ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
13 October 2007
2
Decision Support Systems
13 July 2002 บทที่ 3 สถาปัตยกรรมระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Architecture of Decision Support Systems) Decision Support Systems
3
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
จากเนื้อหาในบทที่ผ่านมา เราได้ทราบถึง ความหมายของการตัดสินใจทางธุรกิจ โครงสร้างของ กระบวนการตัดสินใจ (The Decision-Making Process) ทั้ง 5 ขั้นตอน และเราจะใช้กระบวนการนี้ในการตัดสินใจแก้ปัญหาทางธุรกิจเสมอ สำหรับบทนี้เราจะศึกษาถึงองค์ประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
4
เนื้อหา สถาปัตยกรรมระบบสนับสนุนการตัดสินใจคืออะไร
ทำไมพัฒนาสถาปัตยกรรมระบบสนับสนุนการตัดสินใจ สิ่งที่ต้องพิจารณาก่อนพัฒนาสถาปัตยกรรมฯ องค์ประกอบและการทำงานของสถาปัตยกรรมฯ การจัดการข้อมูล (Data Management) การจัดการแบบจำลอง (Model Management) การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) การจัดการสื่อประสานกับผู้ใช้ (User Interface Management)
5
ความหมาย สถาปัตยกรรมระบบสนับสนุนการตัดสินใจ หมายถึง
รูปแบบโครงสร้างและความสัมพันธ์ของส่วนประกอบต่างๆ ในระบบสนับสนุนการตัดสินใจ รวมถึงความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอกระบบด้วย
6
การพัฒนาสถาปัตยกรรม ก่อนพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ จึงควรศึกษาถึง
สถาปัตยกรรมพื้นฐานของระบบสนับสนุนการตัดสินใจก่อน แล้วจึงพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจต่อไป เพื่อให้สอดคล้องกันของส่วนประกอบต่าง ๆ และเพื่อผลดีที่จะเกิดขึ้นต่อระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
7
ข้อดีของการพัฒนาสถาปัตยกรรม
1. เพื่อทราบถึงความสามารถในการทำงานของส่วนประกอบต่าง ๆ ภายในระบบ สามารถนำสารสนเทศต่าง ๆ จากระบบมาใช้ได้ง่ายและสะดวก 2. หน่วยต่าง ๆ ในองค์กรสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้โดยสะดวก เนื่องจากส่วนประกอบต่าง ๆ ในระบบมีความสอดคล้องกันเป็นอย่างดี เพิ่มประสิทธิการทำงานให้กับองค์กร
8
ข้อดีของการพัฒนาสถาปัตยกรรม (ต่อ)
3. เพิ่มความสามารถในการสร้างวิสัยทัศน์สำหรับจัดลำดับการทำงานของโครงการต่างๆ 4. เพิ่มความสามารถในการสื่อสารระหว่างส่วนประกอบต่าง ๆ ภายในระบบ 5. เพิ่มความสามารถในการใช้งานระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ของกลุ่มผู้ใช้ต่าง ๆ
9
ข้อดีของการพัฒนาสถาปัตยกรรม (ต่อ)
6. เพิ่มความสามารถในการวางแผนระบบให้อยู่ในรูปแบบที่มีประสิทธิภาพ 7. ช่วยให้หน่วยงานต่าง ๆ ในองค์กรสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น 8. เพิ่มความสามารถในการคัดเลือกเทคโนโลยีที่ใช้ในการทำงานต่างๆ จากความร่วมมือในการพัฒนาระบบของผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสนับสนุนการตัดสินใจ และผู้ที่เข้าใจความต้องการของระบบ
10
สิ่งที่ต้องพิจารณาก่อนพัฒนาสถาปัตยกรรม
1. แผนแม่บทขององค์กร เพื่อให้ระบบมีความสอดคล้องกับความต้องการขององค์กร เพราะระบบฯ จะสะท้อนความต้องการของผู้ใช้ทั้งหมด จึงสามารถใช้เป็นแนวทางการพัฒนาระบบได้ 2. การตัดสินใจของผู้บริหารระดับต่างๆ ประกอบด้วย การตัดสินใจระดับกลยุทธ์ ระดับเทคนิค และระดับปฏิบัติการ
11
สิ่งที่ต้องพิจารณาก่อนพัฒนาสถาปัตยกรรม (ต่อ)
3. การตัดสินใจแก้ปัญหาลักษณะต่าง ๆ ประกอบด้วย ปัญหาแบบมีโครงสร้าง ไม่มีโครงสร้าง และกึ่งโครงสร้าง 4. การทำงานของผู้บริหารระดับต่าง ๆ ในองค์กร รวมถึงพนักงานที่มีองค์ความรู้หรือพนักงานที่ใช้ทักษะ 5. ลักษณะธุรกิจที่องค์กรดำเนินการอยู่ โดยต้องประเมินผลิตภัณฑ์หลัก สายการผลิต ลักษณะการแบ่งสายงานภายในองค์กร
12
การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจระดับองค์กร ควรศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นฐานของระบบสนับสนุนการ ตัดสินใจ (องค์ประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ) จากนั้นจึงศึกษาความต้องการของผู้ใช้งานระบบ สนับสนุนการตัดสินใจแล้ว จึงตัดสินใจเลือกฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และระบบ เครือข่ายที่เหมาะสม และลงมือพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจต่อไป (ดังแสดงไว้ในรูป)
