ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
รองศาสตราจารย์สนิท สัตโยภาส
การพัฒนาเอกสารคำสอน โดย รองศาสตราจารย์สนิท สัตโยภาส
2
ประเด็นสนทนา ข้อแตกต่างระหว่างเอกสารประกอบการสอนกับเอกสารคำสอน
รูปแบบ องค์ประกอบและขั้นตอนการเขียนเอกสารคำสอน การเขียนขยายเค้าโครงเอกสารแต่ละบทให้มีเนื้อหาสมบูรณ์
3
ความสำคัญของเอกสารประกอบการสอน
เป็นเอกสารบังคับ ที่ใช้ประกอบการพิจารณา เพื่อประเมินผลการสอนในการกำหนดตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์
4
ความสำคัญของเอกสารคำสอน
เป็นเอกสารบังคับที่ใช้ประกอบการพิจารณา เพื่อประเมินผลการสอนในการกำหนดตำแหน่ง รองศาสตราจารย์
5
การใช้เอกสารประกอบการสอน
ผู้สอนใช้ประกอบการสอนและ ผู้เรียนใช้ประกอบการเรียนในวิชานั้น
6
การใช้เอกสารคำสอน ผู้เรียนนำเอกสารคำสอนไปศึกษาด้วยตนเอง หรือศึกษาเพิ่มเติมจากการเรียนในวิชานั้น ๆ
7
นิยามของเอกสารประกอบการสอน
ผลงานทางวิชาการที่ใช้ประกอบการสอนวิชาใดวิชาหนึ่ง ตามหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาที่สะท้อนให้เห็นเนื้อหาวิชาและวิธีสอนอย่างเป็นระบบ
8
นิยามของเอกสารคำสอน ผลงานทางวิชาการที่ใช้ประกอบการสอนวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาที่สะท้อนให้เห็นเนื้อหาวิชาและวิธีสอนอย่างเป็นระบบ โดยอาจพัฒนาขึ้นจากเอกสารประกอบการสอน จนมีความสมบูรณ์กว่าเอกสารประกอบการสอน
9
รูปแบบ เอกสารประกอบการสอน
เป็นเอกสารหรือสื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในวิชาที่สอน ประกอบด้วยแผนการสอน หัวข้อบรรยาย (มีรายละเอียดพอสมควร) อาจมีรายชื่อบทความ หนังสือประกอบ บทเรียบเรียง แผนภูมิ แถบเสียง หรือ ภาพเลื่อนประกอบ
10
รูปแบบ เอกสารคำสอน เป็นเอกสารหรือสื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในวิชาที่สอน ประกอบด้วยแผนการสอน หัวข้อบรรยาย (มีรายละเอียดพอสมควร) อาจมีรายชื่อบทความ หนังสือประกอบ บทเรียบเรียง แผนภูมิ แถบเสียง หรือภาพเลื่อนประกอบ + ตัวอย่างหรือกรณีศึกษา ประกอบการอธิบาย มีภาพ แบบฝึก รวมทั้งการอ้างอิงเพื่อขยายที่มีของสาระ ข้อมูลและบรรณานุกรมที่ทันสมัย
11
การเผยแพร่ เอกสารประกอบการสอน
เผยแพร่ในรูปแบบของเอกสารหรือถ่ายเอกสารเย็บเล่มหรือสื่ออื่น ๆ เช่น ซีดีรอม (ใช้ประกอบการสอนอย่างน้อย 1 ภาคเรียน ของช่วง 3 ปีย้อนหลัง)
12
การเผยแพร่เอกสารคำสอน
เผยแพร่ด้วยการจัดเป็นรูปเล่ม หรือ ถ่ายสำเนาเย็บเล่ม มีหลักฐานว่าได้ใช้เป็น “คำสอน” แก่ผู้เรียนในวิชานั้น ๆ มาแล้ว (ช่วง 3 ปีย้อนหลัง)
13
แนวทางการประเมินผลการสอน
ดูในคู่มือการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ พ.ศ หน้า 180 (เอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. พ.ศ.2550)
14
รูปแบบ องค์ประกอบและขั้นตอนการพัฒนาเอกสารคำสอน
รูปแบบ องค์ประกอบและขั้นตอนการพัฒนาเอกสารคำสอน องค์ประกอบของเอกสารคำสอน ส่วนที่ 1 องค์ประกอบส่วนหน้า ประกอบด้วย 1.1 ปกนอก ปกใน 1.2 คำนิยม (ถ้ามี) 1.3 คำนำ 1.4 สารบัญ 1.5 สารบัญภาพ (ถ้ามี) 1.6 สารบัญตาราง (ถ้ามี)
15
องค์ประกอบของเอกสารคำสอน
1.7 แผนการบริหารการสอนประจำวิชา ชื่อรายวิชา รหัสวิชา หน่วยกิต/ชั่วโมง และรวมเวลาเรียน คำอธิบายรายวิชา วัตถุประสงค์ทั่วไป เนื้อหาและเวลาที่ใช้สอน (แบ่งเป็นบท/หน่วย) แผนการสอนตลอดรายวิชา วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน งานที่มอบหมายประจำวิชา สื่อการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผล
16
องค์ประกอบของเอกสารคำสอน
