งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

รูปแบบรายการโทรทัศน์ Type in TV Program

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "รูปแบบรายการโทรทัศน์ Type in TV Program"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 รูปแบบรายการโทรทัศน์ Type in TV Program
โครงการปฏิบัติการสร้างสรรค์ รายการวิทยุโทรทัศน์ รูปแบบรายการโทรทัศน์ Type in TV Program

2 1. รายการสดในสตูดิโอ/ห้องส่ง (Live Program in Studio)
เป็นรายการที่จัดทำขึ้นสด ๆ ในห้องส่ง และออกอากาศพร้อมกันไปทันที จะต้องมีการซ้อมการออกอากาศล่วงหน้า และมีการนัดหมายกันระหว่างผู้ผลิต ผู้กำกับรายการ และผู้ร่วมงานอื่น ๆ เพื่อป้องกันการผิดพลาด ข้อดี คือประหยัดเงิน และเวลา แต่เป็นการเสี่ยงถ้าเจออุปสรรคใด ๆ ระหว่างออกอากาศ ก็อาจจะแก้ไขไม่ได้ทันท่วงที

3 2. รายการสดนอกสถานที่ เป็นรายการที่จัดทำขึ้นนอกห้องส่ง หรือเป็นการ ถ่ายทอดโดยใช้รถถ่ายทอดซึ่งมีอุปกรณ์ครบครัน (Outside Broadcasting Van) รายการประเภทนี้จะจัดทำขึ้นในกรณี พิเศษ เช่น การถ่ายทอดพระราชพิธีต่าง ๆ กีฬานัดสำคัญ ฯลฯ รายการดังกล่าวไม่สามารถจัดทำในห้องส่งได้

4 3. รายการที่มีการบันทึกเทปไว้ล่วงหน้า (Video Tape Recording)
หรือรายการแห้ง เป็นรายการที่ได้จัดทำไว้ล่วงหน้าโดย บันทึกรายการลงในเทปโทรทัศน์ แล้วนำเทปโทรทัศน์ที่บันทึก รายการลงไว้แล้วมาแพร่ภาพออกอากาศจริง ๆ อีกทีหนึ่ง รายการแบบนี้นับว่าเป็นรายการที่ผลิตได้ถูกต้อง เพราะมีปัญหา ใดๆ สามารถแก้ไขข้อผิดพลาดได้ด้วยการบันทึกและตัดต่อเทป ในบางครั้งต้องใช้เงินลงทุนสูง เพื่อทำให้รายการมีคุณภาพ

5 ประเภทของรายการโทรทัศน์ รายการโทรทัศน์ ถ้าจะจำแนกรูปลักษณ์การนำเสนอโดยละเอียดแล้ว สามารถจำแนกได้ 3 ประเภท 1. รายการโทรทัศน์เพื่อการค้า ( Commercial Television : CTV) เป็น รายการที่เราพบเห็นอยู่ทั่วไป ซึ่งสถานีส่งโทรทัศน์ส่วนใหญ่ จัดได้ว่า เป็นโทรทัศน์เพื่อการค้า รายการที่นำเสนอก็เป็นด้าน บันเทิง และธุรกิจ การค้า การโฆษณา

6 2. รายการโทรทัศน์การศึกษา ( Education Television : ETV) เป็นรายการที่นำเสนอเพื่อความรู้ทั่วๆ ไป เช่น ความรู้ทางวิชาการด้านต่าง ๆ ศาสนา ขนบประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ซึ่งบางครั้งอาจจะมีการ โฆษณาอยู่บ้างในกรณีที่มีผู้สนับสนุนรายการ

7 3. รายการโทรทัศน์การสอน (Instructional Television : ITV) เป็นรายการทีวีที่นำเสนอ เพื่อการเรียนการสอนโดยตรง ทั้งในระบบและ นอกระบบโรงเรียนซึ่งการแพร่สัญญาณก็อาจจะเป็นได้ทั้งระบบวงจร ปิด (Close - Circuit Television ) คือส่งสัญญาณตามสายไปยังเครื่องรับ หลาย ๆ เครื่องในสถาบันการศึกษานั้น ๆ หรือเป็นระบบวงจรเปิด (Open - Circuit Television ) ที่ส่งสัญญาณออกอากาศไปยังผู้รับไป สถานศึกษาที่อยู่ในสถานที่ต่าง ๆ ในลักษณะของการสอนทางไกล หรือ การประชุมทางไกล (Video Conferencing) หรืออาจจะเป็นการ ออกอากาศ ตามตารางปกติในรายวิชาที่สอน

8 การผลิตรายการโทรทัศน์การศึกษา
 การผลิตรายการโทรทัศน์การศึกษา     การผลิตรายการโทรทัศน์ทางการศึกษา ระบบหรือกระบวนการ ผลิต ก็คล้ายคลึงกับการผลิตรายการโทรทัศน์ด้านอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับว่า จุดมุ่งหมายในการผลิตรายการแต่ละครั้งนั้นเราต้องการอะไร ผลิต ให้กับใคร สถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง มีศักยภาพที่แตกต่างกัน ความ พร้อมในด้านบุคลากร เครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ ที่จะผลิตรายการ โทรทัศน์ ย่อมมีความหลากหลายแตกต่างกัน

9 โดยทั่วไปจะผลิตวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาใน 3 ลักษณะ คือ         1) วีดิทัศน์สำหรับสอน (Instructional Video Program) เป็นรายการ ที่มีขั้นนำ ขั้นสอนและขั้นสรุปสมบูรณ์ในตัวเอง การผลิตจะต้อง เตรียมการอย่างดี เนื่องจากการใช้วีดิทัศน์แบบนี้จะเป็นการใช้เพื่อสอน แทนครูหรือครูอาจจะเกริ่นนำแล้วให้ชมวีดิทัศน์ เมื่อชมจบแล้วครู อาจจะสรุปประเด็นและมอบหมายงาน

