งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ข้าราชการกรุงเทพมหานคร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ข้าราชการกรุงเทพมหานคร"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ข้าราชการกรุงเทพมหานคร
การร้องทุกข์ ของ ข้าราชการกรุงเทพมหานคร เยาวมาลย์ พัชรภิญโญพงศ์

2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
มาตรา ๒๘๘ วรรคสอง ในการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นต้องมีองค์กรพิทักษ์ระบบคุณธรรมของ ข้าราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างระบบคุ้มครองคุณธรรม และจริยธรรมในการบริหารงานบุคคล ทั้งนี้ ตามที่ กฎหมายบัญญัติ

3 เกิดจากแรงผลักดันสนับสนุน 3 ประการ ได้แก่
แนวคิดในการจัดตั้งคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ของข้าราชการพลเรือนสามัญ เกิดจากแรงผลักดันสนับสนุน 3 ประการ ได้แก่ 1. แนวคิดจาก พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 2. สภาพปัญหาของการดำเนินการทางวินัยไทยไม่ได้รับการ ปรับปรุงมานาน 3. ผลจากการศึกษาวิจัยตามโครงการปฏิรูประบบวินัย อุทธรณ์ ร้องทุกข์ ของเจ้าหน้าที่โดยสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

4 แนวคิดจาก พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 - ให้มีการปฏิรูประบบราชการ โดยกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน กำหนดให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เป็นเพียงผู้จัดการงานบุคคลของฝ่ายบริหาร ส่วนบทบาทในการพิทักษ์ระบบคุณธรรมให้เป็นของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.)

5 2. สภาพปัญหาของการดำเนินงานด้านวินัยที่ไม่ได้รับการ
ปรับปรุงมานาน - ปัญหาความล้าสมัยและไม่ชัดเจนของบทบัญญัติกฎหมายวินัย - ปัญหาการใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาในการกำหนดความผิด - ปัญหาขั้นตอนการสอบสวนมีมาก - ปัญหาความล่าช้าของการดำเนินการทางวินัย - ปัญหาบุคลากรด้านวินัยขาดความเป็นมืออาชีพ - กรรมการสอบสวน - กรรมการในองค์กรที่ทำหน้าที่วินิจฉัย - ปัญหาความสัมพันธ์กับกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

6 3. ผลจากการศึกษาวิจัยตามโครงการปฏิรูประบบวินัย อุทธรณ์
ร้องทุกข์ ของเจ้าหน้าที่โดยสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เมื่อ พ.ศ.2545) - การศึกษาวิจัยข้อหนึ่งระบุถึงการจัดตั้งองค์กรบริหารงานบุคคล เพียงแห่งเดียว ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย กำกับดูแล ตรวจสอบ แนะนำ ชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องวินัย อุทธรณ์และร้องทุกข์ของ เจ้าหน้าที่ของรัฐ พิจารณาวินิจฉัยเรื่องอุทธรณ์ ร้องทุกข์ โดยไม่ต้องรายงานนายกรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการ เพื่อรักษา มาตรฐานโทษทางวินัยให้เกิดความรวดเร็วและเป็นธรรม

7 มติ ก.พ. การประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๔๗ เมื่อ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
ปรับเปลี่ยนระบบบริหารงานบุคคลให้เป็นไปตามระบบคุณธรรม อย่างมีประสิทธิภาพ โดย - ให้ ก.พ. ทำหน้าที่กำหนดนโยบายมาตรฐานวินัย ออกกฎ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์วิธีการเกี่ยวกับวินัย การดำเนินการด้านวินัย เพื่อให้ ข้าราชการพลเรือนและผู้บังคับบัญชาตระหนักถึงความสำคัญของวินัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพข้าราชการ - ให้จัดตั้งคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ควบคู่ ไปกับ ก.พ. เพื่อเป็นองค์กรรับผิดชอบด้านการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ทำหน้าที่ตรวจสอบการบริหารงานบุคคล และมีอำนาจวินิจฉัยเสร็จ เด็ดขาดเพื่อรักษาประโยชน์ของทางราชการและให้ความคุ้มครองรักษา ความเป็นธรรมแก่ข้าราชการ

8 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๔๗
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๔๗ กำหนดมาตรการในการป้องกันและ ปราบปราม การทุจริตในวง ราชการ โดยกำหนดมาตรการประการหนึ่งคือ “การส่งเสริมคุณธรรมในระบบราชการ โดยเฉพาะการแต่งตั้ง โยกย้าย และป้องกันการกลั่นแกล้ง ให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ ระบบคุณธรรม รับเรื่องร้องทุกข์จากข้าราชการที่กล่าวโทษ ข้าราชการด้วยกันเองว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือ ถูกกลั่นแกล้งในการแต่งตั้ง โยกย้าย เลื่อนเงินเดือน และ การประเมินผลการดำเนินงาน”

