งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แนวทางการดำเนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แนวทางการดำเนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แนวทางการดำเนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
กลุ่มงานส่งเสริมองค์กรการเงินชุมชน สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน

2 รูปแบบการดำเนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
ตามแนวทางกรมการพัฒนาชุมชน ความหมาย สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน คือ สถาบันทางเศรษฐกิจฐานราก ที่จัดตั้งขึ้นจากการ บูรณาการเชื่อมโยง กลุ่ม องค์กรกองทุนการเงินต่างๆ รวมกันบริหารจัดการเงินทุนในชุมชน เพื่อให้เกิดการใช้เงินทุนในชุมชนอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด

3 รูปแบบการดำเนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
ตามแนวทางกรมการพัฒนาชุมชน ภารกิจ กรมการพัฒนาชุมชน ส่งเสริม สนับสนุนให้กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่มีความเข้มแข็ง เป็นแกนนำในการเชื่อมโยงกลุ่ม/องค์กรการเงินชุมชน ร่วมกันบริหารจัดการกองทุนชุมชนโดยกระบวนการบูรณาการ การบริหารจัดการ ข้อมูล เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

4 การบริหารจัดการหนี้ไปสู่
รูปแบบการดำเนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ตามแนวทางกรมการพัฒนาชุมชน เป้าหมาย เพื่อให้หมู่บ้าน/ชุมชน มีการบริหารจัดการกองทุนและเงินทุนในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งไปสู่เป้าหมายหลักในการดำเนินงาน คือ การบริหารจัดการหนี้ไปสู่ “1 ครัวเรือน 1 สัญญา”

5 รูปแบบการดำเนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
ตามแนวทางกรมการพัฒนาชุมชน วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการบูรณาการกลุ่มองค์กร กองทุนการเงินในชุมชน ให้มีการเชื่อมโยงการบริหารการจัดการเงินทุนชุมชนให้เป็นระบบ มีความเป็นเอกภาพ สามารถแก้ไขปัญหา และพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้กับชุมชนอย่างแท้จริง

6 หน้าที่หลัก รูปแบบการดำเนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
ตามแนวทางกรมการพัฒนาชุมชน หน้าที่หลัก จัดระบบการบริหารจัดการกลุ่ม องค์กร กองทุนการเงินในหมู่บ้าน/ชุมชน ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิกและชุมชน

7 สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ที่กรมการพัฒนาชุมชนพึงประสงค์เป็นอย่างไร?
ทุนดำเนินการ 1. เงินลงหุ้นจากกลุ่ม/องค์กร ที่เป็นสมาชิก 2. การสนับสนุนจากหน่วยงาน 3. เงินบริจาค 4. กู้ยืมจากแหล่งทุนอื่น คณะกรรมการ 1. ตัวแทนของกลุ่ม/องค์กรที่เป็นสมาชิกสถาบันฯ 2. ผู้นำชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิในหมู่บ้าน/ชุมชน (จำนวนไม่เกินกึ่งหนึ่งของกรรมการจากส่วนที่ 1)

8 สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ที่กรมการพัฒนาชุมชนพึงประสงค์เป็นอย่างไร?
ประกอบด้วย กลุ่ม องค์กร กองทุนการเงินที่ดำเนินการจัดตั้งในรูปกลุ่ม เช่น กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มอาชีพ กลุ่มผู้ผลิตน้ำดื่ม กลุ่มผู้ใช้น้ำ กองทุนหมู่บ้านและ ชุมชนเมือง(กทบ.) กองทุน กข.คจ. ฯลฯ (โดยไม่มีสมาชิกรายบุคคล) สมาชิก กิจกรรม 1. กิจกรรมที่จะนำไปสู่ “1 ครัวเรือน 1 สัญญา” ปรับโครงสร้างหนี้ / ปรับเปลี่ยนสัญญากู้ยืมเงิน โอนภาระหนี้สินระหว่างกลุ่ม 2. การลงหุ้นของสมาชิก (กลุ่ม) 3. บริหารจัดการการกู้ยืมระหว่างกลุ่ม 4. จัดสวัสดิการชุมชนผ่านสมาชิกกลุ่ม

