้ยในหนี้เงินระหว่างลูกหนี้ผิดนัด
มาตรา ๒๒๔ “หนี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ย ได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด การพิสูจน์ค่าเสียหายอย่างอื่นนอกกว่านั้น ท่านอนุญาตให้พิสูจน์ได้” ข้อพิจารณา หนี้เงิน หมายถึง หนี้ที่ลูกหนี้ต้องชำระด้วยเงิน ซึ่งอาจเกิดจากมูลหนี้ใดๆก็ได้ สัญญาซื้อขาย สัญญาจ้างแรงงาน สัญญากู้ มูลหนี้ละเมิด มูลหนี้ตามกฎหมาย เช่น หนี้ภาษีอากร

78 ประเภทดอกเบี้ย ดอกเบี้ยจำแนกได้ 3 ประเภท ดอกเบี้ยในสัญญา
ดอกเบี้ยผิดนัด ดอกเบี้ยทบต้น

79 ดอกเบี้ยในสัญญา เป็นกรณีสัญญาระบุให้ให้เรียกดอกเบี้ยได้ โดยไม่ต้องรอให้ลูกหนี้ผิดนัด ก่อน ถ้าสัญญาไม่ได้ระบุให้เรียกดอกเบี้ย ก็จะเรียกดอกเบี้ยไม่ได้ ส่วนมากจะพบเห็นในสัญญากู้ยืม, สัญญาเช่าซื้อ ดอกเบี้ยในสัญญา คู่สัญญาจะกำหนดอัตราเท่าใดก็ได้ ยกเว้นแต่จะมีกฎหมายห้ามเอาไว้ เช่น การกู้ยืม มาตรา ๖๕๔ “ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ก็ให้ ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้าต่อปี”

80 ดอกเบี้ยผิดนัด ดอกเบี้ยในหนี้เงินตามมาตรา 224 เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ดอกเบี้ยผิดนัด” เป็นดอกเบี้ยตามกฎหมาย โดยที่ไม่ต้องมี ความตกลงเรื่องดอกเบี้ยเอาไว้ล่วงหน้า แต่จะเรียกได้ต่อเมื่อ ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัด ดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 7 ครึ่งต่อปีเป็นความเสียหายตามกฎหมายที่ลูกหนี้ต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ โดย เจ้าหนี้ไม่ต้องพิสูจน์ความเสียหายของตนแต่อย่างใด เจ้าหนี้สามารถเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่าร้อยละ 7 ครึ่งต่อปีโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย เหตุอันชอบด้วย กฎหมาย อาจเป็น เหตุตามสัญญา มีข้อสัญญากำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดสูงกว่า ร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี เหตุตามกฎหมาย ฎีกาที่ 389/2548 จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างไม่ชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์ตามกำหนด จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดจ่ายดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในหนี้เงินค่าจ้าง ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ มาตรา 9 วรรค 1

81 การคิดดอกเบี้ยผิดนัด
ดอกเบี้ยผิดนัด กฎหมายให้คิดได้ตั้งแต่เวลาที่ลูกหนี้ผิดนัด จนถึงวันที่ลูกหนี้ชำระหนี้ ดอกเบี้ยผิดนัด = ต้นเงิน * อัตราดอกเบี้ยผิดนัด * ระยะเวลา(ตั้งแต่ผิดนัดจนถึงวันที่ลูกหนี้ชำระ) 100 อัตราดอกเบี้ย ปกติจะคิดเป็นอัตราเป็นต่อปี ถ้าระยะเวลาเป็น 1 ปี ก็คูณด้วย 1 ถ้าระยะเวลาเป็น 2 ปี ก็คูณด้วย 2 ถ้าระยะเวลาเป็น 3 เดือน ต้องแปลง 1 เป็นมี 12 เดือน = 3/12 ถ้าระยะเวลาเป็น 45 วัน ต้องแปลง 1 ปีเป็น 365 วัน = 45/365 วัน