9 สำนักงาน ก.พ. มอบหมายให้
“สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” ทำการศึกษาเพื่อวางระบบการดำเนินการทางวินัย ระบบดำเนินการด้านพิทักษ์ระบบคุณธรรม คือ - วางระบบโครงสร้างองค์กร ก.พ.ค. - วางระบบวิธีพิจารณาอุทธรณ์ ร้องทุกข์ - ศึกษารูปแบบ วิธีการประเมินสมรรถนะของ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสำนวน - ศึกษาวางระบบเตรียมความพร้อมแก่นิติกร ผู้รับผิดชอบสำนวน ฯลฯ

10 พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.255๑
มาตรา ๒๔ ให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.ค.” ประกอบด้วยกรรมการจำนวนเจ็ดคน ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตามมาตรา ๒๖ กรรมการ ก.พ.ค. ต้องทำงานเต็มเวลา ให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นเลขานุการของ ก.พ.ค.

11 พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร และบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2554
มาตรา 30 ให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร” ประกอบด้วยกรรมการจำนวนห้าคน ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งตามมาตรา 32 กรรมการ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร ต้องทำงานเต็มเวลา ให้หัวหน้าสำนักงาน ก.ก. เป็นเลขานุการของ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร

12 พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร และบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2554
คณะกรรมการคัดเลือกกรรมการ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย - ประธานศาลปกครองสูงสุด - รองประธานศาลฎีกาที่ได้รับมอบหมายจาก ประธานศาลฎีกา 1 คน - กรรมการ ก.ก. ผู้ทรงคุณวุฒิ 1 คน ได้รับเลือกโดย ก.ก. - ให้หัวหน้าสำนักงาน ก.ก. เป็นกรรมการและเลขานุการ (มาตรา 32 วรรคหนึ่ง)

13 ของกรรมการ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร
การพ้นจากตำแหน่ง ของกรรมการ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร (มาตรา 3๖) นอกจากพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อ 1. ตาย 2. ลาออก 3. มีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ 4. ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 31 หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 33 5. ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก แม้จะมีการรอการลงโทษ เว้นแต่เป็นการรอการลงโทษในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท 6. ไม่สามารถปฏิบัติงานได้เต็มเวลาอย่างสม่ำเสมอ ตามระเบียบ ก.พ.ค.กรุงเทพมหานคร ฯลฯ

14 พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร และบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2554
มาตรา 35 กรรมการ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร มีวาระการดำรงตำแหน่งหกปีนับแต่วันที่นายกรัฐมนตรี แต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว ให้กรรมการ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะแต่งตั้งกรรมการ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร ใหม่

15 อำนาจหน้าที่ของ ก.พ.ค.กรุงเทพมหานคร
(มาตรา 37) อำนาจหน้าที่ของ ก.พ.ค.กรุงเทพมหานคร 1. เสนอแนะต่อ ก.ก. เพื่อให้ ก.ก. ดำเนินการจัดให้มีหรือ ปรับปรุงนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลของ กรุงเทพมหานครในส่วนที่เกี่ยวกับการพิทักษ์ระบบ คุณธรรม 2. พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา 60 3. พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ตามมาตรา 64 4. พิจารณาเรื่องคุ้มครองระบบคุณธรรมตามมาตรา 66 (ต่อ)

16 (ต่อ) 6. แต่งตั้งบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ตามที่ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร กำหนด เพื่อเป็น กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ กรุงเทพมหานคร หรือ กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ กรุงเทพมหานคร 7. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการพลเรือนบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.พ.ค. ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้

17 5. ออกกฎ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร ข้อบังคับ
(ต่อ) 5. ออกกฎ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร ข้อบังคับ ระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีการเพื่อปฏิบัติการ ตามพระราชบัญญัตินี้ กฎ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร และข้อบังคับ เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ (ต่อ)

18 พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) เลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ เลขาธิการ ก.พ. เป็นเลขานุการ สำนักงาน ก.พ. (เป็นส่วนราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี) เลขาธิการ ก.พ. กระทรวง,ส่วนราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี หรือขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง, รัฐมนตรี, นายกรัฐมนตรี

19 พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร และบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2554
คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร (ก.ก.) คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม กรุงเทพมหานคร (ก.พ.ค.กรุงเทพมหานคร) หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการและเป็นเลขานุการ ก.ก. หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการ กรุงเทพมหานคร เป็นเลขานุการ สำนักงาน ก.ก. (เป็นส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร) หัวหน้าสำนักงาน ก.ก. ปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นผู้บังคับบัญชา ส่วนราชการต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร

20 “ระบบคุณธรรม” (Merit System) เป็นระบบบริหารในการบริหารงานบุคคล
1. ความรู้ความสามารถ/สมรรถนะ (Competency) 2. ความเสมอภาค (Equality of Opportunity) 3. ความมั่นคงในการดำรงสถานภาพ (Security of Tenure) 4. ความเป็นกลางทางการเมือง (Political Neutrality)

21 พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๕๕๔
มาตรา 40 การจัดระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร ต้องเป็นไปเพื่อผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของกรุงเทพมหานคร ความมีประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า โดยให้ข้าราชการ กรุงเทพมหานครปฏิบัติราชการอย่างมีคุณภาพ คุณธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

22 มาตรา 41 การจัดระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา 41 การจัดระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร ตาม พ.ร.บ. นี้ ให้คำนึงถึงระบบคุณธรรมดังต่อไปนี้ 1. การรับบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่ง ต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถ ของบุคคล ความเสมอภาค ความเป็นธรรม และ ประโยชน์ของทางราชการ 2. การบริหารทรัพยากรบุคคล ต้องคำนึงถึง ผลสัมฤทธิ์ และประสิทธิภาพขององค์กรและลักษณะ ของงาน โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม

23 3. การพิจารณาความดีความชอบ การเลื่อนตำแหน่ง
และการให้ประโยชน์อื่นแก่ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ต้องเป็นไปอย่างเป็นธรรมโดยพิจารณาจากผลงาน ศักยภาพ และความประพฤติ และจะนำความคิดเห็นทางการเมืองหรือ สังกัดพรรคการเมืองมาประกอบการพิจารณามิได้ 4. การดำเนินการทางวินัย ต้องเป็นไป ด้วยความยุติธรรม และโดยปราศจากอคติ 5. การบริหารทรัพยากรบุคคลต้องมีความเป็นกลาง ทางการเมือง

24 การร้องทุกข์ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2554 กฎ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ.2555

25 ความหมายของการร้องทุกข์
หมายถึงการที่ข้าราชการกรุงเทพมหานครร้องขอความเป็นธรรม เนื่องจากเห็นว่าผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อตน โดยไม่ถูกต้อง หรือไม่ปฏิบัติต่อตนให้ถูกต้อง ทำให้เกิดความ คับข้องใจและประสงค์จะให้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนโดยเร็ว

26 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ. ศ
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2554 มาตรา 63 ข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้ใด มีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติ ต่อตนของผู้บังคับบัญชา และเป็นกรณีไม่อาจอุทธรณ์ ตามส่วนที่ 4 การอุทธรณ์ ได้ ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ได้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในส่วนนี้

27 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ. ศ
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2554 มาตรา 64 การร้องทุกข์ที่เหตุเกิดจากผู้บังคับบัญชา ให้ร้องทุกข์ ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปตามลำดับ การร้องทุกข์ที่เหตุเกิดจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร หัวหน้าหน่วยงานระดับสำนัก หรือ ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ.ค.กรุงเทพมหานคร กำหนดให้ร้องทุกข์ต่อ ก.พ.ค.กรุงเทพมหานคร ต่อ

28 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ. ศ
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2554 มาตรา 64 (ต่อ) เมื่อ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร ได้พิจารณาวินิจฉัยเรื่อง ร้องทุกข์ประการใดแล้ว ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร หรือผู้บังคับบัญชา แล้วแต่กรณี ดำเนินการให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร การร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยร้องทุกข์ตามวรรคหนึ่ง และวรรคสอง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค.กรุงเทพมหานคร

29 ลักษณะการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา
(ข้อ 7) 1. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่ง หรือปฏิบัติหรือ ไม่ปฏิบัติอื่นใดโดย - ไม่มีอำนาจ หรือ - นอกเหนืออำนาจหน้าที่ หรือ - ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือ - ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญ ที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือ - โดยไม่สุจริต หรือ - มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือ - มีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น หรือสร้างภาระ ให้เกิดขึ้นเกินสมควร หรือ - เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ

30 (ต่อ) 2. ไม่มอบหมายงานให้ปฏิบัติ 3. ประวิงเวลา หน่วงเหนี่ยวการดำเนินการบางเรื่อง อันเป็นเหตุให้เสียสิทธิ หรือไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ อันพึงมีพึงได้ในเวลาอันสมควร 4. ไม่เป็นไปตามหรือขัดกับระบบคุณธรรมตามมาตรา 41