9 สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ที่กรมการพัฒนาชุมชนพึงประสงค์เป็นอย่างไร?
ต้องจัดทำทะเบียนเอกสาร เช่น ทะเบียนสมาชิก ทะเบียนคุมเงินลงหุ้น ทะเบียนการโอนภาระหนี้ บัญชีรับ-จ่าย บัญชีเงินสด - เงินฝากธนาคาร ฯลฯ (โดยต้องแยกออกจากบัญชีกลุ่มอื่นๆ ที่เป็นสมาชิก) การจัดทำทะเบียนข้อมูล ระเบียบข้อบังคับ ต้องจัดทำระเบียบของสถาบันฯ แยกต่างหากจากกลุ่ม ออมทรัพย์ฯ และกลุ่มอื่นๆที่เป็นสมาชิกอย่างชัดเจน

10 ประชุมร่วมระหว่างผู้บริหารกรมฯกับ ธ.ก.ส.
กรมฯ ได้นำเสนอแนวคิดการจัดตั้งสถาบันฯ และเห็นว่ามีความสอดคล้องกับแนวทางที่ ธ.ก.ส.หรือ ธนาคารออมสิน เข้าไปส่งเสริมให้ชุมชนจัดตั้งสถาบันการเงินชุมชน สถาบันฯ ช่วยจัดการแก้ไขปัญหาหนี้สินที่เชื่อมโยงกันเป็นลูกโซ่ของคนในชุมชน โดยทำให้สมาชิก 1 ครัวเรือนเป็นหนี้เพียง 1 สัญญา สถาบันการเงินชุมชน จะมีกิจกรรมรับ-ฝากเงินประจำวัน สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน มีเป้าหมายเพื่อเป็นตัวกลางในการบริหารจัดการเงินทุนในหมู่บ้าน/ชุมชน ให้มีประสิทธิภาพ โดยเน้นเรื่องการจัดการ ไม่ได้เน้นเรื่องการรับฝากเงิน แต่เวลาดำเนินงานอาจมีกิจกรรม รับฝากเงินด้วย เจตนานำเงินไปบริหารจัดการกลุ่ม ไม่ได้มีเจตนาเพื่อนำไปให้กู้ยืม แต่มีข้อแตกต่างจากสถาบันฯ กล่าวคือ

11 สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
การบริหารจัดการหนี้ไปสู่ “1 ครัวเรือน 1 สัญญา” สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน กลุ่มต่างๆ ลงหุ้นกับ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน คณะกรรมการสถาบันฯ ธนาคาร กลุ่ม ออมทรัพย์ฯ กข.คจ. กองทุน หมู่บ้าน กองทุน อาชีพ กองทุนอื่นฯ กลุ่มผู้ใช้น้ำ Content Layouts แกนนำ สมาชิก สมาชิก สมาชิก สมาชิก สมาชิก สมาชิก

12 เปรียบความแตกต่าง 4 รูปแบบ การดำเนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
เปรียบความแตกต่าง 4 รูปแบบ การดำเนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ประเด็น รูปแบบที่ 1 รูปแบบที่ 2 รูปแบบที่ 3 รูปแบบที่ 4 แกนนำในการจัดตั้ง - กลุ่มออมทรัพย์ - กทบ. / กลุ่มอื่นๆ - จัดตั้งใหม่โดยไม่มีแกนนำ - ยกฐานะจากกลุ่มออมทรัพย์ฯ คณะกรรมการ - ทุกกลุ่ม - บางกลุ่ม สมาชิก - รายกลุ่ม - รายบุคคล