82 ตัวอย่างการคิดดอกเบี้ย 1
วันที่ 1 มกราคม 2558 นาย ก. ยืมเงินจากนาย ข จำนวน 10,000 บาท มีกำหนดเวลาคืน 1 ปี โดยไม่มีดอกเบี้ยในการ กู้ยืม เช่นนี้ กำหนดเวลาในการคืนเงิน (ชำระหนี้) คือวันที่ 1 มกราคม 2559 ถ้านาย ก. คืนวันที่ 1 มกราคม 2559 จำนวนเงินที่ต้องชำระให้แก่นาย ข. คือ 10,000 บาท ถ้านาย ก. คืนวันที่ 1 มีนาคม 2559 จำนวนเงินต้นที่ต้องคืน คือ 10,000 บาท และ ดอกเบี้ยผิดนัดอีก (10,000 * * ) = 125 บาท สรุป นาย ก. มีหนี้ที่ต้องชำระให้แก่ นาย ข. = 10,125 บาท ถ้านาย ก. คืนวันที่ 15 มกราคม 2559 ดอกเบี้ยผิดนัดอีก ( 10,000 * * ) = บาท สรุป นาย ก. มีหนี้ที่ต้องชำระให้แก่ นาย ข. = 10, บาท

83 ตัวอย่างการคิดดอกเบี้ย 2
วันที่ 1 มกราคม 2558 นาย ก. ยืมเงินจากนาย ข จำนวน 10,000 บาท มีกำหนดเวลาคืน 1 ปี โดยไม่มีดอกเบี้ยในการ กู้ยืม แต่มีข้อตกลงว่า ถ้านาย ก. ไม่คืนเมื่อถึงกำหนด นาย ก. จะยอมเสียดอกเบี้ยผิดนัด ร้อยละ 10 ต่อปี เช่นนี้ ถ้านาย ก. คืนวันที่ 1 มีนาคม 2559 จำนวนเงินต้นที่ต้องคืน คือ 10,000 บาท และ ดอกเบี้ยผิดนัดอีก (10,000 * * ) = 167 บาท สรุป นาย ก. มีหนี้ที่ต้องชำระให้แก่ นาย ข. = 10,167 บาท

84 คำถาม 1 ม.ค. 58 ก. กู้ยืมเงิน ข. จำนวน 1 หมื่นบาท โดยตกลงจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี มีกำหนดคืน 1 ปี เมื่อครบกำหนดเวลา ก. ต้องมีหนี้ชำระให้แก่ ข. จำนวนเท่าใด ถ้า ก. จะชำระเงินให้ ข. วันที่ 1 มี.ค ก. ต้องชำระเงินให้แก่ ข. จำนวนเท่าใด

85 การคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย : ดอกเบี้ยทบต้น
การคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การคิดดอกเบี้ยทบต้น เหตุที่ห้ามคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย เพราะทำให้จำนวนเงินที่ลูกหนี้ต้องชำระเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากการชำระหนี้ได้อยาก และ เป็นการเอาเปรียบลูกหนี้ (ทำนาบนหลังคน) การคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย จะกระทำได้ต้องมีข้อตกลงระหว่างคู่สัญญา ดังนั้น จึงไม่ใช่ดอกเบี้ยผิดนัด การคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย จะกระทำได้ต่อเมื่อมีกฎหมายกำหนดให้กระทำได้ เช่น ป.พ.พ มาตรา ๖๕๕ มาตรา ๖๕๕ “ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชำระ แต่ทว่าเมื่อดอกเบี้ยค้างชำระไม่น้อยกว่าปีหนึ่ง คู่สัญญากู้ยืม จะตกลงกันให้เอาดอกเบี้ยนั้นทบเข้ากับต้นเงินแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นก็ได้ แต่การตกลงเช่นนั้นต้องทำเป็นหนังสือ ส่วนประเพณีการค้าขายที่คำนวณดอกทบต้นในบัญชีเดินสะพัดก็ดี ในการค้าขายอย่างอื่นทำนองเช่นว่านี้ก็ดี หาอยู่ในบังคับ แห่งบทบัญญัติซึ่งกล่าวมาในวรรคก่อนนั้นไม่”