10               2) วีดิทัศน์สำหรับเสริม (Enrichment Video Pragram) มักจะเป็น รายการสั้น ๆ จบลงในตัวเอง แต่ละเรื่องจะมีแนวคิดเดียว ส่วนใหญ่จะ เป็นการใช้คั่นการสอนของครู ใช้เสริมในรายละเอียดหรือสิ่งที่ครูไม่ สามารถแสดงให้ผู้เรียนเห็นเป็นรูปธรรมได้หรืออาจจะใช้เป็นการสรุป ประเด็นการสอนของครูก็ได้

11               3) วีดิทัศน์ที่ใช้เป็นสื่อ (Teaching Media Video) เป็นรายการที่ครู จะใช้ประกอบการสอนซึ่งผู้ใช้คือครู เพราะวีดิทัศน์ประเภทนี้จะไม่ สมบูรณ์ในตัวเอง ต้องอาศัยการอธิบาย ขยายความของครูผู้สอน ประกอบด้วย ดังนั้นการใช้วีดิทัศน์แบบนี้ครูต้องเตรียมการสอนอย่างดี

12 รูปแบบรายการวิทยุโทรทัศน์
(Program Format) หมายถึง เทคนิค วิธีและลีลาการนำเสนอเนื้อหาสาระ ข่าวสาร บุคคล ตลอดจนสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในรายการโทรทัศน์ ให้ผู้ชม สามารถรับทราบได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ชัดเจนและน่าสนใจ ซึ่งรูปแบบรายการวิทยุโทรทัศน์มีหลากหลายรูปแบบ สรุปได้ดังนี้

13 1. รูปแบบรายการพูดหรือบรรยายคนเดียว (Monologue Program Format) รูปแบบนี้เป็นรายการที่มีผู้มาปรากฏตัวบนจอโทรทัศน์เพียงคนเดียว และพูดคุยกับผู้ชม ส่วนมากจะมีภาพประกอบเพื่อมิให้เห็นหน้าผู้พูด ตลอดเวลา รูปแบบของรายการนี้จะน่าสนใจ เมื่อผู้ดำเนินรายการหรือ ผู้พูดมีความรู้ความสามารถในการพูดและนำเสนอเนื้อหาสาระได้ดี พร้อมกับมีภาพหรือภาพยนตร์ประกอบ

14 2. รูปแบบรายการสัมภาษณ์ (Interview Program Format) รูปแบบนี้เป็นรายการที่มีผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์หรือวิทยากร มาสนทนากันโดยมีการดำเนินรายการ สัมภาษณ์ในเรื่องที่ต้องการให้ ผู้ถูกสัมภาษณ์มาเล่าให้ฟัง ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับกระบวนการ หน่วยงานหรือผลงานบางอย่าง รวมทั้งความคิดเห็นเกี่ยวกับ สถานการณ์ต่างๆ ผู้สัมภาษณ์จะต้องเตรียมคำถามเป็นชุดๆ เพื่อให้ สามารถป้อนคำถามได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งสามารถปรับคำถามให้ เข้ากับการเปลี่ยนแปลงในเนื้อหาของผู้ให้สัมภาษณ์ได้ รายการลักษณะนี้อาจมีเวลายาวนานหรือเป็นสัมภาษณ์สั้นๆ ที่นำไปเป็น ส่วนหนึ่งของรายการสารคดีหรือรายการบรรยายคนเดียวได้

15 3. รูปแบบรายการสนทนา (Dialogue Program Format) รูปแบบนี้เป็นรายการที่มีคนมาพูดคุยกัน 2 คนขึ้นไป มีผู้ถามและคู่สนทนา แสดงความคิดเห็นในประเด็นที่นำเสนอ อาจแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กันก็ได้ รายการสนทนาแบบนี้อาจมีหลายคน โดยมีผู้ดำเนินรายการ เป็นผู้นำสนทนา เชื่อมโยงประเด็นและควบคุมการสนทนาให้เป็นไป ด้วยดี รูปแบบนี้จะต่างกับรายการสัมภาษณ์ตรงที่รายการสัมภาษณ์เน้น การถามและตอบมากกว่า ในขณะที่รายการสนทนาจะเน้นการแสดง ความคิดเห็น มักเป็นการร่วมกันวิเคราะห์เหตุการณ์ เช่น การเลือกตั้ง เป็นรายการที่ทำให้ผู้ชมได้รับความคิดที่หลากหลาย บางครั้งอาจจัดให้ มีผู้เข้าร่วมรายการด้วยและเปิดโอกาสให้ซักถามหรือร่วมแสดงความ คิดเห็นด้วย

16 4. รูปแบบรายการเกมหรือตอบปัญหา (Game Show or Quiz Program Format) รายการเกมหรือตอบปัญหา โดยปกติเป็นการแข่งขันระหว่างบุคคลหรือ ผู้ทายปัญหาอยู่ตรงกลาง ผู้เข้าร่วมรายการอาจจะผลัดกันตอบคำถาม สำหรับคำถามที่ไม่มีผู้ใดตอบได้ ก็อาจเปิดโอกาสให้ใครก็ได้ ขึ้นอยู่กับ วิธีดำเนินการของพิธีกร อาจจะมีรางวัลสำหรับฝ่ายชนะ ส่วนฝ่ายแพ้ ได้รางวัลปลอบใจ รายการแบบนี้อาจจะจัดอยู่ในลักษณะที่ให้ผู้ชมมี ส่วนร่วมด้วย จึงต้องมีการควบคุมมิให้ผู้ร่วมรายการส่งเสียงดัง จนเกินไปเพราะอาจรบกวนสมาธิของผู้ตอบปัญหาหรือผู้ชมอาจส่งเสียง บอกคำตอบจนผู้ตอบไม่สามารถตัดสินใจได้ ผู้ดำเนินรายการนั้นต้องมี ความสำรวมและไม่ดูถูกผู้ชมด้วยการตั้งคำถามที่ตื้นจนเกินไป