13
องค์ประกอบและการทำงานของสถาปัตยกรรมของระบบ
โปรแกรมเมอร์ ผู้ใช้ ข้อมูลจากภายนอกองค์กร ระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล ฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการ การจัดการสื่อประสานกับผู้ใช้ ผลลัพธ์การวิเคราะห์ ส่วนสอบถามข้อมูล เครื่องมือพัฒนาแบบจำลอง ส่วนการจัดการแบบจำลอง ส่วนการจัดการข้อมูล ฐานแบบจำลอง ฐานข้อมูล ข้อมูลนอกและในองค์กร แนวคิดของสถาปัตยกรรมระบบสนับสนุนการตัดสินใจและการทำงาน
14
แนวคิดการทำงานของสถาปัตยกรรมของระบบ
แนวความคิดเกี่ยวกับการทำงาน ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ โดยสังเขป 1. Programmer ใช้เครื่องมือพัฒนาแบบจำลองผ่านระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย Hardware และระบบปฏิบัติการของระบบ DSS 2. ส่วนการจัดการข้อมูลจะรวบรวมข้อมูลจากภายนอกระบบเพื่อจัดเก็บลงในฐานข้อมูล และ/หรือนำข้อมูลจากฐานข้อมูลส่งต่อไปยังส่วนการจัดการแบบจำลอง เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองที่เหมาะสม
15
การทำงานของสถาปัตยกรรมของระบบ (ต่อ)
3. ส่วนการจัดการแบบจำลอง จะส่งผลลัพธ์ของข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ ไปยังส่วนการจัดการสื่อประสานกับผู้ใช้ต่อไป 4. ส่วนสอบถามข้อมูล จะทำการค้นหาข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการ ผ่านทางระบบจัดการฐานข้อมูลของระบบ DSS แล้วส่งข้อมูลที่ได้ไปยังส่วนการจัดการสื่อประสานกับผู้ใช้ต่อไป 5. ส่วนการจัดการสื่อประสานกับผู้ใช้ จะส่งข้อมูลผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ของแบบจำลอง และ/หรือข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลของส่วนสอบถามข้อมูล ไปยังผู้ใช้ ผ่านทาง ฮาร์ดแวร์ ระบบปฏิบัติการ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อแสดงผลยังผู้ใช้ต่อไป
16
สถาปัตยกรรมของระบบ จากรูป พบว่าสถาปัตยกรรม ประกอบด้วย
องค์ประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เครื่องมือในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ และสิ่งแวดล้อมของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
17
องค์ประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
องค์ประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ มี 4 ส่วน คือ 1. ส่วนการจัดการข้อมูล (Data Management) 2. ส่วนการจัดการแบบจำลอง (Model Management) 3. ส่วนการจัดการสื่อประสานกับผู้ใช้ (User Interface Management) 4. ส่วนการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management)
18
ส่วนการจัดการข้อมูล (Data Management)
ฐานข้อมูล ระบบจัดการฐานข้อมูล ส่วนสอบถามข้อมูล สารบัญข้อมูล ส่วนกลั่นกรองข้อมูล
19
องค์ประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ 4 ส่วน
องค์ประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ 4 ส่วน 2. ส่วนการจัดการแบบจำลอง (Model Management) ประกอบด้วย ฐานแบบจำลอง ระบบจัดการฐานแบบจำลอง สารบัญแบบจำลอง แบบจำลองการทำงาน
20
องค์ประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
3. ส่วนการจัดการสื่อประสานกับผู้ใช้ (User Interface Management) ระบบจัดการสื่อประสานกับผู้ใช้ ส่วนประมวลผลภาษาธรรมชาติ หน่วยประมวลผล หน่วยป้อนข้อมูลเข้า
21
องค์ประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
4. ส่วนการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) ในภาพที่ 13 ไม่ได้แสดงไว้เนื่องจากเป็นสถาปัตยกรรมพื้นฐานของ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจขนาดเล็ก ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ส่วนการจัดการองค์ความรู้ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาที่ไม่ซับซ้อนมากนัก อาจจะไม่มีส่วนการจัดการองค์ความรู้เป็นส่วนประกอบในระบบก็ได้ หากเป็นระบบที่ประกอบด้วยส่วนการจัดการองค์ความรู้ สามารถแสดงให้เห็นสถาปัตยกรรมได้ ดังภาพที่ 22
22
องค์ประกอบและการทำงานของสถาปัตยกรรมของระบบ
ระบบสารสนเทศชนิดอื่น ๆ ส่วนการจัดการข้อมูล ส่วนการจัดการแบบจำลอง ส่วนจัดการองค์ความรู้ ฐานข้อมูลภายใน/ ภายนอก ส่วนจัดการสื่อประสานกับผู้ใช้ ผู้บริหาร (ผู้ใช้/ผู้ตัดสินใจ) องค์ประกอบของสถาปัตยกรรมระบบที่มีส่วนจัดการองค์ความรู้
