ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
แผนที่และสัญลักษณ์ต่างๆ ในแผนที่
ครูแมน ตนภู วิชาภูมิศาสตร์ โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์
2
แผนที่ (Map) แผนที่ เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกบนวัสดุแบนราบด้วยการย่อขนาดให้เล็กลงโดยใช้มาตราส่วน และใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งที่มีจริงบนพื้นผิวโลก แผนที่ตามลักษณะการใช้ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. แผนที่อ้างอิง ( general reference map ) 2. แผนที่เฉพาะเรื่อง ( thematic map ) 3. แผนที่เล่ม (atlas)
3
แผนที่อ้างอิง ( general reference map )
4
แผนที่ภูมิประเทศ
5
แผนที่ชุด
6
แผนที่เฉพาะเรื่อง ( thematic map )
เป็นแผนที่ที่สร้างขึ้นเพื่อเเสดงรายละเอียดเฉพาะเรื่อง มีหลายชนิด เช่น แผนที่รัฐกิจ แผนที่ภูมิอากาศ แผนที่ธรณีวิทยา แผนที่การถือครองที่ดิน แผนที่พืชพรรณธรรมชาติ แผนที่ท่องเที่ยว
7
1. แผนที่รัฐกิจ ( political map )
คือแผนที่แสดงอาณาเขตทางการปกครอง เช่น เขตจังหวัดหรือประเทศ แผนที่ชนิดนี้จะต้องแสดงอาณาเขตติดต่อกับดินเเดนของประเทศหรือรัฐอื่น พร้อมทั้งแสดงที่ตั้ง ชื่อเมืองหลวง เมืองท่า หรือเมืองสำคัญอื่น ๆ
8
2. แผนที่ภูมิอากาศ ( climatic map )
เป็นแผนที่สำหรับแสดงข้อมูลด้านภูมิอากาศโดยเฉพาะ เช่น แผนที่เขตภูมิอากาศของโลก แผนที่ปริมาณฝนเฉลี่ยของประเทศไทย แผนที่ปริมาณฝนเฉลี่ยของโลก แผนที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลก
9
แผนที่ธรณีวิทยา ( geologic map )
เป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นเพื่อเเสดงอายุ ประเภท และการกระจายตัวของหินเปลือกโลก การตกตะกอนทับถมของสารต่างๆ ที่ผิวโลกรวมทั้งแสดงรอยเลื่อนที่ปรากฏบนผิวโลกและลักษณะทางธรณีวิทยาอื่น ๆ
10
4. แผนที่การถือครองที่ดิน ( cadastral map )
เป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นเพื่อเเสดงอาณาเขตที่ดินในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เช่น ในเขตตำบล อำเภอ หรือจังหวัด โดยแบ่งออกเป็นแปลงๆ และแต่ละเเปลงต่างก็แสดงสิทธิการครอบครองโดยการเเสดงการเป็นเจ้าของ
11
แผนที่พืชพรรณธรรมชาติ ( natural vegetation map )
เป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นเพื่อเเสดงประเภทของพืชพรรณธรรมชาติและการกระจายตัวของพืชพรรณชนิดนั้นๆ ที่ปรากฎบนโลก ภูมิภาค หรือประเทศต่างๆ
12
แผนที่ท่องเที่ยว ( tourist map )
เป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นเพื่อแนะนำสถานที่นั้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว โดยแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งและสถานที่ที่จำเป็นและเกี่ยวข้องสำหรับการท่องเที่ยว เช่น เส้นทางการคมนาคมทั้งทางบก เรือ อากาศ ทีพัก ร้านอาหาร ภัตตาคาร สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น ชายหาด น้ำตก เกาะ แก่ง ภูเขา อุทยาน สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ แหล่งศิลปวัฒนธรรม สถานบันเทิง สถานที่พักผ่อน ธนาคาร สถานีขนส่งท่าเรือ สถานีตำรวจ โรงพยาบาล ท่าอากาศยาน
14
แผนที่เล่ม (Atlas) เป็นแผนที่ที่รวบรวมเรื่องต่างๆ ทั้งลักษณะทางกายภาพ ทางเศรษฐกิจ ทางสังคม ทางด้านประชากร และอื่นๆไว้ในเล่มเดียวกัน
15
การแบ่งแผนที่ตามมาตราส่วน