17 5. รูปแบบรายการสารคดี (Documentary Program Format) รายการสารคดี เป็นรายการโทรทัศน์ที่เล่าเรื่องราวที่น่าสนใจให้ผู้ชมเข้าใจ อย่างแจ่มแจ้ง สารคดีนั้นควรจะให้ความรู้ ความเพลิดเพลิน เร้าอารมณ์ และการโน้มน้าวจิตใจ สารคดีทางโทรทัศน์สามารถเสนอได้หลาย รูปแบบ เช่น ด้วยภาพสไลด์ ภาพยนตร์ เป็นต้น รายการสารคดีจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ

18 5.1 สารคดีเต็มรูปแบบ เป็นลักษณะของรายการที่ดำเนินเรื่องด้วยภาพตลอด อาจมีการถาม ความเห็นของผู้เกี่ยวข้องบ้างแต่ในช่วงสั้นๆ อาจจะเสนอคนเดียวกันได้ หลายครั้งและรายการเดียวอาจมีผู้ให้ความคิดเห็นหลายๆ ทัศนะใน หลายๆ บุคคล แต่รายการส่วนใหญ่จะเสนอภาพที่เป็นกระบวนการ หรือเรื่องราวตามธรรมชาติ โดยไม่มีผู้ดำเนินรายการ

19 5.2 รายการกึ่งสารคดีกึ่งพูดคนเดียว เป็นรายการโทรทัศน์ที่มีผู้ดำเนินการทำหน้าที่เดินเรื่อง พูดคุยกับผู้ชมและ ให้เสียงบรรยายตลอดรายการ โดยมีผู้ดำเนินรายการปรากฏตัวตอนต้น รายการเท่าที่จำเป็นและตอนสรุปรายการ นอกนั้นเป็นภาพแสดงเรื่อง หรือกระบวนการตามธรรมชาติ อาจมีตัวบุคคลไปสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง เข้ามาแทรกเพื่อเสริมความคิดเห็นได้ ผู้ดำเนินรายการอาจพูดในสตูดิโอ หรือพูดในสถานที่ถ่ายทำ เช่น ภาพยนตร์เกี่ยวกับธรรมชาติก็ไปพูดใน ป่าบริเวณที่มีสัตว์ประเภทนั้นอาศัยอยู่ รายการสารคดีเป็นรายการที่ให้ความรู้และการศึกษาได้ดีมาก แต่ต้อง เสียเวลาในการเก็บภาพที่ดีและตรงความต้องการจึงเป็นรายการที่ต้องใช้ งบประมาณและเวลาสูง

20 6. รูปแบบรายการละคร (Drama Program Format) เป็นรายการที่เสนอเรื่องราวต่างๆ ด้วยการจำลองเหตุการณ์ มีการกำหนดผู้ แสดง จัดสร้างฉาก แต่งตัว แต่งหน้าตัวแสดงให้สมจริงและใช้เทคนิค ทางการละคร เสนอเรื่องราวให้เหมือนจริงมากที่สุด ใช้ได้ทั้งเป็น รายการบันเทิงและรายการเพื่อการศึกษา ในด้านการศึกษาละครโทรทัศน์จำลองสถานการณ์ชีวิตของคนในสังคม เพื่อสนองความรู้ในเชิงประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครอง ฯลฯ โดยให้ตัวละครพูดคุยและให้ข้อคิด ผู้ชมจะเรียนรู้จากคำพูดหรือ เรื่องราวที่ตัวละครเสนอในขณะเดียวกันก็ให้ความบันเทิงไปด้วย เช่น สี่แผ่นดิน ทหารเสือพระเจ้าตาก สงครามเก้าทัพ ฯลฯ ผู้ชมจะไม่ รู้สึกตัวว่าได้รับความรู้เพราะคิดว่าเป็นรายการบันเทิงแต่เพียงอย่างเดียว

21 ละครหลายตอนจบ (soap opera)
มีการเสนอเรื่องราวอย่างต่อเนื่อง โดยจะมีตัวละครเอก 2-3 คน และตัวประกอบตามแต่ข้อกำหนดทางธุรกิจ และมีการบันทึกเทปเพื่อนำเสนอเป็นตอนๆ

22 ละครพิเศษ(dramatic special)
เป็นละครที่มีการจัดทำพิเศษในวาระโอกาสต่างๆ โดยมี จุดมุ่งหมายแตกต่างกันไป เช่น วันแม่ วันเยาวชนโลก เป็นต้น โดยมีผู้อุปถัมภ์รายการพิเศษ ความยาวของละครจะอยู่ ระหว่าง 90 นาที - 2 ชั่วโมง

23 ละครเป็นตอนๆ(Anthology series)
ละครประเภทนี้มีการเขียนบทจบในตอน ความแตกต่างของ บทเป็นไปตามแนวคิดของผู้แต่งแต่ละคนและจะนำเสนอทุก อาทิตย์ เช่น รายการ twilight zone เป็นต้น