31 ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ร้องทุกข์ได้สำหรับตนเองเท่านั้น
(มาตรา ๖๓ และข้อ ๘) ผู้มีสิทธิร้องทุกข์ คือ ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ร้องทุกข์ได้สำหรับตนเองเท่านั้น

32 การร้องทุกข์แทน (ข้อ ๑๐)
การร้องทุกข์แทน (ข้อ ๑๐) ผู้มีสิทธิร้องทุกข์จะมอบหมายให้บุคคลอื่นร้องทุกข์แทนได้ ในกรณีมีเหตุจำเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ๑. เจ็บป่วยจนไม่สามารถร้องทุกข์ได้ด้วยตนเอง ๒. อยู่ในต่างประเทศและคาดหมายได้ว่าไม่อาจร้องทุกข์ได้ทันภายในเวลาที่กำหนด ๓. มีเหตุจำเป็นอย่างอื่นที่ผู้มีอำนาจวินิจฉัย ร้องทุกข์เห็นสมควร - การมอบหมายต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้มีสิทธิร้องทุกข์ พร้อมทั้งหลักฐานแสดงเหตุจำเป็นข้างต้น คู่กรณีอาจมีหนังสือแต่งตั้งทนายความหรือบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะ กระทำการแทนในกระบวนการพิจารณาได้

33 สาระสำคัญของคำร้องทุกข์
(ข้อ 8) 1. ให้ทำเป็นหนังสือถึงผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ 2. ให้ใช้ถ้อยคำสุภาพ 3. ให้มีสาระสำคัญ ดังนี้ - ชื่อ ตำแหน่ง สังกัด ที่อยู่ของผู้ร้องทุกข์ - การปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ - ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ผู้ร้องทุกข์เห็นว่า เป็นปัญหาของเรื่องร้องทุกข์ - คำขอของผู้ร้องทุกข์ - ลายมือชื่อผู้ร้องทุกข์ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ร้องทุกข์แทน

34 วิธีการยื่นคำร้องทุกข์
(ข้อ 12) วิธีการยื่นคำร้องทุกข์ 1. ยื่นต่อพนักงานผู้รับคำร้องทุกข์ 2. ยื่นโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน (ให้ถือว่าวันที่ ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางประประทับตรารับ ที่ซองหนังสือร้องทุกข์เป็นวันยื่นคำร้องทุกข์)

35 ระยะเวลายื่นคำร้องทุกข์
ให้ยื่นหนังสือร้องทุกข์ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบ หรือถือว่าทราบเหตุแห่งการร้องทุกข์ ผู้ร้องทุกข์ทราบ หรือ ถือว่าทราบเหตุ แห่งการร้องทุกข์ ร้องทุกข์ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร ภายใน 30 วัน

36 การนับวันทราบหรือถือว่าทราบเหตุ แห่งการร้องทุกข์
(ข้อ 13) การนับวันทราบหรือถือว่าทราบเหตุ แห่งการร้องทุกข์ 1. กรณีมีคำสั่งเป็นหนังสือ - ให้ถือว่าวันที่ลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งเป็น วันทราบเหตุแห่งการร้องทุกข์ 2. กรณีไม่มีการลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งแต่มีการ แจ้งคำสั่ง - ให้ถือวันที่แจ้งคำสั่งเป็นวันทราบเหตุแห่ง การร้องทุกข์

37 การนับวันทราบหรือถือว่าทราบเหตุแห่ง การร้องทุกข์
(ต่อ) การนับวันทราบหรือถือว่าทราบเหตุแห่ง การร้องทุกข์ 3. กรณีส่งคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ - ให้ถือว่ารับทราบคำสั่งเมื่อล่วงพ้นสามสิบวันที่ปรากฏ ในใบตอบรับทางไปรษณีย์ลงทะเบียนว่ามีผู้รับแล้ว 4. กรณีไม่มีคำสั่งเป็นหนังสือ - ให้ถือวันที่มีหลักฐานยืนยันว่าผู้ร้องทุกข์รับทราบ หรือ ควรรับทราบคำสั่งที่ไม่เป็นหนังสือ เป็นวันทราบเหตุ แห่งการร้องทุกข์

38 การนับวันทราบหรือถือว่าทราบเหตุแห่ง การร้องทุกข์
(ต่อ) การนับวันทราบหรือถือว่าทราบเหตุแห่ง การร้องทุกข์ 5. กรณีไม่มีคำสั่งใด - ให้ถือวันที่ผู้ร้องทุกข์ควรได้ทราบถึงการปฏิบัติ หรือไม่ปฏิบัติของผู้บังคับบัญชา เป็นวันทราบเหตุ แห่งการร้องทุกข์