23
องค์ประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
สิ่งต่อไปนี้ ไม่ได้จัดเป็นส่วนประกอบของสถาปัตยกรรมระบบสนับสนุนการตัดสินใจ แต่เป็นส่วนที่มีความเกี่ยวข้องหรือเป็นส่วนเสริม หรือเป็นส่วนการทำงานร่วมกันกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ได้แก่ เครื่องมือในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ สิ่งแวดล้อมของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
24
เครื่องมือในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
เครื่องมือในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ ระบบปฏิบัติการ ระบบเครือข่ายและการสื่อสาร ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เครื่องมือพัฒนาแบบจำลอง
25
สิ่งแวดล้อมของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
สิ่งแวดล้อมของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ประกอบด้วย ผู้ใช้ โปรแกรมเมอร์ (ซึ่งอาจเป็นนักพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจด้วย) ข้อมูลจากภายนอกระบบ
26
องค์ประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ส่วนที่ 1 ส่วนการจัดการข้อมูล (Data Management)
27
การจัดการข้อมูล (Data Management)
เป็นส่วนที่ใช้ในการจัดการข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับมาจากแหล่งข้อมูลทั้งภายในและนอกองค์กร โดยที่ข้อมูลอาจอยู่ในรูป ตัวเลข ตัวหนังสือ กราฟิก หรือข้อมูลเสียงก็ได้ แต่ข้อมูลเหล่านั้นต้องมีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ส่วนการจัดการข้อมูล จะจัดการกับข้อมูลที่เข้าสู่ฐานข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ด้วย “ระบบจัดการฐานข้อมูล” (Database Management System: DBMS)” เพื่อให้ผู้ตัดสินใจสามารถจัดการกับข้อมูลต่างๆ ได้
28
การจัดการข้อมูล (Data Management)
แหล่งข้อมูลภายใน องค์กร การจัดการข้อมูล (Data Management) แหล่งข้อมูลภายนอก องค์กร ฝ่ายการเงิน ฝ่ายการตลาด ฝ่ายการผลิต ฝ่ายบุคคล ฝ่ายอื่นๆ ฐานองค์ความรู้ของ องค์กร แหล่งข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนกลั่นกรองข้อมูล ฐานข้อมูลระบบสนับสนุน การตัดสินใจ คลังข้อมูลขององค์กร ส่วนสอบถามข้อมูล สารบัญข้อมูล ระบบจัดการฐานข้อมูล สืบค้นข้อมูล สอบถามข้อมูล ปรับปรุงข้อมูล สร้างรายงาน ลบข้อมูล ส่วนการจัดการสื่อประสานกับผู้ใช้ ส่วนการจัดการแบบจำลอง โครงสร้างของส่วนจัดการข้อมูล (เฉพาะส่วนที่แรเงา) ส่วนการจัดการองค์ความรู้
29
การจัดการข้อมูล (Data Management)
จากรูป แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างการทำงานของส่วนการจัดการข้อมูลที่ได้รับจากแหล่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแผนกงานแต่ละฝ่าย แหล่งข้อมูลจากภายในและภายนอก ส่วนกลั่นกรองข้อมูล คัดเลือกข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร เพื่อนำมาจัดเก็บลงในฐานข้อมูลระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ซึ่งอาจเชื่อมกับ คลังข้อมูลขององค์กร
30
การจัดการข้อมูล (Data Management)
ระบบจัดการฐานข้อมูล จะเชื่อมกับ ส่วนการจัดการสื่อประสานกับผู้ใช้ ส่วนการจัดการแบบจำลอง ส่วนการจัดการองค์ความรู้ เพื่อสืบค้นข้อมูล สอบถาม ปรับปรุง ลบข้อมูล และสร้างรายงาน ในการสอบถามข้อมูล ส่วนสอบถามข้อมูล อาจติดต่อกับระบบจัดการฐานข้อมูลโดยตรง หรือสอบถามผ่านสารบัญข้อมูลได้ ซึ่งทำหน้าที่จัดเก็บคำจำกัดความต่าง ๆ ของข้อมูล “Data Dictionary”
31
การจัดการข้อมูล (Data Management)
ฐานข้อมูล (Database) คือ ที่เก็บข้อมูลโดยการนำข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน มาจัดเก็บไว้ด้วยกัน ทำให้ผู้ใช้หลาย ๆ คนในองค์กรสามารถใช้งานฐานข้อมูลร่วมกันได้ โดยที่ฐานข้อมูลของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ จะจัดเก็บข้อมูลตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน โดยไม่มีการลบหรือแทนที่ข้อมูล เป็นเหตุให้ฐานข้อมูลนี้ จะมีขนาดใหญ่กว่าฐานข้อมูลของระบบงานประจำทั่วไป
32
การจัดการข้อมูล (Data Management)