24 7. รูปแบบรายการสาระละคร (Docu-drama Program Format) เป็นรูปแบบรายการที่ผสมผสานรูปแบบสารคดีเข้ากับรูปแบบละครหรือ การนำละครมาประกอบรายการที่เสนอสาระบางส่วน มิใช่เสนอเป็น ละครทั้งรายการ จุดมุ่งหมายเพื่อให้การศึกษา ความรู้ และแนวคิดใน เรื่องที่เสนอ เช่น ด้านนิเทศศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา เป็นต้น ทั้งนี้จะต้องมีผู้ดำเนินรายการสรุปอธิบายหรือขยายสาระที่ดูจากส่วนที่ เป็นละครเสมอ

25 8. รูปแบบรายการสาธิตทดลอง (Demonstration Program Format) เป็นรายการที่เสนอ “ วิธีทำ” หรือ “ กระบวนการ” อะไรสักอย่างหนึ่ง เพื่อให้ผู้ชมได้แนวทางที่จะนำไปใช้ทำจริง เช่น รายการปรุงอาหาร รายการเลี้ยงสัตว์ รายการประดิษฐ์ งานฝีมือ รายการทางการสอน รายการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

26 9. รูปแบบรายการเพลงและดนตรี (Song and Music Program Format) เป็นรายการที่เสนอการบรรเลงดนตรีและการใช้เพลงมี 4 รูปแบบ คือ 9.1 แบบมีวงดนตรีและนักร้องมาแสดงในสตูดิโอ 9.2 แบบมีนักร้องมาร้องในสตูดิโอควบคู่ไปกับเสียงดนตรีที่บันทึกเสียงไว้ 9.3 แบบที่ให้นักร้องและดนตรีมาเล่นและร้องในสตูดิโอ แต่ใช้เสียงที่ได้ จากการเปิดเทปทั้งหมด 9.4 แบบมีภาพประกอบเพลง ภาพที่ใช้ประกอบจะเป็นเรื่องราวสั้นๆ และสอดคล้องกับเนื้อเพลง ทำให้เห็นจุดมุ่งหมายหรือเข้าใจในเนื้อ เพลงมากขึ้น

27 10. รูปแบบรายการนิตยสาร (Magazine Program Format) รายการนิตยสารหรือมักนิยมเรียกทับศัพท์ว่า รายการแม็กกาซีน เป็นรายการที่ใช้รูปแบบในการนำเสนอแบบเดียวกับนิตยสาร คือ ในรายการเดียวกันจะประกอบไปด้วยส่วนย่อยหลายๆ เหตุการณ์ โดยทั่วไปมักจะเป็นเรื่องในแนวเดียวกัน จุดเด่นของรายการประเภทนี้ คือความสามารถในการเชื่อมโยงให้ส่วนต่างๆ เข้ามาเป็นรายการ เดียวกันอย่างสอดคล้องกลมกลืน รายการประเภทนี้ก็มี Variety Show ตีสิบ ทไวไลฟ์โชว์ เป็นต้น ซึ่งเป็นรายการที่มีการแสดงหลายๆ อย่าง สลับกันไป เช่น ร้องเพลง เล่นตลก แข่งขัน สัมภาษณ์ โชว์แปลกๆ ฯลฯ รายการประเภทนี้มักจะหนักไปทางด้านความบันเทิง

28 11. รูปแบบรายการข่าว (NEWS Program Format) เป็นรายการที่เสนอรายงานเหตุการณ์ที่สำคัญ ซึ่งเป็นที่สนใจของประชาชน ข่าวเป็นสิ่งที่ช่วยให้คนทันโลกอยู่เสมอ ลักษณะของรายการจะใช้ ผู้บรรยาย 2-3 คน และจัดฉากด้านหลังให้ดูสวยงาม น่าสนใจ การบรรยายจะสลับกันบรรยายเพื่อมิให้เกิดความเบื่อหน่าย พร้อมกับมี ภาพเหตุการณ์ที่กำลังรายงานประกอบอย่างชัดเจน รายการข่าวจึงจัดได้ ว่าเป็นการให้การศึกษาต่อผู้ชมด้วย

29 12. รูปแบบรายการถ่ายทอดสด (Live Program Format) เป็นรายการที่ถ่ายทอดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เช่น กีฬา กรีฑา งานมหกรรม หรืองานพระราชพิธีต่างๆ รายการถ่ายทอดสดมักจะเริ่มรายการก่อน เริ่มพิธีหรือเหตุการณ์ โดยมีผู้บรรยายเหตุการณ์เสนอเรื่องราวต่างๆ เมื่อเริ่มเหตุการณ์ ก็นำเสนอเรื่องราวที่เกิดขึ้นตามลำดับทั้งภาพและเสียง โดยมีผู้บรรยายคอยพูดเชื่อมเหตุการณ์ให้ผู้ชมได้ทราบความเป็นไป โดยเฉพาะการพูดบรรยายเชื่อมในขณะที่ภาพที่ปรากฏไม่มีเสียงออกมา เพื่อมิให้เกิดความเงียบขึ้นในโทรทัศน์

30 13. รูปแบบรายการสอนแบบจุลภาค (Micro-Teaching Program Format) ลักษณะเป็นการสอนในสถานการณ์แบบย่อส่วนในห้องเรียนแบบง่าย ที่สามารถจะควบคุมได้ทุกกระบวนการ โดยใช้นักเรียน 5-6 คน ใช้เวลา สอนประมาณ นาที เป็นการสอนที่มุ่งฝึกทักษะเฉพาะในการสอน เช่น ทักษะการนำเข้าสู่บทเรียน ทักษะการตั้งคำถาม ทักษะในการสรุป เป็นต้น จุดมุ่งหมายเพื่อฝึกทักษะต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในสถานการณ์จริง ต่อไป การสอนแบบจุลภาพนี้มุ่งให้ออกมาทดลองสอน และประเมินผล จากข้อมูลย้อนกลับโดยใช้โทรทัศน์