39 กรณีไม่มีคำสั่งที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์
ก.พ.ค. เคยมีคำวินิจฉัย กรณีไม่มีคำสั่งที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ สอบสัมภาษณ์วันที่ 12 ก.ย. 55 (ไม่มีกำหนดวันประกาศผลสอบ) ควรประกาศเมื่อครบกำหนด 90 วัน นับแต่วันสัมภาษณ์ ครบกำหนด 90 วัน ในวันที่ 11 ธ.ค. 55 ถือเป็นวันที่ทราบ หรือถือว่าทราบเหตุแห่งการร้องทุกข์ ต้องร้องทุกข์ภายใน 30 วัน คือ ภายในวันที่ 10 ม.ค. 56 การร้องทุกข์ตั้งแต่วันที่ 11 ม.ค. 56 เป็นการร้องทุกข์ เกินกำหนดเวลาร้องทุกข์ ไม่อาจรับไว้พิจารณาได้

40 การถอนคำร้องทุกข์ วิธีถอนคำร้องทุกข์
(ข้อ 14) ถอนคำร้องทุกข์ในเวลาใดๆก่อนผู้มีอำนาจวินิจฉัย ร้องทุกข์จะมีคำวินิจฉัยเสร็จเด็ดขาด วิธีถอนคำร้องทุกข์ ต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้ร้องทุกข์ ถ้าถอนคำร้องทุกข์ด้วยวาจา ให้ผู้มีอำนาจวินิจฉัย ร้องทุกข์บันทึกไว้ และให้ผู้ร้องทุกข์ลงลายมือชื่อไว้ เป็นหลักฐาน ให้ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์อนุญาตและสั่งจำหน่าย คำร้องทุกข์ออกจากสารบบ

41 ศาลปกครอง การร้องทุกข์
คับข้องใจจากการปฏิบัติ/ไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา เหตุเกิดจาก ผู้บังคับบัญชา ระดับต้น เหตุเกิดจาก - ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร - ปลัดกรุงเทพมหานคร - หัวหน้าหน่วยงานระดับสำนัก - ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ.ค. กทม. กำหนด ร้องทุกข์ต่อ ผู้บังคับบัญชา ชั้นเหนือขึ้นไปตามลำดับ ร้องทุกข์ต่อ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร ศาลปกครอง

42 เหตุร้องทุกข์เกิดจากผู้บังคับบัญชาที่ต่ำกว่า
การร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไป ข้อ ๒๐(๑) เหตุร้องทุกข์เกิดจากผู้บังคับบัญชาที่ต่ำกว่า - ผู้อำนวยการสำนัก - หัวหน้าสำนักงาน ก.ก. ให้ร้องทุกข์ต่อ - ผู้อำนวยการสำนัก หรือ - หัวหน้าสำนักงาน ก.ก. เป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์

43 เหตุร้องทุกข์เกิดจากผู้บังคับบัญชาที่ต่ำกว่า
การร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไป เหตุร้องทุกข์เกิดจากผู้บังคับบัญชาที่ต่ำกว่า - เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร - หัวหน้าสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร - หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร - ผู้อำนวยการเขต ให้ร้องทุกข์ต่อ - เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร - หัวหน้าสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร - หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร - ผู้อำนวยการเขต เป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ ข้อ 20(2)

44 เหตุร้องทุกข์เกิดจาก
การร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไป เหตุร้องทุกข์เกิดจาก - เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร - หัวหน้าสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร - หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ให้ร้องทุกข์ต่อ ปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ ข้อ 20(3)

45 กระบวนพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ของผู้บังคับบัญชา
(ข้อ 44,45) กระบวนพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ของผู้บังคับบัญชา ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ ผู้ร้องทุกข์ยื่นคำร้องทุกข์ ให้ ผบ.ที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ จัดส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง และคำชี้แจง(ถ้ามี ) ภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องทุกข์ คำร้องทุกข์ ผู้มีอำนาจวินิจฉัย ร้องทุกข์ อาจจะขอเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม รวมทั้งคำชี้แจงจาก หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ ห้างหุ้นส่วน บริษัท ข้าราชการ หรือบุคคลใดๆ มาให้ถ้อยคำหรือชี้แจงข้อเท็จจริงได้

46 อำนาจของผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
(ข้อ 25) อำนาจของผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ 1. ไม่รับเรื่องร้องทุกข์ 2. ยกคำร้องทุกข์ 3. มีคำวินิจฉัยให้แก้ไขหรือยกเลิกคำสั่ง และให้เยียวยาความเสียหายให้ผู้ร้องทุกข์ หรือ ให้ดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม โดยให้นำระเบียบที่ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานครกำหนด ในเรื่องเดียวกันนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม

47 กำหนดระยะเวลาพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
(ข้อ 24) กำหนดระยะเวลาพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ ให้ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันได้รับคำร้องทุกข์ แต่ถ้าไม่แล้วเสร็จ 1. ขยายได้อีกไม่เกิน 30 วัน และให้บันทึกแสดงเหตุผลความจำเป็นไว้ 2. ขยายได้อีก 30 วัน โดยให้กำหนดมาตรการที่จะทำให้การพิจารณา แล้วเสร็จเสนอ ผบ. ชั้นเหนือขึ้นไปภายใน ๑๐ วันนับแต่วันครบกำหนด ขยายเวลาเพื่อการติดตามแนะนำ ถ้าปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยร้องทุกข์ ให้ส่ง หลักฐานดังกล่าวไปยังหัวหน้าสำนักงาน ก.ก. ในฐานะเลขานุการ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร เพื่อดำเนินการต่อไป

48 การคัดค้านผู้มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
(ข้อ 27 ประกอบข้อ 58) เหตุแห่งการคัดค้าน 1. เป็นผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุให้เกิดความคับข้องใจ หรือ เป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้บังคับบัญชาดังกล่าว 2. มีส่วนได้เสียในเรื่องร้องทุกข์ 3. มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ร้องทุกข์ 4. มีความเกี่ยวพันทางเครือญาติหรือทางสมรสกับบุคคล ตาม (1) (2) หรือ (3) อันอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม แก่ผู้ร้องทุกข์

49 1. กรณีคัดค้านผู้บังคับบัญชา
การคัดค้านผู้มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ 1. กรณีคัดค้านผู้บังคับบัญชา (ข้อ 28) ให้ผู้บังคับบัญชาของผู้ร้องทุกข์เหนือผู้ถูกคัดค้าน เป็นผู้พิจารณาคำคัดค้าน ดังนี้ - ถ้าเห็นว่าคำคัดค้านไม่มีเหตุผล ให้มีคำสั่งยกคำคัดค้าน คำสั่งนั้นเป็นที่สุด - ถ้าเห็นว่าคำคัดค้านมีเหตุผลรับฟังได้ ให้ผู้พิจารณาคำคัดค้านเป็นผู้พิจารณาแทน

50 2. กรณีคัดค้านปลัดกรุงเทพมหานคร
(ข้อ ๒๙) 2.1 ให้ส่งคำคัดค้านไปที่หัวหน้าสำนักงาน ก.ก. ในฐานะเลขานุการ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร 2.2 ให้ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร เป็นผู้พิจารณา คำคัดค้าน

51 ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร พิจารณาคำคัดค้าน ดังนี้
- เห็นว่าคำคัดค้านไม่มีเหตุผล ให้มีคำสั่งยกคำคัดค้าน คำสั่งเป็นที่สุด - เห็นว่าคำคัดค้านมีเหตุผลรับฟังได้ ให้แนะนำ ผบ.ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ให้แต่งตั้งคณะ ก.ก. ขึ้นทำหน้าที่พิจารณาเรื่องร้องทุกข์ ประกอบด้วย - ผู้แทน ผบ.ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ 1 คน - ผู้แทนผู้ร้องทุกข์ 1 คน - ผู้แทนผู้บังคับบัญชาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ 1 คน - ให้หัวหน้าสำนักงาน ก.ก. ตั้งข้าราชการสำนักงาน ก.ก. 1 คน ร่วมเป็นกรรมการ - ให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานต้นสังกัดเป็นเลขานุการ คณะ ก.ก. มีมติประการใดให้เสนอปลัดกรุงเทพมหานคร เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยตามที่เห็นสมควร

52 การรายงานผลการวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
(ข้อ 30) ผู้บังคับบัญชาพิจารณาคำร้องทุกข์แล้วเสร็จ รายงานผลการดำเนินการตามคำวินิจฉัยภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการดำเนินการตามคำวินิจฉัย ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย และพัฒนาระบบพิทักษ์ระบบคุณธรรม ต่อไป

53 การร้องทุกข์ต่อ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร
เหตุแห่งการร้องทุกข์เกิดจาก - ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร - ปลัดกรุงเทพมหานคร - ผู้อำนวยการสำนัก - หัวหน้าสำนักงาน ก.ก. - ผู้อำนวยการเขต (ข้อ 31) ให้ร้องทุกข์ต่อ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร เป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์

54 อำนาจ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร ในการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์
(ม.65) 1. ไม่รับเรื่องร้องทุกข์ 2. ยกคำร้องทุกข์ 3. มีคำวินิจฉัยให้แก้ไขคำสั่งหรือยกเลิกคำสั่ง และให้เยียวยาความเสียหายให้ผู้ร้องทุกข์ หรือให้ดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตามระเบียบที่ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร กำหนด

