งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เอกสารประกอบ โครงการอบรมสมาชิกใหม่ สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558 ณ หอประชุมร่มโพธิ์ทอง สสจ.อุดรธานี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เอกสารประกอบ โครงการอบรมสมาชิกใหม่ สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558 ณ หอประชุมร่มโพธิ์ทอง สสจ.อุดรธานี"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เอกสารประกอบ โครงการอบรมสมาชิกใหม่ สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ณ หอประชุมร่มโพธิ์ทอง สสจ.อุดรธานี

2 ประธานกรรมการวิชาการ ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด
หลักการ อุดมการณ์ สิทธิ หน้าที่ และกฎหมายที่ควรรู้สำหรับสมาชิก พลโท ดร. วีระ วงศ์สรรค์ ประธานกรรมการวิชาการ ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด รองประธานกรรมการสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย รองประธานกรรมการชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด

3 ..หลักการสหกรณ์.. หมายถึง กฎเกณฑ์ที่นำไปสู่การรอดพ้น จากความทุกข์ยากทางเศรษฐกิจ และ ความทัดเทียมทางสังคม มุ่งเทิดทูน สิทธิมนุษยชน และสิทธิทางธรรมชาติ

4 อุดมการณ์สหกรณ์ กินดี อยู่ดี มีสันติสุข ประหยัด ซื่อสัตย์ อดออม
กินดี อยู่ดี มีสันติสุข ประหยัด ซื่อสัตย์ อดออม ช่วยเหลือตัวเอง ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

5 เป้าหมายของสหกรณ์ ไม่ใช่เพื่อกำไรสูงสุด
แต่เพื่อประโยชน์สูงสุดของ สมาชิก และผู้มีส่วนร่วมใน สหกรณ์

6 ประเภทของสหกรณ์ สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ประมง สหกรณ์นิคม
สหกรณ์บริการ สหกรณ์ร้านค้า สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

7 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ
โครงสร้างของขบวนการสหกรณ์ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พรบ.สหกรณ์ นายทะเบียนสหกรณ์ สันนิบาตสหกรณ์ ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ สอ.ราชการ สอ.ครู สอ.รัฐวิสาหกิจ สอ.เอกชน สอ.ตำรวจ/ทหาร สอ.มหาวิทยาลัย สอ.รพ/สาธารณสุข

8 พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒
พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ - โครงสร้างการบริหารสหกรณ์ - การดำเนินงานสหกรณ์ - การดำเนินกิจการสหกรณ์

9 โครงสร้างการบริหารสหกรณ์
ให้มี “คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์” เป็นผู้ดำเนินการกิจการและเป็นผู้แทนของสหกรณ์ในกิจการอันเกี่ยวกับบุคลภายนอก [1] คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ดังกล่าวนั้นต้องประกอบไปด้วยประธานกรรมการหนึ่งคนและกรรมการอื่นอีกไม่เกินสิบสี่คนซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งจากสมาชิก [2] [1] พระบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๕๑ [2] พระบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๕๐

10 โครงสร้างตาม พ.ร.บ.สหกรณ์
โครงสร้างตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ หลักของมาตรา ๕๐ ให้สหกรณ์มีคณะกรรมการดำเนินการ ประกอบด้วย - ประธานกรรมการ ๑ คน - กรรมการอื่นอีกไม่เกิน ๑๔ คน ซึ่งที่ประชุมใหญ่ เลือกตั้งจากสมาชิก

11 ให้สหกรณ์มีผู้ตรวจสอบกิจการซึ่งที่ประชุมใหญ่
เลือกตั้งจากสมาชิกหรือบุคคลภายนอกเพื่อ ดำเนินการตรวจสอบกิจการของสหกรณ์ แล้วทำรายงานเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๕๓ ให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์เรียกประชุมใหญ่สามัญปีละหนึ่งครั้ง ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่ วันสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์นั้น  พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๕๔

12 เมื่อมีเหตุอันควรคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์
จะเรียกประชุมใหญ่วิสามัญเมื่อใดก็ไก้ พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๕๕ วรรคแรก สมาชิกสหกรณ์เป็นผู้ร้องขอให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญ ให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์เรียกประชุมใหญ่วิสามัญภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รับคำร้องขอ พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๕๕ วรรคสาม

