ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การแก้ไขสัญญาจ้างก่อสร้าง
คู่มือการปฏิบัติงาน เรื่อง กระบวนงานการปฏิบัติงานด้านนิติกรรมและสัญญา การแก้ไขสัญญาจ้างก่อสร้าง
2
วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อให้กรมชลประทานมีคู่มือการปฏิบัติงาน กระบวนงานการปฏิบัติงานด้านนิติกรรมและสัญญา (การแก้ไขสัญญาจ้างก่อสร้าง) ตามระเบียบสำนัก-นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่ชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นลายลักษณ์อักษร
3
วัตถุประสงค์ (ต่อ) ๒. เพื่อเป็นหลักฐานแสดงวิธีการทำงานที่สามารถถ่ายทอดให้กับผู้เข้ามาปฏิบัติงานใหม่ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและพัฒนาการทำงานให้มีความเป็นมืออาชีพ และใช้ประกอบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร รวมทั้งแสดงหรือเผยแพร่ให้กับบุคคลภายนอก ให้สามารถเข้าใจกระบวนการที่มีอยู่เพื่อขอรับการบริการที่ตรงกับความต้องการ และภายในระยะเวลา
4
วัตถุประสงค์ (ต่อ) ๓. เพื่อให้การแก้ไขสัญญาเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นแนวทางให้ผู้ปฏิบัติงานนำไปปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน และป้องกันมิให้เกิดความเสียหายและความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน
5
สัญญา เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. ๑๔๙
สัญญา คืออะไร สัญญา เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. ๑๔๙ ให้ความหมายไว้ว่า “การใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมาย และด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการ ผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ”
6
ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
คำนิยาม ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
7
“การจัดซื้อจัดจ้าง” หมายความว่า การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งพัสดุโดยการซื้อ จ้าง เช่า แลกเปลี่ยน หรือโดยนิติกรรมอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
8
“พัสดุ” หมายความว่า สินค้า งานบริการ งานก่อสร้าง งานจ้าง ที่ปรึกษา และงานจ้างออกแบบ หรือควบคุมงานก่อสร้าง รวมทั้งการดำเนินการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
9
“งานก่อสร้าง” หมายความว่า งานก่อสร้างอาคาร งานก่อสร้างสาธารณูปโภค หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นใดและการซ่อมแซม ต่อเติม ปรับปรุง รื้อถอน หรือการกระทำอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกันต่ออาคาร สาธารณูปโภค หรือสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว รวมทั้งงานบริการที่รวมอยู่ในงานก่อสร้างนั้นด้วย แต่มูลค่าของงานบริการต้องไม่สูงกว่ามูลค่าของงานก่อสร้างนั้น
10
“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายวิธีการงบประมาณ องค์การมหาชน องค์กรอิสระ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ หน่วยธุรการของศาล มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หน่วยงานสังกัดรัฐสภาหรือในกำกับของรัฐสภา หน่วยงานอิสระของรัฐ และหน่วยงานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
11
“เจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือ การบริหารพัสดุ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐ
12
คำนิยาม ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและ การบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
13
“หัวหน้าเจ้าหน้าที่”
หมายความว่า ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสายงานซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุตามที่กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของหน่วยงานของรัฐนั้นกำหนด หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่
14
กระบวนงานการปฏิบัติงานด้านนิติกรรมและสัญญา (การแก้ไขสัญญาจ้างก่อสร้าง)
ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญดังนี้ ๑. ฝ่ายนิติกรรมและสัญญารับเรื่องจากฝ่ายบริหารทั่วไป สำนักกฎหมายและที่ดิน ๒. เจ้าพนักงานธุรการส่งเรื่องให้นิติกรพิจารณา ๓. นิติกรดำเนินการตรวจสอบเอกสารหลักฐานเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงประกอบการพิจารณา ๔. นิติกรพิจารณาและทำความเห็นเสนอให้หัวหน้างาน ๑ – ๓ พิจารณา
15
กระบวนงานการปฏิบัติงานด้านนิติกรรมและสัญญา