ฐานข้อมูล (Database) ข้อมูลในฐานข้อมูลของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ได้รับการกลั่นกรองและรวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลหลายๆ แห่งได้แก่ แหล่งข้อมูลภายในองค์กร เช่น ข้อมูลจากฝ่ายการเงิน ฝ่ายการตลาด ฝ่ายการผลิต ฝ่ายบุคคล เป็นต้น และจากแหล่งข้อมูลภายนอกองค์กร เช่น ข้อมูลจากบริษัทวิจัยตลาด ข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐ เป็นต้น นอกจากนี้บางครั้งอาจมีแหล่งข้อมูลส่วนบุคคล ที่เกิดจากการรวบรวมขึ้นโดยผู้บริหารเอง เช่น ข้อมูลที่ผ่านการประเมินด้วยตนเองแล้วจัดเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลส่วนบุคคล
33
การจัดการข้อมูล (Data Management)
ฐานข้อมูล (Database) ฐานข้อมูลของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ อาจแยกส่วนหรือเป็นชุดเดี่ยวกันกับฐานข้อมูลทั่วไป ขององค์กรก็ได้ หากรวมไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน จะทำให้การจัดรูปแบบข้อมูลเพื่อนำมาใช้กับระบบสนับสนุนการตัดสินใจนั้น กระทำได้ยาก หรือการทำงานจะช้าลง แต่หากแยกฐานข้อมูลกัน ก็อาจเกิดปัญหาข้อมูลซับซ้อนกันได้
34
การจัดการข้อมูล (Data Management)
ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System: DBMS) คือระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้ฐานข้อมูล ในการสร้าง ปรับปรุง เรียกใช้ข้อมูลในฐานข้อมูล และรักษาความปลอดภัยของข้อมูล สารบัญข้อมูล (Data Directory) คือ ส่วนที่จัดเก็บรายชื่อ และคำจำกัดความของข้อมูลทั้งหมดในฐานข้อมูล เพื่อใช้ตอบคำถามต่างๆ ที่ผู้ใช้ต้องการ ซึ่งเหมาะสำหรับใช้สนับสนุนกระบวนการตัดสินใจในขั้นตอนการใช้ความคิด (Intelligence Phase) ของมนุษย์
35
การจัดการข้อมูล (Data Management)
ส่วนสอบถามข้อมูล (Query Facility) คือส่วนที่ช่วยในการสอบถามและค้นหาข้อมูลตามเงื่อนไขที่ต้องการ โดยส่วนสอบถามข้อมูล จะรับคำร้องขอจากส่วนประกอบอื่นของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ แล้วพิจารณาว่าคำร้องของเหล่านั้นต้องการผลลัพธ์อะไร จากนั้นทำการค้นหาข้อมูล และส่งผลลัพธ์ไปยังส่วนที่ร้องขอข้อมูล ระบบสอบถามข้อมูลที่ดี ควรใช้งานได้ง่ายไม่ซับซ้อน และค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องตรงตามความต้องการ
36
การจัดการข้อมูล (Data Management)
ส่วนกลั่นกรองข้อมูล (Extraction) หรือ “ส่วนสกัดข้อมูล” คือ ส่วนที่ทำหน้าที่ในการคัดเลือกข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร เพื่อนำจัดเก็บลงในฐานข้อมูลระบบสนับสนุนการตัดสินใจ โดยจะทำหน้าที่นำข้อมูลจากแฟ้มข้อมูล ต่าง ๆ มาทำการสรุป และคัดเลือกข้อมูลตามฐานที่กำหนดไว้ แล้วจึงนำข้อมูลที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูลระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ส่วนกลั่นกรองข้อมูลจะมีประโยชน์อย่างมากในการสร้างรายงาน
37
สรุปความสามารถของระบบจัดการข้อมูล
ความสามารถตามคุณสมบัติหลักแล้วก็คือ การจัดการข้อมูลให้กับระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เพื่อให้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ได้รับข้อมูลที่มีประโยชน์ และมีประสิทธิภาพต่อการสนับสนุนการตัดสินใจของมนุษย์ได้ ความสามารถของส่วนการจัดการข้อมูลโดยสรุปมีดังนี้ 1. สามารถเรียกใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลของระบบ DSS ได้ 2. สามารถปรับปรุงระเบียนข้อมูลและแฟ้มข้อมูลในฐานข้อมูลของระบบ DSS ได้ 3. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่ได้รับจากแหล่งข้อมูลต่างกันได้
38
สรุปความสามารถของระบบจัดการข้อมูล
4. สามารถเรียกดูข้อมูลจากฐานข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเพื่อนำมาสร้างรายได้ 5. มีระบบรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลในฐานข้อมูล 6. สามารถสร้างข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการ (Unofficial Data) ได้ เพื่อใช้ในการหาแนวทางแก้ไขปัญหา หรือสร้างทางเลือกในการแก้ไขปัญหาเพื่อประกอบการตัดสินใจได้ 7. สามารถจัดการกับข้อมูลที่เกิดจากแบบสอบถามที่ซับซ้อนได้ 8. สามารถติดตามการใช้งานข้อมูลภายในระบบ DSS ได้ 9. สามารถจัดการข้อมูลผ่านทางสารบัญข้อมูลได้
39
องค์ประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ส่วนที่ 2 การจัดการแบบจำลอง (Model Management)
40
ส่วนการจัดการแบบจำลอง (Model Management)