31 14. รูปแบบรายการสถานการณ์จำลอง (Constrived Program Format) รูปแบบนี้ส่วนใหญ่จะใช้ในการศึกษาเฉพาะกรณี ลักษณะจะสร้าง สถานการณ์ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นกรณีตัวอย่างในการศึกษา เช่น สถานการณ์ จำลองการแนะแนว สถานการณ์จำลองการ บริหารงาน สถานการณ์ จำลองการควบคุมชั้นเรียน สถานการณ์จำลองการสอน เป็นต้น โดยทั่วไปเพื่อให้เห็นแนวทางในการปฏิบัติและการแก้ปัญหา

32 15. รูปแบบรายการสอนโดยตรง (Direct-Teaching Program Format) เป็นรายการที่เสนอการเรียนการสอนของครูในแต่ละเนื้อหาวิชา โดยมี ผู้เรียนเป็นกลุ่ม เป้าหมายหลักของรายการ รายการในลักษณะการสอน โดยตรงอาจแบ่งวิธีการนำเสนอได้ 3 วิธี คือ 15.1 ถ่ายทอดรายการสดด้วยระบบวงจรปิด อาจจะใช้ในห้องเรียนขนาด ใหญ่หรือทำการถ่ายทอดไปยังห้องเรียนต่าง ๆ ในบริเวณใกล้เคียง ทำ ให้สอนได้เป็นจำนวนมาก ๆ และผู้เรียนเหมือนในห้องเรียนปกติ 15.2 ถ่ายทอดสดออกอากาศไปยังโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาต่าง ๆ 15.3 บันทึกเทปโทรทัศน์ ซึ่งจะลดความบกพร่องต่าง ๆ ได้อย่างดีก่อนที่จะ นำไปสู่ผู้ชมหรือผู้เรียน อาจนำไปเผยแพร่ในระบบวงจรปิดหรือวงจร เปิดก็ได้

33 16. รูปแบบรายการโต้วาที (Debate Program Format) เป็นการนำเอาการพูดแบบโต้วาทีมาเสนอในทางโทรทัศน์ ซึ่งส่วนมากจะ ไม่ค่อยได้พบ แต่รายการลักษณะนี้ก็สามารถนำมาเป็นรายการโทรทัศน์ ได้เป็นอย่างดี แต่ควรเลือกญัตติหรือหัวข้อที่มีประโยชน์และน่าสนใจ รายการจะน่าสนใจหรือไม่ขึ้นอยู่กับศิลปะการพูด ความรู้ของผู้พูด และประธานจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการสร้างบรรยากาศ และ พูดประสานระหว่างฝ่ายเสนอกับฝ่ายค้าน ให้เรื่องราวต่างๆ กลมกลืน ไปในทิศทางเดียวกัน ลักษณะของรายการประเภทนี้ เช่น เวทีวาที

34 17. รูปแบบรายการบทความ (Straight Talk Program Format) มีลักษณะค่อนเป็นข้างนามธรรม หากผู้จัดรายการไม่มีศิลปะในการพูด และจูงใจผู้ชมก็อาจจะประสบกับความล้มเหลวได้ง่าย ความสำเร็จในการจัดทำรายการขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการ คือ 17.1 ความสามารถในการใช้ศิลปะการพูดต่อชุมชน 17.2 ความรู้ความสามารถในเชิงวิชาการ ในปัจจุบันนี้ไม่นิยมจัดรายการแบบบทความยาวๆ แต่จัดเป็นรายการสั้น ๆ เน้นที่ประเด็นใดประเด็นหนึ่ง บางทีก็สอดแทรกในรายการอื่นๆ เพื่อให้ผู้ชมและผู้ฟังไม่เกิดความเบื่อหน่าย เช่น แทรกในรายการเพลง หรือจัดเป็นรายการหลังข่าว เช่น คุยกันหลังข่าว

35 รายการผู้หญิง ปัจจุบันบทบาทของผู้หญิงต่อครอบครัว ต่อสังคม เศรษฐกิจ การเมืองมีมากขึ้น โดยเฉพาะผู้หญิงกับการทำงานเพื่อสังคม การเมือง มีเพิ่มมากขึ้น การเขียนบทวิทยุโทรทัศน์สำหรับรายการผู้หญิงจึงไม่ควร มุ่งเน้นวัตถุประสงค์ เพื่อความงาม การเป็นแม่บ้าน เพียงอย่างเดียว แต่ ควรครอบคลุมถึงการทำงาน กิจกรรมในสังคม บทบาทด้านการเมือง การเป็นผู้นำด้วย ผู้เขียนบทควรจัดลำดับเนื้อหาของบทให้เหมาะสม เพื่อเป็นการสงเสริมบทบาทของผู้หญิงให้ดีเป็นประโยชน์ ที่จะมีต่อ สังคมส่วนรวม

36 รายการเด็ก การเขียนบทสำหรับรายการเด็กนั้น ผู้เขียนบทจะต้องศึกษากลุ่ม ผู้ชมให้ถ่องแท้เพราะเด็กในกลุ่มอายุต่างกันเพียงเล็กน้อย ความ สนใจจะต่างกันไป ระยะเวลาของความสนใจก็ต่างกันด้วย เนื้อหาที่เขียนสำหรับเด็กไม่ควรมากเกินไป ภาษาที่ใช้ ควรเหมาะเจาะที่จะสื่อสารกับเด็ก ทำให้เด็กเข้าใจง่าย ข้อมูล เกี่ยวกับพฤติกรรม ความสนใจ ความชอบของเด็กวัยต่าง ๆ ศึกษา ค้นคว้าจากหนังสือเกี่ยวกับจิตวิทยาเด็ก วัตถุประสงค์สำคัญของบท สำหรับเด็กควรจะส่งเสริมพัฒนา สิ่งที่ดีงามด้านต่าง ๆ ให้กับเด็ก ซึ่ง นับว่าเป็นวัตถุประสงค์หลักในการเขียนบทวิทยุสำหรับเด็ก