86 ตัวอย่างการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย
วันที่ 1 มกราคม 2558 นาย ก. ยืมเงินจากนาย ข จำนวน 10,000 บาท มีกำหนดเวลาคืน 1 ปี โดยไม่มีดอกเบี้ยในการกู้ยืม เช่นนี้ ถ้านาย ก. คืนให้นาย ข. วันที่ 1 มีนาคม 2559 และถ้ามีการให้คิดดอกเบี้ยผิดนัดได้ จำนวนเงินที่นาย ก. จะต้องชำระให้ นาย ข. เป็นดังนี้ 1 ม.ค. 59 เริ่มคิดดอกเบี้ย 2 ม.ค. 59 3 ม.ค. 59 4 ม.ค. 59 ดอกเบี้ย=10,000 * 7.5/100 *1/365 = 2 บาท จำนวนที่ต้อชำระ = 10,002 ดอกเบี้ย=10,002 * 7.5/100 *1/365 = บาท จำนวนที่ต้อชำระ = 10,004.05 ดอกเบี้ย=10,004.5 * 7.5/100 *1/365 = บาท จำนวนที่ต้อชำระ = 10,006.1 ดอกเบี้ย=10,006.1 * 7.5/100 *1/365 = บาท จำนวนที่ต้อชำระ = 10,008.2

87 2.4.2 สิทธิในการเรียกดอกเบี้ยจากค่าสินไหมทดแทนหนี้ส่งมอบทรัพย์สินอื่น
มาตรา ๒๒๕ “ถ้าลูกหนี้จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อราคาวัตถุอันได้เสื่อมเสียไประหว่างผิดนัดก็ดี หรือวัตถุอันไม่อาจส่ง มอบได้เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันเกิดขึ้น ระหว่างผิดนัดก็ดี ท่านว่าเจ้าหนี้จะเรียกดอกเบี้ยในจำนวนที่จะต้องใช้เป็นค่าสินไหมทดแทน คิด ตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกะประมาณราคานั้นก็ได้ วิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงการที่ลูกหนี้จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน เพื่อการที่ ราคาวัตถุตกต่ำเพราะวัตถุนั้นเสื่อมเสียลงในระหว่างเวลาที่ผิด นัดนั้นด้วย” สิทธิของเจ้าหนี้ในการเรียกดอกเบี้ยจากค่าสินไหมทดแทนตามาตรา 225 นี้ เป็นกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดไม่ส่งมอบทรัพย์สิน และ ในระหว่างผิดนัดนั้น ราคาวัตถุที่ลูกหนี้ต้องส่งมอบได้ตกต่ำลง หรือมีเหตุให้ลูกหนี้ไม่อาจส่งมอบวัตถุนั้นได้ หรือราคาวัตถุตก ต่ำลงเพราะวัตถุนั้นเสื่อมเสีย เป็นเหตุให้ลูกหนี้ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ และเจ้าหนี้ยังมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากค่า สินไหมทดแทนดังกล่าวด้วย โดยให้เรียกได้นับตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกะประมาณราคา

88 ข้อพิจารณา มาตรา 225 นี้กล่าวถึง สิทธิของเจ้าหนี้ในการเรียกดอกเบี้ย ในหนี้ที่มีวัตถุแห่งหนี้เป็นการส่งมอบทรัพย์สิน ในกรณีที่ทรัพย์สินนั้น เกิดสภาพกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้ ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว คือ ราคาวัตถุที่ลูกหนี้ต้องส่งมอบได้ตกต่ำลง ราคาวัตถุตกต่ำลง อาจมิได้เกิดจากกระทำของลูกหนี้ เช่น เกิดจาก อุปสงค์ของทรัพย์ในขณะนั้น มีเหตุให้ลูกหนี้ไม่อาจส่งมอบวัตถุนั้นได้ เหตุที่ลูกหนี้ไม่อาจส่งมอบทรัพย์ได้ ก็คือ การส่งมอบตกเป็นพ้นวิสัย อาจเกิดจากความผิดของลูกหนี้ หรือไม่ก็ได้ เช่น เหตุสุดวิสัย ราคาวัตถุตกต่ำลงเพราะวัตถุนั้นเสื่อมเสีย วัตถุที่ส่งมอบเสื่อมเสีย อาจเกิดจากความผิดของลูกหนี้ หรือไม่ก็ได้ เช่นเดียวกับลูกหนี้ไม่อาจส่งมอบวัตถุนั้นได้ แต่กรณีนี้ การชำระหนี้ยังไม่ถึง ขั้นตกเป็นพ้นวิสัย

