ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal income tax 1)
อ. ดร.หุดา วงษ์ยิ้ม
2
โครงสร้างของกฎหมายภาษีอากร
เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และโทษ การอุทธรณ์ ภาษีอากร การประเมิน การจัดเก็บภาษีอากร อัตราภาษีอากร ฐานภาษีอากร ผู้มีหน้าที่เสียภาษี กฎหมาย
3
การจำแนกภาษีอากรตามกฎหมาย
ภาษีทางตรง ภาษีทางอ้อม - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา - ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต
4
ประเภทภาษีอากรตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร
ของประเทศไทย ภาษี เงินได้ มูลค่าเพิ่ม ธุรกิจเฉพาะ อากร แสตมป์
5
ประเภทของผู้มีเงินได้ที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ผู้ถึง แก่ความตาย กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ห้างหุ้นส่วนสามัญ และคณะบุคคล ที่มิใช่นิติบุคคล
6
เงินได้พึงประเมินและแหล่งเงินได้
เงินได้พึงประเมิน (ม.39) ประมวลรัษฎากรได้หมาย รวมถึงเงินได้พึงประเมินไว้ดังนี้ (1) เงิน (2) ทรัพย์สินที่อาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน (3) ประโยชน์ที่อาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน (4) เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ (5) เครดิตภาษีตามกฎหมายกำหนด ที่ได้รับจริง (เกณฑ์ เงินสด)
7
เงินได้พึงประเมินและแหล่งเงินได้ (ต่อ)
แหล่งเงินได้ (ม.41) ประมวลรัษฎากรได้แบ่งเป็น เงินได้จากแหล่งในประเทศและนอกประเทศ ซึ่ง จะต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือไม่ ให้พิจารณาดังนี้ (1) กรณีเงินได้เกิดจากแหล่งในประเทศ (1.1) หน้าที่งานที่ทำในประเทศไทย หรือ (1.2) กิจการที่ทำในประเทศไทย หรือ (1.3) กิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือ (1.4) ทรัพย์สินอยู่ในประเทศไทย
8
เงินได้พึงประเมินและแหล่งเงินได้ (ต่อ)
(2) กรณีเงินได้เกิดจากแหล่งนอกประเทศไทย (2.1) หน้าที่งานที่ทำในต่างประเทศ หรือ (2.2) กิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือ (2.3) ทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ สำหรับผู้มีเงินได้จากแหล่งนอกประเทศไทยในปีภาษีที่ล่วง มาแล้วจะต้องเสียภาษีเงินได้เมื่อเข้า องค์ประกอบครบทั้ง 2 ประการ ดังนี้ 1. เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยในปีภาษีนั้น ครบ 180 วัน และ 2. ได้นำเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศในปีภาษีนั้นด้วย
9
เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เงินได้ที่สำคัญๆ ที่ได้รับยกเว้นเงินได้พึงประเมินตามที่ กำหนดไว้โดยมาตรา 42 และกฎกระทรวงที่ออกมาตรานี้ เช่น 1. ค่าเบี้ยเลี้ยง หรือค่าพาหนะ 2. ค่าเบี้ยประชุม ค่าสอน ที่ทางราชการจ่ายให้ 3. ดอกเบี้ย 4. การขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์มรดก 5. เงินที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ หรือจากมรดก หรือจาก การให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือโอกาส
10
ดอกเบี้ย ที่ได้รับยกเว้นภาษี ได้แก่ ดอกเบี้ยดังต่อไปนี้ (1) ดอกเบี้ยสลากออมสิน หรือดอกเบี้ยเงินฝากออมสินของ รัฐบาลเฉพาะประเภท ฝากเผื่อเรียก (2) ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์ (3) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืน เมื่อทวงถามประเภท ออมทรัพย์เฉพาะ กรณีที่ผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ย ดังกล่าวในจำนวนรวมกันทั้งสิ้นไม่เกิน 10,000 บาท ตลอดปีภาษี นั้น (4) ดอกเบี้ยเงินฝากที่เกิดจากการฝากเงินกับธนาคารใน ประเทศไทยและจากสหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ในประเทศ เป็นรายเดือนติดต่อกันมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 24 เดือน นับแต่วันที่ฝาก โดยมียอดเงินฝากแต่ละคราวเท่ากันแต่ไม่เกิน 25,000 บาทต่อเดือนและรวมทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 600,000 บาท