13 ในการประชุมใหญ่ สมาชิก/ผู้แทนสมาชิก มอบอำนาจให้ผู้อื่นมาแทนตนไม่ได้
พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๕๗ วรรคสอง สมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมใหญ่ให้ถือเสียงข้างมาก พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๕๙

14 การดำเนินกิจการสหกรณ์
สหกรณ์มีอำนาจกระทำการ ดังต่อไปนี้ได้ (๑) ดำเนินธุรกิจ เพื่อประโยชน์ของสมาชิก (๒) ให้สวัสดิการหรือการสงเคราะห์ตามสมควร แก่สมาชิกและครอบครัว (๓) ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่สมาชิก (๔) ขอหรือรับความช่วยเหลือทางวิชาการ (๕)  รับฝากเงินจากสมาชิกหรือสหกรณ์อื่น  พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๔๖

15 (๖) ให้กู้ ให้สินเชื่อ ให้ยืม ให้เช่า ให้เช่าซื้อ โอน
(๖) ให้กู้ ให้สินเชื่อ ให้ยืม ให้เช่า ให้เช่าซื้อ โอน รับจำนองหรือรับจำนำ ซึ่งทรัพย์สินแก่สมาชิก หรือของสมาชิก (๗) จัดให้ได้มา ซื้อ ถือกรรมสิทธิ์หรือทรัพยสิทธิฯ หรือสิทธิการเช่าซื้อ จำนองหรือจำนำ ขายหรือ จำหน่ายด้วยวิธีอื่นใดซึ่งทรัพย์สิน (๘) ให้สหกรณ์อื่นกู้ยืมเงินได้ (๙) ดำเนินกิจการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับ/เนื่อง ในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๔๖

16 การดำเนินงานสหกรณ์ การจัดให้มีกรรมการ พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๕๐ การจัดให้มีผู้ตรวจสอบกิจการ พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๕๓ การจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้น พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๕๔ การจัดสรรกำไรสุทธิ พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๖๐ การจัดการทุนสำรอง พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๖๑ การจัดการเงินสหกรณ์ พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๖๒

17 การดำเนินงานสหกรณ์ การจัดทำทะเบียนสมาชิกและทะเบียนหุ้น
พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๖๔ การจัดทำบัญชี พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๖๕ การจัดงบดุลประจำปี พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๖๖ การจัดทำรายงานกิจการ พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๖๗

18 สิทธิของสมาชิก เข้าร่วมประชุมใหญ่เพื่อเสนอความคิดเห็น หรือออกเสียงลงคะแนน เข้าชื่อเรียกประชุมใหญ่วิสามัญ เสนอหรือได้รับเลือกเป็นกรรมการดำเนินการสหกรณ์หรือ ผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์ รับบริการทางธุรกิจและทางวิชาการจากสหกรณ์ สิทธิอื่น ๆ ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับและระเบียบของสหกรณ์ 18

19 บทบาทหน้าที่ของสมาชิก
ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติ และคำสั่งของสหกรณ์ เข้าร่วมประชุมทุกครั้งที่สหกรณ์นัดหมาย ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมของสหกรณ์ เพื่อให้สหกรณ์เป็นองค์กรที่เข้มแข็ง สอดส่องดูแลกิจกรรมของสหกรณ์ ร่วมมือกับคณะกรรมการดำเนินการ พัฒนาสหกรณ์ให้เจริญรุ่งเรืองและมั่นคง 19

20 การกำกับดูแลกิจการที่ดีในสหกรณ์โดยสมาชิก
สมาชิกมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลกิจการสหกรณ์ได้โดย :- ใช้สิทธิของตนผ่านมติที่ประชุมใหญ่ในการดำเนินการต่าง ๆ โดยเข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณาและแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่อไปนี้ กำหนดค่าตอบแทนการทำงานของกรรมการและผู้ตรวจสอบกิจการ การกำหนดดังกล่าวถือเป็นการควบคุมการจ่ายค่าตอบแทน ซึ่งสหกรณ์จะต้องจ่ายตามอัตราที่ประชุมใหญ่กำหนด เลือกตั้งและถอดถอนกรรมการดำเนินการ เพราะสมาชิกทุกคน มาบริหารงานสหกรณ์คงทำไม่ได้ จึงต้องมีการเลือกตัวแทนเพื่อทำหน้าที่ แทนสมาชิก เสนอความคิดเห็นและความต้องการต่างๆของสมาชิกในที่ประชุมใหญ่ เพื่อให้คณะกรรมการนำไปกำหนดนโยบายและแผนงานเพื่อนำไปปฏิบัติ 20