เป็นส่วนที่ใช้ควบคุมการทำงานของแบบจำลอง และช่วยคัดเลือกแบบจำลองที่เหมาะสม สำหรับใช้วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อประกอบการตัดสินใจ เช่น แบบจำลองทางการเงิน สถิติ วิทยาการจัดการ และแบบจำลองเชิงปริมาณ เป็นต้น แบบจำลองที่นำมาคัดเลือกนี้ ได้มาจาก ส่วนที่ใช้เก็บแบบจำลองไว้โดยเฉพาะ เรียกว่า “ฐานแบบจำลอง” หรือมาจากการเขียนโปรแกรมสร้างแบบจำลองเฉพาะกิจขึ้นมา ความสามารถในการจัดการ วิเคราะห์ ค้นหา คัดเลือกแบบจำลอง ให้เหมาะสมกับการใช้งานของผู้ใช้ขณะนั้น เรียกว่า “ระบบจัดการฐานแบบจำลอง”
41
การจัดการแบบจำลอง (Model Management)
ส่วนการจัดการแบบจำลอง ประกอบด้วย ฐานแบบจำลอง ระบบจัดการฐานแบบจำลอง สารบัญแบบจำลอง และการดำเนินการกับแบบจำลอง
43
การจัดการแบบจำลอง (Model Management)
การทำงานของส่วนการจัดการแบบจำลอง ฐานแบบจำลองจะส่งข้อมูลเกี่ยวกับแบบจำลอง เช่น ชื่อ ความหมาย ความสามารถ และประโยชน์ของแบบจำลอง ไปยังสารบัญแบบจำลอง และสารบัญแบบจำลอง จะส่งข้อมูลให้กับระบบจัดการฐานแบบจำลองทุกครั้งที่มีการร้องขอ เพื่อคัดเลือกแบบจำลองที่เหมาะสมกับปัญหา โดยมีกระบวนการประมวลผลของแบบจำลอง คอยควบคุมการทำงานอยู่ เช่น ควบคุมการใช้งานแบบจำลองหลาย ๆ แบบร่วมกัน และควบคุมการใช้งานระบบสนับสนุนการตัดสินใจร่วมกับระบบอื่น
44
การจัดการแบบจำลอง (Model Management)
การทำงานของส่วนการจัดการแบบจำลอง ส่วนการจัดการแบบจำลองจะนำข้อมูลจากส่วนการจัดการข้อมูลมาวิเคราะห์ โดยใช้แบบจำลองที่ผ่านการคัดเลือก เมื่อวิเคราะห์ได้ผลแล้วจะส่งไปผ่านสื่อประสานไปยังผู้ใช้ในที่สุด
45
การจัดการแบบจำลอง (Model Management)
ฐานแบบจำลอง (Model Base) คือแหล่งรวบรวมแบบจำลองชนิดต่าง ๆ เพื่อใช้วิเคราะห์ข้อมูลใน ระบบสนับสนุนการตัดสินใจได้ เช่น แบบจำลองทางสถิติ การเงิน การ จัดการ และเชิงปริมาณ เป็นต้น แบ่งตามวัตถุประสงค์การนำไปใช้งาน เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ แบบจำลองการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (Strategic Model) แบบจำลองการตัดสินใจทางเทคนิควิธี (Tactical Model) แบบจำลองการตัดสินใจเชิงปฏิบัติการ (Operational Model) แบบจำลองสำเร็จรูป (Model Building Block)
46
การจัดการแบบจำลอง (Model Management)
ระบบจัดการฐานแบบจำลอง (Model Base Management System) คือ ระบบที่ทำหน้าที่สร้างแบบจำลองโดยการใช้โปรแกรมภาษาต่างๆ หรือใช้เครื่องมือระบบสนับสนุนของการตัดสินใจ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงแบบจำลอง และช่วยจัดการข้อมูลที่ใช้แบบจำลอง เพื่อคัดเลือกแบบจำลองที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาลักษณะต่าง ๆ
47
การจัดการแบบจำลอง (Model Management)
ภาษาที่ใช้ในการสร้างแบบจำลอง (Modeling Language) - COBOL - ภาษายุคที่ 4 (Fourth Generation) เช่น Visual Basic, C++ , Visual.Net และอื่นๆ - MS Excel, IRPS/Plus
48
การจัดการแบบจำลอง (Model Management)
สารบัญแบบจำลอง (Model Directory) เป็นแหล่งรวบรวมรายชื่อ ความหมาย ความสามารถและประโยชน์ของแบบจำลองทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นแบบจำลองที่เก็บอยู่ในฐานแบบจำลอง (Model Base) หรือจะเป็นแบบจำลองโปรแกรมสำเร็จรูปอื่น ๆ เช่น Excel
49
การจัดการแบบจำลอง (Model Management)
การดำเนินการกับแบบจำลอง ระบบจัดการแบบจำลองช่วยควบคุมการทำงานลักษณะต่าง ๆ ของแบบจำลอง หรือเรียกว่าเป็นการควบคุมดำเนินการต่าง ๆ กับแบบจำลอง ซึ่งมีดังนี้ การใช้งานแบบจำลอง (Model Execution) คือ กระบวนการนำแบบจำลองไปใช้งานกับปัญหาที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแก้ไข
50
การจัดการแบบจำลอง (Model Management)
การดำเนินการกับแบบจำลอง (ต่อ) การใช้งานร่วมกันของแบบจำลอง (Model Integration) เช่น ผลลัพธ์จากแบบจำลองหนึ่งอาจเป็นข้อมูลนำเข้าสำหรับประมวลผลในอีกแบบจำลองก็ได้ การประมวลผลแบบจำลอง (Command Processor) เป็นการรับและแปลคำสั่งในการสร้างแบบจำลองมายังระบบ จากนั้นระบบจะส่งคำแปลไปยังระบบจัดการฐานแบบจำลอง หน่วยควบคุมการใช้งานแบบจำลองหรือหน่วยควบคุมการทำงานร่วมกันของแบบจำลอง
51
สรุปความสามารถของส่วนการจัดการแบบจำลอง