13 เปรียบความแตกต่าง 4 รูปแบบ การดำเนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
เปรียบความแตกต่าง 4 รูปแบบ การดำเนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ประเด็น รูปแบบที่ 1 รูปแบบที่ 2 รูปแบบที่ 3 รูปแบบที่ 4 เงินทุนดำเนินการ - เงินลงหุ้นจากสมาชิก (กลุ่ม) - รับฝากจากสมาชิก (บุคคล) - กู้จากธนาคาร - เงินทุนของกลุ่มออมทรัพย์ฯ ทั้งหมด กิจกรรมของสถาบันฯ - บริหารจัดการการกู้ยืมระหว่างกลุ่ม - รับฝากเงิน – ให้กู้ยืม (รายบุคคล) - ปรับโครงสร้างหนี้/ปรับสัญญา/โอนภาระหนี้ - จัดสวัสดิการชุมชน - ดำเนินกิจกรรมของกลุ่มออมทรัพย์ฯ

14 เปรียบความแตกต่าง 4 รูปแบบ การดำเนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
เปรียบความแตกต่าง 4 รูปแบบ การดำเนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ประเด็น รูปแบบที่ 1 รูปแบบที่ 2 รูปแบบที่ 3 รูปแบบที่ 4 การจัดทำบัญชี - จัดทำบัญชีสถาบันฯ แยกจากทุกกลุ่ม - สมาชิกรายกลุ่มต้องทำบัญชีกลุ่มตามเดิม - บัญชีของกลุ่มออกทรัพย์เป็นบัญชีของสถาบันฯ - สมาชิกสถาบันฯ ไม่ต้องจัดทำบัญชี ระเบียบข้อบังคับ - จัดทำระเบียบแยกต่างหากจากกลุ่มที่เป็นสมาชิก -ใช้ระเบียบกลุ่มออมทรัพย์ฯ เป็นระเบียบสถาบันฯ

15 แนวทางการปรับเปลี่ยน เข้าสู่แนวทางที่กรมการพัฒนาชุมชนพึงประสงค์
- ปรับเงินทุนสมาชิกรายบุคคล - สำรวจหนี้รายบุคคล - ปรับโครงสร้างหนี้รายบุคคล จากรายบุคคล เป็นรายกลุ่ม - เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน -กลุ่มออมทรัพย์ -คณะกรรมการสถาบัน - ระเบียบข้อบังคับ 3 ขั้นตอน ปรับเงินทุน สู่สถาบันฯ ที่พึงประสงค์ ปรับสมาชิก เตรียมพร้อม

16 ขั้นเตรียมความพร้อม 1. จัดตั้งชุดปฏิบัติการ
1. จัดตั้งชุดปฏิบัติการ - ตั้งชุดปฏิบัติการให้มีทั้งในระดับอำเภอ และระดับจังหวัด - ประชุมสร้างความรู้ ความเข้าใจ 2. เสริมสร้างความเข้มแข็งกลุ่มออมทรัพย์ฯ ที่จะเป็นแกนนำ จัดประชุมเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ดังนี้ ความหมายของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ความแตกต่างระหว่างกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตกับสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ข้อดี ข้อเสียของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนที่กรมฯ พึงประสงค์ วิธีการปรับเปลี่ยนตัวเองสู่การเป็นสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน 3. เตรียมความพร้อมผู้ปฏิบัติงาน จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ ศึกษาดูงานจากสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนต้นแบบ ปรับระเบียบของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ให้สอดคล้องกับแนวทางกรม

17 ขั้นปรับสมาชิกรายบุคคล
1. ให้สมาชิกรายบุคคลเลือกว่าจะสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มใด ที่เป็นสมาชิกของสถาบันฯ 2. กรณีที่เป็นสมาชิกทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม ให้กลับไปสังกัดกลุ่มเดิม 3. กรณีไม่สามารถเข้ากับกลุ่มใดได้เลย ให้รวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มเฉพาะกิจ แล้วสมัครเป็นสมาชิกของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