21 สอบถามหรือขอคำอธิบายเพิ่มเติมถึงผลการดำเนินงาน หรือปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์จากคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ เลือกตั้งและถอดถอนผู้ตรวจสอบกิจการ เพื่อตรวจสอบการดำเนินการทั้งปวงสหกรณ์ ว่าเป็นไปตามมติที่ประชุมใหญ่หรือไม่ กำหนดวงเงินที่สหกรณ์อาจกู้ยืมหรือค้ำประกัน ถือเป็นการกำหนดขอบเขตการก่อหนี้ผูกพันที่คณะกรรมการดำเนินการสามารถกระทำได้ แก้ไขข้อบังคับ เมื่อเห็นว่าข้อบังคับเดิมไม่เหมาะสม เสนอที่ประชุมใหญ่พิจารณาได้ พิจารณาจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีของสหกรณ์ สามารถเสนอความเห็นและลงมติในการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีของสหกรณ์ได้ อนุมัติแผนงาน และประมาณรายรับ - รายจ่าย 21

22 ใช้สิทธิของตนผ่านผู้ตรวจสอบกิจการโดย
รับทราบผลการตรวจสอบกิจการประจำปีของสหกรณ์ซักถามและขอคำอธิบายในกรณีต่าง ๆ ที่ผู้ตรวจสอบกิจการได้กระทำในที่ประชุมใหญ่ ขอให้ผู้ตรวจสอบกิจการช่วยตรวจเรื่องบางอย่างที่สมาชิกอาจมีข้อผิดพลาดหรือไม่ชอบมาพากล 22

23 ตรวจสอบการดำเนินงานของสหกรณ์
รู้จักสิทธิ บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองที่มีต่อสหกรณ์ และใช้สิทธิที่มีเพื่อปกป้องรักษาผลประโยชน์ของตนเอง มีส่วนร่วมและร่วมมือในกิจกรรมของสหกรณ์ ได้รับความเสมอภาคในการทำธุรกิจ และในการรับความช่วยเหลือเกี่ยวกับสวัสดิการที่ระเบียบสหกรณ์กำหนด รับรู้ข้อมูลข่าวสารสหกรณ์ ได้รับคำอธิบายจากฝ่ายจัดการในกรณีที่มีปัญหาในทางปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ อย่างเหมาะสม 23

24 อำนาจนายทะเบียนสหกรณ์
นายทะเบียนสหกรณ์ รองนายทะเบียนสหกรณ์ ผู้ตรวจการสหกรณ์ ผู้สอบบัญชี หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งนายทะเบียนสหกรณ์มอบหมาย มีอำนาจออกคำสั่ง เป็นหนังสือให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ ผู้ตรวจสอบกิจการ ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่ หรือเชิญสมาชิกของ สหกรณ์มาชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกิจการของสหกรณ์ หรือให้ส่งเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินงาน หรือรายงาน การประชุมของสหกรณ์ได้  พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๗

25 สิทธิพิเศษตามกฎหมายสหกรณ์
( พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ ) มาตรา ๖ ถ้าสหกรณ์เกี่ยวข้องในกิจการใด ที่กฎหมายกำหนดให้จดทะเบียน สำหรับการได้มา การจำหน่าย การยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ หรือ การยึดหน่วงซึ่งกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ การจดทะเบียนเช่นว่านั้นให้ได้รับ ยกเว้นไม่ต้อง เสียค่าธรรมเนียม 25

26 ยกเว้นค่าธรรมเนียม การจดทะเบียนในอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ที่ดินและบ้าน
การจดทะเบียนในอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ที่ดินและบ้าน การซื้อ การขาย ร้อยละ ๒.๕ บาท ของราคาประเมิน สำหรับสหกรณ์เท่านั้น การรับจำนองที่ดิน ร้อยละ ๑ บาท เมื่อสมาชิกมาจำนองที่สหกรณ์จะชำระเพียง ๑๐ บาท เท่านั้น 26

27 สิทธิพิเศษค่าหุ้นสหกรณ์
ห้ามสมาชิกนำค่าหุ้นมาหักกลบลบหนี้ สหกรณ์รับหมายอายัดจากเจ้าพนักงานบังคับคดี ยังไม่ต้องส่งเงินค่าหุ้น จะส่งเมื่อสมาชิกออกจากสหกรณ์แล้วเท่านั้น 27