ส่วนที่ 2 แผนการบริหารการสอนประจำบท (หน่วย) 2.1. หัวข้อเนื้อหา 2.2. วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 2.3. วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน (โดยสรุป) 2.4. สื่อการเรียนการสอน 2.5. การวัดผล (โดยสรุป)
17
องค์ประกอบของเอกสารคำสอน
ส่วนที่ 3 เนื้อหาสาระ (จัดเป็นบท / หน่วย) 3.1. บทที่ และชื่อบท 3.2. ความนำ/เกริ่นนำ ( บรรทัด) 3.3. เสนอเนื้อหาทีละประเด็น โดยเรียงประเด็นใหญ่ ประเด็นรองและประเด็นย่อย ตามลำดับ 3.4. บทสรุป/สรุป ( บรรทัด) 3.5. คำถามท้ายบท/กิจกรรมประจำบท 3.6. เอกสารอ้างอิง
18
องค์ประกอบของเอกสารคำสอน
ส่วนที่ 4 องค์ประกอบส่วนหลัง ประกอบด้วย 4.1 บรรณานุกรม 4.2 ภาคผนวก (ถ้ามี) 4.3 ดัชนี (ถ้ามี) 4.4 อภิธานศัพท์ (ถ้ามี) 4.5 ประวัติผู้เขียน (ถ้ามี)
19
ขั้นตอนการพัฒนาเอกสารคำสอน
ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา ตัวอย่าง รายวิชา วิธีสอนภาษาไทย รหัส CI 4614 คำอธิบายรายวิชา ศึกษาหลักสูตรและเอกสารหลักสูตรภาษาไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิเคราะห์หลักสูตร หลักการจัดประสบการณ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ การใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้รูปแบบต่างๆ ทักษะการผลิตและการใช้สื่อ อุปกรณ์และเครื่องมือพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ การทดลองสอนในชั้นเรียน
20
กิจกรรม เนื้อหาหลัก 1. ศึกษา 1.1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน
1.1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน 1.2. เอกสารหลักสูตรภาษาไทยระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1.3. หลักการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 1.4. การจัดการเรียนรู้รูปแบบต่างๆ 1.5. การผลิตและการใช้สื่อการเรียนการสอน
21
กิจกรรม เนื้อหาหลัก 2. วิเคราะห์ 3. ผลิต 4. ใช้ 2.1 หลักสูตร
3.1 สื่อการเรียนการสอน 4.1 สื่อการเรียนการสอน 4.2 อุปกรณ์และเครื่องมือพื้นฐาน ในการจัดการเรียนรู้ 4.3 ทรัพยากรในท้องถิ่นเพื่อการเรียนการสอน
22
กิจกรรม เนื้อหาหลัก 5. ทดลองสอน 5.1 การทดลองสอนในชั้นเรียน
23
ขั้นที่ 2 จัดหมวดหมู่และเรียงลำดับเนื้อหา 1
ขั้นที่ 2 จัดหมวดหมู่และเรียงลำดับเนื้อหา 1. หลักสูตรแกนกลางระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ เอกสารหลักสูตรภาษาไทยระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3. หลักการจัดประสบการณ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ 4. สื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้
24
ขั้นที่ 3 ศึกษาค้นคว้าเนื้อหาสาระที่เป็นรายละเอียดของเนื้อหาหลัก
ตำรา หนังสือ เอกสารประกอบการสอน เว็บไซต์ อื่น ๆ
25
ขั้นที่ 4 เขียนเค้าโครงเอกสารคำสอน
ขั้นที่ 4 เขียนเค้าโครงเอกสารคำสอน บทที่ 1 หลักสูตรแกนกลางระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 สาระการเรียนรู้ภาษาไทย บทที่ 2 เอกสารหลักสูตรภาษาไทยระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน บทที่ 3 การสอนภาษาไทยแก่เด็กแรกเรียน บทที่ 4 หลักการจัดประสบการณ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ บทที่ 5 การจัดการเรียนในศตวรรษที่ 21 บทที่ 6 กิจกรรมเสริมทักษะภาษาไทย บทที่ 7 สื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้ทางภาษาไทย บทที่ 8 การวัดและประเมินผลการเรียนการสอนภาษาไทย บทที่ 9 การวางแผนการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ภาษาไทย