ส่วนการจัดการแบบจำลอง เป็นส่วนที่ช่วยจัดการ ควบคุมการทำงานของแบบจำลอง และช่วยในการคัดเลือกแบบจำลองที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์สำหรับประกอบการตัดสินใจของผู้ใช้งานระบบ ซึ่งต้องอาศัยความสามารถต่าง ๆ โดยสรุป ดังนี้ 1. สามารถจัดการแบบจำลองที่เก็บอยู่ในฐานแบบจำลองได้อย่างรวดเร็ว เช่น การสร้างแบบจำลองขึ้นมาใหม่ การประยุกต์ใช้แบบจำลองเดิมที่เคยสร้างไว้แล้ว 2. ผู้ใช้สามารถทำงานกับแบบจำลองประเภทต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง ดังนั้นผู้บริหารจึงสามารทดลองและวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้เอง
52
สรุปความสามารถของส่วนการจัดการแบบจำลอง
3. ส่วนการจัดการแบบจำลองต้องมีความสามารถในการจัดการ จัดเก็บ และเรียกใช้แบบจำลองประเภทต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. สามารถนำแบบจำลองสำเร็จรูปหลาย ๆ แบบมาใช้งานร่วมกับเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ผลสูงสุด 5. มีการจัดทำสารบัญแบบจำลองเพื่อสนับสนุนการใช้งานแบบจำลอง 6. สามารถติดตามใช้งานแบบจำลอง จากผู้ใช้และจากโปรแกรมต่างๆได้
53
สรุปความสามารถของส่วนการจัดการแบบจำลอง
7. สามารถนำแบบจำลองไปทำงานร่วมกับระบบจัดการฐานข้อมูลได้ 8. สามารถควบคุม และจัดการฐานแบบจำลองได้ โดยมีหน้าที่คล้ายกับระบบจัดการฐานข้อมูล คือ การเก็บรักษา การเข้าถึง การเรียกใช้งาน การปรับปรุง การจัดทำสารบัญ และการสอบถามแบบจำลอง 9. สามารถจัดการและจัดแสดงแบบจำลองมากกว่า 1 แบบจำลองตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถมองลักษณะของปัญหาได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
54
องค์ประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ส่วนที่ 3 การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management)
55
การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management)
ส่วนการจัดการองค์ความรู้ เป็นส่วนประกอบที่จำเป็น สำหรับระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่มีขนาดใหญ่ รองรับกับปัญหาที่มีความซับซ้อนสูง เป็นปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง หรือ กึ่งโครงสร้าง ปัญหาที่ผู้ตัดสินใจ ไม่มีข้อมูล องค์ความรู้ และประสบการณ์เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหานั้น องค์ความรู้ที่ผู้ตัดสินใจจะสามารถค้นหาได้จากระบบสนับสนุนการตัดสินใจนั้น จะถูกจัดเก็บไว้ใน ฐานองค์ความรู้ (Knowledge Base) ซึ่งได้จากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญด้านการตัดสินใจ มากมายหลายสาขา
56
การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management)
ฐานองค์ความรู้ จึงต้องมีระบบจัดการฐานองค์ความรู้ (Knowledge Base Management System: KBMS) เป็นส่วนช่วยในการจัดการองค์ความรู้ ทำให้ผู้ตัดสินใจสามารถเรียกใช้องค์ความรู้ ที่ตรงกับปัญหาที่ต้องการแก้ไข ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ในบางครั้ง ระบบที่มีองค์ประกอบส่วนนี้รวมอยู่ด้วย ถูกเรียกชื่อได้หลายชื่อ เช่น “ระบบสนับสนุนการตัดสินใจชาญฉลาด” (Intelligent DSS) หรือ “ระบบสนับสนุนการตัดสินใจด้วยฐานองค์ความรู้” (Knowledge Base DSS)
57
การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management)
ตรวจสอบองค์ความรู้ (Knowledge Validation) แหล่งองค์ความรู้ (Expert & Etc.) ดึงองค์ความรู้ (Knowledge Acquisition) ฐานองค์ความรู้ (Knowledge Base) จัดรูปแบบองค์ความรู้ (Knowledge Representation) Encoding การอธิบาย (Explanation/Justification) การนำเข้าฐานองค์ความรู้ การวินิจฉัย/สรุปความ (Inferencing) การใช้งานฐานองค์ความรู้ โครงสร้างของส่วนการจัดการองค์ความรู้
58
การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management)
โครงสร้างการทำงานของส่วนการจัดการองค์ความรู้ มีส่วนการทำงานย่อยที่สำคัญทั้งหมด 5 ส่วน ได้แก่ (1) ส่วนที่ทำหน้าที่รวบรวมองค์ความรู้จากแหล่งองค์ความรู้ เช่น ผู้เชี่ยวชาญ หรือจากแหล่งอื่นๆ เพื่อนำองค์ความรู้เหล่านั้นมาแปลงให้อยู่ในรูปที่โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เรียกว่า ”Knowledge Acquisition” จากนั้นองค์ความรู้จะเข้าสู่ (2) ส่วนจัดรูปแบบองค์ความรู้“Knowledge Representation” ซึ่งอาจจะต้องมีการเข้ารหัสองค์ความรู้ เช่น เปลี่ยนเป็นสัญลักษ์ต่างๆ เพื่อประมวลผลไปเก็บไว้ใน (3) ฐานองค์ความรู้ ที่จะต้องมี (3) การตรวจสอบองค์ความรู้ (Knowledge Validation) ที่รับมาเก็บไว้ว่าถูกต้องหรือไม่ (มีต่อ)