89 ตัวอย่าง ก. ยืมรถยนต์ จาก ข. กำหนดส่งคืนวันที่ 1 กันยายน แต่ ก. ไม่ได้ส่งรถคืนให้แก่ ข. ต่อมาวันที่ 5 กันยายน รถถูกต้นไม้ล้มทับเสียหายทั้งคัน เช่นนี้ ถ้าในระหว่างวันที่ 2 ถึงวันที่ 5 กันยา ข. ต้องเสียค่าเช่ารถ taxi วันละ 500 บาท ค่าสินไหมทดแทนที่ ข. จะเรียกจาก ก. ได้ มีดังนี้ 1. ค่าไม่ได้ใช้รถ ระหว่างวันที่ 2 ถึงวันที่ 5 กันยายน เป็นจำนวน 500 บาทต่อวัน * 3 วัน = 15000 2. ค่าสินไหมทดแทนราคาทรัพย์ คือ ราคารถ 3. ดอกเบี้ยในราคารถ (ค่าสินไหมทดแทนราคาทรัพย์*7.5/100*ระยะเวลาเป็นปี)

90 -ราคาวัตถุที่ลูกหนี้ต้องส่งมอบได้ตกต่ำลง หรือ
ถึงกำหนดชำระหนี้ ไม่ชำระหนี้ ลูกหนี้ ผิดนัด ความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น -ราคาวัตถุที่ลูกหนี้ต้องส่งมอบได้ตกต่ำลง หรือ -มีเหตุให้ลูกหนี้ไม่อาจส่งมอบวัตถุนั้นได้ หรือ -ราคาวัตถุตกต่ำลงเพราะวัตถุนั้นเสื่อมเสีย ค่าสินไหมทดแทน

91 -ราคาวัตถุที่ลูกหนี้ต้องส่งมอบได้ตกต่ำลง หรือ
กำหนดเวลา ชำระหนี้ -ราคาวัตถุที่ลูกหนี้ต้องส่งมอบได้ตกต่ำลง หรือ -มีเหตุให้ลูกหนี้ไม่อาจส่งมอบวัตถุนั้นได้ หรือ -ราคาวัตถุตกต่ำลงเพราะวัตถุนั้นเสื่อมเสีย ลูกหนี้จงใจ หรือ ประมาทเลินเล่อ ความผิดลูกหนี้ ค่าสินไหมทดแทน

92 มาตรา 225 นี้ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในจำนวนที่จะต้องใช้เป็นค่าสินไหมทดแทนคิดตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแก่การกะประมาณราคา หมายความว่า ค่าสินไหมทดแทน กรณีราคาวัตถุตกต่ำลง หรือส่งมอบไม่ได้ หรือเสื่อมเสียลง จะคิดในเวลาใด เพื่อจะได้นำมาเป็นต้นเงิน ในการคิด ดอกเบี้ย ในเรื่องนี้มี 2 ความเห็น เวลาที่จะกะประมาณราคาวัตถุ ได้แก่ เวลาที่เกิดการพ้นวิสัย เพราะเป็นเวลาที่จะส่งมอบให้เจ้าหนี้ แต่ส่งมอบไม่ได้เพราะพ้นวิสัย ดังนั้นจึงต้องคิดราคาเป็นค่า สินไหมทดแทน เวลาที่จะกะประมาณราคาวัตถุ ได้แก่ วันที่ทรัพย์นั้นราคาสูงสุดก่อนที่ทรัพย์จะถูกทำลาย เพราะเป็นความเสียหายที่เจ้าหนี้ควรจะได้รับการชดใช้ เช่นตามตัวอย่าง จะคิดค่าสินไหมทดแทนราคารถให้แก่ ข. ในวันใด ระหว่างวันแรก หรือวันที่ รถถูกต้นไม้ทับ ตัวอย่าง ก. ยืมรถยนต์ จาก ข. กำหนดส่งคืนวันที่ 1 กันยายน แต่ ก. ไม่ได้ส่งรถคืนให้แก่ ข. ต่อมาวันที่ 5 กันยายน รถถูกต้นไม้ล้มทับเสียหายทั้งคัน เช่นนี้ ถ้าในระหว่างวันที่ 2 ถึงวันที่ 5 กันยา ข. ต้องเสียค่าเช่ารถ taxi วันละ 500 บาท ค่าสินไหมทดแทนที่ ข. จะเรียกจาก ก. ได้ มีดังนี้ 1. ค่าไม่ได้ใช้รถ ระหว่างวันที่ 2 ถึงวันที่ 5 กันยายน เป็นจำนวน 500 บาทต่อวัน * 3 วัน = 15000 2. ค่าสินไหมทดแทนราคาทรัพย์ คือ ราคารถ 3. ดอกเบี้ยในราคารถ (ค่าสินไหมทดแทนราคาทรัพย์*7.5/100*ระยะเวลาเป็นปี)