11
เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ต่อ)
6. เงินที่ได้จากการประกันภัยหรือฌาปนกิจ สงเคราะห์ 7. รางวัลสลากกินแบ่งหรือสลากออมสินของรัฐบาล 8. ค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้ 9. เงินได้ของชาวนาที่ได้จากการขายข้าว 10. เงินได้ที่ทางราชการจ่ายให้เป็นเงินค่าเช่าบ้าน 11. ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้สุทธิจากการ คำนวณตามมาตรา 48(1) เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาท ในปีภาษีนั้น (พ.ร.ฎ. ฉบับที่ 470)
12
ประเภทของเงินได้พึงประเมิน และการหักค่าใช้จ่าย
เงินได้ตามมาตรา 40(1) – (8) แห่งประมวล รัษฎากร หักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ – มาตรา 46 เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 1. เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ม. 40(1) (ก) เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส บำเหน็จบำนาญ (ข) เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง (ค) เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ให้ (ง) เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ ที่ได้ เนื่องจากการจ้างแรงงาน เช่น ค่าอาหารกลางวัน
13
เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
ให้คำนวณประโยชน์เพิ่มจากการนี้เป็นเงินได้พึงประเมิน ในอัตราร้อยละ 20 ของเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งเงิน เพิ่มตลอดปี (ถ้ามี) โดยไม่รวมโบนัสที่จ่ายเป็นรายปี (แต่ลูกจ้างมีสิทธิโต้แย้งการกำหนดมูลค่าของการได้อยู่ บ้านที่นายจ้างให้อยู่ โดยไม่เสียค่าเช่า)
14
เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
กรณีลูกจ้างหลายคนได้บ้านของนายจ้างหลังเดียวอยู่รวมกัน ให้เฉลี่ยค่าเช่าบ้านที่คำนวณได้เป็นเงินได้ของลูกจ้างแต่ละ คนตามส่วนของเงินเดือน หรือค่าจ้างรวมทั้งเงินเพิ่มตลอดปี (ถ้ามี) โดยไม่รวมเงินโบนัสที่จ่ายเป็นรายปี
15
เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
กรณีลูกจ้างได้อยู่บ้านของนายจ้างโดยไม่เสียค่าเช่า และ เป็นบ้านที่นายจ้างได้ไปเช่าจากบุคคลอื่นมาอีกต่อหนึ่ง ให้คำนวณประโยชน์เพิ่มจากการนี้เป็นเงินได้พึงประเมิน ตามค่าเช่าที่นายจ้างได้จ่ายไปจริง ตาม ป.23/2533
16
ตัวอย่าง บริษัท PTTEP จ้างนายพินิจไปเป็นวิศวกรดูแลโครงการแท่นขุดเจาะ น้ำมัน ที่มาบตาพุด ระยองโดยเช่า service apartment ให้อยู่เป็นราย เดือนเดือนละ 20,000 บาท คิดเป็นเงินได้ตาม 40 (1) หรือไม่ อย่างไร
17
ประเภทของเงินได้พึงประเมิน และการหักค่าใช้จ่าย (ต่อ)
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2 2. เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงาน ม. 40(2) (ก) ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า (ข) เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส (ค) ค่าเช่าบ้านที่ได้รับเนื่องจากหน้าที่ (ง) เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใดๆ (ฉ) เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ ที่ได้ เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ ไม่ว่าชั่วคราว หรือเป็นการประจำ
18
ประเภทของเงินได้พึงประเมิน และการหักค่าใช้จ่าย (ต่อ)