55 กระบวนพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ของก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร
ให้คู่กรณีในการร้องทุกข์ 1. ทำคำแก้คำร้องทุกข์ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง หรือภายในระยะเวลาที่กำหนด 2. ส่งพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง และหลักฐานที่รับทราบเหตุ ของการร้องทุกข์ 3. จัดทำสำเนาตามจำนวนที่ กรรมการเจ้าของสำนวน กำหนด ผู้ร้องทุกข์ยื่นคำร้องทุกข์ คำร้องทุกข์ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร (ข้อ 44,45)

56 การคัดค้านกรรมการวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
(ข้อ 58 วรรคหนึ่ง) เหตุคัดค้าน (1) เป็นผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุคับข้องใจ หรือ เป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้บังคับบัญชาดังกล่าว (2) มีส่วนได้เสียในเรื่องร้องทุกข์ (3) มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ร้องทุกข์ (4) มีความเกี่ยวพันทางเครือญาติหรือทางสมรสกับ บุคคลตาม (1) (2) หรือ (3) อันอาจก่อให้เกิดความ ไม่เป็นธรรมแก่ผู้ร้องทุกข์

57 กำหนดระยะเวลาพิจารณาวินิจฉัยร้องทุกข์
ของ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร (ข้อ 55) ให้องค์คณะวินิจฉัยดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับแต่วันได้รับคำร้องทุกข์ - ขยายได้อีก 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 30 วัน และให้บันทึก แสดงเหตุผลความจำเป็นไว้ - ถ้ายังไม่แล้วเสร็จ ให้ประธาน ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร กำหนดมาตรการที่จะทำให้การที่จะทำให้พิจารณาแล้วเสร็จ และบันทึกไว้เป็นหลักฐาน

58 ผลคำวินิจฉัยร้องทุกข์ของ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร
ผลคำวินิจฉัยร้องทุกข์ของ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร (ข้อ 56, ข้อ 57) 1. ให้แจ้งคู่กรณีทราบโดยเร็ว 2. กรณีผู้ร้องทุกข์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัย ให้ฟ้องคดี ต่อศาลปกครองชั้นต้นต่อไปได้ 3. คำวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ให้ผูกพันคู่กรณีและผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่จะต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ในคำวินิจฉัย หรือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยในโอกาสแรก ที่สามารถทำได้นับแต่ได้รับคำวินิจฉัย

59 หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 6 ลว. 30 มี.ค. 54
- มติ ก.พ. กำหนดระยะเวลาดำเนินการกรณี ก.พ.ค. มีคำวินิจฉัย หรือ ก.พ. มีมติให้ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่ส่วนราชการรับทราบคำวินิจฉัยของ ก.พ.ค. หรือ มติ ก.พ. แล้วแต่กรณี

60 การคุ้มครองระบบคุณธรรม
มาตรา 66 ในกรณีที่ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร เห็นว่ากฎ ระเบียบ หรือคำสั่งใดที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ และมุ่งหมายให้ใช้บังคับเป็นการทั่วไป ไม่สอดคล้องกับ ระบบคุณธรรมตามมาตรา 41 ให้ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร แจ้งให้หน่วยงานหรือผู้ออกกฎ ระเบียบ หรือ คำสั่งดังกล่าว ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไขหรือยกเลิกตามควรแก่กรณี

61 ตัวอย่างเรื่องร้องทุกข์
การคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนัก สำนัก หลักเกณฑ์ คือ ให้กำหนดเกณฑ์การประเมินบุคคลให้เหมาะสมกับตำแหน่ง โดยให้คำนึงถึง ๑. ความรู้ ความสามารถ ความประพฤติ ประวัติการรับราชการ ๒. คุณลักษณะอื่นๆที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงาน ตามที่คณะ กรรมการคัดเลือกเห็นสมควร คณะกรรมการคัดเลือกกำหนดเกณฑ์คะแนน ดังนี้ ๑. กำหนดคะแนน ๑๐๐ คะแนน ๑) ความรู้ ๓๐ คะแนน ๒) ความสามารถ ๓๐ คะแนน ๓) ความประพฤติ ๒๐ คะแนน ๔) ประวัติการรับราชการ ๒๐ คะแนน ๒. คุณลักษณะอื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงาน ....ไม่มีการกำหนด

62 ตัวอย่างเรื่องร้องทุกข์
ผลการคัดเลือก นาย ข. ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนัก การให้คะแนนของกรรมการคัดเลือก ความรู้ (๓๐ คะแนน) ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่และภารกิจของตำแหน่ง เช่น การบริหารอย่างมืออาชีพ การบริหารคน การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ผู้ร้องทุกข์ จบการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต บริหารธุรกิจบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์มหาบัณฑิต ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการ ๔ ปี ผู้อำนวยการกอง....๕ ปี (ได้ ๒๖.๘ คะแนน) นาย ข. จบการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการ ๒ ปี ผู้อำนวยการกอง....๒ ปี (ได้ ๒๘.๒ คะแนน)