37 เอกสารอ้างอิง Zettl, H.(1976). Television Production Handbook. Wadsworth Publishing Company. Inc. Belmont, California. 3rd. Edition. อรนุช เลิศจรรยารักษ์(2544). หลักการเขียนบทโทรทัศน์. คณะวารสาร ศาสตร์และสื่อสารมวลชน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วิภา อุตมฉันทร์(2544). การผลิตสื่อโทรทัศน์และสื่อคอมพิวเตอร์: กระบวนการสร้างสรรค์และเทคนิคการผลิต. กรุงเทพ:บุ๊ค พอยท์. จันทร์ฉาย เตมิยาคาร(2523). การผลิตรายการโทรทัศน์. ภาควิชา เทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

38 การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์กับองค์ความรู้ด้านรายการเด็ก
อ.อิทธิพล ปรีติประสงค์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล

39 การรับรู้รายการโทรทัศน์
วัยของเด็กกับ การรับรู้รายการโทรทัศน์

40 วัยของเด็ก 3 – 5 ปี 6 – 12 ปี 13 – 18 ปี 0 – 3 ปี
กิจกรรมที่เหมาะกับการเรียนรู้ของเด็กคือการใช้ประสาทสัมผัสทุกด้าน ค้นคว้าเรียนรู้สิ่งที่อยู่รอบตัว ด้วยการเคลื่อนไหวร่างกาย สัมผัส จัดการเรียนรู้ผ่านความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดจากผู้เลี้ยงดู และกระทำการเรียนรู้ซ้ำๆจนเกิดการบันทึกจดจำ โทรทัศน์ “ดึง” ให้เด็กจ้องมองที่หน้าจอที่มีแสงสว่าง มีการเคลื่อนไหวภาพที่รวดเร็ว เด็กไม่มีโอกาสเรียนรู้แบบโต้ตอบกับสิ่งที่รับเข้ามา และยังมีความเสี่ยงจากแสงสว่างที่วาบขึ้นมาเป็นระยะ รวมทั้งการไม่ได้เคลื่อนไหว 3 – 5 ปี 6 – 12 ปี 13 – 18 ปี 0 – 3 ปี

41 วัยของเด็ก 0 – 3 ปี 6 – 12 ปี 13 – 18 ปี 3 – 5 ปี
เด็กเริ่มพัฒนาการเรียนรู้จากการเล่นแบบสมมุติ ชอบการทดลอง การเลียนแบบ มีพัฒนาการด้านภาษา สามารถรับรู้อารมณ์ได้ ระบบคิดจะยังไม่สามารถแยกระหว่างความจริงกับจินตนาการ การรับรู้ผ่านสื่อจะรับรู้ข้อมูลแบบซึมซับว่าเป็นจริง เลียนแบบพฤติกรรมที่เห็น ไม่สามารถตัดสินใจแยกแยะได้ด้วยตนเองถึงอันตรายที่จะตามมา การรับชมภาพที่น่าหวาดกลัวจะสร้างความตื่นตระหนก และมองว่าสิ่งแวดล้อมภายนอกน่ากลัว นอกจากนี้การรับชมมากเกินไปทำให้รบกวนการพัฒนาด้านสมาธิ 0 – 3 ปี 6 – 12 ปี 13 – 18 ปี 3 – 5 ปี

42 วัยของเด็ก 0 – 3 ปี 3 – 5 ปี 13 – 18 ปี 6 – 12 ปี
เด็กจะมีความอยากรู้อยากเห็น มีประสบการณ์ทางสังคมเพิ่มมากขึ้น เป็นวัยที่สร้างการเรียนรู้การมีวินัยและความรับผิดชอบ แยกแยะการใช้เวลาเล่นกับการเรียนรู้ ยังมีลักษณะการเลียนแบบสูง เนื่องจากระบบคิดยังอยู่ในช่วงการพัฒนาความเป็นเหตุเป็นผล การแยกแยะข้อมูลที่ได้รับว่ามีความหมายเช่นไร มีแนวโน้มสูงที่จะทดลองด้วยการเลียนแบบพฤติกรรมโดยไม่เข้าใจความหมายของพฤติกรรมนั้นๆ และยังสร้างค่านิยมต่อพฤติกรรมที่รับรู้ผ่านสื่อว่าเป็นค่านิยมที่ยอมรับทางสังคม 0 – 3 ปี 3 – 5 ปี 13 – 18 ปี 6 – 12 ปี

43 วัยของเด็ก 0 – 3 ปี 3 – 5 ปี 6 – 12 ปี 13 – 18 ปี
เป็นวัยที่มีการพัฒนาระบบคิด การรับรู้แยกแยะวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับ มีประสบการณ์ทางสังคมเพิ่มมากขึ้นตามวัย ต้องการการยอมรับและเลือกรับสิ่งที่เป็นตามกระแสหลักได้ง่าย เป็นวัยที่มีการแสวงหาต้นแบบในอุดมคติ นักร้อง นักดนตรี ดารา เป็น Idol ของเด็กวัยรุ่น โดยเฉพาะการนำเสนอที่สร้างภาพลักษณ์ สร้างความรู้สึกร่วม จะมีอิทธิพลมากต่อความคิดและพฤติกรรมของวัยรุ่น นอกจากนี้เด็กจะมีความต้องการเป็นแบบผู้ใหญ่ อยากแสดงพฤติกรรมเลียนแบบผู้ใหญ่เพื่อแสดงว่าตนเองโตแล้ว 0 – 3 ปี 3 – 5 ปี 6 – 12 ปี 13 – 18 ปี