(การแก้ไขสัญญาจ้างก่อสร้าง) (ต่อ) ๕. หัวหน้างาน ๑ - ๓ พิจารณาและเสนอความเห็นให้หัวหน้าฝ่ายนิติกรรมและสัญญาพิจารณา ๖.หัวหน้าฝ่ายนิติกรรมและสัญญาพิจารณาและเสนอความเห็นให้ผู้อำนวยการส่วนนิติการพิจารณา ๗. ผู้อำนวยการส่วนนิติการพิจารณาและเสนอความเห็นให้ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและที่ดินพิจารณา
16
เปรียบเทียบการแก้ไขสัญญาจ้างก่อสร้าง
- ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และ - ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วย การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
17
การแก้ไขสัญญา (ระเบียบฯ เดิม ข้อ ๑๓๖)
หลัก ห้ามแก้ไข เปลี่ยนแปลง ข้อยกเว้น กรณีจำเป็น ไม่ทำให้ราชการเสียประโยชน์ กรณีแก้ไขเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
18
การแก้ไขสัญญา (ระเบียบฯ เดิม ข้อ 136) ต่อ
การแก้ไขสัญญา (ระเบียบฯ เดิม ข้อ ๑๓๖) ต่อ การแก้ไขสัญญา (ระเบียบฯ เดิม ข้อ 136) ต่อ อำนาจอนุมัติแก้ไขสัญญา หัวหน้าส่วนราชการ
19
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา (136) ต่อ
การแก้ไขสัญญา (ระเบียบฯ เดิม ข้อ ๑๓๖) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา (136) ต่อ ปัญหาเกี่ยวกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา ** หลักเกณฑ์การแก้ไขสัญญา ** แก้ไขเพื่อความจำเป็น ไม่ทำให้ทางราชการประโยชน์ หรือเพื่อ ประโยชน์ราชการ หากมีการเพิ่มเนื้องาน และมีระยะเวลาเพิ่ม ต้องตกลงไปพร้อมกัน แม้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างจะไม่คิดเงินเพิ่ม (ตามระเบียบฯ ข้อ 136 วรรคสาม จะต้องลงนามพร้อมกันทั้ง ๒ ฝ่าย
20
การแก้ไขสัญญา (ระเบียบฯ เดิม ข้อ ๑๓๖) (ต่อ)
การแก้ไขสัญญา สามารถที่จะพิจารณาดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาในช่วงเวลาใดก็ได้ แม้จะล่วงเลยกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จตามสัญญาก็ตาม แต่อย่างช้าจะต้องดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงก่อนที่คณะกรรมการตรวจการจ้างได้ทำการตรวจรับงานจ้างไว้งวดสุดท้าย เว้นแต่เป็นการแก้ไขเรื่องหลักประกัน
21
ใคร ? เป็นผู้เสนอความเห็นต่อหัวหน้าส่วนราชการ
ใคร ? เป็นผู้เสนอความเห็นต่อหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อแก้ไขสัญญา หนังสือแจ้งเวียนของสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร (กวพ) 1305/ว ลว. 13 ธันวาคม กำหนดให้เป็นหน้าที่ของ :- คณะกรรมการตรวจการจ้าง แล้วแต่กรณีเป็นผู้เสนอความเห็นในแต่ละครั้งด้วย”
22
ห้ามแก้ไข เปลี่ยนแปลง
การแก้ไขสัญญา (พ.ร.บ.มาตรา 97) หลัก ห้ามแก้ไข เปลี่ยนแปลง
23
การแก้ไขสัญญา ข้อยกเว้น 1. แก้ไขตาม ม.93 วรรค 5 คือ สนง.อัยการสูงสุด
(พ.ร.บ.มาตรา 97) ข้อยกเว้น 1. แก้ไขตาม ม.93 วรรค 5 คือ สนง.อัยการสูงสุด เห็นชอบให้แก้ไข 2. มีความจำเป็นต้องแก้ไข หากการแก้ไขนั้น ไม่ทำให้หน่วยงานเสียประโยชน์
24
การแก้ไขสัญญา (ต่อ) (พ.ร.บ.มาตรา 97) 3. การแก้ไขเพื่อประโยชน์แก่หน่วยงานของรัฐหรือประโยชน์สาธารณะ 4. กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
25
การแก้ไขสัญญา (ต่อ) (พ.ร.บ.มาตรา 97) หากมีการเพิ่มลดวงเงินหรือเพิ่มลดระยะเวลาส่งมอบหรือทำงานให้ตกลงไปพร้อม การแก้ไขที่มีการเพิ่มวงเงิน เมื่อรวมวงเงินตามสัญญาหรือข้อตกลงเดิมทำให้ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้างเปลี่ยนแปลงไปจะต้องให้ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้างตามวงเงินรวมเห็นชอบแก้ไขด้วย
26
การแก้ไขสัญญา (ระเบียบใหม่ข้อ 165)
1. ต้องอยู่ภายในขอบข่ายแห่งวัตถุประสงค์เดิมของสัญญาหรือข้อตกลง 2. ต้องพิจารณาเปรียบเทียบคุณภาพของพัสดุหรือรายละเอียด รวมทั้งราคา หรืองานก่อนการแก้ไข 3. เกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรงจะต้องได้รับความยินยอมจากวิศวกร สถาปนิก
27
(ระเบียบใหม่ข้อ 165) (ต่อ)
การแก้ไขสัญญา (ระเบียบใหม่ข้อ 165) (ต่อ) อำนาจอนุมัติแก้ไขสัญญา ผู้มีอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้าง
28
กรณีศึกษา ๑ หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค (กวพ) / ลงวันที่ 5 มิถุนายน 2550 เรื่อง ข้อหารือการแก้ไขสัญญาตัดงานก่อสร้าง
29
กรณีศึกษา ๒ หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค (กวพ) / ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2550 เรื่อง ข้อหารือการแก้ไขเพิ่มเติมปริมาณงานและเพิ่มวงเงินในสัญญา
30
กรณีศึกษา ๓ หนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ที่ กค (กวจ) / ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2560 เรื่อง ข้อหารือกรณีผู้มีอำนาจอนุมัติแก้ไขสัญญาตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
31
คำถาม
32
ขอบคุณครับ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.