63 ตัวอย่างเรื่องร้องทุกข์
ความสามารถ (๓๐ คะแนน) การพัฒนานโยบาย วางแผน การวินิจฉัย การแก้ปัญหา การบริหารงาน ผู้ร้องทุกข์ ในรอบ ๑๗ ปี ได้รับการเลื่อน ๒ ขั้น ๓ ครั้ง มีผลงาน เช่น เป็นผู้ออกแบบโครงสร้างอาคารสถานีดับเพลิง เคยตรวจสอบการร้องเรียนทุจริต และในปีที่สมัครเข้ารับการคัดเลือกเพื่อเลื่อนตำแหน่ง ผู้บังคับบัญชารับรองว่า ผลการประเมินการปฏิบัติงานอยู่ในระดับดีมาก (ได้ ๒๘.๒ คะแนน) นาย ข. ในรอบ ๑๗ ปี ได้รับการเลื่อน ๒ ขั้น ๓ ครั้ง มีผลงานด้านการก่อสร้าง แนวคันกั้นน้ำป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพ ก่อสร้างสนามฟุตซอล (ได้ ๒๙ คะแนน)

64 ตัวอย่างเรื่องร้องทุกข์
ความประพฤติ (๒๐ คะแนน) ความประพฤติที่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ การมุ่งประโยชน์ส่วนรวม ความซื่อสัตย์ ผู้ร้องทุกข์ มีประวัติการรับราชการที่ดีตลอดมา ได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ตามลำดับ ได้รับการเลื่อนขึ้นระดับ ๘ เมื่อปี ๒๕๔๕ (ได้ ๑๖ คะแนน) นาย ข. มีประวัติการรับราชการที่ดีตลอดมา ได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ตามลำดับ ได้รับการเลื่อนขึ้นระดับ ๘ เมื่อปี ๒๕๕๐ (ได้ ๑๘.๒ คะแนน)

65 ตัวอย่างเรื่องร้องทุกข์
ประวัติการรับราชการ (๒๐ คะแนน) ประวัติการดำรงตำแหน่งที่สำคัญ ผลงานที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถ เกียรติยศ ชื่อเสียง รวมทั้ง ประวัติทางวินัยที่ผ่านมา ผู้ร้องทุกข์ เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกอง ตำแหน่งผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร เป็นผู้ออกแบบโครงสร้างอาคารสถานีดับเพลิงและกู้ภัย เป็นประธานกรรมการสอบสวนวินัยกรณีทุจริต ไม่เคยถูกดำเนินการทางวินัย (ได้ ๑๗.๒ คะแนน) นาย ข. เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกอง ตำแหน่งผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร เคยทำงานด้านการก่อสร้างแนวคันกั้นน้ำป้องกันน้ำท่วมกทม. เมื่อปี ๒๕๕๔ และทำงานการก่อสร้างสนามฟุตซอล ไม่เคยถูกดำเนินการทางวินัย (ได้ ๑๘.๒ คะแนน)

66 ตัวอย่างเรื่องร้องทุกข์
๒. คุณลักษณะของผู้ดำรงตำแหน่งที่จะแต่งตั้งหรือองค์ประกอบอื่นที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งและ ส่วนราชการที่จะแต่งตั้งตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร ไม่มีการกำหนด

67 ตัวอย่างเรื่องร้องทุกข์
ผลคะแนนรวม ผู้ร้องทุกข์ ได้ ๘๘.๒ คะแนน นาย ข ได้ ๙๓.๖ คะแนน ข้อสังเกต ๑. ไม่มีการกำหนดเกณฑ์คะแนนในองค์ประกอบย่อยจึงไม่มีที่มาของ คะแนนรวม ๒. เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลบุคคลแล้วเห็นได้ว่าการให้คะแนน ผู้เข้ารับการคัดเลือกไม่สอดคล้องกับข้อมูลบุคคล ๓. ไม่มีการกำหนดคุณลักษณะอื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงาน ๔. ไม่มีการอธิบายอย่างมีเหตุมีผลว่าเหตุใดจึงให้คะแนนนาย ก. มากกว่าผู้ร้องทุกข์

68 กองพิทักษ์ระบบคุณธรรม
สำนักงาน ก.ก. โทรศัพท์ ๐๒ ๒๑๔๖๖๑๑ - ๒ โทรสาร ๐๒ ๒๑๔๖๖๑๓ - ๔


ดาวน์โหลด ppt ข้าราชการกรุงเทพมหานคร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google