การหักค่าใช้จ่ายของเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1-2 กฎหมายให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ตาม เงื่อนไขที่กำหนด คือ ผู้มีเงินได้ หักเป็นการเหมา ร้อยละ 40 แต่รวมกันไม่เกิน 60,000 บาท สามีภรรยา ต่างฝ่ายต่างหักเป็น การเหมา ร้อยละ 40 แต่ไม่เกินฝ่ายละ 60,000 บาท
19
เงินได้จากการจ้างแรงงานกับเงินได้จากการรับทำงานให้
รายการ จ้างแรงงาน รับทำงานให้ ประเภทเงินได้ ม. 40(1) ม. 40(2) ผู้มีเงินได้ ลูกจ้าง ผู้รับจ้าง ผู้จ่ายเงินได้ นายจ้าง ผู้ว่าจ้าง สัญญาที่ก่อให้เกิดเงินได้ สัญญาจ้างแรงงาน สัญญาจ้างทำของ ความเป็นอิสระในการทำงาน ลูกจ้างไม่มีอิสระในการทำงาน ขึ้นอยู่กับกฎและ ระเบียบของนายจ้าง ผู้รับจ้างมีอิสระในการทำงาน การจ่ายผลตอบแทน นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างตลอดอายุสัญญาที่จ้าง โดยไม่คำนึงถึงผลสำเร็จของงาน ผู้ว่าจ้างกำหนดจ่ายสินจ้างตามผลสำเร็จของงานที่ทำ อันเป็นสาระสำคัญของสัญญา ภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้รับยกเว้น เป็นบริการที่อยู่ในข่ายต้องเสีย VAT
20
ประเภทของเงินได้พึงประเมิน และการหักค่าใช้จ่าย (ต่อ)
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3 3. เงินได้สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ม. 40(3) (ก) ค่าลิขสิทธิ์ (ข) เงินปี ค่ากู๊ดวิลล์ หรือสิทธิอย่างอื่น (ค) เงินที่มีลักษณะเป็นรายปีอันมาจาก พินัยกรรม นิติกรรมอื่น หรือคำพิพากษาของศาล ข้อ(ก) หักค่าใช้จ่ายเหมาได้ร้อยละ 40 แต่ไม่เกิน 60,000 บาท ข้อ(ข)-(ค) กฎหมายไม่ยอมให้หักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
21
เงินได้ตามมาตรา 40(3) ประกอบด้วย
- ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ (Goodwill หรือค่าความนิยม) เช่น ค่าความนิยมในเครื่องหมายการค้า ค่าความนิยมในตัวนักกีฬาฟุตบอล - ค่าแห่งลิขสิทธิ์ เช่น ค่าลิขสิทธิ์ในบทประพันธ์ เครื่องหมายการค้า สูตรกรรมวิธี โปรแกรมคอมพิวเตอร์ - ค่าแห่งสิทธิอย่างอื่น
22
ประเภทของเงินได้พึงประเมิน และการหักค่าใช้จ่าย (ต่อ)
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 4. เงินได้จากดอกผลแห่งเงินลงทุน ม. 40(4) (ก) ดอกเบี้ย (ข) เงินปันผล ส่วนแบ่งกำไร การหักค่าใช้จ่ายกฎหมายไม่ยอมให้หักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
23
เงินได้ตามมาตรา 40(4)(ก)
เงินได้ที่จ่าย ผู้จ่ายเงินได้ ผู้มีเงินได้ ดอกเบี้ยพันธบัตร รัฐบาล, รัฐวิสาหกิจ ผู้ลงทุน ดอกเบี้ยเงินฝาก ธนาคาร และสหกรณ์ ผู้ฝากเงิน ดอกเบี้ยหุ้นกู้ บริษัทจดทะเบียน รัฐวิสาหกิจ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม บริษัทเงินทุน หลักทรัพย์ เครดิตฟองซิเอร์ บริษัท หรือห้างฯ นิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น หรือผู้กู้ยืมอื่น ผู้ให้กู้ยืม ดอกเบี้ยตั๋วเงิน บุคคลใดๆ , บริษัท
24
เงินได้ตามมาตรา 40(4)(ข)
ผู้จ่ายเงินได้ เงินได้ที่จ่าย ผู้มีเงินได้ บริษัทจำกัด เงินปันผล ผู้ถือหุ้น ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เงินส่วนแบ่งของกำไร ผู้เป็นหุ้นส่วน กิจการร่วมค้าที่ประกอบ กิจการในประเทศไทย ผู้เข้าร่วมค้า/ ผู้เป็นหุ้นส่วน กองทุนรวมตามม. 39 หรือ IFCT ผู้ถือหน่วยลงทุน * สำหรับเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากกองทุนรวมตามกม.ว่าด้วย หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8)
25
เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและ J.V. ซึ่งได้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิแล้ว ถูกหัก WT. 10% ตามม. 50(2), 48(3) ใช่ เลือกเสียภาษีเงินได้ เท่าที่ถูกหัก WT 10% Final Tax ไม่ใช่ นำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้ตาม ม.48(1) เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ = เงินปันผลฯ คูณ อัตรา CIT หารด้วย (100 – อัตรา CIT) แล้วนำไปรวมเป็นเงินได้เพื่อคำนวณจำนวน PIT