44 คิด วิชาการ คุณธรรม-จริยธรรม ทักษะชีวิต หลากหลาย ครอบครัว
ปัญหาในสังคม ความคาดหวังในอนาคต กลุ่มเด็กปฐมวัย(อายุ 3-5 ปี) : รู้ถูกรู้ผิด รู้จักการควบคุมอารมณ์ กลุ่มเด็กระดับประถมศึกษา(อายุ 6-12 ปี) : ประหยัด มีวินัย ใฝ่รู้ กลุ่มวัยรุ่น(อายุ ปี) : สร้างอัตลักษณ์ทางเพศและสังคม กลุ่มครอบครัว : ส่งเสริมสถาบันครอบครัวใช้เวลาร่วมกัน

45 ข้อแนะนำในการผลิตรายการสำหรับเด็ก
การนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับความรุนแรง โดยเฉพาะการแสดงถึงพฤติกรรมที่นำไปสู่อันตรายและเด็กสามารถเลียนแบบได้ ใช้เทคนิคพิเศษเพื่อลดความรุนแรงในกรณีที่ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการนำเสนอได้ รายการการ์ตูนสำหรับเด็กไม่ควรนำเสนอความรุนแรงเป็นเนื้อหาหลักของเรื่อง และ ควรหลีกเลี่ยงการเสนอความรุนแรงที่อาจเลียนแบบได้ การนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางจิตใจและความปลอดภัยของเด็ก เช่น ประเด็นความขัดแย้งในครอบครัว ความตาย อาชญากรรม ฯลฯ ต้องเสนอให้ตรงกับความเข้าใจวัยเด็ก หลีกเลี่ยงการนำเสนอภาพความรุนแรงที่สมจริงสมจัง ซึ่งอาจทำให้เกิดความเข้าใจว่าการใช้ความรุนแรงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหา หรือความขัดแย้ง

46 ข้อแนะนำในการผลิตรายการสำหรับเด็ก
การนำเสนอเนื้อหาที่เป็นการชักจูงหรือสนับสนุนวิธีการแก้ปัญหาที่มอมเมา หรือขัดต่อหลักเหตุผลที่เป็นจริงและศีลธรรมอันดีของสังคม เช่น การทำแท้ง การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย ต้องนำเสนอให้เห็นแง่มุมให้เด็กเข้าใจ การนำเสนอภาพความรุนแรงที่สมจริงสมจังที่อาจมีผลกระทบ ทั้งกรณีที่เด็กและเยาวชนเป็นเหยื่อ และเป็นผู้กระทำ การสัมภาษณ์เด็กหรือเยาวชน รวมถึงการให้เด็กที่ยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ร่วมรายการ ต้องได้รับความยินยอมจากพ่อแม่ หรือผู้ปกครองก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสัมภาษณ์ ในประเด็นที่ละเอียดอ่อน เด็กไม่ควรต้องตอบคำถาม เกี่ยวกับเรื่องที่เกินความสามารถที่จะตอบได้อย่างเหมาะสม การร่วมรายการของเด็ก ไม่ควรส่งผลกระทบต่อเด็กในทางเสียหายแก่เด็กในภายหลัง เช่น ถูกทำโทษ กลั่นแกล้ง ทำร้ายร่างกายหรือล้อเลียนให้อับอาย ฯลฯ

47 ข้อแนะนำในการผลิตรายการสำหรับเด็ก
การนำเสนอภาพหรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเสี่ยงอันตราย หรือบาดเจ็บ ต้องมีคำเตือนถึงอันตรายจากการเลียนแบบ โดยไม่มีผู้เชี่ยวชาญดูแลใกล้ชิด การนำเสนอที่ทำให้เกิดทัศนคติในด้านลบเกี่ยวกับบุคคล เช่น ตำรวจ พระภิกษุ และสถานที่ที่ควรจะปลอดภัย เช่น บ้าน โรงเรียน โรงพยาบาล ฯลฯ การใช้คำหรือภาษาที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ คำสบถเกี่ยวกับเรื่องเพศ ถ้อยคำที่เหยียด เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ คำที่เกี่ยวกับการคุกคามทางเพศ หรือลดทอนความเท่าเทียมของแต่ละเพศ การล้อเลียนเรื่องการเจ็บป่วย ความพิการ รสนิยมทางเพศ และความเชื่อทางศาสนา รวมทั้ง การนำคำทางศาสนามาใช้ในลักษณะดูหมิ่น การแต่งกายของพิธีกร ผู้ดำเนินรายการ และผู้ร่วมรายการในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา เช่น วัด โบสถ์ วิหาร หรือสถานที่เฉพาะ เช่น พระราชวัง พระที่นั่ง รวมถึงการร่วมกิจกรรมบางประเภท เช่น งานศพ ทำบุญใส่บาตร เวียนเทียน