93 ฎีกาที่ 4844/2545 การที่จำเลยจัดหาสถานที่รับฝากสินค้าให้โจทก์ในประเทศสหราชอาณาจักรและเรียกเก็บเงินค่าเก็บรักษาสินค้าจากโจทก์ในนามของจำเลย นั้น มิใช่เป็นการงานที่จำเลยทำให้เปล่าในฐานะที่จำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์และตัวแทนของบริษัท อ. แต่จำเลยและบริษัทดังกล่าวมีผลประโยชน์ร่วมกัน ในการรับฝากสินค้าของโจทก์ถือได้ว่าจำเลยกับพวกเป็นตัวการร่วมกันในการรับฝากสินค้าที่สูญหายจากโจทก์โดยมีบำเหน็จค่าฝากตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 657 และมาตรา 659 วรรคสอง และเนื่องจากสินค้าได้สูญหายเพราะถูกคนร้ายลักเอาไป ทำให้การส่งคืนสินค้าแก่โจทก์ กลายเป็นพ้นวิสัยซึ่งเกิดจากจำเลยกับพวกไม่ได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อรักษาสินค้าของโจทก์ในฐานะเป็นผู้มีวิชาชีพในกิจการค้าขายของตน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659 วรรคสาม จำเลยต้องรับผิดชอบในการสูญหายของสินค้าต่อโจทก์ เมื่อสินค้าได้สูญหายไปอันเป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถส่งมอบให้โจทก์ได้ จำเลยจึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตามราคาของสินค้าที่ โจทก์ซื้อมาพร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันที่สินค้านั้นสูญหายไป โดยถือว่าวันดังกล่าวเป็นเวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกะประมาณราคาตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 218 วรรคหนึ่ง และมาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 224 วรรคหนึ่ง โจทก์ประกอบธุรกิจขายสินค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่และโจทก์ได้สั่งซื้อสินค้าที่สูญหายมาเพื่อขายหากำไรในประเทศไทย จำเลยย่อมทราบดี เพราะจำเลยได้ติดต่อทำธุรกิจรับจัดการขนส่งสินค้าให้แก่โจทก์มาเป็นเวลานานหลายปี การที่สินค้าของโจทก์สูญหายไปจำเลยควรจะคาดเห็นว่าโจทก์ จะต้องได้รับความเสียหายในส่วนที่เป็นค่าขาดกำไรจากการขายสินค้าดังกล่าว จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์สำหรับความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์ พิเศษนี้ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง

94 สิทธิในการบอกปัดไม่รับชำระหนี้
สิทธิของเจ้าหนี้ในการบอกปัดไม่รับชำระหนี้ (right to refusal) เกิดขึ้นได้ 2 กรณี คือ 3.1 ลูกหนี้ผิดนัด และการชำระหนี้กลายเป็นอันไร้ประโยชน์แก่ เจ้าหนี้ ตามมาตรา 216 3.2 การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยแต่เพียงบางส่วน และส่วนที่ยังเป็นวิสัยจะทำได้นั้นเป็นอันไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้ มาตรา 218

95 3.1 ลูกหนี้ผิดนัด และการชำระหนี้กลายเป็นอันไร้ประโยชน์แก่ เจ้าหนี้ ตามมาตรา 216
มาตรา ๒๑๖ “ถ้าโดยเหตุผิดนัด การชำระหนี้กลายเป็นอันไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้เจ้าหนี้จะบอกปัดไม่รับชำระหนี้ และจะเรียกเอาค่าสินไหม ทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ก็ได้” กรณีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ(ลูกหนี้ผิดนัด) กฎหมายให้สิทธิเจ้าหนี้ ในการเลือกที่จะไม่รับชำระหนี้(บอกปัดไม่รับชำระหนี้)ได้ หาก เจ้าหนี้เห็นว่าการชำระหนี้นั้นไม่เป็นประโยชน์อีกต่อไป หลักเกณฑ์ 1. ลูกหนี้ผิดนัด 2. การชำระหนี้เป็นอันไรประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ผล 1. เจ้าหนี้บอกปัดไม่รับชำระหนี้ 2. เจ้าหนี้เรียกให้ลูกหนี้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการไม่ชำระหนี้ได้ นอกจากเจ้าหนี้จะบอกปัดแล้ว กฎหมายยังให้สิทธิเจ้าหนี้ในการเรียกค่าสินไหมทดแทนจากลูกหนี้ด้วย หากเจ้าหนี้ต้องเสียหายอย่างใดๆ