28 ไม่ต้องเสียภาษี!! สิทธิพิเศษ.. ภาษีมูลค่าเพิ่ม..
กิจการของสหกรณ์ออมทรัพย์ เฉพาะการให้กู้ยืมแก่สมาชิกหรือ แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์อื่น ไม่ต้องเสียภาษี!! 28

29 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ๗ % ยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีสำหรับ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ๗ % ยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีสำหรับ - การให้สมาชิกกู้ยืมเงิน - ให้สหกรณ์อื่นกู้ยืมเงิน 29

30 นิติบุคคลเสียภาษี ๓๐ % แต่สหกรณ์ ไม่ต้องเสียภาษี 30

31 ภาษีเงินได้บุคคลที่ได้รับการยกเว้นภาษี
พ.ร.บ. แก้ไขประมวลรัษฎากร ( ฉบับที่ ๒๙ ) พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๔๒ เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์ 31

32 เงินปันผลและเฉลี่ยคืนได้รับยกเว้นภาษี
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลกฎหมายรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ( ฉบับที่ ๔๐ ) พ.ศ. ๒๕๑๔ มาตรา ๓ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแก่ผู้มีเงินได้จากการเป็นสมาชิกสหกรณ์ เฉพาะส่วนเงินได้ที่เป็น เงินปันผลหรือเงินเฉลี่ยคืน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นเงินได้ที่ได้รับ หรือจะได้รับก่อนหรือตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ 32

33 ได้รับยกเว้นไม่ต้องติดอากรแสตมป์
- สัญญาที่สมาชิกกู้ยืม - สัญญาที่สหกรณ์ให้สหกรณ์อื่นกู้ยืม สัญญาค้ำประกัน หนังสือมอบอำนาจที่สหกรณ์มอบอำนาจ - ใบแต่งทนาย 33

34 สิทธิพิเศษให้หักเงินสหกรณ์ ตามกฎหมายแรงงาน
สิทธิพิเศษตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๗๖ ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลา ในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อชำระหนี้สิน สหกรณ์ออมทรัพย์.... โดยได้รับความยินยอมล่วงหน้าจากลูกจ้าง 34

35 ให้หน่วยราชการหักเงินให้สหกรณ์
สิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้ส่วนราชการหักเงินค่าหุ้น - หนี้เงินกู้ สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ โดยการหักเงิน ณ ที่จ่าย ให้สหกรณ์ออมทรัพย์ตามความยินยอม 35

36 สิทธิพิเศษการลดหย่อนภาษี ในปี ๒๕๕๐
สิทธิพิเศษการลดหย่อนภาษี ในปี ๒๕๕๐ กู้เงินพิเศษโดยการจำนองที่ดิน / บ้าน วงเงินที่ลดหย่อน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ขอคืนภาษีตามแบบที่กำหนด 36

37 พ.ร.บ. สหกรณ์ ฉบับที่ ๒ ( พ.ศ. ๒๕๕๓ )
พ.ร.บ. สหกรณ์ ฉบับที่ ๒ ( พ.ศ. ๒๕๕๓ ) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๒ เม.ย. ๕๓ เป็นต้นไป มาตราที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อสหกรณ์ออมทรัพย์ อย่างมากบางมาตรา มีดังนี้... ๑. มาตรา ๔๒ วรรคสอง คือ การป้องกันมิให้เจ้าหนี้บุคคลภายนอกใช้สิทธิอายัดค่าหุ้นของสมาชิก ต่อไปนี้เจ้าหนี้ภายนอกจะไม่สามารถ ฟ้องศาลมาอายัดเงินค่าหุ้นของสหกรณ์ได้อีกต่อไป 37

38 ๒. มาตรา ๔๒/๑  คือ การให้สหกรณ์ได้รับการหักเงินเดือน หรือค่าจ้างเพื่อชำระหนี้ให้กับสหกรณ์เป็นลำดับแรก ถัดจากหนี้ภาษีอากร และเงินที่จะต้องหักให้ กบข. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินกองทุนประกันสังคม และเงินที่จะต้องส่งให้ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน  ซึ่งเป็นการป้องกันมิให้ธนาคารออมสินหรือสถาบันการเงินใด ที่ปล่อยเงินกู้ให้กับสมาชิกสหกรณ์แล้วจะมาหักเงินเดือนหรือค่าจ้างก่อนสหกรณ์  ต่อไปนี้ก็จะทำไม่ได้โดยเด็ดขาด  ต้องหักให้สหกรณ์ก่อน 38