59
การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management)
โครงสร้างการทำงานของส่วนการจัดการองค์ความรู้ มีส่วนการทำงานย่อยที่สำคัญทั้งหมด 5 ส่วน ได้แก่ (ต่อ) เมื่อผู้ใช้เรียกใช้ระบบจะต้องมี (4) ส่วนที่ทำหน้าที่อธิบายความ (Explanation/Justification) องค์ความรู้ต่างๆ ให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจในแนวทางหรือคำตอบที่ระบบส่งให้กับผู้ใช้ ด้วยส่วนที่ทำหน้าที่สำคัญที่สุดคือ (5) “ส่วนวินิจฉัย/การสรุปความ (Inferencing)”
60
7. การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management)
ส่วนการดึงองค์ความรู้ (Knowledge Acquisition) คือ ส่วนที่ทำหน้าที่รวบรวมองค์ความรู้จากแหล่งองค์ความรู้ การนำองค์ความรู้จากแหล่งองค์ความรู้มาแปลงและจัดเก็บในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ การจัดรูปแบบองค์ความรู้ (Knowledge Representation) คือ ส่วนที่ทำหน้าที่จัดรูปแบบองค์ความรู้ที่ระบบสามารถเข้าใจได้ อาจเป็นการเข้ารหัส (Encoding) เป็นสัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่อการประมวลผล ไปเก็บไว้ในฐานองค์ความรู้ ที่จะต้องมีการตรวจสอบองค์ความรู้
61
7. การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management)
ส่วนการตรวจสอบองค์ความรู้ (Knowledge Validation) คือ ส่วนที่ทำหน้าที่ตรวจสอบองค์ความรู้ก่อนการจัดเก็บไว้ในฐานองค์ความรู้ว่าถูกต้องหรือไม่ ส่วนการอธิบาย (Explanation/Justification) คือ ส่วนที่ทำหน้าที่อธิบายความของแนวทาง หรือคำตอบ เมื่อผู้ใช้เรียกใช้งานระบบ ส่วนการสรุปความ (Inferencing) คือ ส่วนสรุปความให้ผู้ใช้
62
สรุปความสามารถของส่วนการจัดการองค์ความรู้ที่มีต่อระบบ
1. เป็นเครื่องมือช่วยเหลือและสนับสนุนขั้นตอนต่าง ๆ ของกระบวนการตัดสินใจ โดยเฉพาะกระบวนการที่ไม่ได้ถูกกล่าวถึงในเชิงคณิตศาสตร์ 2. ใช้สร้างแบบจำลองการตัดสินใจอัจฉริยะ (Intelligent Decision Modeling System) ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้ผู้ใช้สามารถสร้าง ดัดแปลง และจัดการแหล่งเก็บแบบจำลองต่าง ๆได้ 3. ช่วยวิเคราะห์ทางเลือกในการตัดสินใจสำหรับปัญหาที่อยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มีความแน่นอน(Uncertainly) โดยอาศัยการรวบรวมทฤษฎีเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของฐานองค์ความรู้
63
องค์ประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ส่วนที่ 4 ส่วนการจัดการสื่อประสานกับผู้ใช้ (User Interface Management)
64
การจัดการสื่อประสานกับผู้ใช้ (User Interface Management)
ส่วนการจัดการสื่อประสานกับผู้ใช้ (User Interface Management) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่จัดการด้านโต้ตอบกับผู้ใช้ (Dialog Management) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกับระบบ DSS ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ และยังช่วยควบคุมการจัดการงานด้านต่าง ๆ ด้วยระบบจัดการส่วนประสานกับผู้ใช้ (User Interface Management System: UIMS) ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานระบบสนับสนุนการตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
65
โครงสร้างการทำงานของส่วนการจัดการสื่อประสานกับผู้ใช้
ส่วนการจัดการองค์ความรู้ และระบบจัดการ ฐานองค์ความรู้ ส่วนการจัดการแบบจำลอง และระบบจัดการ ฐานแบบจำลอง ส่วนการจัดการข้อมูลและ ระบบจัดการฐานข้อมูล ระบบจัดการสื่อประสานกับผู้ใช้ (UIMS) สื่อประมวลผลภาษาธรรมชาติ Input Output การทำงานของภาษาธรรมชาติ แสดงผลภาษาธรรมชาติ เทอร์มินอล เครื่องพิมพ์ ผู้ใช้
66
การจัดการสื่อประสานกับผู้ใช้ (User Interface Management)
กระบวนการทำงานของส่วนการจัดการสื่อประสานกับผู้ใช้ ในระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ผู้ใช้ป้อนคำสั่งต่างๆ เข้าสู่ระบบผ่านอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input Device) จากนั้นเป็นหน้าที่ของระบบจัดการสื่อประสานผู้ใช้ (UIMS) ที่จะต้องนำคำสั่งนั้นเข้าสู่หน่วยประมวลผลภาษาธรรมชาติที่เรียกว่า ”Natural Language Processor” เพื่อทำหน้าที่แปลคำสั่งจากภาษามนุษย์เป็นภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจได้ แล้วจึงส่งคำสั่งกลับไปยังระบบจัดการสื่อประสานกับผู้ใช้อีกครั้ง เพื่อจัดการส่งคำสั่งต่อไปที่ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น ส่วนการจัดการข้อมูล ส่วนการจัดการองค์ความรู้ และส่วนการจัดการแบบจำลอง