26
ขั้นที่ 5 เขียนขยายเค้าโครงของแต่ละบท
ขั้นที่ 5 เขียนขยายเค้าโครงของแต่ละบท บทที่ 9 การวางแผนการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ภาษาไทย การวิเคราะห์หลักสูตรสู่การออกแบบการเรียนรู้ เหตุผลและส่วนดีที่ครูทำแผนการจัดการเรียนรู้ องค์ประกอบและวิธีเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมประจำบทที่ 9 เอกสารอ้างอิง
27
ขั้นที่ 6 เขียนขยายเค้าโครงของแต่ละบทให้มีเนื้อหาสมบูรณ์ ขั้นที่ 7 เขียนองค์ประกอบส่วนหน้าและส่วนหลัง และจัดพิมพ์ เป็นเล่มสมบูรณ์ ขั้นที่ 8 ทดลองใช้ (Try – out) ขั้นที่ 9 ปรับปรุง จัดพิมพ์ ใช้สอน เผยแพร่
28
การเขียนขยายเค้าโครงเอกสารแต่ละบท ให้มีเนื้อหาสมบูรณ์
29
1) นำเค้าโครงของเอกสารมาพิจารณาทีละบท ดังตัวอย่าง
1) นำเค้าโครงของเอกสารมาพิจารณาทีละบท ดังตัวอย่าง แผนบริหารการสอนประจำบทที่ ๕ บทที่ ๕ การสอนเพื่อพัฒนาการคิดระดับสูง ความหมายของการคิด ความสำคัญของการคิด ระดับของทักษะการคิด ลักษณะการคิด การตั้งวัตถุประสงค์การสอนที่เอื้อต่อการพัฒนาการคิด การสอนเพื่อพัฒนาการคิดระดับสูง คำถามประจำบทที่ ๕ เอกสารอ้างอิง
30
2) ค้นคว้ารวบรวมข้อมูลที่เป็นเนื้อหาของทุกประเด็นในบทจากเอกสาร ตำรา บทความ หนังสือ งานวิจัย และ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ
31
3) นำสาระที่สืบค้นในประเด็นเดียวกันมาสังเคราะห์ความ โดยเริ่มด้วยการกล่าวนำ เพื่อปูพื้นเกี่ยวกับเรื่องที่เขียนเพื่อสร้างความเข้าใจก่อนเข้าสู่เนื้อหาจริง
32
4) เขียนตัวเรื่อง ให้นำข้อมูลที่ค้นคว้าได้เกี่ยวกับประเด็นที่จะเขียนมาหลอมรวมเป็นเนื้อความที่สมบูรณ์ ชัดเจนตั้งแต่ต้นจนจบ โดยเรียบเรียงใหม่อย่างมีระเบียบ หลักเกณฑ์และอ้างอิงถูกต้อง
33
5) เขียนลงท้าย เป็นการเขียนจบเรื่อง อาจเป็นแง่มุมสำคัญของเรื่อง ข้อสังเกตข้อวิจารณ์ หรือปัญหาที่ยังไม่ยุติควรศึกษาต่อไปก็ได้
34
6) ตกแต่งเนื้อความให้น่าอ่าน อ่านแล้วเข้าใจง่าย สบายตาด้วย ตาราง ภาพ แผนภูมิ หรือ แผนที่ความคิดตามความเหมาะสม
35
สร้างคำถาม / กิจกรรมประจำบท ทำได้หลากหลายแบบ
ดังตัวอย่างเช่น 7.1) คำถามแบบเลือกตอบ ( ข้อ) 7.2) คำถามที่ให้ตอบแบบบรรยายหรืออธิบาย (ไม่ควรน้อยกว่า 10 ข้อ) 7.3) เป็นกิจกรรมให้ฝึกปฏิบัติเป็นงานเดี่ยวหรือกลุ่ม
36
เขียนเอกสารอ้างอิงประจำบท
นำชื่อตำรา หนังสือ รายงานการวิจัย บทความวิชาการ เว็บไซต์ หรือบทสัมภาษณ์ ที่เข้าสืบค้นสาระเพื่อเขียนในบทนี้มาเขียนเรียงลำดับไว้ท้ายบท โดยเฉพาะ เล่มที่ยกข้อความมาอ้างอิงไว้ในบทนี้ (ทำอัญประภาษ) ด้วยฟอร์ม “บรรณานุกรม”
37
เขียนแผนบริหารประจำบท (เขียนก่อนหรือหลังตัวเรื่องก็ได้)
ให้นำสาระใน มคอ.3 มาเป็นแนวเพื่อให้รายละเอียดด้วยการนำการปฏิบัติจริงตอนสอนมาเขียนเป็นสำคัญให้ครบ หัวข้อ คือ 9.1) หัวข้อเนื้อหา 9.2) วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 9.3) วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน 9.4) สื่อการเรียนการสอน 9.5) การวัดผล
38
เขียนส่วนประกอบตอนหน้า
ปกนอก สันปก ปกใน คำนิยม (ถ้ามี) คำนำ สารบัญ สารบัญภาพ (ถ้ามี) สารบัญตาราง (ถ้ามี)
39
เขียนส่วนประกอบตอนท้าย
บรรณานุกรม ภาคผนวก (ถ้ามี) ดัชนี (ถ้ามี) อภิธานศัพท์ (ถ้ามี) ประวัติผู้เขียน (ควรมี)
40
เขียนเค้าโครงเอกสารคำสอน ให้ 1 รายวิชาที่สอนจริง
ให้ 1 รายวิชาที่สอนจริง ฝึกปฏิบัติ เขียนแผนบริหารการสอนประจำวิชา เขียนขยายเค้าโครง ให้มีสาระสมบูรณ์ 1 บท
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.