39 ๓. มาตรา ๔๒ / ๒  คือ สมาชิกอาจทำหนังสือตั้งบุคคลหนึ่ง หรือหลายบุคคลเป็นผู้รับโอนประโยชน์ในเงินค่าหุ้น เงินฝากหรือเงินอื่นใดจากสหกรณ์เมื่อตนถึงแก่ความตาย  ซึ่งจะทำให้เกิดความชัดเจน และสมบูรณ์มากขึ้น  เพราะในอดีตไม่ได้เขียนไว้ใน พ.ร.บ.สหกรณ์ ทำให้มีปัญหาในทางปฏิบัติว่าถ้าสมาชิกถึงแก่ความตายแล้ว สหกรณ์จะจ่ายเงินให้กับใคร 39

40 ๔. มาตรา ๔๖ / (๕)  คือ เพิ่มอำนาจกระทำการให้สหกรณ์รับเงินฝากจากสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์  ซึ่งมีสมาชิกของสมาคมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งเป็นสมาชิกสหกรณ์ 40

41 ๕. มาตรา ๖๐  คือ การเปลี่ยนแปลงผู้ที่มีอำนาจกำหนดค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย  จากเดิมเป็นอำนาจของคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ ( คพช. ) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กฎกระทรวง)  ซึ่งจะทำให้การเปลี่ยนแปลง ค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์ฯ จะทำได้ง่ายกว่าเดิม นั่นย่อมหมายความว่า โอกาสที่จะมีการขึ้นค่าบำรุง สันนิบาตสหกรณ์ฯ ในวันข้างหน้าอาจจะเกิดขึ้นได้ 41

42 สรุปสาระสำคัญว่าด้วยกฎหมายค้ำประกัน แก้ไขใหม่ 2557
สรุปสาระสำคัญว่าด้วยกฎหมายค้ำประกัน แก้ไขใหม่ 1. กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องกำหนดขอบเขตและความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกันต้องระบุวัตถุประสงค์ในการก่อหนี้รายที่ค้ำประกัน ลักษณะของมูลหนี้ จำนวนเงินสูงสุดที่ค้ำประกัน และระยะเวลาในการก่อหนี้ที่จะค้ำประกัน จากเดิมที่กำหนดให้ผู้ค้ำประกันรับผิดในหนี้ของลูกหนี้ทั้งหมด 2. ข้อตกลงที่ให้ผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ชั้นต้นหรือข้อตกลงดังกล่าวตกเป็นโมฆะ จากเดิมที่กำหนดให้ผู้ค้ำรับผิดร่วมกับลูกหนี้ชั้นต้น 3. ข้อตกลงที่ให้ผู้ค้ำประกันต้องรับภาระมากเกินไป ข้อตกลงเป็นโมฆะ 42

43 สรุปสาระสำคัญว่าด้วยกฎหมายค้ำประกัน แก้ไขใหม่ 2557
สรุปสาระสำคัญว่าด้วยกฎหมายค้ำประกัน แก้ไขใหม่ 4. การทวงหนี้ กรณีที่ลูกหนี้ผิดนัด ให้เจ้าหนี้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายใน 60 วัน มิฉะนั้นผู้ค้ำประกันจะหลุดพ้นจากความรับผิดชอบในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้น 5. ในกรณีที่เจ้าหนี้ลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระตามที่ลดลงดังกล่าวไม่ครบถ้วน แต่ผู้ค้ำประกันชำระตามส่วนที่เหลือ ผู้ค้ำประกันเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิด จากเดิมที่เจ้าหนี้ไม่จำต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกัน กรณีที่มีข้อตกลงที่ผลเป็นการเพิ่มภาระผู้ค้ำประกัน ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ 6. ในกรณีที่หนี้มีกำหนดเวลา เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิด เว้นแต่ผู้ค้ำประกันจะตกลงยินยอมด้วย แต่ข้อตกลงดังกล่าวต้องไม่ทำไว้ล่วงหน้า ก่อนเจ้าหนี้ผ่อนเวลาการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ 43

44 ถาม - ตอบ 44


ดาวน์โหลด ppt เอกสารประกอบ โครงการอบรมสมาชิกใหม่ สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558 ณ หอประชุมร่มโพธิ์ทอง สสจ.อุดรธานี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google