1. แผนที่มาตราส่วนขนาดใหญ่ ได้แก่ แผนที่ที่มีมาตราส่วนเท่ากับหรือใหญ่กว่า 1:75,000 ใช้ในการเขียนแผนที่ขนาดเล็ก เช่น โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย 2. แผนที่มาตราส่วนขนาดกลาง ได้แก่ แผนที่มาตราส่วน 1:75,000 ถึง 1:600,000 ใช้เขียนแผนที่ขนาดกลาง เช่น จังหวัดเชียงใหม่ 3. แผนที่มาตราส่วนขนาดเล็ก ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนเท่ากับหรือเล็กกว่า 1:600,000 ใช้เขียนแผนที่ที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ เช่น ทวีปเอเชีย
16
ใบงานที่ 2 ความหมายและประเภทของแผนที่
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามตามหัวข้อต่อไปนี้ 1. แผนที่คืออะไร 2. แผนที่แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง 3. แผนที่แสดงจังหวัดในประเทศไทย จัดเป็นแผนที่ประเภทใด 4. แผนที่มาตราส่วน 1:600,000 จัดเป็นแผนที่ขนาดใด 5. ถ้าต้องการทราบลายละเอียดของจังหวัดเชียงราย ควรใช้แผนที่ขนาดใด เพราะเหตุใด
17
องค์ประกอบของแผนที่ ชื่อแผนที่ ชื่อภูมิศาสตร์ ทิศ มาตราส่วน สัญลักษณ์
สี
19
สัญลักษณ์ที่ใช้ในการจัดทำแผนที่
22
ลูกศรทิศเหนือ
24
มาตราส่วน
26
ลานจอดเฮลิคอปเตอร์
28
ถนนลาดยาง
30
ทางรถไฟ
32
แม่น้ำ ลำธาร
34
โรงเรียน
36
พื้นที่เกษตรกรรม
38
โรงพยาบาล คลินิก
40
ชั้นความสูง
41
การใช้แถบสี การจำแนกความแตกต่างของลักษณะภูมิประเทศโดยใช้แถบสี พื้นดิน สีเขียว แสดง ที่ราบ ที่ต่ำ สีเหลือง แสดง เนินเขาหรือที่สูง สีน้ำตาล แสดง ภูเขาสูง สีขาว แสดง ภูเขาที่มีหิมะปกคลุม พื้นน้ำ สีฟ้าอ่อน แสดง เขตทะเลตื้น สีน้ำเงินแก่ แสดง เขตทะเลที่มีความลึกมาก
42
สีน้ำเงิน
43
สีเขียว
44
สีน้ำตาล
45
สีดำ
46
ใบงานที่ 3 การสร้างแผนที่
คำชี้แจง ให้นักเรียนสร้างแผนที่ท่องเที่ยวของอำเภอแม่สายลงในกระดาษ A 4 โดยให้มีองค์ประกอบของสัญลักษณ์ในแผนที่ โดยให้มีรูปภาพของสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญประกอบ อย่างน้อย 5 แห่ง และมีองค์ประกอบบังคับในแผนที่สำคัญดังนี้ - ทิศ - โรงเรียน - ทางหลวง - สถานที่เพาะปลูก - แม่น้ำ - วัด - ภูเขา - อำเภอ - โรงพยาบาล - สถานีตำรวจ
47
โดยสถานที่สำคัญที่มนุษย์สร้างขึ้นให้มีตัวเลขกำกับ แล้วเขียนบรรยายชื่อใต้แผนที่ดังตัวอย่าง
48
การคำนวณหาระยะจริงบนพื้นผิวโลกจากแผนที่
สูตร มาตราส่วน = ระยะทางบนแผนที่ (Map Distance) ระยะทางจริงบนพื้นผิวโลก(Ground Distance) กิโลเมตรหาร 100,000 เมตร หาร 1,000 โจทย์ แผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ถ้าวัดระยะทางในแผนที่ได้ 5 ซ.ม อยากทราบว่าระยะทางจริงบนพื้นผิวโลกเป็นกี่กิโลเมตร
49
การบอกระดับความสูงต่ำในแผนที่ภูมิประเทศ
เส้นชั้นความสูง Contour Line คือ เส้นสมมุติที่ลากผ่านบริเวณต่างๆ ของภูมิประเทศ มีตัวเลขกำกับค่าของเส้นชั้นความสูงนั้น
51
เส้นลายขวานสับ หรือเส้นลาดเขา
เป็นเส้นขีดสั้นๆเรียงกันตามทิศทางลาดของพื้นดินเพื่อแสดงรูปทรงของภูมิประเทศนั้นๆ หากเป็นพื้นที่ลาดชัน เส้นขีดจะสั้นหนาและชิดกัน หากเป็นพื้นที่ลาดเท เส้นขีดจะยาว บางและห่างกัน
52
ใบงานที่ 3 การวัดระยะทางในแผนที่
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามตามหัวข้อต่อไปนี้ 1. แผนที่หนึ่งมาตรส่วน 1:15,000 วัดระยะทางจากพระธาตุดอยเวามาถึงโรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ 2 ซม. จงหาว่าวัดระยะทางจากพระธาตุดอยเวามาถึงโรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์กี่กิโลเมตร 2. แผนที่หนึ่งมาตราส่วน 1:250,000 วัดระยะทางจากอำเภอเชียงแสนมายังอำเภอแม่สายได้ 5 ซม. จงหาว่าระยะทางจากอำเภอเชียงแสนมายังอำเภอแม่สายกี่กิโลเมตร 3. ให้นักเรียนสร้างแผนที่ขึ้นมา 1 แผนที่ แสดงมาตราส่วน และระยะทางจากที่ตั้งหนึ่งไปยังที่ตั้งหนึ่ง พร้อมหาระยะทางจริงบนพื้นโลกมาด้วย
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.