18 ขั้นปรับเงินทุน และ ปรับโครงสร้างหนี้
1. นำเงินทุนที่มาจากการฝากเงินของสมาชิกรายบุคคล ไปเป็นเงินสัจจะสะสมปกติ หรือสัจจะพิเศษ 2. สำรวจหนี้รายบุคคล เมื่อสมัครเป็นสมาชิกของกลุ่มใด ก็ให้โอนหนี้ไปยังกลุ่มนั้นๆ ด้วย 3. กรณีมีหลายสัญญา หรือจำนวนหนี้เกินกว่าที่ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจะรับได้ ให้คณะกรรมการพิจารณาร่วมกันว่าจะให้กู้จากกลุ่มใด

19 แบบประเมินจัดระดับการพัฒนาสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
ประกอบด้วย 3 ด้าน 18 ตัวชี้วัด 1. ด้านโครงสร้างหลัก (คณะกรรมการ/สมาชิก/เงินทุน/ระเบียบ/ที่ทำการ 2. ด้านการบริหารจัดการ (กิจกรรมและการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ/สมาชิก 3. ด้านอื่นๆ 1. ที่มาของคณะกรรมการ 6. การจัดทำแผนปฏิบัติการ 2.การประชุมของคณะกรรมการ 7. การจัดทำทะเบียนข้อมูล 3. ที่มาของสมาชิก 8. การฝากเงินกับธนาคาร 4. แหล่งที่มาของเงินทุน 9. มุ่งสู่ “1 ครัวเรือน 1 สัญญา 5.ระเบียบข้อบังคับ มี ข้อ

20 แนวทางการดำเนินกิจกรรมตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน
กิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดระดับการประเมินและพัฒนาสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน วัตถุประสงค์ หน่วยดำเนินการ 1. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนตามแนวทางที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด 2. เพื่อจัดระดับการพัฒนาสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน 3. เพื่อพัฒนาให้สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนเป็นไปตามแนวทางที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด สพอ. พื้นที่ดำเนินการ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน เนื้อหาวิชา งบประมาณ 1. รูปแบบแนวทางการดำเนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนที่พึงประสงค์ 2. เกณฑ์การประเมินการจัดระดับการพัฒนาสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน 3. การจัดทำแผนการพัฒนาสถาบันการจัดการเงินทุนชมชน - ประชุมชี้แจง 6,800 บาท - กิจกรรมตามแผน 9,000 บาท ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. คณะกรรมการมีความรู้ ความเข้าใจเกณฑ์ประเมินระดับการพัฒนาสถาบันฯ 2. สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนทุกแห่งได้รับการประเมินจัดระดับการพัฒนา 3. สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนมีแผนการพัฒนาสถาบัน และดำเนินกิจกรรมตามแผน

21 แนวทางการดำเนินกิจกรรมตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน
กิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดระดับการประเมินและพัฒนาสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ขั้นตอนการการดำเนินงาน รายงานผล 1. รายงานแบบประเมินส่วน 1,2 พร้อม แนบไฟล์ทาง BPM ภายใน 25 ม.ค. 58 2. รายงานแบบประเมินส่วน 1,2 ทาง หนังสือราชการภายในวันที่ 30 ม.ค.58 3. ให้ปรับปรุงฐานข้อมูลการดำเนินงานสถาบันฯ ในศูนย์ข้อมูลกลาง ดำเนินการ 1. จัดประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย 2. ดำเนินกิจกรรมตามแผนการพัฒนาสถาบัน เตรียมการ 1. หน่วยดำเนินการขออนุมัติโครงการ 2. จัดเตรียมหลักสูตรโครงการ 3. จัดเตรียมเอกสารประกอบโครงการ 4. จัดเตรียมแบบประเมินโครงการ

22 Q&A THANK YOU


ดาวน์โหลด ppt แนวทางการดำเนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google