48 ข้อแนะนำในการผลิตรายการสำหรับเด็ก
ไม่ควรใช้เทคนิคพิเศษ เช่น ภาพซ้ำ (Repeat) ภาพช้า (Slow) เอฟเฟ็กต์ (Effect) รวมทั้ง เสียงประกอบ เพื่อเพิ่มความตื่นเต้น ระทึกขวัญ สยองขวัญ เช่น เสียงดนตรีเร่งเร้าอารมณ์ก่อน การทำร้าย เสียงระเบิด ฯลฯ ไม่ควรนำเสนอเนื้อหาและภาพเกี่ยวกับความรุนแรง ในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกับ ชีวิตจริง หรือในลักษณะที่ทำให้เห็นว่าเป็นเรื่องปกติ สนุกสนาน หรือตลกขบขัน รวมถึง เหตุการณ์ ที่เด็กหรือผู้หญิงตกเป็นเหยื่อ เช่น ความรุนแรงภายในครอบครัว ตัวละครที่มีบุคลิกลักษณะคล้ายกับพ่อแม่ ความรุนแรงต่อสัตว์เลี้ยง การบันดาลโทสะในที่สาธารณะ ฯลฯ ไม่ควรแสดงให้เห็นขั้นตอนวิธีการกระทำในฉากที่ใช้ความรุนแรง หรือการกระทำผิด

49 สถานการณ์ด้านรายการเด็ก

50 พฤติกรรมในการชมรายการโทรทัศน์ตามช่วงเวลาในวันจันทร์ ถึง ศุกร์
๔-๙ ๑๐-๑๔

51 พฤติกรรมในการชมรายการโทรทัศน์ตามช่วงเวลาในวันเสาร์ - อาทิตย์
๔-๙ ๑๐-๑๔

52 สัดส่วนรายการประเภท ป (อายุ ๓ ปี – ๕ ปี) และ รายการประเภท ด (อายุ ๖-๑๒ ปี) ในช่วงเวลา ๑๖.๐๐ น. -๑๘.๓๐ น. ของวันจันทร์ถึงศุกร์ ในสัปดาห์ที่ ๑ ของเดือนกันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม ๒๕๕๐ ประเภทรายการ กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม รายการทั้งหมด = 0 รายการทั้งหมด = 1 รายการทั้งหมด = 1 รายการทั้งหมด = 1 เวลาทั้งหมด = 0 เวลาทั้งหมด = 20 เวลาทั้งหมด = 20 เวลาทั้งหมด = 20 สัดส่วนของช่วงเวลา = 0% สัดส่วนของช่วงเวลา = % สัดส่วนของช่วงเวลา = % สัดส่วนของช่วงเวลา = % รายการทั้งหมด = 12 รายการทั้งหมด = 12 รายการทั้งหมด = 14 เวลาทั้งหมด = 0 เวลาทั้งหมด = 330 เวลาทั้งหมด = 435 สัดส่วนของช่วงเวลา = 7.33% สัดส่วนของช่วงเวลา = 9.66% สัดส่วนของช่วงเวลา = 9.66% รวม สัดส่วนในเดือน กย. = 0% สัดส่วนในเดือน ตค. = % สัดส่วนในเดือน พย. = % สัดส่วนในเดือน ธค = % หมายเหตุ : ระเบียบกรมประชาสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๙ เรื่องกำหนดสัดส่วนรายการเด็ก และเยาวชนในช่วงเวลา ๑๖.๓๐ น. -๑๘.๓๐ น. มีรายการเด็ก เยาวชน ครึ่งชั่วโมง หรือ คิดเป็น ร้อยละ ๒๕ ของช่วงเวลาที่กำหนด

53 ประเภทรายการ กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม
สัดส่วนรายการประเภท ป รายการประเภท ด และรายการประเภท ท (ทุกวัย) ในช่วงเวลา ๑๖.๐๐ น. - ๒๒.๐๐ น. วันจันทร์ถึงอาทิตย์ และ ๗.๐๐ น. - ๑๑.๐๐ น. วันเสาร์-อาทิตย์ ในสัปดาห์ที่ ๑ ของเดือนกันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน และธันวาคม ๒๕๕๐ ประเภทรายการ กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม รายการทั้งหมด = 1 รายการทั้งหมด = 1 เวลาทั้งหมด = 20 เวลาทั้งหมด = สัดส่วน = 0.18% สัดส่วน = % สัดส่วน = 0.18% สัดส่วน = 0.18% รายการทั้งหมด = 13 รายการทั้งหมด = 12 รายการทั้งหมด = 12 เวลาทั้งหมด = 392 เวลาทั้งหมด = 330 เวลาทั้งหมด = 435 สัดส่วน = 3.62% สัดส่วน = % สัดส่วน = 4.02% รายการทั้งหมด = 81 รายการทั้งหมด = 74 รายการทั้งหมด = 78 รายการทั้งหมด = 79 เวลาทั้งหมด = 4,057 เวลาทั้งหมด = 4,630 เวลาทั้งหมด = 4,345 เวลาทั้งหมด = 4,305 สัดส่วน = 37.56% สัดส่วน = % สัดส่วน = 40.22% สัดส่วน = 39.85% รวม สัดส่วนในเดือน กย. = 41.36% สัดส่วนในเดือน ตค.= 46.09% สัดส่วนในเดือน พย.= 44.42% สัดส่วนในเดือน ธค.= 44.05% หมายเหตุ :มติ ครม ๔ พย. ๒๕๔๖ เรื่องกำหนดสัดส่วนรายการเด็ก และเยาวชนและครอบครัว ในช่วงเวลา ๑๖.๐๐ น. -๒๒.๐๐ น. มีรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัว ๑ ชั่วโมงถึง ๑.๕ ชั่วโมง หรือ คิดเป็น ร้อยละ ๑๕ ของช่วงเวลา


ดาวน์โหลด ppt รูปแบบรายการโทรทัศน์ Type in TV Program

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google