26
ปรัชญาเครดิตภาษีเงินปันผล
เนื่องจากบริษัทเสียภาษีไปชั้นหนึ่งแล้ว เพื่อสนับสนุนให้ ประชาชนลงทุนในบริษัท เป็นการช่วยให้เศรษฐกิจของ ชาติขยายตัว ดังนั้น เครดิตภาษีเงินปันผล จึงเกิดขึ้น โดยกฎหมายให้ทางเลือกว่าจะนำเงินปันผลมารวม คำนวณเป็นเงินได้ใน ภงด. หรือจะเลือกถูกหัก ณ ที่จ่าย แล้วไม่ต้องนำมารวมคำนวณในแบบ ภงด. อีก แต่ถ้านำมารวมคำนวณใน ภงด. ก็ต้องนำรายได้ เงินปัน ผลทุกก้อนมาคำนวณ จะเลือกเฉพาะบางบริษัทมารวม ไม่ได้
27
ประเภทของเงินได้พึงประเมิน และการหักค่าใช้จ่าย (ต่อ)
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 5. เงินได้จากค่าเช่าทรัพย์สิน ม. 40(5) (ก) บ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอื่น (ข) ที่ดินที่ใช้ในการเกษตรกรรม (ค) ที่ดินที่ไม่ได้ใช้ในการเกษตรกรรม ข้อ (ก) หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 30 ยกเว้นการให้เช่าช่วง ข้อ (ข) หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 20 ยกเว้นการให้เช่าช่วง ข้อ (ค) หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 15 ยกเว้นการให้เช่าช่วง
28
เงินได้ตามมาตรา 40(5) ตัวอย่าง
ธนาคาร A เช่าที่ดินจากนาย ก ตั้งแต่วันที่ 10 ม.ค.52 เพื่อสร้างสาขาใหม่ โดยตกลงจ่ายค่าเช่า เดือนละ 100,000 บาททุกวันที่ 10 ของแต่ละ เดือน นาย ก ต้องนำรายได้ค่าเช่ายื่นภาษีเป็นเงินได้ ประเภทที่ 5 สำหรับปีภาษี 2552 เท่าใด
29
เงินได้ตามมาตรา 40(5) รายได้ค่าเช่า เดือนละ 100,000 บาท
10 ม.ค – 10 ธ.ค. 2552 = 1,200,000 บาท (12 เดือน x 100,000 บาท)
30
ประเภทของเงินได้พึงประเมิน และการหักค่าใช้จ่าย (ต่อ)
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6 6. เงินได้จากวิชาชีพอิสระ ม. 40(6) (ก) การประกอบโรคศิลป (ข) กฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี ประณีตศิลปกรรม และวิชาชีพอื่น ข้อ (ก) หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 60 ข้อ (ข) หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 30
31
ประเภทของเงินได้พึงประเมิน และการหักค่าใช้จ่าย (ต่อ)
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 7 7. เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วย การจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ ม. 40(7) การหักค่าใช้จ่ายหักได้ตามความจำเป็นและสมควร หรือหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ในอัตราร้อยละ70
32
ประเภทของเงินได้พึงประเมิน และการหักค่าใช้จ่าย (ต่อ)
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 8. เงินได้นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ ม. 40(8) การหักค่าใช้จ่ายหักได้ตามความจำเป็นและสมควร หรือหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ในอัตราร้อยละตามตารางท้ายมาตรานี้ เช่น เงินได้จากการเป็นนักแสดง (ก) ส่วนที่ไม่เกิน 30,000 บาท หักได้ร้อยละ 60 (ข) ส่วนที่เกิน 30,000 บาท หักได้ร้อยละ 40 ซึ่งรวมข้อ (ก) และ (ข) ต้องไม่เกิน 600,000 บาท
33
เงินได้ตามมาตรา 40(7) เงินได้ตามมาตรา 40(8) เงินได้ตามมาตรา 40(7)
เงินได้ที่เป็นค่าจ้างทำของ สัญญาจ้างทำของ ที่มุ่งผลสำเร็จของงาน บริการ + สัมภาระ ผู้รับจ้างจัดหาสัมภาระในส่วน สำคัญนอกจากเครื่องมือ ผู้รับจ้างไม่ได้จัดหาสัมภาระให้ แต่กระทำเป็นธุรกิจที่มีค่าใช้จ่ายสูง เงินได้ตามมาตรา 40(7) เงินได้ตามมาตรา 40(8)
34
To be continue…….
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.