96 ตัวอย่างเช่น ก. เช่าชุดครุยจากร้าน ข. เพื่อใช้เข้ารับปริญญาบัตร ข. ไม่ส่งชุดครุยให้ ก. ตามกำหนด ก. จึงไม่เช่าชุดครุยจากร้านอื่น ต่อมาซึ่งเลยวันรับปริญญา ข. เพิ่งจะนำครุยมาส่งให้ ก. ดังนี้ ก. บอกปัดไม่รับชุดครุย และเรียกค่าสินไหมทดแทนจาก ข. ได้

97 3.2 การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยแต่เพียงบางส่วน และส่วนที่ยังเป็นวิสัยจะทำได้นั้นเป็นอันไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้ มาตรา 218 มาตรา ๒๑๘ “ถ้าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยจะทำได้เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ต้องรับผิดชอบไซร้ ท่านว่า ลูกหนี้จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เจ้าหนี้เพื่อค่าเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่การไม่ชำระหนี้นั้น ในกรณีที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยแต่เพียงบางส่วน ถ้าหากว่าส่วนที่ยังเป็นวิสัยจะทำได้นั้นจะเป็นอันไร้ประโยชน์แก่ เจ้าหนี้แล้ว เจ้าหนี้จะไม่ยอมรับชำระหนี้ส่วนที่ยังเป็นวิสัยจะทำได้นั้นแล้ว และเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้เสียทั้งหมดทีเดียวก็ได้” กรณีที่การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยทั้งหมด ลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นการชำระหนี้ แต่ลูกหนี้ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้หรือไม่ ต้องพิจารณาว่าเป็น ความผิดของลูกหนี้หรือไม่ ตามมาตรา 218 วรรค 1 กรณีที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยแต่เพียงบางส่วน ถ้าส่วนที่ไม่พ้นวิสัยนั้นเป็นอันไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้ กฎหมายให้สิทธิเจ้าหนี้บอกปัดไม่ยอมรับ ชำระหนี้ส่วนที่ยังไม่พ้นวิสัยนั้นได้

98 2. ส่วนที่ไม่พ้นวิสัยนั้นเป็นอันไรประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ผล
หลักเกณฑ์ การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยแต่บางส่วน เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ต้องรับผิดชอบ ลูกหนี้จงใจหรือประมาทเลินเล่อให้การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะความผิดลูกหนี้ ลูกหนี้ผิดนัด 2. ส่วนที่ไม่พ้นวิสัยนั้นเป็นอันไรประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ผล 1. เจ้าหนี้บอกปัดไม่รับชำระหนี้ 2. เจ้าหนี้เรียกให้ลูกหนี้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการไม่ชำระหนี้ได้ นอกจากเจ้าหนี้จะบอกปัดแล้ว กฎหมายยังให้สิทธิเจ้าหนี้ในการเรียกค่าสินไหมทดแทนจากลูกหนี้ด้วย หากเจ้าหนี้ต้องเสียหายอย่างใดๆ เช่น ก. ซื้อม้าพ่อแม่พันธ์จาก ข. 1 คู่ เพื่อจะนำมาเพาะพันธ์จำหน่าย ปรากฏว่า ข. ได้ขายพ่อพ้นธุ์ม้าไปให้บุคคลอื่นซึ่งมาเสนอให้ราคาสูงกว่า ดังนี้ ก. สามารถบอกปัดไม่รับการส่งมอบแม่ม้าและเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้เสียทั้งหมดทีเดียวได้

99 สิทธิในการควบคุมดูแล และสงวนไว้ซึ่งทรัพย์สินของลูกหนี้


ดาวน์โหลด ppt วัตถุแห่งการชำระหนี้

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google