67
การจัดการสื่อประสานกับผู้ใช้ (User Interface Management)
กระบวนการทำงานของส่วนการจัดการสื่อประสานกับผู้ใช้ ในระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (ต่อ) และเมื่อคำสั่งได้รับการประมวลผลเป็นผลลัพธ์แล้ว จะถูกส่งกลับไปยังผู้ใช้ ผ่านทางระบบจัดการสื่อประสานกับผู้ใช้ไปยังหน่วยประมวลผลภาษาธรรมชาติ เพื่อแปลภาษาเครื่องคอมพิวเตอร์ กลับมาเป็นภาษามนุษย์และส่งไปยังหน่วยแสดงผล (Output Device) เพื่อแสดงผลลัพธ์ออกทางจอภาพ หรือเครื่องพิมพ์ ตามความต้องการของผู้ใช้
68
การจัดการสื่อประสานกับผู้ใช้ (User Interface Management)
นักพัฒนาระบบบางคนมีแนวคิดว่า สื่อประสานหรือส่วนโต้ตอบกับผู้ใช้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เนื่องจากจะทำหน้าทำให้ผู้ตัดสินใจประเมินได้ว่า ระบบนั้นใช้งานได้ง่ายหรือไม่ หากระบบนั้นมีสื่อประสานกับผู้ใช้ที่ใช้งานยาก ก็อาจทำให้ผู้ตัดสินใจ (ที่ไม่มีความชำนาญในการใช้คอมพิวเตอร์) เลิกใช้ระบบนั้นไปเลยก็เป็นได้ ซึ่งถือว่าค่อนข้างมีอิทธิพลต่อการยอมรับของผู้ใช้อย่างมาก ดังนั้น ผู้พัฒนาระบบจึงออกแบบสื่อประสานกับผู้ใช้ให้มีรูปแบบที่น่าสนใจและใช้งานง่าย เช่น การใช้เมนูคำสั่งในลักษณะต่าง ๆ (Pop-up, Pull Down Menu ฯลฯ)
69
การจัดการสื่อประสานกับผู้ใช้ (User Interface Management)
การแสดงผลเป็นภาพสี ภาพ 3 มิติ มีข้อความที่สื่อความหมายได้ ชัดเจน มีการแสดงเป็นแผนภูมิ หรือเป็นตารางซึ่งมีลักษณะ เหมือนกับโปรแกรมสำเร็จรูปทั่วไป สำหรับรูปแบบที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบันคือ การแสดงผล ในรูปแบบของเว็บเพจ (Web Page) ที่ผู้ตัดสินใจสามารถ เชื่อมโยงจากจอภาพหนึ่งไปยังอีกจอภาพหนึ่งได้สะดวกขึ้น และรูปแบบสื่อประสานกับผู้ใช้ที่กำลังได้รับการพัฒนาให้มี ความสามารถมากขึ้นนั่นก็คือ การติดต่อกับผู้ตัดสินใจเป็น คำพูดด้วย “เสียง” หรือการประมวลผลภาษามนุษย์ (Natural Language Processing: NLP)
70
สรุปความสามารถของส่วนการจัดการสื่อประสานกับผู้ใช้
1. สามารถรองรับเทคโนโลยีด้านกราฟิกของสื่อประสานกับผู้ใช้ (Graphical User Interface) เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้งาน ระบบ DSS ได้ง่ายขึ้น 2. สามารถรองรับอุปกรณ์นำเข้า (Input Device) ได้หลาย ประเภท 3. สามารถรองรับการแสดงผลและการใช้งานอุปกรณ์แสดงผล ข้อมูลต่างๆ ได้
71
สรุปความสามารถของส่วนการจัดการสื่อประสานกับผู้ใช้
4. มีความยืดหยุ่น และสามารถปรับระบบตามลักษณะปัญหาต่างๆ ได้ อย่างรวดเร็ว 5. ช่วยจัดเก็บข้อมูลที่ผ่านเข้า – ออกระบบสนับสนุนการตัดสินใจได้ อย่างมีประสิทธิภาพ 6. สามารถรองรับการแสดงผลในลักษณะภาพกราฟิก 3 มิติ ที่มีสีสัน สวยงามได้ 7. สามารถแสดงข้อมูลพร้อมกันหลายหน้าต่างและหลายรูปแบบได้
72
การจัดการสื่อประสานกับผู้ใช้ (User Interface Management)
8. สามารถสื่อความต้องการของผู้ใช้ไปยังผู้สร้างระบบสนับสนุนการตัดสินใจผ่านทางระบบสื่อประสานกับผู้ใช้ (GUI) 9. จัดเตรียมตัวอย่างให้ผู้ใช้ได้ฝึกทักษะการใช้ระบบ โดยอาจแนะนำผ่านกระบวนการป้อนข้อมูลเข้า และกระบวนการสร้างแบบจำลอง 10. ผู้ใช้สามารถปรับแต่งหน้าตาของระบบสื่อประสานกับผู้ใช้ (GUI) ให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้ได้เสมอ
73
20 October 2010
74
แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3 1. อธิบายความสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกันระหว่างองค์ประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS Component) ทั้ง 4 ส่วน 2. เครื่องมือในการพัฒนาระบบ DSS ประกอบด้วยอะไรบ้าง 3. สิ่งแวดล้อมของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ประกอบด้วยอะไรบ้าง 4. ทำไมบางคนคิดว่า สื่อประสานหรือส่วนโต้ตอบกับผู้ใช้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ 13 October 2007
75
ส วั ส ดี 20 October 2010 wichai@buu.ac.th 27 March 2001
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.