ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ขีดความสามารถในการรองรับได้ของแหล่งท่องเที่ยว
2
ความหมายของ ขีดความสามารถในการรองรับ
ขีดความสามารถในการรองรับ คือ ความสามารถหรือสมรรถนะของพื้นที่ที่จะสามารถรองรับการประกอบกิจกรรมนันทนาการของนักท่องเที่ยว
3
1.ขีดความสามารถในการรองรับได้ด้านกายภาพ (Physical Carrying Capacity)
ของแหล่งท่องเที่ยวแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ 1.ขีดความสามารถในการรองรับได้ด้านกายภาพ (Physical Carrying Capacity) คือจำนวนสูงสุดของหน่วยการใช้ เช่น คน รถยนต์ และเรือ ซึ่งได้เข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่นั้น โดยไม่ทำให้สถานที่นั้นเสื่อมโทรม สึกกร่อนจากความแออัด
4
ขีดความสามารถในการรองรับได้ ของแหล่งท่องเที่ยวแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ
2. ขีดความสามารถในการรองรับได้ด้านสิ่งแวดล้อม (Evironmental Carrying Capacity) เป็นขีดความสามารถในการรองรับได้ ขององค์ประกอบทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติของ แหล่งท่องเที่ยว โดยระดับของกิจกรรมการท่องเที่ยวและการพัฒนาต้องไม่ส่งผลกระทบกับทรัพยากรชีวภาพ เช่นลดลงของสัตว์ป่า การลดลงของที่อยู่ถิ่นอาศัยของสัตว์ การเกิดมลพิษทางเสียง ทางน้ำ
5
3. ขีดความสามารถในการรองรับได้ด้านสังคม (Social Carrying Capacity)
ของแหล่งท่องเที่ยวแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ 3. ขีดความสามารถในการรองรับได้ด้านสังคม (Social Carrying Capacity) จำนวนสูงสุดของนักท่องเที่ยวที่แหล่งท่องเที่ยวสามารถรองรับได้ โดยที่ยังคงรักษาประสบการณ์นันทนาการที่มีคุณภาพและ ระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในการเยือนแหล่งท่องเที่ยวนั้น รวมถึงระดับสูงสุดที่จะไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนท้องถิ่น จนเกิดความไม่พอใจ
6
ขีดความสามารถในการรองรับได้ ของแหล่งท่องเที่ยวแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ
4. ขีดความสามารถในการรองรับได้ด้านเศรษฐกิจ (Economic Carrying Capacity) ระดับการพัฒนา ที่ระบบเศรษฐกิจดำเนินต่อไปได้อย่างเหมาะสมโดยไม่เกิดปัญหาความขัดแย้งของสมาชิกในสังคม ไม่กระทบต่อการลงทุนและการดำรงชีพประชากร
7
การแบ่งเขตการใช้ประโยชน์พื้นที่ (Zoning)
ตัวอย่างการจัดการด้านขีดความสามารถในการรองรับของพื้นที่ของแหล่งท่องเที่ยว การแบ่งเขตการใช้ประโยชน์พื้นที่ (Zoning) การกำหนดขอบเขตพื้นที่ในบริเวณแหล่งท่องเที่ยวให้เป็น สัดส่วนเหมาะสมกับประโยชน์การใช้งานในเชิงการท่องเที่ยว เช่น การแบ่งเขตที่ดินเพื่อการอนุรักษ์ การแบ่งเขตการจัดการพื้นที่อุทยานแห่งชาติ การแบ่งเขตเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การแบ่งเขตเพื่อการ ท่องเที่ยวเชิงผจญภัย
8
จัดระเบียบการเข้าพื้นที่ และประกาศกฏเกณฑ์ให้ชัดเจน
ตัวอย่างการจัดการด้านขีดความสามารถในการรองรับของพื้นที่ของแหล่งท่องเที่ยว จัดระเบียบการเข้าพื้นที่ และประกาศกฏเกณฑ์ให้ชัดเจน อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา เรียกผู้ประกอบการเรือทัวร์ประชุมด่วน หลังมีการวิพากษ์วิจารณ์ประการังเกาะตาชัยตายจากจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าไปมากจนเกินไปในโลกโซเชียล ได้ข้อสรุป จำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวขึ้นเกาะในแต่ละวันเพื่อแก้ปัญหานักท่องเที่ยวล้นเกาะ
9
ตัวอย่างการจัดการด้านขีดความสามารถในการรองรับของพื้นที่ของแหล่งท่องเที่ยว
ให้ผู้ประกอบการลงทะเบียนเพื่อออกใบอนุญาตในการทำธุรกิจ และกำหนดโควต้าจำนวนนักท่องเที่ยวของแต่ละบริษัท ท่องเที่ยว ร่วมมือทัวร์จัดระเบียบเข้าชมวัดพระแก้ว นำระบบออนไลน์เข้ามาใช้ในการจองตั๋วล่วงหน้า เพื่อให้ทราบจำนวนนักท่องเที่ยวและกำหนดจำนวนผู้เยี่ยมชมในแต่ละรอบได้ และเปิดโควต้าสำรองสำหรับผู้ที่ไม่จองล่วงหน้า
10
กำหนดช่วงปิดพื้นที่เพื่อให้ธรรมชาติฟื้นตัว ในช่วงฤดูมรสุม
ตัวอย่างการจัดการด้านขีดความสามารถในการรองรับของพื้นที่ของแหล่งท่องเที่ยว กำหนดช่วงปิดพื้นที่เพื่อให้ธรรมชาติฟื้นตัว ในช่วงฤดูมรสุม อุทยานฯเกาะช้าง ประกาศปิดท่องเที่ยวดำน้ำ หมู่เกาะรัง ฟื้นฟูปะการัง
11
ตัวอย่างการจัดการด้านขีดความสามารถในการรองรับของพื้นที่ของแหล่งท่องเที่ยว
สนับสนุน ส่งเสริม การพัฒนาเป้าหมายปลายทางท่องเที่ยวไปยัง พื้นที่อื่น (เพิ่มแหล่งท่องเที่ยวใหม่) หรือเวลาท่องเที่ยวอื่น (นอกวันหรือ นอกฤดูท่องเที่ยว) ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ช่วยในการกำกับดูแล และรักษา สถานภาพของการท่องเที่ยว ให้อยู่ในระดับของความยั่งยืน ควบคุมปริมาณสถานบริการ โรงแรม ที่พัก อสังหาริมทรัพย์ และ สถานบริการ ให้พอดีกับขีดความสามารถในการรองรับที่กำหนด ตรวจจับการพัฒนาที่ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการขยายตัวสู่พื้นที่ป่าเขา การรุกล้ำชายหาดหรือเกาะแก่งต่างๆ จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังในพื้นที่เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้กระทำการฝ่าฝืนกฎระเบียบ
12
ถ้านิสิตเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลแหล่งท่องเที่ยว จะมีการจัดการด้านขีดความสามารถในการรองรับของพื้นที่บริเวณชาดหาดป่าตองอย่างไรบ้าง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.